
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
บทสรุปผู้บริหาร
คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 16 ตัวบ่งชี้ โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจานวน 16 ตัวบ่งชี้ รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2565 วงรอบ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กรกฎาคม 2566 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของสกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-5 คะแนนทุกตัวบ่งชี้ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ผ่านการประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรได้มาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ได้คะแนน 3.42 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ ได้คะแนน 4.36 อยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี
โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้คะแนน 3.98 อยู่ในระดับ ดี การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน
บทนำ
1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
2) ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Sociology and Anthropology)
3) สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน
1) คณะต้นสังกัด คณะสังคมศาสตร์
2) สถานที่เปิดสอน
คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) ที่ตั้งอยู่ที่ 248 หมู่ที่ 1
ถนนศาลายา - นครชัยศรี ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) ปรัชญาของหลักสูตร
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในแนวคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยา มีทักษะด้านการวิจัยทางสังคม ธรรมะวิจัย มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างเป็นระบบ เป็นผู้ที่ยึดมั่นหลักพุทธธรรมมีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคณะสังคมศาสตร์ให้การสนับสนุนความเสมอภาคทางการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ความสำคัญของหลักสูตร
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในแนวคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยา มีทักษะด้านการวิจัยทางสังคม ธรรมะวิจัย มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างเป็นระบบ เป็นผู้ที่ยึดมั่นหลักพุทธธรรม มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคณะสังคมศาสตร์ให้การสนับสนุนความเสมอภาคทางการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
1.2.1 เพื่อให้บัณฑิตได้มีความรู้ในหลักการ แนวคิด และทฤษฎีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
1.2.2 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์และธรรมะวิจัย
1.2.3 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะการทำงานผ่านการฝึกปฏิบัติภาคสนาม
1.2.4 เพื่อให้บัณฑิตสามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุขภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามแนวทางพระพุทธศาสนา
1.4 รหัสหลักสูตร 25491861111936
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
คณะสังคมศาสตร์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
เกณฑ์การประเมิน | ผลการดำเนินการ |
---|---|
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น |
|
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง |
|
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร |
|
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี |
|
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี |
|
สรุปผลการประเมิน | ผ่าน |
ตัวบ่งชี้คุณภาพ | เป้าหมาย | คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ | |
---|---|---|---|
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต | |||
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
|
|
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี |
|
|
|
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด |
|
|
|
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม |
|
||
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต |
|
||
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา | |||
3.1 การรับนักศึกษา |
|
|
|
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา |
|
|
|
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา |
|
||
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ | |||
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ |
|
|
|
4.2 คุณภาพอาจารย์ |
|
|
|
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ |
|
|
|
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ |
|
||
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | |||
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร |
|
|
|
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน |
|
|
|
5.3 การประเมินผู้เรียน |
|
|
|
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
|
|
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน |
|
||
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | |||
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
||
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้) |
|
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ | คะแนนผ่าน | จำนวนตัวบ่งชี้ | I | P | O | คะแนนเฉลี่ย | ผลการประเมิน 0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย 2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง 3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี 4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผ่าน | หลักสูตรได้มาตรฐาน | |||||
2 | ![]() |
3 | - | 1.00 | 4.64 | 3.42 | ดี |
3 | 3 | 4.00 | - | - | 4.00 | ดี | |
4 | 4 | 4.36 | - | - | 4.36 | ดีมาก | |
5 | 5 | 4.00 | 4.00 | - | 4.00 | ดี | |
6 | 1 | - | 4.00 | - | 4.00 | ดี | |
รวม | 16 | 4.18 | 3.50 | 4.64 | 3.98 | ดี | |
ผลการประเมิน | ดีมาก | ดี | ดีมาก | ดี | ดี |
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
1. เพื่อช่องทางการประชาสัมพันธ์ในการรับสมัครนักศึกษา เพื่อให้ได้นักศึกษาที่เพิ่มขึ้น
2. หลักสูตรควรวิเคราะห์กระบวนการรับนักศึกษา อาจกำหนด SWOT Analysis ของหลักสูตรให้เห็นถึง จุดแข็ง จุดด้อย โอกาส และ อุปสรรค ที่สงผลให้จำนวนนักศึกษาแรกเข้าน้อยลงอย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
1. สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรศึกษาในระดับปริญญาเอก
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
1. ควรมีการบูรณาการการเรียนการสอนให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม และด้านทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
สัมภาษณ์ผู้ปกครอง
- ผู้ปกครองคิดว่ามหาวิทยาลัยเป็นยังไงบ้าง
ตอบ มหาวิทยาลัยดีค่ะอาจารย์ใส่ใจดี
- ลูกเคยเล่าให้ฟังบ้างไหมว่าตั้งแต่ปีหนึ่งถึงปีสี่สะท้อนให้เห็นว่ามีการปรับปรุงอะไรบ้าง
ตอบ รู้สึกว่าลูกมีการปรับปรุงในทางที่ดีขึ้นทำตัวเรียบร้อยขึ้นและเข้ากับคนอื่นได้มากขึ้นค่ะ
สัมภาษณ์ศิษย์ปัจจุบัน
- อยากทำงานอะไร
ตอบ ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 1 ยังไม่แน่ใจขอคิดดูก่อน
ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 2 กำลังจะสอบด้านพัฒนาชุมชน
- มีความประทับใจอะไรบ้างในมหาวิทยาลัยของเรา
ตอบ ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 1 ช่วยอะไรหลายหลายอย่างมีอาจารย์และรุ่นพี่คอยช่วยให้คำแนะนำปรึกษาหารือบรรยากาศในมหาวิทยาลัยดีร่มรื่นรู้สึกชื่นชอบและสงบดีรุ่นพี่และเพื่อนเพื่อนช่วยเหลือกันดี
ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 2 สาขาทำให้เรามองเห็นรากฐานทางสังคมอาจารย์สอนให้เข้าใจคน เข้าใจสังคมมีความประทับใจอาจารย์ทุกท่านชอบพระครูธรรมะคุดเพราะท่านสามารถอธิบายภาพรวมให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น
- หลังจากที่เข้ามหาวิทยาลัยมามีอะไรเปลี่ยนแปลงกับตัวเองบ้าง
ตอบ ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 1 เปลี่ยนความคิดพอได้เข้ามาเรียนได้เข้าใจสภาพของคนและอะไรที่ทำให้เปลี่ยนแปลงทางสังคมของคนได้
ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 2 เปลี่ยนมากไม่ชอบเข้าสังคมพอมาเรียนรู้ทำให้เราเข้าใจสังคมมากขึ้นปรับตัวเข้ากับเพื่อนและพูดคุยกันมากขึ้นมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตมากขึ้น
- หลักสูตรที่เรียนเหมาะสมอย่างไร
ตอบ ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 1 เหมาะสมมากเลยเพราะผมอยากเรียนทางนี้มาตั้งแต่แรก
- การพัฒนาชุมชนกับหลักสูตรที่เรียนเอื้อต่อกันไหม
ตอบ ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 2 เอื่อมากค่ะและเป็นแรงบันดาลใจอยากให้เป็นนักพัฒนาชุมชนค่ะ
สัมภาษณ์ศิษย์เก่าคนที่ 1
- คิดว่าสิ่งที่เราจบมากับที่ทำงานเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ การดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปได้เรียนรู้วิชาคน สังคม ทำให้เรามองสังคมแบบว่าถ้ามันเกิดขึ้นมันเป็นเรื่องธรรมดาและรู้สึกเฉยๆต่อสถานการณ์ต่างๆ
- นำหลักธรรมอะไรไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง
ตอบ อิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ใช้ในการทำงานและสามารถต่อยอดสอนให้กับน้องๆต่อไปได้
- ถ้าให้มองกลับไปที่มหาวิทยาลัยคิดว่ามหาวิทยาลัยมีอะไรที่ควรปรับปรุง
ตอบ สาขาขาดจุดเด่น ซึ่งแตกต่างจากสาขาวิชาอื่นๆ ที่มีจุดเด่นที่ชัดเจน เพราะสังคมวิทยาไปทำงานอะไรได้บ้างมันเป็นหลักฐานที่ยังไม่แน่ชัด อยากให้มีหลักปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นกว่านี้
ศิษย์เก่าคนที่สอง
- ตอนนี้ทำงานอะไร
ตอบ เป็นพนักงานเอกชนตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของโครงการหมู่บ้านเอพี
- นำความรู้ที่เรียนไปใช้ต่อไปอย่างไรบ้าง
ตอบ นำความรู้ไปใช้ได้เป็นอย่างดีและรู้สึกว่าอยากเจอลูกค้าหลายคน หลากหลายมากขึ้นและได้เอาสังคมวิทยาไปปรับใช้ในเรื่องความใจเย็น ความสงบ ดูพฤติกรรมคนว่ามาทางไหนและจะต้องทำไงต่อไปและนำไปต่อยอดได้มากๆเลยค่ะ
- เมื่อให้สะท้อนภาพในอดีตที่เราอยู่เห็นว่ามหาวิทยวิทยาลัยและสาขามีอะไรที่โดดเด่นตรงไหนและปรับปรุงตรงไหนบ้าง
ตอบ จุดเด่นการเรียนไม่เครียดเปิดกว้างในสังคมได้ออกพื้นที่และมีกิจกรรมมากขึ้นซึ่งการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในห้องเรียนอาจารย์แต่ละท่านมีความโดดเด่นแตกต่างกันไปและมีความที่เก่งแตกต่างกันไป