
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์
บทสรุปผู้บริหาร
ผลการดำเนินงานของระดับคณะ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเองคือ 3.24 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต หรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 3.62 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 1.80 อยู่ในระดับต้องปรับปรุง
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ แก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา พึงให้การบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติในรูปแบบต่าง ๆ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 อยู่ในระดับปานกลาง
องค์ประกอบที่ 4 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม ฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานพัฒนาและผ่ยแพร่ศิลปและวัฒนธรรม สร้างสรรค์ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับดีมาก
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ กำกับดูแลการทำงานของสถาบันให้มีประสิทธิภาพ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับดีมาก
บทนำ
1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ
1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ
ชื่อหน่วยงาน : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์ (Mahapajapati Buddhist College)
ที่ตั้ง: 95 หมู่ 7 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150
โทรศัพท์ : 091-330-709
เว็บไซต์ :https://nbc.mbu.ac.th/ ,http://mbu.mbc.in.th
ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย : วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส หมายถึง ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์
สีประจำมหาวิทยาลัย : สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี อันเป็นวันพระราชสมภพ
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นโพธิ์ เป็นที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา : ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย :
พระมหามงกุฎ หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราชวิทยาลัย”
พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย
หนังสือ หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษ หมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา
ช่อดอกไม้แย้มกลีบในทางการศึกษา หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้ แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง กิตติศัพท์ กิตติคุณ ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ อิสริยยศ บริวารยศ
พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคงและแพร่หลายของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่
วงรัศมี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของ มหามกุฏราชวิทยาลัยภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย
มหามกุฏราชวิทยาลัย หมายถึง สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก ปัจจุบัน คือ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”
วิทยาเขต/วิทยาลัย
ที่ |
วิทยาเขต |
ที่อยู่ |
โทรศัพท์ |
1. |
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่วนกลาง |
248 วัดบ้านสุวรรณ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑลจ.นครปฐม 73170 |
0-2282 - 8303, |
2. |
วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย |
วัดชูจิตธรรมาราม เลขที่ 57 หมู่ที่ 1 |
035 - 745037 - 8 |
3. |
วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย |
วัดสิรินธรเทพรัตนาราม เลขที่ 26 |
02 - 4291663, 02 - 4291719 |
4. |
วิทยาเขตอีสาน |
เลขที่ 9/37 ม. 12 ถ.ราษฏร์คนึง |
043 - 241488, |
5. |
วิทยาเขตล้านนา |
วัดเจดีย์หลวง 103 ตำบลพระสิงห์ |
053 - 270 - 9756 |
6. |
วิทยาเขตร้อยเอ็ด |
เลขที่ 148 ถ.เลี่ยงเมือง ต.ดงลาน |
043 - 518364, |
7. |
วิทยาเขตศรีล้านช้าง |
วัดศรีสุทธาวาส เลขที่ 253/7 |
042 - 813028, |
8. |
วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช |
วัดพระมหาธาตุ เลขที่ 169/9 จ.นครศรีธรรมราช 80000 |
075 - 340499 |
9. |
มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์ |
95 หมู่ 7 ตำบลภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150 |
091-3303709
|
10. |
วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร |
วัดศรีธรรมาราม เลขที่ 1 |
045 - 711056 |
11. |
วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ |
วัดประชานิยม ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000 |
043 - 815393 |
ประวัติความเป็นมาโดยย่อ
ในปี พ.ศ. 2537 มูลนิธิ สถาบันแม่ชีไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัตดามาตุ ได้ดำริร่วมกันในการกำหนดบทบาทและสถานภาพของสตรี ภายใต้โครงสร้าง ความเปลี่ยนแปลงและเงื่อนไขของสังคมที่นับวันจะทวีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือสตรีที่ขาดโอกาสและถูกละเลยเอาเปรียบจากสังคม โดยในระยะเริ่มต้นได้ประสานการดำเนินการเพื่อกำหนดสถานภาพของแม่ชี และแสวงหาความร่วมมือในการจัดตั้งสถานศึกษาในลักษณะที่เป็นสถานศึกษาสำหรับ สตรี ที่จัดการศึกษาบนพื้นฐานเฉพาะทางพระพุทธศาสนา
ในพ.ศ. 2541 องค์กรสตรีทั้งสององค์กร โดยการนำของแม่ชีคุณหญิงขนิษฐา วิเชียร เจริญ ที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันแม่ชีไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ประสานงานขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏ-ราชวิทยาลัย เพื่อจัดการศึกษาตามความดำริดังกล่าว และสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 12/2541 เมื่อวันพุธที่ 25พฤศจิกายน 2541 ได้มีมติสนับสนุนโครงการและให้เป็นวิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัย จึงถือว่าโครงการจัดสร้างสถานศึกษาสำหรับสตรีนี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนการ จัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยในระยะเริ่มต้นให้เปิดดำเนินการเรียนการสอนในสาขาวิชาพุทธศาสตร์ (Buddhist Studies) ที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี เลขที่ 501/1 หมู่3 ถนนเดชะตุงคะ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ภายใต้ชื่อว่า “มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย”ในการเปิดการเรียนการสอนที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี กลุ่มองค์กรสตรีได้ดำเนินการจัดสร้างสถานศึกษาแห่งใหม่ขึ้นที่ตำบลภูหลวง อำเภอปักธยงชัย จังหวัดนครราชสีมา บนเนื้อที่จำนวน 76 ไร่ 82 ตารางวา ซึ่งบริจาคโดย นายเสรี เวชโช จำนวน 57 ไร่ 82 ตารางวา และแม่ชีราตรี ตุรงควัธน์ จำนวน 19 ไร่ และในปี พ.ศ. 2544 ได้เปิดการเรียนการสอนที่ 95 หมู่ 7 ตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาจนถึงปัจจุบัน
1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์
1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์
1.2.1 ปรัชญามหาวิทยาลัย (Philosophy)
“ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา ”
"Academic Excellence based on Buddhism"
1.2.2 ปณิธาน (Aspiration)
มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
1.2.3 วิสัยทัศน์ (Vision Statements)
เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตสตรี ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนา สู่สากล
1.2.4 พันธกิจ (Mission Statements)
- ผลิตบัณฑิตสตรีให้มีคุณลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งทางด้านพระพุทธศาสนาและภาษาอังกฤษ
- ผลิตงานวิจัยตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน
- ส่งเสริมการบริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
- อนุรักษ์ฟื้นฟูปกป้องศิลปะและวัฒนธรรมของไทยให้ยั่งยืนและเผยแพร่สู่ระดับนานาชาติ
- พัฒนาระบบบริหารจัดการให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 2 1.3 เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต
บัณฑิตสตรีมีความรอบรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับสากล
1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร