
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
บทสรุปผู้บริหาร
คณะกรรมการประเมินคุณภาพ วิทยาเขตอีสานซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมิน 4.57 การดำเนินงานระดับดีมาก โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต วิทยาเขตอีสานปฏิบัติตามนโยบายของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับระบบอีกทั้งมีกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาและดำเนินการตามระบบที่กำหนด วิทยาเขตอีสานให้ความร่วมมือโดยการประชุมหารือการรับรองปริญญาทางการศึกษาซึ่งมหาวิทยาลัยได้สร้างความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตรของจำนวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมดทุกระดับการศึกษาและมีการปรับปรุงมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ใช้ในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานวิชาการและวิชาชีพเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การรับรองวิทยฐานะและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ในส่วนของจำนวนอาจารย์นั้นวิทยาเขตอีสานมีบุคลากรสายวิชาการจำนวนมาก ดังนั้นจึงควรวางแผนสนับสนุนให้อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการให้มากยิ่งขึ้น วิทยาเขตอีสานมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 1 เท่ากับ 4.24 การดำเนินงานระดับดี
องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย วิทยาเขตอีสาน มีสถาบันวิจัยญาณสังวรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ วิทยาเขตอีสานมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 2 เท่ากับ 4.67 การดำเนินงานระดับดีมาก
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ วิทยาเขตอีสานมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนเพื่อวางระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคมมีหลักเกณฑ์การให้บริการวิชาการแก่สังคมดำเนินการตามระบบที่กำหนดโดยจัดทำเป็นโครงการและมีผลการประเมินการบริการวิชาการที่บูรณาการการเรียนการสอนและรายงานผลการดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยได้บูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยประเมินผลความสำเร็จและได้นำผลการประเมินไปปรับปรุง การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคมโดยทั่วไปวิทยาเขตอีสานมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 3 เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตอีสานมีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมมีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งนอกจากการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาแล้วมหาวิทยาลัยได้นำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการและสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ วิทยาเขตอีสานมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 4 เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารและการจัดการ คณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสานปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มาตรา32 ครบถ้วนและมีการรายงานผลและมติการประชุมของคณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสาน นำไปสู่การปฏิบัติ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กำหนดนโยบายทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับสนับสนุนให้บุคลากรในวิทยาเขตมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมีการนัดประชุมโดยรองอธิการบดีเพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ทางการบริหารและมอบหมายให้ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้อำนวยการ 3 ส่วนงานดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
ในด้านการพัฒนาวิทยาเขตอีสานสู่มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยอย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีและนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
สำหรับด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจมีการสร้างเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและวางแผนระบบสารสนเทศที่ครอบคลุมการเรียนการสอนการวิจัยการบริหารจัดการ การเงิน งานระบบบริการการศึกษา ระบบสารบัญและสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานต่างกันได้อย่างมีคุณภาพระหว่างมหาวิทยาลัยหรือสร้างเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆและนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบสารสนเทศของวิทยาเขตอีสานได้เป็นอย่างดี
มีการวางระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยโดยการประกาศนโยบายและแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยให้บุคลากร ได้ทราบแนวทางระบบและกลไกเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับบุคลากรเพื่อให้อาจารย์ทุกสาขาวิชาและทุกส่วนงานสามารถนำผลงานวิจัยนั้นไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาต่อไป วิทยาเขตอีสาน มีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 5 เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
บทนำ
1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ
1.1 ชื่อส่วนงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ
ข้อมูลทั่วไป
(1) ชื่อ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
(2) เว็บไซต์ www.mbuisc.ac.th
(3) ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย :วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โสเสฏฺโ เทวมานุเส หมายถึง ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์
(4) สีประจำมหาวิทยาลัย : สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับสีของวันพฤหัสบดี อันเป็นวันพระราชสมภพ
(5) ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย :ต้นโพธิ์ เป็นที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
(6) คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา :ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์
(7) ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
พระมหามงกุฎ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราชวิทยาลัย”
พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ 60 ชั่ง
หนังสือ หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษ หมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา
ช่อดอกไม้แย้มกลีบในทางการศึกษา หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้ แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง กิตติศัพท์ กิตติคุณ ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ อิสริยยศ บริวารยศ
พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคงและแพร่หลายของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่
วงรัศมี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของ มหามกุฏราชวิทยาลัยภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย
มหามกุฏราชวิทยาลัย หมายถึง สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก ปัจจุบัน คือ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”
(8) อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย : บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ
(9) เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย : บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ
ที่ตั้ง
วิทยาเขต |
ที่อยู่ |
โทรศัพท์ |
โทรสาร |
|
1. |
มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง |
248 วัดบ้านสุวรรณ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 |
0-2282-8303, 0-2281-6427 |
0-2281-0294 |
2. |
วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย |
วัดชูจิตธรรมาราม เลขที่ 57 หมู่ที่ 1 ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 13170 |
035–745037–8 |
035 - 745037 |
3. |
วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย |
วัดสิรินธรเทพรัตนาราม เลขที่ 26 หมู่ที่ 7 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม 73160 |
0-2429-1663, 0-2429-1719 |
02 - 4291241 |
4. |
วิทยาเขตอีสาน |
เลขที่ 9/37 ม. 12 ถ.ราษฏร์คนึง บ้านโนนชัย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 |
043 – 241488, 043 - 239605 |
043 - 241502 |
5. |
วิทยาเขตล้านนา |
วัดเจดีย์หลวง 103 ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 |
053-270-9756 |
053-814-752 |
6. |
วิทยาเขตร้อยเอ็ด |
เลขที่ 148 ถ.เลี่ยงเมือง ต.ดงลาน อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 |
043 – 518364, 043 - 516076 |
043 - 514618 |
7. |
วิทยาเขตศรีล้านช้าง |
วัดศรีสุทธาวาส เลขที่ 253/7 ถ.วิสุทธิเทพ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย 42000 |
042 – 813028 042 - 830434 |
042- 830686 042 - 811255 |
8. |
วิทยาเขต ศรีธรรมาโศกราช |
วัดพระมหาธาตุ เลขที่ 169/9 ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ. เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 |
075 – 340499 |
075-310293 075 - 357968 |
9. |
มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์ |
หมู่ 6 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150 |
081 – 7022076 086 – 0123470 086 – 0155830 |
044 - 249398 |
10. |
วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร |
วัดศรีธรรมาราม เลขที่ 1 ถ.วิทยธำรงค์ อ.เมือง จ.ยโสธร 35000 |
045 – 711056 |
045 – 711567 045 - 711056 |
11. |
วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ |
วัดประชานิยม ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000 |
043 - 815393 |
043 – 815393 043 - 815855 |
ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) ตามลำดับ ดังนี้
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยและมีส่วนสำคัญในการสร้างรากฐานวัฒนธรรมทางจิตใจให้แก่เยาวชนไทย สังคมไทยในปัจจุบันกำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ แนวความคิดและการกระทำ มีการแข่งขันกันมากขึ้น มุ่งเน้นวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยมมากขึ้น ทำให้วิถีทางการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัว ขาดคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ทางสังคม เช่น การเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น การทุจริต การมัวเมาในสิ่งเสพติด ฉะนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสภาวะสังคมที่มีการแข่งขันกันสูง สถาบันต่างๆ ในสังคม เช่น สถาบันศาสนา สถาบันโรงเรียน และสถาบันครอบครัว ควรตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเยาวชนในวัยเรียนสมควรได้รับการอบรม สั่งสอน และวางพื้นฐานการประพฤติปฏิบัติทางคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เยาวชนเหล่านั้นเจริญเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป
การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพและศักยภาพให้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และเกื้อกูลต่อการพัฒนาประเทศชาติได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุก ๆ ด้าน สืบเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาการ ระบบการสื่อสารที่ไร้พรมแดนและการติดต่อสัมพันธ์กับสังคมโลกอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2533 สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยได้อนุมัติให้สถาปนาวิทยาเขตแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดขอนแก่น ต่อมาในปีพุทธศักราช 2540 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ว่าโดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนิติบุคคลมีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีชื่อใหม่ว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน และได้ย้ายจากวัดศรีจันทร์ ไปอยู่ที่บ้าน โนนชัย ถนนราษฎร์คนึง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น บนเนื้อที่ 37 ไร่ 3 งาน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ
- เพื่อเป็นสถานศึกษาด้านพระพุทธศาสนา
- เพื่อให้เป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศ
- เพื่อให้ศาสนทายาทได้เป็นกำลังในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนทายาทที่เหมาะสมกับกาลสมัย
- เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมประติมากรรมทางพระพุทธศาสนา
ทั้งนี้ ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสาน โดยมีพระครูสุธีจริยวัฒน์, ผศ.ดร. รองอธิการบดี เป็นประธานคณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสาน ได้แบ่งส่วนการบริหารงานออกเป็น 3 ส่วนงาน คือ
- สำนักงานวิทยาเขตอีสาน
- ศูนย์บริการวิชาการอีสาน
- วิทยาลัยศาสนศาสตร์อีสาน
เริ่มเปิดให้การศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณรตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2533 เป็นต้นมา และได้เปิดรับนักศึกษา (บุคคลทั่วไป) ในปีการศึกษา 2544 และเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2545 วิทยาเขตอีสานได้ขยายห้องเรียนไปที่ วัดแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และในปีการศึกษา 2549 ได้ขยายห้องเรียนอีกแห่งหนึ่ง คือ วัดพิศาลรัญญาวาส อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาเป็นระยะเวลา 32 ปี (พ.ศ. 2533 – 2565) เปิดสอนตามหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และมีสาขาวิชาจำนวน 16 สาขาวิชา ประกอบด้วย
หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 9 สาขาวิชา ได้แก่ 1. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2. สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ 3. สาขาวิชาการปกครอง 4. สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 5. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย 6. สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา 7. สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา 8. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 9. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโท จำนวน 4 สาขาวิชา ได้แก่ 1. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ 2. สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา 3. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา และ 4. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ระดับปริญญาเอก จำนวน 3 สาขาวิชา ได้แก่ 1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา 2. สาขาวิชาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา และ 3. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์
1.2 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ปรัชญา (Philosophy)
“ความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนา”
Academic Excellence based on Buddhism
ปณิธาน (Aspiration)
มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม ชี้นำและแก้ไขปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
วิสัยทัศน์ (Vision Statements)
(1) เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ
(2) เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมวลชนที่ผลิตบัณฑิตตามแนวพระพุทธศาสนาและบุคลากรด้านต่างๆ ที่มีความรู้ความสามารถ มีศีลธรรมในการดำรงชีวิตแบบพุทธ
(3) เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาของโลกที่สามารถชี้นำและยุติความขัดแย้งในสังคมโดยใช้หลักพุทธธรรม
(4) เป็นสถาบันที่เน้นทำวิจัยพัฒนาตามกรอบแห่งศีลธรรม ส่งเสริมงานวิจัยเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนาและนำผลการวิจัยไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
พันธกิจ (Mission Statements)
(1) ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนา ให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยและกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น
(2) ให้บริการวิชาการแก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์ และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการพระพุทธศาสนา
(3) วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย
(4) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้า ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม
วัตถุประสงค์ (Objectives)
(1) ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ
(2) ผลิตบัณฑิตให้เป็นคนดี คือ คิดดี พูดดี และทำดี ตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา
(3) บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่สังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นประจักษ์ชัดเจน ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
(4) ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้นำและสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งทางสังคมศาสตร์ และมีคุณภาพทั้งด้านความรู้และความประพฤติ
(5) ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้นำและสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา การเรียนรู้และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท
1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร
1.4 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร
การจัดรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัย เป็นการจัดตามความในมาตราที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 และเป็นการจัดตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้รัฐมนตรี (กระทรวงศึกษาธิการ) มีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 6 คือ “มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทะนุบำรุงศิลปวัฒธรรม”
การจัดโครงสร้างและระบบการบริหารมหาวิทยาลัย ในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ตามความในมาตรานั้น ๆ โดยอาจจำแนกองค์กรหรือหน่วยงานหลัก ๆ ได้ดังนี้
(1) สภามหาวิทยาลัย (2) สภาวิชาการ
(3) สำนักงานอธิการบดี (4) สำนักงานวิทยาเขต
(5) บัณฑิตวิทยาลัย (6) คณะ
(7) สถาบัน (8) สำนัก
(9) ศูนย์ (10) วิทยาลัย
1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร
1.5 รายชื่อผู้บริหาร และคณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสานชุดปัจจุบัน
- พระครูสุธีจริยวัฒน์, ผศ.ดร. รองอธิการบดี
- พระมหาวิศักดิ์ ชาตสุโภ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตในวิทยาเขตอีสาน
- พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ, ผศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์อีสาน
- พระครูธรรมาภิสมัย, ผศ.ดร. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการอีสาน
- ดร.เอกชาตรี สุขเสน ผู้ช่วยอธิการบดี
- ผศ.ดร.วิทูล ทาชา กรรมการ
- ผศ.ดร.ธนกร ชูสุขเสริม กรรมการ
8. นายแสงอาทิตย์ ไทยมิตร กรรมการ
1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน
ลำดับ |
สาขาวิชา |
ปริญญาตรี |
ปริญญาโท |
ปริญญาเอก |
รวมทั้งหมด |
1 |
สาขาวิชาการปกครอง |
141 |
- |
- |
141 |
2 |
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ |
76 |
- |
- |
76 |
3 |
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
73 |
- |
- |
73 |
4 |
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ |
66 |
- |
- |
66 |
5 |
สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ |
163 |
- |
- |
163 |
6 |
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย |
122 |
- |
- |
122 |
7 |
สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา |
98 |
- |
- |
98 |
8 |
สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา |
16 |
- |
- |
16 |
9 |
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย |
84 |
- |
- |
84 |
10 |
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ |
- |
20 |
- |
20 |
11 |
สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา |
- |
8 |
- |
8 |
12 |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
- |
43 |
|
43 |
13 |
สาขาวิชาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา |
- |
- |
25 |
25 |
14 |
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย |
- |
10 |
|
10 |
15 |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
- |
|
43 |
43 |
16 |
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย |
- |
|
7 |
7 |
รวม |
839 |
81 |
75 |
995 |
1.6 จำนวนนักศึกษา
ลำดับ |
สาขาวิชา |
ปริญญาตรี |
ปริญญาโท |
ปริญญาเอก |
รวมทั้งหมด |
1 |
สาขาวิชาการปกครอง |
141 |
- |
- |
141 |
2 |
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ |
76 |
- |
- |
76 |
3 |
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
73 |
- |
- |
73 |
4 |
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ |
66 |
- |
- |
66 |
5 |
สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ |
163 |
- |
- |
163 |
6 |
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย |
122 |
- |
- |
122 |
7 |
สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา |
98 |
- |
- |
98 |
8 |
สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา |
16 |
- |
- |
16 |
9 |
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย |
84 |
- |
- |
84 |
10 |
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ |
- |
20 |
- |
20 |
11 |
สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา |
- |
8 |
- |
8 |
12 |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
- |
43 |
|
43 |
13 |
สาขาวิชาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา |
- |
- |
25 |
25 |
14 |
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย |
- |
10 |
|
10 |
15 |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
- |
|
43 |
43 |
16 |
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย |
- |
|
7 |
7 |
รวม |
839 |
81 |
75 |
995 |
1.7 นักศึกษาจบการศึกษา
ลำดับ |
สาขาวิชา |
ปริญญาตรี |
ปริญญาโท |
ปริญญาเอก |
รวมทั้งหมด |
1 |
สาขาวิชาการปกครอง |
24 |
- |
- |
24 |
2 |
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ |
8 |
- |
- |
8 |
3 |
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ |
11 |
- |
- |
11 |
4 |
สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ |
43 |
- |
- |
43 |
5 |
สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา |
- |
5 |
- |
5 |
6 |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
- |
- |
7 |
7 |
7 |
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ |
- |
3 |
- |
3 |
รวม |
86 |
8 |
7 |
101 |
1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร
1.8 อาจารย์และบุคลากร
ลำดับที่ |
สาขาวิชา |
จำนวนอาจารย์จำแนกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ |
รวม |
||||||||||||||
ปริญญาตรี |
ปริญญาโท |
ปริญญาเอก |
|||||||||||||||
อ |
ผศ. |
รศ. |
ศ. |
อ |
ผศ. |
รศ. |
ศ. |
อ |
ผศ. |
รศ. |
ศ. |
อ |
ผศ. |
รศ. |
ศ. |
||
1 |
สาขาวิชาการปกครอง |
|
|
|
|
2 |
|
|
|
2 |
1 |
|
|
4 |
1 |
|
|
2 |
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ |
|
|
|
|
1 |
|
|
|
3 |
1 |
|
|
4 |
1 |
|
|
3 |
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
|
|
|
|
4 |
|
|
|
1 |
|
|
|
5 |
|
|
|
4 |
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ |
|
|
|
|
2 |
1 |
|
|
|
|
2 |
|
2 |
1 |
2 |
|
5 |
สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษ |
|
|
|
|
5 |
|
|
|
|
|
|
|
5 |
|
|
|
6 |
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย |
|
|
|
|
5 |
|
|
|
|
|
|
|
5 |
|
|
|
7 |
สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา |
|
|
|
|
5 |
|
|
|
|
|
|
|
5 |
|
|
|
8 |
สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา |
|
|
|
|
4 |
1 |
|
|
|
|
|
|
4 |
1 |
|
|
9 |
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย |
|
|
|
|
5 |
|
|
|
|
|
|
|
5 |
|
|
|
ลำดับที่ |
สาขาวิชา |
จำนวนอาจารย์จำแนกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ |
รวม |
||||||||||||||
ปริญญาตรี |
ปริญญาโท |
ปริญญาเอก |
|||||||||||||||
อ |
ผศ. |
รศ. |
ศ. |
อ |
ผศ. |
รศ. |
ศ. |
อ |
ผศ. |
รศ. |
ศ. |
อ |
ผศ. |
รศ. |
ศ. |
||
10 |
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
2 |
1 |
|
|
2 |
1 |
|
|
11 |
สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา |
|
|
|
|
|
|
|
|
3 |
1 |
|
|
3 |
1 |
|
|
12 |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
|
|
|
|
|
|
|
1 |
4 |
1 |
|
1 |
4 |
1 |
|
13 |
สาขาวิชาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา |
|
|
|
|
|
|
|
|
3 |
1 |
|
1 |
3 |
1 |
|
1 |
14 |
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย |
|
|
|
|
|
|
|
|
2 |
1 |
|
|
2 |
1 |
|
|
รวม |
0 |
0 |
0 |
0 |
33 |
2 |
0 |
0 |
17 |
10 |
3 |
1 |
50 |
12 |
3 |
1 |
|
รวมทั้งหมด |
0 |
35 |
31 |
66 |
ลำดับที่ |
หน่วยงาน |
จำนวนบุคลากรสายสนับสนุนจำแนกตามคุณวุฒิ |
รวม |
||
ปริญญาตรี |
ปริญญาโท |
ปริญญาเอก |
|||
1 |
สำนักงานวิทยาเขตอีสาน |
2 |
3 |
1 |
6 |
2 |
วิทยาลัยศาสนศาสตร์อีสาน |
3 |
|
|
3 |
3 |
ศูนย์บริการวิชาการอีสาน |
1 |
2 |
1 |
4 |
รวม |
6 |
5 |
2 |
13 |
1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่
1.9 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่
ลำดับ |
ภารกิจ |
งบดำเนินการ 2564 |
รวม |
หมายเหตุ |
|
งบประมาณ |
เงินรายได้ |
||||
1 |
งบบุคลากร |
|
10,443,900 |
10,443,900 |
|
2 |
งบดำเนินงาน |
3,214,800.00 |
7,150,297 |
10,365,097 |
|
3 |
งบลงทุน |
15,429,800 |
500,000 |
15,929,800 |
|
4 |
รายจ่ายอื่น |
|
10,000 |
10,000 |
|
5 |
งบเงินอุดหนุน |
8,410,000 |
50,000 |
8,460,000 |
|
รวม |
27,054,600 |
18,154,197 |
45,208,797 |
|
|
ลำดับ |
ภารกิจ |
งบดำเนินการ 2565 |
รวม |
หมายเหตุ |
|
งบประมาณ |
เงินรายได้ |
||||
1 |
งบบุคลากร |
|
14,202,800 |
14,202,800 |
|
2 |
งบดำเนินงาน |
3,000,000 |
4,147,350 |
7,147,350 |
|
3 |
งบลงทุน |
10,576,100 |
500,000 |
11,076,100 |
|
4 |
รายจ่ายอื่น |
|
|
|
|
5 |
งบเงินอุดหนุน |
8,410,000 |
|
8,410,000 |
|
รวม |
21,986,100 |
18,850,150 |
40,836,250 |
|
อาคารสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง
ลำดับ |
รายการ |
หมายเหตุ |
1 |
อาคารสำนักงานวิทยาเขตอีสาน |
1. ห้องเรียน จำนวน 9 ห้อง 2. ห้องการเงิน/ห้อง ผู้ช่วยอธิการบดี/ห้องผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต จำนวน 1 ห้อง 3. ห้อง ประกันคุณภาพการศึกษา/ห้อง กยศ. จำนวน 1 ห้อง 4. ห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน 1 ห้อง 5. ห้องเก็บเอกสารการเงิน จำนวน 1 ห้อง 6. ห้องสมาคมศิษย์เก่า จำนวน 1 ห้อง |
2 |
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9 |
1. ห้องเรียน จำนวน 4 ห้อง 2. ห้องปฏิบัติงานอาจารย์ จำนวน 3 ห้อง 3. ห้องทะเบียนและวัดผล จำนวน 1 ห้อง 4. ห้องผู้บริหาร จำนวน 1 ห้อง 5. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ห้อง 6. ห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน 1 ห้อง 7. ห้องคลินิกวิจัย จำนวน 1 ห้อง |
3 |
อาคารศูนย์บริการวิชาการ |
1. ห้องปฏิบัติงาน จำนวน 3 ห้อง 2. ห้องวิทยุและโทรทัศน์ จำนวน 1 ห้อง 3. ห้องศิลปวัฒนธรรม จำนวน 1 ห้อง 4. ห้องปฏิบัติงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน 2 ห้อง 5. ห้องผู้บริหาร จำนวน 2 ห้อง 6. ห้องพักรับรอง จำนวน 2 ห้อง 7. ห้องประชุม จำนวน 1 ห้อง |
ลำดับ |
รายการ |
หมายเหตุ |
4 |
อาคารหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก |
1. ห้องประชุม จำนวน 2 ห้อง 2. ห้องเรียน จำนวน 2 ห้อง 3. ห้องปฏิบัติงาน จำนวน 3 ห้อง 4. ห้องพักรับรอง จำนวน 3 ห้อง |
3 |
อาคารศูนย์วิทยบริการสิรินธร |
1. ห้องประชุม จำนวน 2 ห้อง 2. ห้องปฏิบัติงาน จำนวน 3 ห้อง |
4 |
อาคารพัสดุ |
1. ห้องพัสดุ จำนวน 2 ห้อง 2. ห้องงานอาคารสถานที่และยานพาหนะ จำนวน 1 ห้อง |
5 |
อาคารปุญญทัตโต |
1. ห้องคณะสังคมศาสตร์ 2. ห้องกิจการนักศึกษา |
6 |
อาคารเรียนและหอสมุด |
1. ห้องสมุด 2. ห้องเรียน จำนวน 3 ห้อง 3. ห้องผู้บริหารและคณาจารย์ จำนวน 3 ห้อง 4. ห้องสนับสนุนการเรียนรู้ จำนวน 3 ห้อง |
7 |
อาคารกิจการนักศึกษา |
1. ห้องกิจการนักศึกษาบรรพชิต |
8 |
อาคารกิจการนักศึกษา |
1. ห้องปฏิบัติงานอาจารย์ จำนวน 1 ห้อง 2. ห้องปฏิบัติงานกิจการนักศึกษาคฤหัสถ์ จำนวน 1 ห้อง |
9 |
โรงอาหาร |
1. โรงอาหาร 2. ร้านมินิมาร์ท 3. ร้านมกุฏบุ๊ค |
1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน
1.3 เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต
เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย
บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแกสังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต
บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ
1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา
ที่ | ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว | ความคิดเห็นของคณะ | ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ |
---|
สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
ปีการศึกษา 2564
|
|
|
|
|
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต | ||||
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม |
|
|
|
|
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก |
|
|
|
|
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ |
|
|
|
|
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ |
|
|
|
|
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต |
|
| ||
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย | ||||
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ |
|
|
|
|
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ |
|
|
|
|
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย |
|
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย |
|
| ||
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ | ||||
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม |
|
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ |
|
| ||
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม | ||||
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม |
|
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม |
|
| ||
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ | ||||
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ |
|
|
|
|
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร |
|
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ |
|
| ||
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้) |
|
|
ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ | จำนวนตัวบ่งชี้ | I | P | O | คะแนนเฉลี่ย | ผลการประเมิน 0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน 1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง 2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง 3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี 4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก |
1 | 6 | 3.96 | 5.00 | 3.53 | 4.24 | ดี |
2 | 3 | 5.00 | 4.00 | 5.00 | 4.67 | ดีมาก |
3 | 1 | - | 5.00 | - | 5.00 | ดีมาก |
4 | 1 | - | 5.00 | - | 5.00 | ดีมาก |
5 | 2 | - | 5.00 | - | 5.00 | ดีมาก |
รวม | 13 | 4.22 | 4.86 | 4.27 | 4.57 | ดีมาก |
ผลการประเมิน | ดี | ดีมาก | ดี | ดีมาก | ดีมาก |
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา | องค์ประกอบที่ |
ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน องค์ประกอบที่ 1-5 |
||||
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
2562 | 4.25 | 4.67 | 5.00 | 5.00 | 5.00 | 4.58 |
2563 | 4.26 | 4.02 | 5.00 | 5.00 | 5.00 | 4.43 |
2564 | 4.24 | 4.67 | 5.00 | 5.00 | 5.00 | 4.57 |
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
จุดเด่น
มีกิจกรรมที่ครอบคลุมตามภารกิจ
แนวทางเสริม
ปรับกิจกรรมในปีถัดไปให้สอดคล้องกับประกาศของกระทรวงต่อไป
บูรณการกิจกรรมที่จัดควรให้ครบทุกด้านในกิจกรรมเดียว เพื่อลดการจัดกิจกรรมที่มากเกินไป
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
จุดเด่น
มีผลงานวิชาการและได้รับทุนวิจัยที่มาก
แนวทางเสริม
1.อาจารย์ควรจัดทำงานวิจัยที่สอดคล้องกับสาขาวิชาการ เพื่อใช้ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
2.ควรตีพิมพ์ผลงานวิชาการที่อยู่ในฐานที่สูงขึ้น เพิ่มมากขึ้น
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
จุดเด่น
มีโครงการที่หลากหลาย เป็นโครงการที่ให้เปล่า
แนวทางเสริม
1.ควรพิจารณาโครงการบริการวิชาการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับวิทยาเขต
2.บริการวิชาการที่สอดคล้องกับวิชาชีพเพื่อให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนสามารถนำไปสู่การสะสมหน่วยกิต หรือนำไปสู่การขอรับปริญญา
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
จุดเด่น
วิทยาเขตมีการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมที่โดดเด่น ตามสื่อต่างๆ
แนวทางเสริม
นำดนตรีและแนวทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้เพื่อการบำบัดแก่ชุมชน หรือสังคม
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
แนวทางเสริม
1.วิทยาเขตควรปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับแผนมหาวิทยาลัยกลยุทธ์ที่ปรับใหม่
2. ควรนำผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยมาวิเคราะห์วางแผนในการบริหารงานภายในหน่วยงาน
3. วิทยาเขตควรกำกับการดำเนินงานบริหารหลักสูตรที่มีผลการประเมินน้อย ให้วางแผนการพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาอาจารย์และผลงานวิชาการ
4. เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกรู้จักมหาวิทยาลัยมากขึ้น รวมถึงภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
บทสัมภาษณ์
ผู้แทนชุมชน
1.มหาวิทยาลัย มีการอบรมนักศึกษาที่พักในชุมชนให้มีกิริยาที่ดี มหาวิทยาลัยได้มีหนังสือเชิญให้กับชุมชนเข้าร่วมงานต่างๆเป็นการเชื่อมโยงชุมชนกับมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี
2.เมื่อชุมชนขอความร่วมมือ ทางมหาวิทยาลัยก็ให้ความร่วมมืออย่างดี ทั้งอาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมเป็นอย่างดี
3. มหาวิทยาลัยมีการอนุรักษ์การแต่งตายนุ่งผ้าซิ่นในวันพระเพื่อสืบสานวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวอีสาน
4. การศึกษาของมหาวิทยาลัยไม่ได้ด้อยไปจากมหาวิทยาลัยดังๆ
ศิษย์เก่า
1. มหาวิทยาลัยสอนให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และให้เต็มที่กับการทำงาน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนนักเรียน
2. อาจารย์มีความเต็มที่ มีความใส่ใจนักศึกษา มีสอนเสริม กิจกรรมต่างๆนอกเวลา อยากให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเยอะๆ
3. อยากให้มีกิจกรรมในท้องถิ่นทุรกันดาร กิจกรรมส่งเสริมความเป็นครูมีสามารถประยุกต์ใช้ ทั้งการวางแผน แก้ปัญหา
4. มหาวิทยาลัยสร้างแนงบันดาลใจในการสร้างอาชีพให้สอบเป็นปลัดอำเภอ
5. การประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยโดยใช้ตัวเองเป็นแบบอย่างในการประชาสัมพันธ์ เวลาแนะแนวนักศึกษา ค่าใช้จ่ายที่ถูก แต่มีประสิทธิภาพมาก ไม่จำเป็นต้องไปเรียนมหาวิทยาลัย
นักศึกษาปัจจุบัน
1. มหาวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมมากมาย รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยอื่นๆ
ผู้ปกครอง
1 อยากให้เปิดป.โทในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์
ภาพถ่าย