
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2563
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์
บทสรุปผู้บริหาร
จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.87 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.70 ระดับคุณภาพดีมาก
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 ระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.63 ระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.00 ระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 ระดับคุณภาพดี
บทนำ
1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์
2) ชื่อปริญญา ศศ.บ. (ภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์)
3) สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์
1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน
1) คณะต้นสังกัด คณะมนุษยศาสตร์
2) สถานที่เปิดสอน
คณะมนุษยศาสตร์
1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม ศีลธรรมทั้งพฤติกรรมและความคิด
2) ความสำคัญของหลักสูตร
1. เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสายบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ได้ปฏิบัติตามและเข้าใจตรงกัน
2. เป็นแผนปฏิบัติงานของคณาจารย์ในการจัดการเรียนด้านภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ให้กับนักศึกษา
3. เป็นมาตรฐานในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์
4. เป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของนักศึกษา สาขาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
5. เป็นเครื่องกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักศึกษา สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ชุมชน และสังคม
3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจโครงสร้างของภาษาบาลีและสันสกฤต สามารถอ่าน เข้าใจ วิเคราะห์และรู้จักแต่งประโยคบาลีและสันสกฤตได้เป็นอย่างดี
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าใจเนื้อหาของวรรณคดีและวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต และสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างกับวรรณคดีไทยและวัฒนธรรมไทยได้
3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวความคิดทางพระพุทธศาสนาและปรัชญาในคัมภีร์ รวมทั้งเรื่องของภารตวิทยามากขึ้น
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถสร้างคำ ประกอบการวิเคราะห์วิจัยคำหรือบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นใช้ในภาษาไทย
5. เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาภาษาบาลีสันสกฤตในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในระดับสูงขึ้น
1.4 รหัสหลักสูตร
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2563
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
เกณฑ์การประเมิน | ผลการดำเนินการ |
---|---|
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น |
|
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง |
|
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร |
|
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี |
|
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี |
|
สรุปผลการประเมิน | ผ่าน |
ตัวบ่งชี้คุณภาพ | เป้าหมาย | คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ |
---|---|---|
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต | ||
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
|
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต |
|
|
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา | ||
3.1 การรับนักศึกษา |
|
|
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา |
|
|
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา |
|
|
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ | ||
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ |
|
|
4.2 คุณภาพอาจารย์ |
|
|
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ |
|
|
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | ||
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร |
|
|
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน |
|
|
5.3 การประเมินผู้เรียน |
|
|
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน |
|
|
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | ||
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
|
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้) |
|
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2563
องค์ประกอบที่ | คะแนนผ่าน | จำนวนตัวบ่งชี้ | I | P | O | คะแนนเฉลี่ย | ผลการประเมิน 0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย 2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง 3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี 4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผ่าน | หลักสูตรได้มาตรฐาน | |||||
2 | ![]() |
2 | - | - | 4.70 | 4.70 | ดีมาก |
3 | 3 | 3.33 | - | - | 3.33 | ดี | |
4 | 3 | 3.63 | - | - | 3.63 | ดี | |
5 | 4 | 4.00 | 4.00 | - | 4.00 | ดี | |
6 | 1 | - | 4.00 | - | 4.00 | ดี | |
รวม | 13 | 3.56 | 4.00 | 4.70 | 3.87 | ดี | |
ผลการประเมิน | ดี | ดี | ดีมาก | ดี | ดี |
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
จุดแข็ง
1. อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิตรง
2. ชื่อหลักสูตรมีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์
จุดที่ควรพัฒนา
1. ควรส่งเสริมให้อาจารย์เรียนต่อในระดับปริญญาเอก
2. หลักสูตรควรมีการทำ MOU กับแม่กองธรรม
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
จุดแข็ง
ตามที่ผู้ใช้บัณฑิตได้ประเมิน นักศึกษามีทักษะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ(TQF) ครบทั้ง 5 ด้าน
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
จุดแข็ง
นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรและการจัดการข้อร้องเรียนได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ
จุดที่ควรพัฒนา
ควรจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในศตวรรษที่ 21
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
จุดที่ควรพัฒนา
1. ควรมีการบรรจุแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อการคงอยู่
2. ควรมีสัญญาจ้างในระยะยาวที่ครอบคลุมทั้งปีการศึกษา
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
จุดแข็ง
มีทุนการศึกษาให้นักศึกษาทุกรูป/คน