
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
บทสรุปผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐาน
ตามที่ ภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) ตามกระบวนการและมาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับทราบและอนุมัติหลักสูตร ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 ในปีการศึกษา 2561 นั้น คณะสังคมศาสตร์ ได้ใช้หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ในการบริหารจัดการระบบการเรียนการสอน และใช้ตรวจประเมินในครั้งนี้
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีความเห็นชอบร่วมกันในการที่จะขยายมาตรฐานทางการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลไปสู่ผลสัมฤทธิ์ในระดับชาติ เพื่อรองรับนักศึกษา การศึกษา การจัดการเรียนการสอน การบริหารการศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรดังกล่าวฯ อันจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ให้บัณฑิตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาและวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณร ผู้ดำรงตำแหน่งทางปกครอง ตลอดจนประชาชนผู้สนใจศึกษาวิชาการทางพุทธศาสนาในระดับอุดมศึกษาให้มีความรู้ที่หลากหลาย และมีความโดดเด่นในด้านวิชาการทางพุทธศาสนา ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม แก่ชุมชนและสังคมโดยรวม
ภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ให้มีความพร้อมและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยยึดหลักความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานที่กำหนดไว้
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา
ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
ปีการศึกษา 2562 สาขาวิชาการปกครอง ภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ใช้หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) เริ่มการวางแผนการประเมินคุณภาพการศึกษาโดยนำผลการประเมินในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา (2561) ใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนโดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2562-31 พฤษภาคม 2563 และรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรประจำปี 2562 (มคอ.7) หลังสิ้นสุดภาคการศึกษา จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ปีการศึกษา 2562 ผลการประเมินเฉลี่ยในภาพรวมทุกองค์ประกอบ พบว่า หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.71ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี
จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขา วิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้น ระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.72 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมี รายละเอียด ผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง สอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตาม หลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.62 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดีมาก
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือก นักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามี ความรู้ความสามารถ ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับดี
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมิน ตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.33 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับดี
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.00 หลักสูตรได้ มาตรฐาน ระดับดี
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผล การเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับดี
บทนำ
1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
2) ชื่อปริญญา รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง) ร.บ. (การปกครอง) ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Political Science (Government) ชื่อย่อ : B.Pol.Sc. (Government)
3)
1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน
1) คณะต้นสังกัด
2) สถานที่เปิดสอน
คณะสังคมศาสตร์
วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตร้อยเอ็ด
วิทยาเขตล้านนา
วิทยาเขตอีสาน
วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
วิทยาเขตศรีล้านช้าง
วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และความประพฤติที่ดีตามหลักศาสนา เป็นพลเมืองดีที่สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคม มีทักษะ ความรู้ ความสามารถทางรัฐศาสตร์ ทั้งทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง สนับสนุนให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ อื่นๆ เพื่อให้รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ได้ ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม เพื่อนำพาประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2) ความสำคัญของหลักสูตร
3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1 ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการปกครองให้มีทักษะและมีความรู้ทางวิชาการด้านการปกครอง และสามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการปกครองได้
2 ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการปกครองให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ มีความพร้อมในการศึกษาค้นคว้า พัฒนา และต่อยอดความรู้ด้านการปกครอง
3 ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการปกครองที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำและจิตสาธารณะ สามารถบริการวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อรับใช้สังคม
4 ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการปกครอง มีวิสัยทัศน์ เข้าใจปัญหาสังคมและสามารถวิพากษ์สิจารณ์ตามหลักวิชาการทางรัฐศาสตร์และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม
1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105557
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
ปีการศึกษา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
เกณฑ์การประเมิน | ผลการดำเนินการ |
---|---|
สรุปผลการประเมิน | ผ่าน |
ตัวบ่งชี้คุณภาพ | เป้าหมาย | คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ |
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต | ||
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | 4 | 4.27 |
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต | 4.27 | |
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา | ||
3.1 การรับนักศึกษา | 4 | 3 |
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา | 4 | 4 |
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา | 4 | 3 |
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา | 3.33 | |
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ | ||
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ | 4 | 3 |
4.2 คุณภาพอาจารย์ | 5 | 3.00 |
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์ | 4 | 4 |
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ | 3.33 | |
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | ||
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร | 4 | 4 |
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน | 4 | 3 |
5.3 การประเมินผู้เรียน | 4 | 4 |
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | 4 | 5 |
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | 4.00 | |
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | ||
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | 4 | 3 |
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | 3.00 | |
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (12 ตัวบ่งชี้) | 3.61 |
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา
องค์ประกอบที่ | คะแนนผ่าน | จำนวนตัวบ่งชี้ | I | P | O | คะแนนเฉลี่ย | ผลการประเมิน 0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย 2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง 3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี 4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก |
1 | ผ่าน | หลักสูตรได้มาตรฐาน | |||||
2 | ![]() |
1 | - | - | 4.27 | 4.27 | ดีมาก |
3 | 3 | 3.33 | - | - | 3.33 | ดี | |
4 | 3 | 3.33 | - | - | 3.33 | ดี | |
5 | 4 | 4.00 | 4.00 | - | 4.00 | ดี | |
6 | 1 | - | 3.00 | - | 3.00 | ปานกลาง | |
รวม | 12 | 3.43 | 3.75 | 4.27 | 3.61 | ดี | |
ผลการประเมิน | ดี | ดี | ดีมาก | ดี | ดี |
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
-องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
หลักสูตรควรมีการปรับคุณภาพอาจารย์ให้มีการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น เเละมีการสนับสนุนการเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ เเละมีการรักษาคุณภาพของอาจารย์ให้คงอยู่ในหลักสูตร เพื่อเพิ่มคุณภาพของหลักสูตรต่อไป