
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
บทสรุปผู้บริหาร
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในรอบปีการศึกษา 2564 (1 มิถุนายน 2564 – 31 พฤษภาคม 2565) ได้คะแนนการประเมินตนเองในภาพรวมเฉลี่ย 3.67 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ มีผลการประเมินทั้ง 6 องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สกอ.) มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่านการประเมิน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ไม่รับการประเมิน
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการรับนักศึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.33 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ด้านคุณภาพอาจารย์ และด้านผลที่เกิดกับอาจารย์ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสาระของรายวิชาในหลักสูตร ด้านการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการประเมินผู้เรียน และด้านผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
บทนำ
1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
2) ชื่อปริญญา หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาษาอังกฤษ : Doctor of Education Program in Educational Administration
3) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน
1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด
2) สถานที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๓)
เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีภาวะผู้นำและมีธรรมาภิบาลที่ดี มีการใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนา มีความรู้ความสามารถ และวิสัยทัศน์ระดับสูงในสาขาวิชาและสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
2) ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๓)
เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีภาวะผู้นำและมีธรรมาภิบาลที่ดี มีการใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนา มีความรู้ความสามารถ และวิสัยทัศน์ระดับสูงในสาขาวิชาและสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๓)
มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณสมบัติ ดังนี้ คือ
- มีภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลที่ดีในการบริหารการศึกษาโดยเฉพาะคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และจรรยาบรรณทางวิชาชีพรวมทั้งสามารถใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาเพื่อการบริหารการศึกษา โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางวิชาการและมาตรฐานทางวิชาชีพ
- มีความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางการบริหารการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมโลกและสังคมภูมิภาค เพื่อการวิพากษ์เชิงเปรียบเทียบกับระบบการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาในประเทศไทยในมิติต่าง ๆ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารการศึกษา ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง แนวโน้ม และนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางวิชาการและมาตรฐานทางวิชาชีพ
- มีความสามารถทำความเข้าใจทฤษฎี ปรากฏการณ์ การปฏิบัติ การแก้ไขปัญหา และการวิจัย โดยใช้ทักษะการคิดขั้นสูงที่เน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ ทั้งจากการเรียนการสอนแบบปกติในชั้นเรียนและจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
- มีความสามารถในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อคุณภาพของผลงานการเรียนรู้ทั้งในเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการ
- มีความสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างประสิทธิผล ทั้งเพื่อการเรียนรู้ การเรียนการสอน การวิจัย การติดต่อสื่อสาร การบริหารจัดการ และอื่น ๆ
- มีความสามารถทำวิจัยในประเด็นที่ท้าทาย มีความลุ่มลึกการทำวิจัยในระดับสูงมีการจัดการและลึกซึ้งกับปัญหาเชิงจริยธรรม สื่อความคิดและข้อสรุปจากผลการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมต่อความเป็นผู้นำการวิจัยในสาขาวิชา
1.4 รหัสหลักสูตร
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
เกณฑ์การประเมิน | ผลการดำเนินการ |
---|---|
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น |
|
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย |
|
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย |
|
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของ อาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น |
|
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย |
|
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย |
|
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ |
|
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้ |
|
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน |
|
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี |
|
สรุปผลการประเมิน | ผ่าน |
ตัวบ่งชี้คุณภาพ | เป้าหมาย | คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ | |
---|---|---|---|
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต | |||
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
||
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ |
|
||
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต |
|
||
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา | |||
3.1 การรับนักศึกษา |
|
|
|
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา |
|
|
|
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา |
|
||
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ | |||
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ |
|
|
|
4.2 คุณภาพอาจารย์ |
|
|
|
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ |
|
||
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | |||
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร |
|
|
|
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน |
|
|
|
5.3 การประเมินผู้เรียน |
|
|
|
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน |
|
||
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | |||
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
||
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้) |
|
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ | คะแนนผ่าน | จำนวนตัวบ่งชี้ | I | P | O | คะแนนเฉลี่ย | ผลการประเมิน 0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย 2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง 3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี 4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผ่าน | หลักสูตรได้มาตรฐาน | |||||
2 | ![]() |
0 | - | - | - | - | - |
3 | 3 | 3.33 | - | - | 3.33 | ดี | |
4 | 3 | 3.78 | - | - | 3.78 | ดี | |
5 | 4 | 4.00 | 3.67 | - | 3.75 | ดี | |
6 | 1 | - | 4.00 | - | 4.00 | ดี | |
รวม | 11 | 3.62 | 3.75 | - | 3.67 | ดี | |
ผลการประเมิน | ดี | ดี | - | ดี | ดี |
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
หลักสูตรควรออกแบบโครงการ/กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ตอบสนองต่อธรรมชาติและคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์โดยพิจารณาจาก มคอ.2 เป็นสำคัญ
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
หลักสูตรควรดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาบริหารรายบุคคล (IDP) โดยกำหนดให้พัฒนา ด้านวิชาการ เช่น การทำวิจัย ตีพิมพ์บทความวิชาการ/วิจัย ในฐาน TCI หรือ ในฐานระดับนานาชาติ และ Scopus ในด้านการขอตำแหน่งทางวิชการ ได้แก่ อาจารย์ทุกท่านต้องดำเนินการขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น การพัฒนาตนเองด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดิจิตอล
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
1.ควรมีการประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมตามกรอบมาตฐาน 6 ด้าน ได้แก่ 1. คุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความัมพธนธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข 6. ด้านทักษะการดำเนินตามวิถีพุทธ
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
หลักสูตรควรมีการประสานขอความร่วมมือเรื่องสิ่งสนันสนุนนอกสถาบันเพื่อการพัฒนาการเรียน
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ศิษย์เก่า
- แรงจูงใจในการศึกษาที่นี่ อยากเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จึงอยากศึกษาทางด้านการบริหารการศึกษา และใกล้สถานที่ทำงาน สะดวก เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง
- หลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาเสนอความคิดเห็นได้เต็มที่ และสามารถมาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ดี
- อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการกำกับติดตาม และดูแลให้คำปรึกษาอย่างดี
- มหาวิทยาลัยมีการผ่อนผัน เรื่อค่าใช้จ่ายในการศึกษา เพื่อช่วยให้การคงอยู่นักศึกษา ไม่ออกไปไหน
- สามารถนำความรู้มาต่อยอด กับการทำงาน เช่นการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ การปฏิสัมพันธ์ การรับการมอบหมายงานของผู้บริหารเป็นตัวแทนของผู้บริหารในการทำงานบางอย่าง
- รายวิชาการที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถือเป็นสิ่งที่ดี ได้ใช้สิ่งเรานี้ในการทำงาน นอกจากการบริหารคนแล้ว ต้องมีการช่วยเหลือเกื้อกูล เมตตากรุณา สามารถมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
นักศึกษาปัจจุบัน
- รายวิชาทุกวิชาสามารถนำมาต่อยอดในการทำดุษฎีนิพนธ์ ขึ้นอยู่กับในมิติไหน
- แรงจูงใจที่สนใจในการศึกษาที่นี่เกิดจากความหน้าสนใจของมหาวิทยาลัยที่นำหลักพระพุทธศาสนามาประยุกต์
ผู้ปกครอง
- มีความภาคภูมิในใจตัวของบุตร มีพฤติกรรมเรียบร้อย
ผู้ใช้บัณฑิต
- บัณฑิตมีภาวะผู้นำที่ดี เช่นการตัดสินใจที่ดี และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีจิตอาสา มีความสามารถทางเทคโนโลยี
- หลักสูตรทำให้เค้ามีทักษะการทำงานข้ามสายงานได้ดี
- มหาวิทยาลัยเป็นที่ปลอดภัยต่อผู้เรียนทางด้านสังคม และมีค่าใช้จ่ายที่ถูก