Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

บัณฑิตวิทยาลัย


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาจากการดำเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ได้คะแนนการประเมิน คะแนนเฉลี่ย…4.27..อยู่ในระดับ.ดี.. โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบ ที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับคะแนนเฉลี่ย ...4.73.... อยู่ในระดับ..ดีมาก..

          องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย ...4.50... อยู่ในระดับ..ดี

          องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 2.67... อยู่ในระดับ..ปานกลาง

          องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา และสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

          องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องบริหารจัดการด้านต่างๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 4.50 อยู่ในระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ชื่อส่วนงาน   :        บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

อักษรย่อ      :   บว.

ภาษาอังกฤษ :   Graduate School

อักษรย่อ      :   GS

สถานที่ตั้ง    :    เลขที่ 248 อาคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หมู่ที่ 1
ถ.ศาลายา-นครชัยศรี ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

ประวัติ        :   บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งขึ้นจาก
สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2530 เพื่อทำการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

  1. เพื่อผลิตนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาและปรัชญาให้มีคุณวุฒิและคุณสมบัติ
  2. เพื่อผลิตพระภิกษุนักบริหาร นักพัฒนา นักวิจัย และนักเผยแผ่ตามหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา
  3. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ภาษา ศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
  4. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยทางพระพุทธศาสนาและปรัชญา

ลำดับการเปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย :

พ.ศ. 2535  เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา

พ.ศ. 2545  เปิดรับนักศึกษาคฤหัสถ์รุ่นแรก สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ระดับปริญญาโท

พ.ศ. 2547  เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง รับบรรพชิต/คฤหัสถ์ และสาขาวิชาสังคมวิทยา รับบรรพชิต/คฤหัสถ์

พ.ศ. 2548  เปิดสอนระดับปริญญาเอก สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา รับบรรพชิต/คฤหัสถ์

พ.ศ. 2550  เปิดสอนระดับปริญญาเอก สาขาวิชาศาสนาและปรัชญารับบรรพชิต/คฤหัสถ์

พ.ศ. 2551  เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาการจัดการศึกษา รับบรรพชิต/คฤหัสถ์

พ.ศ. 2552  บัณฑิตวิทยาลัยมีวิวัฒนาการเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ และได้ย้ายสำนักงานที่ทำการจากตึก สว.ธรรมนิเวศ ชั้นที่ 5 วัดบวรนิเวศวิหาร มา ณ อาคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ
วโรรส อาคาร B 7.1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ. นครปฐม

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ปรัชญามหาวิทยาลัย

    “ความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนา”

     Academic Excellence Based on Buddhism

 

ปรัชญาบัณฑิตวิทยาลัย

          “ส่งเสริม ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อองค์ความรู้ คู่คุณธรรม”

           Encouragement of Education, Learning and Research for Gainng Knowledge and Characters Commitment of Gradeate School

 

          ปณิธาน

          “ให้โอกาสศึกษา ค้นคว้า วิจัย ใช้คุณธรรมนำวิชาการ”

           Giving Education Opportunity, Learning and Research with Intergrated Academic Knowledge and Characters

 

          วิสัยทัศน์

          “คณาจารย์และบัณฑิตมีความเป็นผู้นำด้านการวิจัยและการศึกษาทางพระพุทธศาสนา”

           Instructors and Scholars Being of Leadership on Research and Education According to Buddhism

 

     พันธกิจ

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม และมีจิตอาสา
  2. ส่งเสริมบุคลากรผลิตผลงานทางวิชาการและนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้
  3. สนับสนุนบุคลากรและนักศึกษาสามารถบริการวิชาการแก่สังคม
  4. สร้างความเป็นผู้นำทางความรู้ในการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม
  5. มุ่งสร้างองค์กรให้มีการบริหารจัดการตามหลักพระพุทธศาสนาและธรรมาภิบาล

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

ผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย

     พระสุทธิสารเมธี,ผศ.ดร. รักษาการทนคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

     รายชื่อคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ในปีการศึกษา 2565 บัณฑิตวิทยาลัย มีการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 หลักสูตร โดยแบ่ง เป็น ระดับปริญญาโท จำนวน 2 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้

ระดับปริญญาโท

1.หลักสูตศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)

2.หลักสูตศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)

ระดับปริญญาเอก

3. หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)

4. หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)

1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 2565

ที่

หลักสูตร

รูป/คน

1

หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

 5

2

หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

 7

3

หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

 10

4

หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

 4

 

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

ที่

หลักสูตร

รูป/คน

1

หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

 8

2

หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

 8

3

หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

 15

4

หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

 2

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

อาจารย์และบุคลากร

คณาจารย์

สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา                             (ป.โท และ ป.เอก)

1.พระเมธาวินัยรส (สุเทพ พุทธจรรยา), รศ.ดร.      (ป.โท และ ป.เอก)

2.รศ.ดร.สุวิญ รักสัตย์                                  (ป.โท และ ป.เอก)

3.พระมหาบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ (วงค์แก้ว), ผศ.ดร.    (ป.โท และ ป.เอก)

4.พระศรีวินยาภรณ์ (สายรุ้ง แดงงาม), ดร.           (ป.โท และ ป.เอก)

5.ชมพูนุช ช้างเจริญ                                    (ป.โท และ ป.เอก)           

 

สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา                     (ป.โท และ ป.เอก)

6.พระสุทธิสารเมธี (ชัยยันต์ สืบกระพันธ์),ผศ.ดร.   (ป.โท และ ป.เอก)

7.พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน (ด้วงวงศ์), ดร.         (ป.โท และ ป.เอก)

8.พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม (อามาตย์มนตรี), ผศ.ดร. (ป.โท และ ป.เอก)

9.รศ.ดร.บุญร่วม คำ เมืองแสน                        (ป.โท และ ป.เอก)

10.ดร.กฤตสุชิน พลเสน                                  (ป.โท และ ป.เอก)

 

อาจารย์ประจำ บัณฑิตวิทยาลัย

11.ดร.เชน เพชรรัตน์

 

บุคลากร

1.พระครูวินัยธรอภิชาติ อภิชาโต

2.แม่ชีอชิรญา จริงวาจา

3.ดร.กิตติวัจน์ ไชยสุข

4.นางวสุมดี นันตมาศ

5.นายสุคำ ยะเรือนงาม

6.นายสรศักดิ์ อินทแพทย์

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยสถานที่ตั้งของบัณฑิตวิทยาลัยอยู่ที่อาคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (B 7.1) เป็นอาคาร 5 ชั้น โดยชั้นที่ 1 เป็นห้องโถง ใช้สำหรับในการจัดกิจกรรมทั่วไป ชั้นที่ 2 เป็นสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย ห้องประชุม และห้องอเนกประสงค์ ชั้นที่ 3 เป็นห้องทำงานคณาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา ชั้นที่ 4 และ 5 เป็นห้องเรียนระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและปริญญาเอก) และได้บริหารงบประมาณซึ่งเป็นงบรายได้ของบัณฑิตวิทยาลัยโดยผ่านแผนงบประมาณของมหาวิทยาลัยแต่ละปีงบประมาณ

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย

“บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ”

อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย

“บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ”

อัตลักษณ์บัณฑิต

“บุคลากรและบัณฑิตมีองค์ความรู้ทางการวิจัยตามแนวพระพุทธศาสนา”

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ
สรุปผลการประเมิน
บัณฑิตวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
4.11
4.11
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
4.55
4.55
ไม่บรรลุ
1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่รับการประเมิน
1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่รับการประเมิน
1.6 การส่งเสริมสนับสนุน บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร
2
5
5
บรรลุ
1.7 การส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา
2
5
5
บรรลุ
1.8 ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีหรือธรรมศึกษาชั้นตรีระดับอุดมศึกษา ไม่รับการประเมิน
1.9 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.73
4.73
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
4
4
ไม่บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
5
5
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
2.4 ผลงานงานวิจัยและ/หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Knowledge Contribution for Intellectual and Moral Development)
2
5
5
บรรลุ
2.5 บุคลากรที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Morality Role Model)
2
5
4
บรรลุ
2.6 ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย (Knowledge Contribution from Intellectual and Moral Cultivation Network)
2
4
4
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
4.67
4.50
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration Ecosystem for Sustainable Social Development)
2
5
3
บรรลุ
3.2 จำนวนหน่วยงานหรือองค์กรชุมชนเป้าหมาย ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตามแผนบริการวิชาการ
2
5
5
บรรลุ
3.3 งบประมาณ/ทรัพยากรวิจัยเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Funding for Knowledge Creation in Intellectual and Mortal Development)
2
0
0
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.33
2.67
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา
2
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
4
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
4.50
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (17 ตัวบ่งชี้)
4.51
4.27

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
บัณฑิตวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 5 4.78 5.00 4.11 4.73 ดีมาก
2 6 5.00 4.00 4.50 4.50 ดี
3 3 - 3.00 2.50 2.67 ปานกลาง
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 4.50 - 4.50 ดี
รวม 17 4.85 4.43 3.87 4.27 ดี
ผลการประเมิน ดีมาก ดี ดี ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 4.444.072.001.004.003.72
2563 4.334.563.003.004.004.09
2564 4.693.453.003.005.004.10
2565 4.734.502.675.004.504.27
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

1.บัณฑิตวิทยาลัยเร่งดำเนินการวางแผนการสรรหานักศึกษาให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อความคุ้มทุนของหลักสูตร

2. สรรหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาให้สืบค้นง่าย และสะดวก รวมถึงทรัพยากรการใช้งาน เช่นห้องพักนักศึกษา จัดห้องสำหรับปรึกษาวิทยานิพนธ์

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดเด่น

  • มีอาจารย์ที่มีศักยภาพในการรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากภายนอก และตีพิมพ์ผลงานวิจัยในฐาน TCIและ Scopus

แนวทางเสริมจุดเด่น

ส่งเสริมให้อาจารย์ตีพิมพ์ในระดับนานาชาิตมากขึ้น

สนับสนุนทุนการตีพิมพ์เผยแพร่ของอาจารย์

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
  1. สรรหาทุนบริหารวิชาการ และทุนวิจัยภายนอกให้มากขึ้น
  2. พิจารณาประเด็นของการนำผลความพึงพอใจของผู้รับบริการมาทำการวิเคราะห์โครงการที่สามารถพัฒนาให้ยั่งยืนและเข้มแข็งและควรมีการให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างคณะและผู้รับบริการต่อไป
  3. คณะอาจพิจารณากำหนดประเภทของงานบริการวิชาการให้ชัดเจน ในแผนบริการวิชาการ เช่น 1) โครงการตามความเชี่ยวชาญ 2) โครงการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง และ 3) โครงการตามคำร้องขอ การนำเสนอในผลการดำเนินงานต้องแสดงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายให้ชัดเจน รวมทั้งมีการประเมินความสำเร็จผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
  4. พิจารณาถอดบทเรียนและร่วมพิจารณาประเด็นการหาแนวทางการได้ประโยชน์ของผู้รับบริการเพื่อมาจัดทำแผนพัฒนาการบริการวิชาการสู่สังคมในด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมและวัฒนธรรมที่จะสามารถก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งก่อให้เกิดกระบวนการทางความคิดทั้งของอาจารย์ นักศึกษา และผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
-
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
  1. อาจพิจารณาการบริหารความเสี่ยงร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพทั้งด้านสัดส่วนอาจารย์ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ ด้านจำนวนนักศึกษากับสัดส่วนอาจารย์ ด้านการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
  2. พิจารณาการนำเครื่องมือการจัดการความรู้มาใช้ประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยงด้านตำแหน่งวิชาการและจัดกลุ่มอาจารย์เพื่อเสริมสร้างการทำผลงานวิชาการต่อไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เชิงประจักษ์
  3. ควรพิจารณาประเด็นแผนพัฒนากลยุทธ์/แผนปฏิบัติการตามพันธกิจมาขับเคลื่อนการทำงานตามอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของคณะวิชาโดยเพิ่มตัวชี้วัดที่จะสามารถพัฒนางานด้านผลลัพธ์ผู้เรียน นวัตกรรม วิจัย และการบริการวิชาการให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น
บทสัมภาษณ์

ทำไมเลือกเรียนที่บัณฑิตวิทยาลัย และมีอะไรเพิ่มเติมให้คณะสมบูรณ์

ตอบ ทำงานที่อื่นมาตลอด เพื่อร่วมงานก้เป็นฝรั่งแล้วคิดว่าอยากเรียนเพราะว่าใกล้บ้าน เหมาะสม ชอบที่ตรงว่าไม่ได้บังคับว่าต้องมีโคร่งร่างวิจัยในมือ    เปิดโอกาสให้ได้มาเรียนที่นี่ เข้ามาแล้วได้ความรู้มากๆ สิ่งที่ต้องการมากขึ้นคืออยากให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นอินเตอร์มากขึ้น 

- มีการเข้าถึงการศึกษาในรูปแบบออนไลน์ เปิดกว้างมากยิ่งขึ้นจะทำให้มีบุคคลทั่วไปสนใจและเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

- อยากให้มีห้องในการทำงานสืบค้นข้อมูลมากขึ้น

 

ภาพถ่าย