
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564
คณะศาสนาและปรัชญา
บทสรุปผู้บริหาร
จากการดำเนินงานของคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 4.60 อยู่ที่ระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาและดำเนินการตามระบบที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 4.14 อยู่ในระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย คณะศาสนาและปรัชญา มีสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะศาสนาและปรัชญา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ สนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมีการนัดประชุมโดยคณบดีเป็นประธานในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และการบริหารด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล กำหนดนโยบาย การจัดทำแผน การบริหารความเสี่ยง เพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจและนโยบาย คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
บทนำ
1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ
คณะศาสนาและปรัชญา เป็นส่วนงานจัดการศึกษาและบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในอดีตงานทุกอย่างขึ้นอยู่กับสำนักงานเลขาธิการเป็นส่วนใหญ่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา คณะศาสนาและปรัชญาอยู่รวมกับสำนักงานกลางมาเป็นเวลา 45 ปี ครั้นต่อมาปี พ.ศ. 2534 จึงได้แยกออกมาเป็นสัดส่วน มีสถานที่ทำงานเป็นเอกเทศ การทำงานก็เริ่มเข้าระบบและมีความคล่องตัวมากขึ้น ท่านบูรพาจารย์และผู้บริหารทุกท่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ มีความผูกพันกับคณะและมหาวิทยาลัยอย่างดียิ่ง ได้อุทิศชีวิตพร้อมทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังสติปัญญา ให้กับมหาวิทยาลัยนี้มาเป็นเวลาอันยาวนาน ซึ่งเต็มไปด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่เพื่อมุ่งสร้างศาสนบุคคลอันเป็นทรัพยากรสำคัญของชาติและผลิตผลให้มีพระนักศึกษาและนักศึกษาทั่วไปมีคุณภาพเป็นกำลังของพระศาสนาและประเทศชาติ การบริหารงานในคณะศาสนาและปรัชญามีคณบดีเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยมีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคณะดังนี้
1.1.1 ชื่อคณะ
ภาษาไทย : คณะศาสนาและปรัชญา
ภาษาอังกฤษ : Faculty of Religion and Philosophy
1.1.2 สถานที่ตั้ง
อาคารพระพรหมมุนี (B7.2) เลขที่ 248 หมู่ 1 ถนนศาลายา – นครชัยศรี
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-444-6000 ต่อ 1074, 1075, 1076
โทรสาร 02-44-6068
Website http://www.philo.mbu.ac.th
1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์
1.2.1 ปรัชญา (Philosophy)
ปญฺญา หเว หทยํ ปณฺฑิตานํ ปัญญาเป็นหัวใจของนักปราชญ์
1.2.2 ปณิธาน (Aspiration)
ผลิตบัณฑิตเพียบพร้อมด้วยความรู้เเละคุณธรรมเพื่อประโยชน์เเก่ชาติเเละพระพุทธศาสนา
1.2.3 วิสัยทัศน์ (Vision Statements)
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความประพฤติดี ความรู้ดี ความสามารถดี เเละความเป็นผู้มีใจสูง
1.2.4 พันธกิจ (Mission Statements)
1. ผลิตบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาให้มีคุณสมบัติที่วางไว้ และกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจ
2. วิจัยเเละพัฒนางานทางวิชาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจเเละสังคมของประเทศ
3. สร้างเสริมให้บริการวิชาการเเก่สังคม ชุมชนเเละท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
4. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการในคณะศาสนาเเละปรัชญาให้ได้มาตรฐานสากล
1.2.5 วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสนใจในวิชาการทางศาสนาและปรัชญา
2. เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดริเริ่ม และมีอุปนิสัยในการค้นคว้าปรับปรุงความรู้ให้ก้าวหน้า ยึดมั่นในระเบียบวินัยและมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบตามสมควรแก่ภาวะ รวมทั้งสามารถแนะนำในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณี
3. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจหลักคำสอนของพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาที่สำคัญของโลกและวิชาที่เกี่ยวข้อง
4. เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีความสามารถเหมาะสมกับกาลสมัยและเป็นทรัพยากรบุคคลที่ดีมีคุณภาพของชาติ
1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร
1.3.1 โครงสร้างการแบ่งส่วนงาน
1.3.2 โครงสร้างการบริหารงาน
1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร
รายชื่อคณะกรรมการประจำคณะศาสนาและปรัชญา |
|||
1. |
คณบดีคณะศาสนาและปรัชญา |
|
ประธานกรรมการ |
2. |
หัวหน้าภาควิชาพุทธศาสตร์ |
ผู้แทนผู้บริหาร |
กรรมการ |
3. |
หัวหน้าภาควิชาศาสนศาสตร์ |
ผู้แทนผู้บริหาร |
กรรมการ |
4. |
พระราชสารสุธี (อาชว์ อาชฺชวปเสฏโฐ) |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
กรรมการ |
5. |
พระมหาวิชิต อคฺคชิโต |
ผู้แทนคณาจารย์ |
กรรมการ |
6. |
พระมหาเอกชัย สุชโย |
ผู้แทนคณาจารย์ |
กรรมการ |
7. |
ดร.ประเวช วะทาแก้ว |
ผู้แทนคณาจารย์ |
กรรมการ |
8. |
รศ.ดร.อำพล บุดดาสาร |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
กรรมการ |
9. |
ผศ.ดร.สมบูรณ์ วัฒนะ |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
กรรมการ |
10. |
ผศ.ดร.ธีรัตม์ แสงแก้ว |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
กรรมการ |
11. |
ดร.เสน่ห์ เดชะวงศ์ |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
กรรมการ |
12. |
พระครูธรรมธร เดโช ฐิตเตโช |
|
กรรมการและเลขานุการ |
13. |
พระมหาจักรพล อาจารสุโภ, ดร. |
|
ผู้ช่วยเลขานุการ |
14. |
นางสาวสิริพร ครองชีพ |
|
ผู้ช่วยเลขานุการ |
15. |
นางสาวจันทิมา แสงแพร |
|
ผู้ช่วยเลขานุการ |
1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน
ภาควิชาพุทธศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
- สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (Buddhist Studies for Development)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (Buddhism)
ภาควิชาปรัชญา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
- สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม (Philosophy, Religions and cultures)
ภาควิชาศาสนศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
- สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (Buddhist Studies)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)
- สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา(Buddhism and Philosophy)
1.6 จำนวนนักศึกษา
1.6.1 จำนวนนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564
ภาควิชาพุทธศาสตร์ |
|
- สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา |
จำนวน 38 รูป/คน |
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (เรือนจำ/ทัณฑสถาน) |
จำนวน 41 คน |
ภาควิชาปรัชญา |
|
- สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม |
จำนวน 28 รูป/คน |
ภาควิชาศาสนศาสตร์ |
|
- สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา |
จำนวน 6 รูป/คน |
- สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา |
จำนวน 7 รูป/คน |
รวมทั้งสิ้น |
จำนวน 120 รูป/คน |
1.6.2 จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564
ภาควิชาพุทธศาสตร์ |
|
- สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา |
จำนวน 3 รูป/คน |
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา |
- |
ภาควิชาปรัชญา |
|
- สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม |
จำนวน 6 รูป/คน |
ภาควิชาศาสนศาสตร์ |
|
- สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา |
- |
- สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา |
- |
รวมทั้งสิ้น |
จำนวน 13 รูป/คน |
1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร
1.7.1 จำนวนอาจารย์
ที่ |
ชื่อ-ฉายา/นามสกุล |
ตำแหน่งทางวิชาการ |
วุฒิการศึกษา |
1 |
พระเทพวัชรเมธี, ผศ.ดร. |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ |
ปริญญาเอก |
2 |
พระศรีรัชมงคลบัณฑิต, รศ. |
รองศาสตราจารย์ |
ปริญญาโท |
3 |
พระครูวินัยธร เจริญ ทนฺตจิตฺโต, ดร. |
อาจารย์ |
ปริญญาเอก |
4 |
พระครูสุธีปริยัติโกศล, ดร. |
อาจารย์ |
ปริญญาเอก |
5 |
พระมหาขนบ สหายปญฺโญ, ดร. |
อาจารย์ |
ปริญญาเอก |
6 |
พระมหาเอกชัย สุชโย |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
7 |
พระมหาวิชิต อคฺคชิโต |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
8 |
พระมหาสมศักดิ์ ธมฺมโชติโก |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
9 |
พระมหารังสี ฐานวุฑฺโฒ |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
10 |
พระวีรพล โชติวโร |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
11 |
พระมหาจักรพล อาจารสุโภ, ดร. |
อาจารย์ |
ปริญญาเอก |
12 |
พระมหาสราวุธ ญาณโสภโณ |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
13 |
พระปลัด ธนา อคฺคธมฺโม |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
14 |
พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
15 |
พระมหาสันติราษฎร์ ฌานสนฺติ, ดร. |
อาจารย์ |
ปริญญาเอก |
16 |
พระจาตุรงค์ อาจารสุโภ, ดร. |
อาจารย์ |
ปริญญาเอก |
17 |
พระครูสังฆรักษ์ สุริยะ ปภสฺสโร |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
18 |
แม่ชีบุญช่วย ศรีเปรม, ดร. |
อาจารย์ |
ปริญญาเอก |
19 |
ผศ.ดร.แหวนทอง บุญคำ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ |
ปริญญาเอก |
20 |
รศ.สุเชาวน์ พลอยชุม |
รองศาสตราจารย์ |
ปริญญาโท |
21 |
นายอำนาจ ศรีบรรเทา |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
22 |
ดร.สุรชัย พุดชู |
อาจารย์ |
ปริญญาเอก |
23 |
ดร.ประเวช วะทาแก้ว |
อาจารย์ |
ปริญญาเอก |
24 |
อาจารย์สิริพร ครองชีพ |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
25 |
อาจารย์จันทิมา แสงแพร |
อาจารย์ |
ปริญญาโท |
1.7.2 จำนวนเจ้าหน้าที่
ที่ |
ชื่อ-ฉายา/นามสกุล |
ตำแหน่งทางวิชาการ |
วุฒิการศึกษา |
1 |
พระครูธรรม เดโช ฐิตเตโช |
นักวิชาการศึกษา |
ปริญญาโท |
2 |
นายประเมศฐ์ จิรวิริยะสิริ |
นักวิชาการศึกษา |
ปริญญาโท |
1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่
คณะศาสนาและปรัชญา ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2564 ตามแผนงานพื้นฐาน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
- เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายสนับสนุนการผลิตบัณฑิต
- เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
- เงินอุดหนุนทุนวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน
- ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ
โดยได้รับงบจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้กำหนดตามวิถี สรุปได้ดังนี้
วิถีที่ 1 ปริยัติ สืบสาน ส่งต่อ ต่อยอด
วิถีที่ 2 ประยุกต์ ผสาน สร้างสรรค์ อย่างลึกซึ้ง
วิถีที่ 3 ปฏิบัติ ค้นหา ตน เติม คน เสริมสร้าง สังคม
วิถีที่ 4 ปฏิบถ ฟื้นฟู เยียวยา นำพากลับสู่ความสว่าง สงบ
วิถีที่ 5 ปฏิรูป พลิก เปลี่ยน ปรับ รับการเปลี่ยนแปลง
สรุปงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2564 ดังนี้
1) ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ จำนวน 1,616,900 บาท
2) งบดำเนินงานก่อนผูกพัน จำนวน 411,802 บาท
รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,028,702 บาท (เอกสารอ้างอิง งบประมาณ 2564)
1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน
1.9.1 เอกลักษณ์
บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ การชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคม 2 เรื่อง
1. ภายในมหาวิทยาลัย จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกทางสังคม
2. ภายนอกมหาวิทยาลัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวพระราชดำรัสต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคม
1.9.2 อัตลักษณ์
บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ
1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา
ที่ | ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว | ความคิดเห็นของคณะ | ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
|
สรุปผลการประเมิน
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2564
|
|
|
|
|
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต | ||||
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม |
|
|
|
|
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก |
|
|
|
|
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ |
|
|
|
|
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ |
|
|
|
|
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต |
|
| ||
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย | ||||
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ |
|
|
|
|
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ |
|
|
|
|
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย |
|
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย |
|
| ||
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ | ||||
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม |
|
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ |
|
| ||
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม | ||||
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม |
|
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม |
|
| ||
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ | ||||
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ |
|
|
|
|
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร |
|
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ |
|
| ||
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้) |
|
|
ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ | จำนวนตัวบ่งชี้ | I | P | O | คะแนนเฉลี่ย | ผลการประเมิน 0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน 1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง 2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง 3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี 4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก |
1 | 6 | 3.78 | 5.00 | 3.51 | 4.14 | ดี |
2 | 3 | 5.00 | 5.00 | 5.00 | 5.00 | ดีมาก |
3 | 1 | - | 5.00 | - | 5.00 | ดีมาก |
4 | 1 | - | 5.00 | - | 5.00 | ดีมาก |
5 | 2 | - | 5.00 | - | 5.00 | ดีมาก |
รวม | 13 | 4.08 | 5.00 | 4.26 | 4.60 | ดีมาก |
ผลการประเมิน | ดี | ดีมาก | ดี | ดีมาก | ดีมาก |
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา | องค์ประกอบที่ |
ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน องค์ประกอบที่ 1-5 |
||||
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
2562 | 3.61 | 2.67 | 3.00 | 3.00 | 4.50 | 3.44 |
2563 | 4.13 | 4.58 | 5.00 | 5.00 | 5.00 | 4.50 |
2564 | 4.14 | 5.00 | 5.00 | 5.00 | 5.00 | 4.60 |
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
จุดเด่น:
- มีสาขาวิชาที่สามารถบูรณาการศาสตร์ของทุกสาขาในการร่วมทำกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดที่ควรพัฒนา:
- ควรส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการที่ตรงสาขาเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการต่อไป รวมทั้งควรติดตามอย่างต่อเนื่อง
- พิจารณาการติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่องจากการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการข้อมูลศิษย์เก่า/ ปัจจุบันเพื่อเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น
- ทบทวนตัวชี้วัด และแผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในการพัฒนาทักษะทั่วไปและทักษะเฉพาะของนักศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
จุดเด่น:
- มีอาจารย์ที่มีศักยภาพในการรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากภายนอก และตีพิมพ์ผลงานวิจัยในฐาน TCIและ Scopus
จุดที่ควรพัฒนา:
- พิจารณาสัดส่วนผลงานวิจัย และผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำคณะ รวมทั้งควรวางแผนการทำผลงานวิชาการเพื่อการก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการต่อไป/ทั้งนี้ควรสร้างผลงานทางวิชาการทั้งตำรา หนังสือ และบทความวิจัย เพื่อเข้าสู่การขอผลงานทางวิชาการ
- พิจารณาประเด็นผลงานการวิจัยและการบริการวิชาการที่สามารถจดลิขสิทธิ์เพื่อสร้างคุณค่าของงานในคณะ/ชุมชนหน่วยงานเพิ่มขึ้น
- พิจารณาการวางเป้าหมายด้านผลงานวิจัย และบูรณาการการบริการวิชาการ วิจัย และศิลปวัฒนธรรมให้สามารถยกระดับการคุ้มครองสิทธิ์ การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การขอรับอนุสิทธิบัตร หรือผลงานสร้างสรรค์
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
จุดเด่น
- มีการใช้คุณลักษณะและปรัชญาของคณะเพื่อทำการบริการวิชาการตามศาสตร์และตามความเชี่ยวชาญอย่างเป็นรูปธรรม
จุดที่ควรพัฒนา:
- พิจารณาประเด็นของการนำผลความพึงพอใจของผู้รับบริการมาทำการวิเคราะห์โครงการที่สามารถพัฒนาให้ยั่งยืนและเข้มแข็งและควรมีการให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างคณะและผู้รับบริการต่อไป
- คณะอาจพิจารณากำหนดประเภทของงานบริการวิชาการให้ชัดเจน ในแผนบริการวิชาการ เช่น 1) โครงการตามความเชี่ยวชาญ 2) โครงการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง และ 3) โครงการตามคำร้องขอ การนำเสนอในผลการดำเนินงานต้องแสดงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายให้ชัดเจน รวมทั้งมีการประเมินความสำเร็จผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
- พิจารณาถอดบทเรียนและร่วมพิจารณาประเด็นการหาแนวทางการได้ประโยชน์ของผู้รับบริการเพื่อมาจัดทำแผนพัฒนาการบริการวิชาการสู่สังคมในด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมและวัฒนธรรมที่จะสามารถก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งก่อให้เกิดกระบวนการทางความคิดทั้งของอาจารย์ นักศึกษา และผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
จุดเด่น:
- มีทุนทางวัฒนธรรม ที่สามารถต่อยอดสู่ระดับชาติและนานาชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนเป็นที่ยอมรับ
- มีการส่งเสริมสนับสนุน นศ. ร่วมกิจกรรมวัฒนธรรม รวมทั้งสามารถนำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ถ่ายทอดให้กับผู้สนใจต่อไปได้
ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกตเพื่อการพัฒนา:
- อาจพิจารณานำผลลัพธ์จากการดำเนินการในปีที่ผ่านมา มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาโครงการที่สะท้อนวัฒนธรรมเชิงพื้นที่และประเพณีวัฒนธรรม ร่วมกับการพัฒนากิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น
- อาจพิจารณาจัดทำแผนด้านการทำนุศิลปะและวัฒนธรรมและมีการบรรจุโครงการด้านการทำนุศิลปะและวัฒนธรรมในแผน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างคุณค่า และสำนึกรักษ์ถิ่น หรือกิจกรรมการจัดตั้งและเผยแพร่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน สู่การอนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาสู่ฐานการเรียนรู้ สืบสาน ส่งต่อ ต่อยอดให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
จุดเด่น:
- มีคณะผู้บริหารที่ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และภาวะผู้นำเชิงวิชาการ รวมทั้งมีการบริหารงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ / เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของคณะได้เป็นอย่างดี
จุดที่ควรพัฒนา:
- อาจพิจารณาการบริหารความเสี่ยงร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพทั้งด้านสัดส่วนอาจารย์ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ ด้านจำนวนนักศึกษากับสัดส่วนอาจารย์ ด้านการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
- พิจารณาการนำเครื่องมือการจัดการความรู้มาใช้ประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยงด้านตำแหน่งวิชาการและจัดกลุ่มอาจารย์เพื่อเสริมสร้างการทำผลงานวิชาการต่อไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เชิงประจักษ์
- ควรพิจารณาประเด็นแผนพัฒนากลยุทธ์/แผนปฏิบัติการตามพันธกิจมาขับเคลื่อนการทำงานตามอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของคณะวิชาโดยเพิ่มตัวชี้วัดที่จะสามารถพัฒนางานด้านผลลัพธ์ผู้เรียน นวัตกรรม วิจัย และการบริการวิชาการให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น
บทสัมภาษณ์
ทาง อบต.ศาลายา ได้อะไรจากคณะ
- อบต.ศาลายารู้สึกเป็นเกียรติที่มหาวิทยาลัยส่งนักศึกษาไปฝึกงาน เพราะมีความร่วมมือกันมานาน นอกจากจะส่งนักศึกษามาแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมร่วมกันอีก เช่น การตักบาตรท้องน้ำ และด้านอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งนักศึกษาที่ไปฝึกงานเป็นนักศึกษาที่มีความประพฤติเรียบร้อย มีความทุ่มเทในการทำงานเมื่อมาฝึกงานประชาชนได้รับประโยชน์จากมหาวิทยาลัยอีกด้วย
ในระหว่างที่ฝึกงานเป็นนักศึกษาพระหรือคฤหัสถ์
- เข้ามาฝึกงารทั้งสอง โดยมีการมอบหมายงานให้เหมาะสมในแต่ละท่าน เช่น พระสงฆ์จะให้อยู่ฝ่ายพิธีการ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับธรรมะ เป็นต้น
ท่านคิดว่าทางคณะศาสนาและปรัชญาน่าจะมีอะไรที่ต้องพัฒนาอีก
- เราจะพูดถึงการสอบ (มีการสอบติดกันเยอะ) เป็นที่รักใคร่ของคนในท้องถิ่นคิดว่านักศึกษาดีกว่าที่อื่นๆ และทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้ดี มีการเปิดกว้างหลายสาขา ขอชื่นชมในด้านนี้ และมีการทำงานบูรณาการกันตลอด
ท่านคาดหวังเรื่องของความรู้และทักษะอะไรบ้าง
- ควรเพิ่มเติมหรือคาดหวังเรื่องชุมชน คือ สามารถจะเป็นพิธีกรในงานสำคัญได้ การนำสวดในงานต่างๆในกิจกรรมหรือชุมชน เช่น งานพิธีพระราชทานเพลิงศพ
คุณธรรม จริยธรรม เน้นเรื่องไหนเป็นพิเศษในงานของท่าน
- เรื่องวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ตรงเวลา สามารถที่จะไว้วางใจในการมอบหมายงานให้เรียบร้อย ลุล่วงไปได้ด้วยดี
ทักษะอะไรที่อยากให้เพิ่มเติมและมีอะไรที่อยากให้พัฒนาที่ดีขึ้นไหม
- เรื่องของความรู้รอบตัว นักศึกษาบางคนยังไม่รุ้ พยายามเอาผู้ที่มีความรู้จากภายนอกมาเสริม สามารถคิดค้นวิธีการสอนให้มากขึ้น
ท่านได้อะไรจากคณะ
- ได้หลักธรรมนำไปปฏิบัติกรรมฐาน นำไปเพิ่มพูนในการเรียนต่อในระดับปริญญาโท และนำหลักธรรมมาคิดและปฏิบัติพร้อมกับถ่ายทอดต่อคนที่สนใจ
ท่านได้นำองค์ความรู้จากการเรียนไปพัฒนางานของท่านในด้านใดที่ภูมิใจที่สุด
- ด้านจิตวิญญาณของคณะ โดยใช้หลักศาสนาและปรัชญา จิตวิทยามาใช้ในการปกครอง พอนำมาใช้และทำให้เกิดความสบายยิ่งขึ้น
อยากให้คณะมีการพัฒนาอะไร
- อยากให้พัฒนาคุณภาพ คนจะได้สนใจในคณะขึ้นเยอะๆ