
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
บทสรุปผู้บริหาร
จากการประเมินคุณภาพภายในของกคณะกรรมการ ในการประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้น ระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.33 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียด ผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 1.00 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับน้อย
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียนเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 2.67 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.67 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ3.80 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี
บทนำ
1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา) ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ศศ.บ. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)
3) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา
1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน
1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
2) สถานที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้พุทธศาสตร์ พัฒนาชาติและสังคม บ่มเพาะวัฒนธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ พัฒนาชีวิตแบบพอเพียง สร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาการ ทำงานอย่างมีความสุข มั่นคงและยั่งยืน
2) ความสำคัญของหลักสูตร
พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านพุทธศาสตร์ในมิติการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ
3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในการวางแผนพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ในองค์กรด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ และมีภาวะผู้นำในการนำความรู้ไปบูรณาการกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามแนวพุทธศาสตร์
3. เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 ด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์
1.4 รหัสหลักสูตร 25631864002372
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
เกณฑ์การประเมิน | ผลการดำเนินการ |
---|---|
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น |
|
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง |
|
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร |
|
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี |
|
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี |
|
สรุปผลการประเมิน | ผ่าน |
ตัวบ่งชี้คุณภาพ | เป้าหมาย | คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ | |
---|---|---|---|
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต | |||
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
||
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี |
|
||
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด |
|
|
|
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม |
|
||
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต |
|
||
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา | |||
3.1 การรับนักศึกษา |
|
|
|
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา |
|
|
|
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา |
|
||
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ | |||
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ |
|
|
|
4.2 คุณภาพอาจารย์ |
|
|
|
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ |
|
|
|
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ |
|
||
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | |||
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร |
|
|
|
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน |
|
|
|
5.3 การประเมินผู้เรียน |
|
|
|
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
|
|
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน |
|
||
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | |||
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
||
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้) |
|
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ | คะแนนผ่าน | จำนวนตัวบ่งชี้ | I | P | O | คะแนนเฉลี่ย | ผลการประเมิน 0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย 2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง 3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี 4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผ่าน | หลักสูตรได้มาตรฐาน | |||||
2 | ![]() |
1 | - | 1.00 | - | 1.00 | น้อย |
3 | 3 | 2.67 | - | - | 2.67 | ปานกลาง | |
4 | 4 | 3.67 | - | - | 3.67 | ดี | |
5 | 5 | 3.00 | 4.00 | - | 3.80 | ดี | |
6 | 1 | - | 4.00 | - | 4.00 | ดี | |
รวม | 14 | 3.21 | 3.50 | - | 3.33 | ดี | |
ผลการประเมิน | ดี | ดี | - | ดี | ดี |
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ควรจัดทำผลงานทางวิชาการในอาจารย์ที่มีผลงานใกล้คบ 5 ปี เพื่อให้ผ่านการประเมินในปีการศึกษา 2566
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
- ควรลงพื้นที่โรงเรียนพระปริยธรรม หรือลงแนะแนว พร้อมทั้งจัดทำ MOU เพื่อให้มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น
- ควรนำผลสอบของนักศึกษามาพิจารณาในเรื่องของการเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษา
- ควรมีการประเมินกระบวนการและนำผลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงในปีถัดไป
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
- ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ (IDP) เพื่อเป็นการวางแผนการพัฒนาอาจารย์และใช้ในการตอบโจทย์ด้านงานประกันคุณภาพ
- ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเรียนต่อในคุณวุฒิปริญญาเอก
- ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทำผลงานทางวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
- ควรมีการบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยให้ปรากฏอยู่ใน มคอ.3 และสอดคล้องกับแผนของมหาลัย
- ควรมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้อย่างต่ำ ร้อยละ 25 ของรายวิชาทั้งหมด
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
บทสัมภาษณ์คนที่ 1
- มีเพื่อเรียนกี่คน
ตอบ 17 รูป/คน
- ได้เรียนแล้วสามารถเอาองค์ความรู้ไปทำงานได้มาหน้อยเพียงใด
ตอบ สามารถนำมาใช้ชีวิตในการบริหารงานมาก นำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับพนักงานและองค์กรได้ดี
- ประทับใจอะไรในหลักสูตร
ตอบ ประทับใจในเรื่องหลักธรรม และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
- ประทับใจอาจารย์ท่านไหน
ตอบ ประทับใจอาจารย์ทุกท่าน เพราะแต่ละท่านมีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกันไป
สัมภาษณ์คนที่2
- เป้าหมายของการเรียน
ตอบ อยากรู้ให้เยอะ และเข้าใจในหลักธรรมมากขึ้น ครูอาจารย์สอนดี
- มีความกังวลอะไรไหม
ตอบ เรื่องเวลาและกลัวเรียนไม่จบ
- เรียนออนไลน์มีปัญหาอะไรไหม
ตอบ ดี ไม่มีปัญหาอะไร
- ควรเพิ่มเติมอะไรไหม
ตอบ ไม่มี
สัมภาษณ์คนที่ 3
- มาเรียนอายกไหม อยากให้หลักสูตรปรับอะไรไหม มีปัญหาอะไรหรือป่าว
ตอบ ไม่มีอุปสรรคในการเรียน ในการเรียนมีการช่วยเหลือกันได้ดีเพื่อที่จะให้จบพร้อมกัน ในเรื่องการสอนอาจารย์มีทัศนคติที่ดีและพร้อมที่จะช่วยเหลือนักศึกษาในด้านต่างๆ
สัมภาษณ์ผู้ปกครอง
- สนับสนุนให้เรียนเต็มที่และได้ศึกษาต่อไปเรื่อยๆ