
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
บทสรุปผู้บริหาร
บทสรุปผู้บริหาร
จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ในรอบปีการศึกษา 2562
(1 สิงหาคม 2562 - 31กรกฎาคม 2563) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค.2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนเฉลี่ยของทุกตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบที่ 2-6 เท่ากับคะแนนเฉลี่ย 3.64 มีคุณภาพอยู่ระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานโดยรวมทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ ได้บริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ สกอ. กำหนด อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ปฏิบัติหน้าที่เต็มตามกรอบภาระงานและได้ร่วมกันปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ 2559 (ฉบับปรับปรุง) ให้มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิชาการ การบริหารจัดการหลักสูตรของสาขาวิชาการศึกษาฐมวัยดังกล่าวเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทุกประการ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 ได้ผ่านการประเมิน และผลการประเมินหลักสูตรได้มาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มาตั้งแต่ พ.ศ. 2554-2559 ซึ่งผลการใช้หลักสูตรในปีการศึกษา 2562 จากการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.90 ซึ่งมีระดับระดับคุณภาพดีมาก
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้ให้ความสำคัญกับการรับนักศึกษา และคัดเลือกนักศึกษา โดยได้วางแผน ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และก่อนเข้าเรียนในสถานศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยได้มีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้าศึกษา โดยการปฐมนิเทศ และการอบรมเตรียมความพร้อมในด้านภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ทักษะชีวิต ฯลฯ ที่จำเป็นต่อการเรียนในมหาวิทยาลัย ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 3.67 ซึ่งมีระดับระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์อย่างเป็นระบบ มีการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรอยู่เสมอ เพื่อวางแผนปรับปรุงพัฒนางานและดูแลหลักสูตรให้มีคุณภาพ นอกจากนี้ได้มีการส่งเสริม และพัฒนาอาจารย์ โดยให้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังให้ไปศึกษาดูงาน อบรม ประชุม ฯลฯ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 ได้คะแนนเฉลี่ย 2.85ซึ่งมีระดับระดับคุณภาพปานกลาง
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย เป็นไปตามกรอบมาตรฐานของ สกอ. มีการมอบหมายรายวิชาที่สอนให้ตรงกับความเชี่ยวชาญของอาจารย์ผู้สอน มีการประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามสภาพจริง เพื่อให้มีความสอดคล้องตามผลการเรียนรู้ของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 ได้คะแนนเฉลี่ย 3.50 ซึ่งมีระดับระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้ดำเนินการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ เอกสาร ตำรา งานวิจัย ฯลฯ ให้มีเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นในทุกปีการศึกษา ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.00 ซึ่งมีระดับระดับคุณภาพดี
บทนำ
1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
2) ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย) ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศษ.บ. (การศึกษาปฐมวัย)
3) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน
1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด
2) สถานที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน มีการบูรณาการการสอนกับพุทธวิทยาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชา และครูผู้สอนพระพุทธศาสนาและสอนศีลธรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลิตบัณฑิตที่มีปรีชาสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ ทางด้านการศึกษาปฐมวัย กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครู
2) ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นหลักสูตรที่มีนักศึกษานิยมเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก เพราะเมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถทำงานได้ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชนและสถานศึกษาในสังกัดอื่นๆ ตลอดจนสามารถสร้างงานด้วยตนเอง โดยเปิดสถานรับเลี้ยงดูเด็กในรูปแบบต่าง ๆ ฯลฯ
จากหลักสูตรเดิมของปี 2549 ได้พัฒนาตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพ (TQF) มาเป็นหลักสูตรปี 2554 และครบกำหนดรอบการปรับปรุงหลักสูตรในปี 2559 สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ภายในปีการศึกษา 2559 อีกทั้งยังเป็นหลักประกันที่ชัดเจนในการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตระดับอุดมศึกษา ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยตามข้อมูลพื้นฐานคุณลักษณะบัณฑิตของสังคมไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเด็กระดับปฐมวัย ให้มีความพร้อมและมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้เต็มตามศักยภาพ การผลิตครูปฐมวัยที่มีความเป็นครู พร้อมด้วยความรู้ความสามารถในด้านการสอน มีการบูรณาการการสอนในศาสตร์กับแนวทางพระพุทธศาสนา ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชา และครูผู้สอนพระพุทธศาสนา โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและมีประสบการณ์เฉพาะสาขาวิชา เพื่อใช้จัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบที่หลากหลาย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงคุณภาพบัณฑิตของสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ให้มีสมรรถนะครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างเด็กระดับปฐมวัยให้เจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพ เป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติไทยในอนาคตต่อไป
ดังนั้น การปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติและปรัชญาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยจึงมุ่งพัฒนานักศึกษาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขตลอดจนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อันจะเกิดความรู้ที่จะนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติอย่างเหมาะสมต่อไป
3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
1) มีความรู้ความเข้าใจในด้านการสอนพระพุทธศาสนา การสอนศีลธรรมในระดับปฐมวัย สามารถประยุกต์ใช้พุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) มีความรู้ความสามารถ มีทักษะ มีความพร้อมและมีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบอาชีพครูอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพที่จะพัฒนางานในวิชาชีพให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถประยุกต์หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเพื่อการเรียนการสอนและการดำรงชีวิตที่เหมาะสม
3) ตระหนักและเห็นความสำคัญในแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวนโยบายของรัฐ และการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ มีศรัทธา และมีจิตสานึกในวิชาชีพครู มีความคิดอย่างเป็นระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถในการจัดการเรียนการสอน การค้นคว้าและปรับปรุงรูปแบบ เทคนิคและวิธีการสอนให้เหมาะสมแก่กาลสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนในศตวรรษที่ 21
4) มีคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และมีทักษะความพร้อมด้านสังคม ที่จำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต
5) มีความสามารถในการให้การศึกษาเรียนรู้ และปฏิบัติงานในวิชาชีพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6) มีความเป็นผู้นำและผู้ร่วมงานที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความสามารถขั้นพื้นฐานในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานโดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน
1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105478
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
เกณฑ์การประเมิน | ผลการดำเนินการ |
---|---|
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น |
|
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ) |
|
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร |
|
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี |
|
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี |
|
สรุปผลการประเมิน | ผ่าน |
ตัวบ่งชี้คุณภาพ | เป้าหมาย | คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ |
---|---|---|
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต | ||
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
|
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต |
|
|
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา | ||
3.1 การรับนักศึกษา |
|
|
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา |
|
|
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา |
|
|
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ | ||
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ |
|
|
4.2 คุณภาพอาจารย์ |
|
|
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ |
|
|
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | ||
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร |
|
|
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน |
|
|
5.3 การประเมินผู้เรียน |
|
|
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน |
|
|
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | ||
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
|
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
|
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้) |
|
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ | คะแนนผ่าน | จำนวนตัวบ่งชี้ | I | P | O | คะแนนเฉลี่ย | ผลการประเมิน 0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย 2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง 3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี 4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผ่าน | หลักสูตรได้มาตรฐาน | |||||
2 | ![]() |
2 | - | - | 4.90 | 4.90 | ดีมาก |
3 | 3 | 3.67 | - | - | 3.67 | ดี | |
4 | 3 | 2.85 | - | - | 2.85 | ปานกลาง | |
5 | 4 | 3.00 | 3.67 | - | 3.50 | ดี | |
6 | 1 | - | 4.00 | - | 4.00 | ดี | |
รวม | 13 | 3.22 | 3.75 | 4.90 | 3.64 | ดี | |
ผลการประเมิน | ดี | ดี | ดีมาก | ดี | ดี |
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
1.อาจารย์มีผลงานทางวิชาการครบทุกคน
2.อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
1.บัณฑิตมีการดำเนินงานตามเกณฑ์ บัณฑิตมีงานทำตรงตามสาขาวิชาในวิชาที่จบในจำนวนที่มาก
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
1.มีกระบวนการทำงานที่เป็นเชิงประจัก นักศึกษามีกิจกรรมที่หลากหลาย อาจารย์มีการให้การดูแลอย่างทั่งถึงตลอกหลักสูตร
2.มีอัตราการคงอยู่และการสำเร็จการศึกษาที่มีแนวโน้มดีขึ้น
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
1.มีการพัฒนาอาจาย์ให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
2.ควรวางแนวทางในการเพิ่มตำแหน่งทางวิชาการให้สููงขึ้นสำหรับอาจารย์
3.ควรวางแผนเกี่ยวกับอัตรากำลังของอาจารย์
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
1.มีกระบวนการจัดการครบในการจัดการหลักสุตร
2.ควรดำเนินการให้ครบตามที่ มคอ.กำหนด
3.ให้ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
1.สิงสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอ
2.มีการปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันทีตามที่มีการร้องเรียนจากนักศึกษา
3.ต้องสนับสนุนเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ปัจจุบัน