Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 4.35 มีการดำเนินงานระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้

       องค์ประกอบที่ 1  การผลิตบัณฑิต วิทยาเขต มีกิจกรรมการบูรณาการในด้านการเรียนการสอนและกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ให้แก่นักศึกษา โดยจัดกิจกรรมตามแผนอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงเรื่องคุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาอุดมแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการจัดการศึกษา

          ในส่วนของจำนวนอาจารย์นั้น วิทยาเขตมีบุคลากรสายวิชาการจำนวนน้อย ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยเฉพาะบุคลากรสายวิชาการในระดับปริญญาเอก ดังนั้น วิทยาเขตจึงควรวางแผนสนับสนุนงบประมาณในการจ้างบุคลากรทางสายวิชาการเพิ่มขึ้น หรือพัฒนาบุคลากรทางสายวิชาการให้มีการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกมากขึ้น  วิทยาเขตมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 3.92 การดำเนินงานระดับดี

           องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยสู่วิทยาเขต เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และจัดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และให้ความรู้ด้านจรรยาบรรณการวิจัยแก่อาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ มีระบบการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยวิทยาเขตศรีล้านช้าง ได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยศรีล้านช้างขึ้น มีการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย และนำผลการประเมินไปปรับปรุงการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้างได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยและได้รับทุนอุดหนุนด้านการวิจัยจากภายใน ปีงบประมาณ 2564  ได้รับเงินทุนสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทั้งภายในทั้งสิ้น 802,447บาท วิทยาเขตมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.34 การดำเนินงานระดับดี

             องค์ประกอบที่ 3 การบริการทางวิชาการ  วิทยาเขตมีการจัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคมทุกด้าน เพื่อสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่น ๆ  มีหลักเกณฑ์การให้บริการวิชาการแก่สังคม ดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยจัดทำเป็นโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการการเรียนการสอนและรายงานผลการดำเนินงาน วิทยาเขตศรีล้านช้างควรบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัย ประเมินผลความสำเร็จ
และนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม วิทยาเขตมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  3 นี้เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

           องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตศรีล้านช้างมีการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมโดยตรง ซึ่งมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องทุกปี มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา ได้มีการประเมินและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาแล้ว วิทยาเขตศรีล้านช้างควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการ และสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ  วิทยาเขตมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

        องค์ประกอบที่ 5 การริหารจัดการ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กำหนดนโยบาย ทิศทางการดำเนินงาน และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ สนับสนุนให้บุคลากรในวิทยาเขตมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีการจัดประชุมโดยคณะกรรมการวิทยาเขตเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ มีการพัฒนาการจัดระบบฐานข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั้งในระดับหลักสูตรและวิทยาเขต ให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการจัดอบรมอาจารย์ประจำหลักสูตรให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิทยาเขตมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

 

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ชื่อสถาบัน

ภาษาไทย       :       มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

อักษรย่อ        :       มมร. ศช.

ภาษาอังกฤษ   :       Mahamakut Buddhist University,Srilanchang Campus    

อักษรย่อ        :       MBU. SLC.

ที่ตั้ง             :       69  ถนนวิสุทธิเทพ  ตำบลกุดป่อง  อำเภอเมืองเลย  จังหวัดเลย

                          โทรศัพท์  042-830434,042-813028,042-814616

                          โทรสาร  042-830686

Website       :       www.mbuslc.ac.th

 

          ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย : วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส หมายถึง ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

         สีประจำมหาวิทยาลัย : สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี  อันเป็นวันพระราชสมภพ

        ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นโพธิ์ เป็นที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

         คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา : ระเบียบ   สามัคคี  บำเพ็ญประโยชน์

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย :                          

 

                     พระมหามงกุฎหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4  พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม  “มหามกุฏราชวิทยาลัย” 

                     พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรองหมายถึง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  5  ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ  60 ชั่ง

                     หนังสือ  หมายถึง  คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา  โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ปากกาปากไก่  ดินสอ  และม้วนกระดาษหมายถึง  อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน  ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา  เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา

                     ช่อดอกไม้แย้มกลีบในทางการศึกษา หมายถึง  ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้  แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง  กิตติศัพท์  กิตติคุณ  ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ  อิสริยยศ  บริวารยศ

                     พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์หมายถึง  มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคงและแพร่หลายของพระพุทธศาสนา  ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่

                     วงรัศมีหมายถึง  ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของ  มหามกุฏราชวิทยาลัยภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย

                     มหามกุฏราชวิทยาลัยหมายถึง  สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก  ปัจจุบัน  คือ  “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” 

ที่ตั้ง

 

ที่

วิทยาเขต

ที่อยู่

โทรศัพท์

1.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง

248 วัดบ้านสุวรรณ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล

จ.นครปฐม 73170

0-2282 - 8303,   

0-2281 - 6427

2.

วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

วัดชูจิตธรรมาราม เลขที่ 57 หมู่ที่ 1
ต.สนับทึบ อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา 13170

035 - 745037 - 8

3.

วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

วัดสิรินธรเทพรัตนาราม เลขที่ 26
หมู่ที่ 7 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน         
จ.นครปฐม 73160

02 - 4291663,

 02 - 4291719

4.

วิทยาเขตอีสาน

เลขที่ 9/37 ม. 12 ถ.ราษฏร์คนึง
บ้านโนนชัย ต.ในเมือง อ.เมือง
จ.ขอนแก่น 40000

043 - 241488, 043 - 239605

5.

วิทยาเขตล้านนา

วัดเจดีย์หลวง 103 ตำบลพระสิงห์ 
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

053 - 270 - 9756

6.

วิทยาเขตร้อยเอ็ด

เลขที่ 148 ถ.เลี่ยงเมือง ต.ดงลาน   
อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000

043 - 518364, 043 - 516076

7.

วิทยาเขตศรีล้านช้าง

วัดศรีสุทธาวาส เลขที่ 253/7         
ถ.วิสุทธิเทพ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย 42000

042 - 813028, 042 - 830434

8.

วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

วัดพระมหาธาตุ เลขที่ 169/9         
ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ. เมือง

จ.นครศรีธรรมราช 80000

075 - 340499

9.

มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์

หมู่ 6 ตำบลภูหลวง อ.ปักธงชัย      
จ.นครราชสีมา 30150

081 - 7022076, 086 - 0123470, 086 - 0155830

10.

วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

วัดศรีธรรมาราม เลขที่ 1              
ถ.วิทยธำรงค์ อ.เมือง จ.ยโสธร 35000

045 - 711056

11.

วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

วัดประชานิยม ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000

043 - 815393

          ประวัติความเป็นมามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

          เมื่อ พ.ศ. 2536 พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ) ได้ปรารภถึงความจำเป็นของพระภิกษุสามเณรในภูมิภาคนี้ มีความลำบากในการเข้าไปศึกษาต่อในส่วนกลาง จึงได้เริ่มโครงการเปิดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรขึ้น และได้แต่งตั้งกรรมการพิจารณาทำโครงการจัดตั้งวิทยาเขต จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเสนอขอเปิดเป็นศูนย์ของวิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น โดยท่านพระเดชพระคุณพระธรรมวราลังการ รับอุปถัมภ์ด้านทุนทรัพย์ในการดำเนินการ และได้รับอนุมัติให้เป็นสาขาวิทยาเขตอีสาน ในโครงการนำร่องวิทยาเขตนอกเขต ได้เริ่มเปิดให้การศึกษา ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา

          วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 คณะกรรมการการศึกษาของสงฆ์ ได้อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตได้ตามมติสภามหาวิทยาลัย ที่ 1/2538 จึงได้จัดตั้งวิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลยขึ้น และได้ย้ายโอนนักศึกษาจากวิทยาเขตอีสานมาสังกัดวิทยาเขตศรีล้านช้าง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อให้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรในภูมิภาคนี้
  2. เพื่อให้ภิกษุสามเณร มีความรู้ความสามารถในวิทยาการด้านต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติไม่ขัดพระธรรมวินัย ให้มีความรู้ความสามารถในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชน
  3. เพื่อให้พระภิกษุสามเณร มีความรู้ความสามารถในการค้นคว้า โต้ตอบ หรืออภิปรายธรรมแก่ประชาชนทั่วไปได้อย่างกว้างขวาง
  4. เพื่อให้พระภิกษุสามเณร ได้เป็นกำลังสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนทายาทที่เหมาะแก่กาลสมัย
  5. เพื่อความเจริญก้าวหน้า และคงอยู่ตลอดกาลนานของพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการวิทยาเขตมีการบริหารและจัดการศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

 

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2.1 ปรัชญาของวิทยาเขต (Philosophy)

                     “รอบรู้ ประพฤติดี มีความสามารถ” 

1.2.2 ปณิธาน (Aspiration)

       มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักธรรมในท้องถิ่น

          1.2.3 วิสัยทัศน์และพันธกิจ

                 วิสัยทัศน์(Vision Statements)

                 เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ตามแนวทางพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนในท้องถิ่น

                  พันธกิจ (Mission Statements)

  1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้วิชาการทั้งทางโลกและทางธรรม
  2. สร้างสรรค์งานวิจัยทางพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสังคม
  3. บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่ท้องถิ่น
  4. ส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสานประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
  5. การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพที่เน้นคุณธรรมและความโปร่งใส

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร