Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือ สกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจำนวน 13 ตัวบ่งชี้ รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2564 วงรอบ มิถุนายน 2565ถึง 31 พฤษภาคม 2566 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของ สกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-5 คะแนนทุกตัวบ่งชี้ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

องค์ประกอบที่ การกำกับมาตรฐาน ผ่าน การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน 
องค์ประกอบที่ บัณฑิต  3.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ปานกลาง
องค์ประกอบที่ นักศึกษา ได้คะแนน 3.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ปานกลาง
องค์ประกอบที่ อาจารย์ ได้คะแนน 4.75 อยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก
องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน 4.20 อยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก
องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน  4.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี
โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผ่าน การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน ผลการประเมินรวมทุกองค์ประกอบ 4.00  อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ปรด.

3) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

รอบรู้พระพุทธศาสนา เชี่ยวชาญปรัชญา กล้าหาญทางคุณธรรม นำองค์ความรู้สู่การพัฒนามนุษย์”

2) ความสำคัญของหลักสูตร

        การแสวงหาและต่อยอดแนวคิดทางการศึกษา เพื่อเติมเต็มองค์แห่งความรู้ในสิ่งที่ขาดหายไป เพื่อสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความร่วมมือ ความเข้าใจ และไว้ใจซึ่งกันและกัน ก้าวผ่านความรู้ความเชื่อแบบมิติเดียว ตระหนักในความสกคัญของคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง
          พุทธศาสนาและปรัชญาได้ทำหน้าที่พยุงคุณค่าทางด้านความคิด ความเชื่อ ตลอดทั้งภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังคงท าหน้าที่ของตนเองต่อไป ทิศทางการศึกษาของมนุษยชาติจะก้าวหน้าและดำเนินไปในทิศทางใด สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือผู้ชี้แนะแนวทางให้แก่สังคม ผู้ที่จะสามารถชี้แนะ
แนวทางการศึกษาได้ดีนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักพุทธศาสนาและปรัชญาเป็นอย่างดี จึงจะสามารถทำหน้าที่นั้นได้อย่างสมบูรณ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงคุณค่าของพุทธศาสนาและปรัชญาดังกล่าว จึงได้ให้ความสำคัญต่อการผลิตบัณฑิตที่ทรงความรู้และความสามารถทาง
พุทธศาสนาและปรัชญา สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถชี้น าสังคมสู่วิถีทางที่ถูกต้อง และเสริมสร้างสันติสุขแก่สังคมโลก จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะขยายการศึกษาในด้านพุทธศาสนาและปรัชญาให้กว้างขวางในสังคมมากยิ่งขึ้น

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางพุทธศาสนาและปรัชญาสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ และบูรณาการกับวิทยาการสมัยใหม่ได้อย่างเป็นระบบ

2. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีบุคลิกภาพดี สามารถนำความรู้ประยุกต์ใช้กับสังคม สามารถให้ข้อเสนอแนะและชี้นำแก่สถาบันและองค์กรต่าง ๆ ในสังคมได้เป็นอย่างดี

3. เพื่อสร้างนักคิดและผู้นำที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีจิตใจกว้างขวาง กล้าหาญและเสียสละ

4. พื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นต้นแบบทางความคิดอันเกิดจากการวิจัยทางด้านพุทธศาสนาและปรัชญาในระดับสูง บัณฑิตสามารถสร้างทฤษฎีขึ้นใหม่ได้ โดยเน้นประสบการณ์ในงานวิจัยและมีดุษฏีนิพนธ์ที่มีคุณภาพดี เพื่อพัฒนาวิชาการด้านพุทธศาสนาและปรัชญาของชาติ

1.4 รหัสหลักสูตร 25631868002365

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของ

อาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
5.00
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
5
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.75
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.20
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
4.00
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 4 4.75 - - 4.75 ดีมาก
5 5 4.00 4.25 - 4.20 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 14 4.00 4.00 - 4.00 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

แนวทางเสริมจุดเด่น

1. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบและผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกต้องมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ TCI ฐาน 1

2. ในกรณีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมีคุณสมบัติอาจารย์ผู้สอบดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรควรนำเสนอสภามหาวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางเสริมจุดเด่น

1.ควรมีการประเมินระบบเเละกลไก หาสาเหตุที่รับไม่ตรงตาม มคอ. 2 เเละนำผลการประเมินการรับนักศึกษาไปพัฒนากระบวนการการรับนักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป

2.เพิ่มช่องทางการเทียบคุณวุฒิทางธรรม ตาม พรบ. ประโยค 3 - 5 

3. เพิ่มจุดขายหรืออัตลักษณ์ตัวตนของหลักสูตรให้เด่่นชัดเจน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเเข็ง :

มีระบบกลไกในการบริหารเเละพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจนส่งผลให้อาจารย์มีตำเเหน่ง ทางวิชาการครบทุกท่าน รวมทั้งมีการตีพิมพ์เผยเเพร่ผลงานทางวิชาการเป็นไปตามเป้าหมาย

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางเสริมจุดแข็ง

1.มีการรับรอง การวางระบบการจัดทำวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์รองรับได้เป็นอย่างดี 

แนวทางเสริมจุดแข็ง

1. หลักสูตรมีการบริหารจัดการทั้งการเรียนการสอนเเบบ Onside Online

2. หลักสูตรมีระบบการกำกับติดตามวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

3. หลักสูตรควรเพิ่มการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น การเเก้ไขปัญหา กรณีศึกษา การใช้การวิจัยในการเเก้ปัญหา การสร้างประสบการณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การลงพื้นที่เก็บข้อมูล เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางเสริมจุดแข็ง

1. หลักสูตรควรมีการสำรวจความต้องการของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้นักศึกษาเเละอาจารย์ จัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่ได้สำรวจความต้องการ รวมถึงการประเมินกระบวนการในการสำรวจเเละจัดสรรสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

2. ในการจัดการเรียนการสอนเเบบ Online การจัดหาlinkเอกสารที่นักศึกษาสามารถสืบค้นได้

3. หลักสูตรควรมีการนำนักศึกษาไปลงพื้นที่ หรือนำผลงานวิชาการของอาจารย์มาปรับใช้ สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายที่สามารถใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันได้

 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย