
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา
บทสรุปผู้บริหาร
ผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง คือ 3.63 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรมีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 คือผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต มีคะแนนเฉลี่ยที่ 4.79 โดยมีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา 10 คน และได้งานทำ 7 คน ประกอบอาชีพอิสระ 3 คน อยู่ในดีมาก
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ในการรับและพัฒนานักศึกษาทางหลักสูตรได้ให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้ เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับคุณภาพปานกลาง
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรมีการบริหารและพัฒนาคุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.52 จัดอยู่ในระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ในการดำเนินการหลักสูตรได้มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 เท่ากับ 3.75 อยู่ในระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรได้มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 จัดอยู่ในระดับปานกลาง
บทนำ
1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา
2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนพระพุทธศาสนา)
3) สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา
1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน
1) คณะต้นสังกัด มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์
2) สถานที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์
95 หมู่ 7 ตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 30150
1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนามุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา โดยมีความสอดคล้องกับปรัชญาสถาบันคือมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน มีการบูรณาการการสอนกับพุทธวิทยาการศึกษา
2) ความสำคัญของหลักสูตร
1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทางด้านการสอนพระพุทธศาสนาอย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณสำหรับครู
2. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์
3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการทางพระพุทธศาสนา การบูรณาการ การประยุกต์ใช้พุทธวิทยากับการศึกษา ศาสตร์การสอน และการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีทักษะการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาที่มีคุณภาพ เพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนและสังคม สร้างทักษะแห่งการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21
3. มีคุณธรรมจริยธรรม อุดมการณ์และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีบุคลิกภาพ คุณลักษณะคุณสมบัติความเป็นครูที่ดี รวมทั้งมีศักยภาพที่จะพัฒนางานให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถใช้ความรู้ ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา และการทำงานได้
1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105546
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
เกณฑ์การประเมิน | ผลการดำเนินการ |
---|---|
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น |
|
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ) |
|
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร |
|
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี |
|
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี |
|
สรุปผลการประเมิน | ผ่าน |
ตัวบ่งชี้คุณภาพ | เป้าหมาย | คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ |
---|---|---|
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต | ||
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
|
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต |
|
|
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา | ||
3.1 การรับนักศึกษา |
|
|
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา |
|
|
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา |
|
|
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ | ||
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ |
|
|
4.2 คุณภาพอาจารย์ |
|
|
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ |
|
|
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | ||
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร |
|
|
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน |
|
|
5.3 การประเมินผู้เรียน |
|
|
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน |
|
|
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | ||
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
|
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้) |
|
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ | คะแนนผ่าน | จำนวนตัวบ่งชี้ | I | P | O | คะแนนเฉลี่ย | ผลการประเมิน 0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย 2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง 3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี 4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผ่าน | หลักสูตรได้มาตรฐาน | |||||
2 | ![]() |
2 | - | - | 4.79 | 4.79 | ดีมาก |
3 | 3 | 3.00 | - | - | 3.00 | ปานกลาง | |
4 | 3 | 3.52 | - | - | 3.52 | ดี | |
5 | 4 | 4.00 | 3.67 | - | 3.75 | ดี | |
6 | 1 | - | 3.00 | - | 3.00 | ปานกลาง | |
รวม | 13 | 3.37 | 3.50 | 4.79 | 3.63 | ดี | |
ผลการประเมิน | ดี | ดี | ดีมาก | ดี | ดี |
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
แนวทางส่งเสริมและพัฒนา
ควรมีการวิเคราะห์จำนวนการรับนักศึกษาให้เหมาะสมกับความคุ้มค่า คุ้มทุน ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
แนวทางส่งเสริมและพัฒนา
1.ควรมีการกำกับติดตามตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้ใน IDP แผนพัฒนารายบุคคลของสาขาวิชา ภายในระยะเวลาที่กำหนด
2.ส่งเสริมและสันบสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นำเสนอและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย บทความทางวิชาการ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติที่หลากหลาย
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
แนวทางส่งเสริมและพัฒนา
1.ควรมีการกำกับติดตามประเมินผลการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในผลลัพธ์ของหลักสูตร
2.ควรจัดทำการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
แนวทางส่งเสริมและพัฒนา
ควรนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ทั้งของนักศึกษาและอาจารย์ไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุเป่าหมายตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร