Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

คณะศึกษาศาสตร์


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาาภาย การศึกษาภายใน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ ในกลุ่ม ค.2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.86 อยู่ที่ระดับดี โดยมี รายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง องค์ประกอบดังนี้

องค์ประกอบที่ การผลิตบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีระบบและกลไก การเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาและดำเนินการตามระบบที่ กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.65 อยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ งานวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มีสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการ ทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ  3.50 อยู่ในระดับปานกลาง

องค์ประกอบที่ การบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการจัด โครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการไม่มีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีการวาง แผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะศึกษาศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมมีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุ บำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ การบริหารจัดการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีทิศทางการ ดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ สนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมีการ นัดประชุมโดยคณบดีเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ทางการบริหาร ดำเนินการในด้านของระบบสารสนเทศเพี่อการ บริหารและการตัดสินใจ ยังขาดการประเมินผล และการบูรณาการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

1.1.1 ชื่อส่วนงาน ที่ตั้ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

เลขที่ 248  อาคารคณะศึกษาศาสตร์ (B 7.7) หมู่ 1 ถ.ศาลายา-นครชัยศรี ตำบลศาลายา อำเภอ พุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม 73170

โทรศัพท์ 02 – 444 – 6000 ต่อ 1153 - 1154 

Website www.edu.mbu..ac.th

1.1.2 ประวัติความเป็นมาโดยย่อ

คณะศึกษาศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนตามหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารข้อมูล ในการเผยแผ่วิชาความรู้ต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ประชาชน สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคมได้ ต่อมาคณะศึกษาศาสตร์ได้แยก การบริหารเป็นหน่วยงานเฉพาะจากสำนักงานเลขาธิการโดยมีคณบดีเป็นผู้บริหารสูงสุดภายในคณะ มีคณะกรรมการประจำคณะ คณาจารย์และเจ้าหน้าที่บริหารงาน ภายใต้การสนับสนุนและ เห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารส่วนกลาง

1.1.3 ด้านการบริหาร

คณะศึกษาศาสตร์ หลังจากได้มีคณะกรรมการบริหารกิจการภายในคณะเป็นเอกเทศตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 เป็นต้นมา โดยมีพระกิตติสารกวี (อมร ญาโณทโย ป.ธ.7, ศน.บ., M.A.) ปัจจุบันเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมธัชมุนี วัดปทุมวนาราม เป็นคณบดีรูปแรก และได้พัฒนาและปรับปรุงกิจการการจัดการศึกษาของ คณะทั้ง ในด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารหลักสูตร การบริการวิชาการ และการจัดการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาในยุคปัจจุบัน โดยแยกเป็นสมัยของการบริหารได้ดังนี้

คณบดี

ปี พ.ศ. 2527 - 2544 พระกิตติสารกวี (อมร ญาโณทโย ป.ธ.7,ศน.บ., M.A.) วัดประทุมวนาราม (ปัจจุบัน ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมธัชมุนี) ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2544 - 2548 พระมหาประเสริฐ ถิรธมฺโม (วงศ์ขันธ์ ป.ธ.3, ศน.บ., M.A.) วัดใหม่ทองเสน (ปัจจุบัน เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูโสภณวิริยคุณ) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2548 - 2554 พระครูธีรสารปริยัติคุณ (เดช ศาลา ป.ธ.3, ศน.บ., M.A.,Ph.D) วัดมัชฌันติการาม (ปัจจุบันเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระพุทธิสารโสภณ) เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะ ศึกษาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2554 - 2557 พระมหาสมัคร มหาวีโร (วงศ์ละคร) ป.ธ.8, ศน.บ. ,M.A ดำรงตำแหน่งรักษาการแทน คณบดีคณะศึกษาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2557 - 2559 พระปริยัติสารเวที, ดร. (ทองสุข สุทธสิริ (นาชัยดี) ศน.บ., อ.ม., ปร.ด.) ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2559 - 2560 พระมหาสมัคร มหาวีโร (วงศ์ละคร) ป.ธ.8, ศน.บ. ,M.A ดำรงตำแหน่งรักษาการใน ตำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2560 - 2562 พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย, ผศ.ดร. (มูลสาร) ป.ธ.9, อ.ม. ,ศศ.ด ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะศึกษาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2562 - จนถึงปัจจุบัน พระครูศรีวีรคุณสุนทร, ผศ.ดร. (ประทุมชาติ) ป.ธ.6, ศน.บ. ,M.A, Ph.D ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์

รองคณบดี

ปี พ.ศ. 2533 - 2540 พระมหาอดิศร ถิรสีโล (มะลิทอง) ป.ธ.8, ศน.บ., M.A., Ph.D วัดราชบูรณะราช วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ปี พ.ศ. 2540 - 2544 พระมหาประเสริฐ ถิรธมฺโม (วงศ์ขันธ์ ป.ธ.3, ศน.บ., M.A.) วัดใหม่ทองเสน (ปัจจุบัน เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูโสภณวิริยคุณ) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ปี พ.ศ. 2544 - 2548 พระครูธีรสารปริยัติคุณ (เดช ศาลา ป.ธ.3, ศน.บ., M.A.,Ph.D) วัดมัชฌันติการาม (ปัจจุบันเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระพุทธิสารโสภณ) เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร (ดำรงตำแหน่งถึง 3 มิถุนายน 2548)

ปี พ.ศ. 2559 - 2560 พระครูวินัยธรสุขุม สุขวฑฺโก, ผศ. (มัชชิกานัง) ป.1-2, พธ.บ., ศศ.ม. วัดนครอินทร์ ถนนพิบูล สงคราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ปรัชญา

“ความรู้คู่คุณธรรม”

ปณิธาน

“มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพในสังคม”

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาและเพิ่มค่าทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม

2. เพื่อให้บุคลากรและระบบงานของคณะมีคุณภาพและสนองตอบความต้องการของชุมชนได้อย่างมี ประสิทธิผล

3. เพื่อเผยแผ่วิชาการทางโลกควบคู่ศาสนธรรม วิสัยทัศน์ มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มุ่งสู่ความเป็นคนเก่ง ดี มีสุข ใฝุก้าวหน้าและรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

 พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ

2. ทำการวิจัยและผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ

3. บริการทางวิชาการแก่สังคม

4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

 นโยบาย

1. จัดการเรียนการสอนวิชาการสมัยใหม่ให้สอดคล้องกับศาสนธรรมในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะวิชาการศึกษา

2. พัฒนาบุคลากรและระบบงานในคณะศึกษาศาสตร์ให้มีคุณภาพและทันสมัย

3. ให้คำปรึกษาและบริการความรู้ทั้งในคดีโลก คดีธรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาแก่ชุมชน

 

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

 

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร และกรรมการสภาชุดปัจจุบัน

รายนามผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์

1. พระครูศรีวีรคุณสุนทร, ผศ.ดร. คณบดีคณะศึกษาศาสตร์

2. พระครูวินัยธร สุขุม สุขวฑฺฒโก, ผศ. รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาบริหารการศึกษา

3. นายพนมนคร มีราคา รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิชาการศึกษา

รายนามคณะกรรมการบริหารคณะ

1. คณบดีคณะศึกษาศาสตร์                                                       ประธานกรรมการ

2. รองอธิการบดี ด้านวิชาการและพัฒนาคุณภาพ   ผู้แทนผู้บริหาร         กรรมการ

3. หัวหน้าภาควิชาบริหารการศึกษา                   ผู้แทนผู้บริหาร         กรรมการ

4. พระมหาเกรียงไกร สิริวฑฺฒโน                      ผู้แทนคณาจารย์       กรรมการ

5. พระจักรพัชร์ จกฺกภทฺโท, ดร.                             ผู้แทนคณาจารย์       กรรมการ

6. ดร.สุธาสินี แสงมุกดา                                ผู้แทนคณาจารย์       กรรมการ

7. ศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์                              ผู้ทรงคุณวุฒิ            กรรมการ

8. ผศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ จันทร์อยู่                          ผู้ทรงคุณวุฒิ            กรรมการ

9. ดร.อรกัญญา เยาหะรี                               ผู้ทรงคุณวุฒิ            กรรมการ

10. พระมหาพิเชษฐ์ อตฺตานุรกฺขี, ดร.                                                กรรมการและเลขานุการ

11. นางสาวนราธิ สาระทัย                                                      ผู้ช่วยเลขานุการ

12. นางสาวสุกัญญา ใจสว่าง                                                   ผู้ช่วยเลขานุการ

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

1.5.1 ด้านหลักสูตร สำหรับหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์นั้น แบ่งเป็น 2 ภาควิชา ดังนี้

1. ภาควิชาวิชาการศึกษา

2. ภาควิชาบริหารการศึกษา

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์

ภาควิชาวิชาการศึกษา

 - สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (Teaching Thai)

 - สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (Teaching English)

 - สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (Teaching Buddhism)

 - สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (Teaching Social Studies)

ภาควิชาบริหารการศึกษา

 - สาขาวิชาการประถมศึกษา (Elementary Education)

- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Education)

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์

ภาควิชาบริหารการศึกษา

 - สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (Educational Administration) 

- สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา (Buddhist Intellectual Science Research)

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ 

ภาควิชาบริหารการศึกษา

- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (Educational Administration)

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (Teaching Thai)

1. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจสาระความรู้และการบูรณาการความรู้ภาษาไทย ทั้งความรู้ทางหลักภาษาวรรณคดี วัฒนธรรมไทย มีทักษะในการใช้ภาษาไทยได้อย่างดี สามารถประยุกต์ใช้พุทธวิทยาการศึกษากับวิทยาการการสอนภาษาไทยและศาสตร์การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านภาษาไทยเพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนและสังคม บรูณาการศาสตร์ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งการเรียนรู้ การสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

3. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีอุดมการณ์และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีบุคลิกภาพและคุณลักษณะความเป็นครูที่ดีและมีความรู้ที่ดีและมีความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาในหลักสูตรธรรมศึกษา รวมทั้งมีศักยภาพที่จะพัฒนางานในสาขาวิชาชีพให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพครูในการแก้ปัญหาการทำงานได้

 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (Teaching English) 

1. มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ตามทฤษฎีและหลักการสอน สามารถบูรณาการความรู้ไปสู่กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มีความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมและวรรณคดี มีความเข้าใจในโครงสร้างทางภาษา สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาได้ และสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิจัยทางด้านการศึกษา และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะความรู้ในศตวรรษที่ 21 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศทักษะด้านชีวิตและอาชีพ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในบริบทของการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

3. มุ่งผลิตบัณฑิตด้านการสอนภาษาอังกฤษที่มีความเป็นสากล และสำนึกในความเป็นไทย ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา มีจิตอาสาถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนและสังคม 4. บัณฑิตมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู บนพื้นฐานของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีคุณลักษณะของความเป็นครูที่ดี พัฒนางานในวิชาชีพโดยใช้ความรู้และประสบการณ์เพื่อแก้ปัญหาในการทำงานให้เจริญก้าวหน้า

สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (Teaching Buddhism)

1. มุ่งผลิตบัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการทางพระพุทธศาสนา การบูรณาการ การประยุกต์ใช้พุทธวิทยากับการศึกษา ศาสตร์การสอน และการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาที่มีคุณภาพ เพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนและสังคม สร้างทักษะแห่งการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี ในศตวรรษที่ 21

3. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีมีคุณธรรมจริยธรรม อุดมการณ์และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีบุคลิกภาพ คุณลักษณะคุณสมบัติความเป็นครูที่ดี รวมทั้งมีศักยภาพที่จะพัฒนางานให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถใช้ความรู้ ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา และการทำงานได้

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (Teaching Social Studies)

1. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจด้านการสอนพระพุทธศาสนาและการสอนศีลธรรม สามารถประยุกต์ใช้การสอนสังคมศึกษาร่วมกับพุทธวิทยาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะการสอนสังคมศึกษา เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการจัดการเรียนการสอน

3. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพครู มีศักยภาพในการพัฒนางานในหน้าที่ครู สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลายอย่างเหมาะสม

4. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีเป็นผู้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

สาขาวิชาการประถมศึกษา (Primary Education)

1. มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการดำรงชีวิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มุ่งผลิตบัณฑิตที่ให้นำความรู้ ความสามารถ/ทักษะไปอบรมสั่งสอนนักเรียนระดับประถมศึกษาให้ คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาชีวิตได้ มีทักษะชีวิตที่เหมาะสม รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

3. มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ/ทักษะด้านวิทยาการการสอน รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้เท่าทันวิทยาการใหม่ ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลก

4. มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น เป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี สามารถครองตน ครองคน ครองงาน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และบุคคลทั่วไป

5. มุ่งผลิตบัณฑิตที่ดี มีคุณภาพ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีจิตอาสา ช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติได้

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Education)

1. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านการสอนเด็กปฐมวัยตามแนวทางพระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์ใช้พุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะ มีความพร้อมในศาสตร์การสอนระดับปฐมวัยและมีคุณธรรมจริยธรรม ในการประกอบอาชีพครูอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพที่จะพัฒนางานในวิชาชีพให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถประยุกต์หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนากับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม

3. มุ่งผลิตบัณฑิตให้ตระหนักและเห็นความสำคัญในแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวนโยบายของรัฐ และการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ มีศรัทธา และมีจิตสำนึกในวิชาชีพครู มีความคิดอย่างเป็นระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถในการจัดการเรียนการสอน การค้นคว้าและปรับปรุงรูปแบบ เทคนิคและวิธีการสอนให้เหมาะสมแก่กาลสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนในศตวรรษที่ 21

4. มุ่งผลิตบัณฑิต ให้มีคุณธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ มีทักษะความพร้อม ด้านสังคม วัฒนธรรม ที่จำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต

5. มุ่งผลิตบัณฑิตให้สามารถในการให้การศึกษาเรียนรู้ และปฏิบัติงานในวิชาชีพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นผู้นำและผู้ร่วมงานที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความสามารถขั้นพื้นฐานในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานโดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ปริญญาโท (Educational Administration)

1. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตสํานึกสาธารณะและเสียสละให้สังคม และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

2. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพ มีอุดมการณ์ของผู้บริหารและแนวทางการพัฒนาเป็นผู้บริหารมืออาชีพ และสามารถศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

3. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นผู้นําทางวิชาการ ผู้นำแบบพุทธ สามารถระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา และสามารถบริหารการศึกษาและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและท้องถิ่น

4. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา หลักธรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษา สามารถกำหนด นโยบาย แผนกลยุทธ์ และนําไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา สามารถเลือกใช้ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการบริหารให้สอดคล้องกับบริบทมหภาคและภูมิสังคม และสามารถบริหารงานวิชาการ บริหารแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้

5. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สามารถพัฒนาหลักสูตรและบริหารการจัดการเรียนการสอนในแนวทางใหม่ได้ และสามารถปฏิบัติการประเมิน และปรับปรุงการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

6. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการและกิจกรรมนักเรียน สามารถบริหารจัดการให้เกิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การดูแลช่วยเหลือผู้เรียน และสามารถส่งเสริมวินัย คุณธรรม จริยธรรม และความสามัคคีในหมู่คณะ

7. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา สามารถจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินภายนอก และนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาสถานศึกษา

สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา (Buddhist Intellectual Science Research)

 1. มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะเป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมในศาสตร์ด้านปัญญาวิทยา โดยใช้กระบวนการวิจัย

 2. มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ด้านการวิจัย การปัญญาทางการศึกษา และศาสนาขั้นสูง มีความคิดก้าวหน้า ทำงานอย่างเป็นระบบ มีหลักฐานอ้างอิง มีความสามารถด้านเชิงคิดวิเคราะห์และด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของผู้ที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาและพระพุทธศาสนา

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ปริญญาเอก (Educational Administration)

1. มีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาหรือหลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารการศึกษา รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด

2. มีความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางการบริหารการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมโลกและสังคมภูมิภาค รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารการศึกษา หลักธรรมสำหรับการบริหารการศึกษา ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง แนวโน้ม และนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา

3. มีทักษะความสามารถในการทำความเข้าใจทฤษฎี ปรากฏการณ์ การปฏิบัติ การแก้ไขปัญหา และการวิจัย โดยใช้ทักษะการคิดขั้นสูงที่เน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือสร้างสรรค์ ทั้งจากการเรียนการสอนแบบปกติในชั้นเรียนและจากการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล

4. มีทักษะความรับผิดชอบในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อคุณภาพของผลงานการเรียนรู้ทั้งในเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการ

5. มีทักษะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างประสิทธิผล ทั้งเพื่อการเรียนรู้ การเรียนการสอน การวิจัย การติดต่อสื่อสาร การบริหารจัดการ และอื่นๆ 6. มีความสามารถทำวิจัยในประเด็นที่ท้าทาย มีความลุ่มลึกในการทำวิจัยระดับสูง มีการจัดการกับปัญหาเชิงจริยธรรม สื่อความคิดและข้อสรุปจากผลการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมต่อความเป็นผู้นำการวิจัยในสาขาวิชา

 

***เพิ่ม 2 หลักสูตร

1.6 จำนวนนักศึกษา

1.6 จำนวนนักศึกษา

1.6.1 จำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2565

 

ปีที่ 1

ปีที่ 2

ปีที่ 3

ปีที่ 4

ปีที่ 5

ตกค้าง

รวม

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

31

28

26

46

17

 

148

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

11

26

14

18

16

88

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

22

18

26

24 

 

 

90

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ป.โท

 20 20   13  4

 

 

 57

สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา ป.โท

8            8

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ป.เอก

 13 10 

 14

 

 

44 

รวมนักศึกษาทั้งสิ้น

 105  99 89   106  33

 3

435 

 

1.6.1 จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา 2565

 

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

รวม

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

48

-

-

48

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

31

-

-

31

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

24

-

-

24

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

-

9

-

9

สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา

-

-

-

-

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

-

-

6

6

รวมทั้งสิ้น

103

9

6

118

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

        1.7.1 ในปีการศึกษา 2565 คณะศึกษาศาสตร์มีจำนวนบุคลากร รวม 29 รูป/คน จำแนกเป็นสายวิชาการ (อาจารย์) 26 รูป/คน และสายสนับสนุน 3 รูป/คน ดังรายละเอียดในตาราง

บุคลากร

สายวิชาการ (T)

สายสนับสนุน (S)

รวมบุคลากร (รูป/คน)

บุคลากรประจำ

(รูป/คน)

20

-

20

อาจารย์ประจำหลักสูตร (ที่มีสัญญาจ้าง)

(รูป/คน)

6

-

6

ลูกจ้างชั่วคราว (ที่มีสัญญาจ้าง)

(รูป/คน)

-

3

3

รวม

(รูป/คน)

26

3

29

 

สรุปจำนวนอาจารย์จำแนกตามหลักสูตร

ที่

หลักสูตร

จำนวนอาจารย์

ตาม มคอ.2

ในสังกัดหลักสูตร

รวม

บรรจุ

สัญญาจ้าง

รวม

บรรจุ

สัญญาจ้าง

รวม

1

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) 

1

 

1

   

0

1

2

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) 

3

1

4

   

0

4

3

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562) 

4

1

5

2

 

2

7

4

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562) 

4

1

5

1

 

1

6

5

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562) 

3

2

5

   

0

5

6

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2565) 

2

1

3

   

0

3

รวม

17

6

23

3

0

3

26

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.8.1 อาคารสถานที่

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ตั้ง อาคารคณะศึกษาศาสตร์ (B 7.7) เลขที่ 248 หมู่ที่ 1 ถ.ศาลายา-นครชัยศรี ตำบล ศาลายา อำเภอ พุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม 73170

1.8.2 งบประมาณ ในปีการศึกษา 2565

คณะศึกษาศาสตร์ ได้รับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

1. งบอุดหนุนค่าใช้จ่ายสนับสนุนการผลิดบัณฑิต 1,458,500  บาท

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

เอกลักษณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

“บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ”

อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

“บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือ นานาชาติ”

เอกลักษณ์ บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

“บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือ นานาชาติ"

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

1.ทบทวนการจัดทำแผน กระบวนการจัดทำแผน และตัวชี้วัดการจัดทำแผน

2.ทบทวนกระบวนการประเมินผลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผน โครงการ/กิจกรรม

3.ทบทวนการนำผลประเมินไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ครบทุกภาคส่วน

ในปีการศึกษา 2565 คณะศึกษาศาสตร์มีการพัฒนาและปรับปรุงการทำแผนงานของคณะ เพื่อให้การจัดโครงการ / กิจกรรม ของคณะเป็นไปตามตัวชี้วัดของแผน เมื่อการจัดโครงการ/กิจกรรมเสร็จสิ้น มีการทำแบบประเมินของแต่ละกิจกรรม เพื่อนำผลประเมินไปพัฒนาและปรับปรุงต่อไป

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

1.อาจพิจารณาสร้างสรรค์ หรือผลิต ที่สอดคล้องกับสมรรถนะหลักของคณะ เช่น การออกแบบการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีและสถานการณ์ปัจจุบัน  

2.การผลิตผลงานทางวิชาการให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่มีการปรับเปลี่ยนทุกปี

ในปีการศึกษา 2565 คณะศึกษาศาสตร์มีการสนับสนุนอาจารย์ในการผลิตผลงานทางวิชาการ และดร. สุธาสินี แสงมุกดา อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

1.คณะควรมีการสำรวจความต้องการของชุมชนเพื่อจะได้นำมากำหนดแผนให้สอดคล้อง

2.ควรมีการนำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการมาปรับปรุงแผนหรือการให้บริการวิชาการสังคม

1. ในปีการศึกษา 2565 คณะศึกษาศาสตร์มีการทำเครือข่ายความร่วมมือ (MOU) ทั้งกับโรงเรียน ที่นักศึกษาในแต่ละชั้นปีจะต้องออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ตั้งแต่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 5 กับโรงเรียนในเครือข่าย 27 โรงเรียน

2..ในปีการศึกษา 2565 คณะศึกษาศาสตร์ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มีการทำเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษา (MOU) กับมหาวิทยาลัยมหิดล

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1. ควรทบทวนการกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนและนำผลจากการประเมินแผนไปปรับปรุงแผน/โครงการ

2. ควรกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมของคณะให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

ในปีการศึกษา 2565 คณะศึกษาศาสตร์ได้มีการจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมขึ้น มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับ ติดตาม การทำงานให้เป็นไปตามแผนงาน รวมถึงการจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธธรมขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมใหม่เพื่อให้ตอบโจทย์กับตัวชี้วัดของแผน  และเมื่อการจัดโครงการเสร็จสิ้นแล้ว ได้มีการทำแบบประเมินโครงการ และรายงานสรุปโครงการ เพื่พัฒนา ปรับปรุง และแก้ไข ในครั้งต่อไป

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

1.ทบทวนการจัดทำแผน กระบวนการจัดทำแผน และตัวชี้วัดของแผน รวมทั้งการถ่ายทอดแผน สู่การปฏิบัติ แก่บุคลากรพร้อมรายงานต่อคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อนำข้อเสนอแนะมาพิจารณาปรับปรุง

2.ควรปรับความเสี่ยงของคณะให้เป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อคณะอย่างชัดเจน

3.การกำกับติดตามแผนผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนยังไม่ชัดเจน โดยการทบทวนแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรพร้อมปรับแผนให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

4.ควรนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ไปพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปีการศึกษา 2565 คณะศึกษาศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำแผนคณะฯ มากขึ้น ในปีนี้คณะศึกษาศาสตร์มีการจัดทำแผนพัฒนาส่วนงาน แผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนบริหารความเสี่ยง แผนพัฒนาบุคลากร เป็นต้น

สำหรับการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร ในปีนี้ คณะศึกษาศาสตร์มีการปรับปรุงหลักสูตรแบบ OBE  ตามรอบการประเมินจำนวน 3 หลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
คณะศึกษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.5
3.75
3.75
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
1.5
1.92
1.92
บรรลุ
1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
3
บรรลุ
1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
3
บรรลุ
1.6 การส่งเสริมสนับสนุน บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร
5
5
3
บรรลุ
1.7 การส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา
5
5
5
บรรลุ
1.8 ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีหรือธรรมศึกษาชั้นตรีระดับอุดมศึกษา
4
4.56
4.56
บรรลุ
1.9 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.40
3.65
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
4
4
4
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
5
5
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
2.4 ผลงานงานวิจัยและ/หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Knowledge Contribution for Intellectual and Moral Development)
5
5
5
บรรลุ
2.5 บุคลากรที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Morality Role Model)
2
0
0
ไม่บรรลุ
2.6 ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย (Knowledge Contribution from Intellectual and Moral Cultivation Network)
2
2
2
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.50
3.50
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration Ecosystem for Sustainable Social Development)
5
5
5
บรรลุ
3.2 จำนวนหน่วยงานหรือองค์กรชุมชนเป้าหมาย ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตามแผนบริการวิชาการ
5
5
5
บรรลุ
3.3 งบประมาณ/ทรัพยากรวิจัยเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Funding for Knowledge Creation in Intellectual and Mortal Development)
2
2
2
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
4.00
4.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (20 ตัวบ่งชี้)
4.16
3.86

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
คณะศึกษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 8 3.46 3.50 4.16 3.65 ดี
2 6 5.00 4.00 3.00 3.50 ปานกลาง
3 3 - 5.00 3.50 4.00 ดี
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 20 3.97 4.22 3.41 3.86 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ปานกลาง ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.211.924.004.004.003.16
2563 4.114.545.005.005.004.49
2564 3.404.674.003.004.003.80
2565 3.653.504.005.005.003.86
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

ข้อเสนอแนะ 

1.ควรจัดกิจกรรมเสริมให้กับนักศึกษาโดยเฉพาะความรู้ด้านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ เช่น การจัดกิจกรรม Monk Chat หรือ Pre - test เกณฑ์ CEFR เพื่อรองรับกิจกรรมให้กับนักศึกษา

2. ควรกำหนดการจัดทำแผนทุก ๆ แผน เพื่อให้ครอบคลุมและกำหนดตัวชี้วัดและประเมินวัตถุประสงค์ของแผนให้ชัดเจน

3. จัดทำฐานข้อมูล Big data ทุกสาขาวิชา เพื่อวางแผนการให้ความรู้การจัดกิจกรรมเสริม และการให้ข้อมูลศิษย์เก่า

4. ส่งเสริมให้อาจารย์ในคณะ พัฒนาให้มีคุณวุฒิทางระดับปริญญาเอก และตำแหน่งทางิวิชาการให้มากขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
-
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
-
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
-
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
-
บทสัมภาษณ์

1.ทำไมนักศึกษาถึงเลือกมาเรียนที่ มมร คณะศึกษาศาสตร์

- นักศึกษาชอบธรรมะ และประวัติศาสตร์ ไม่ต้องแข่งขันกับสถานบันอื่นที่มีชื่อเสียง 

- ดูแลอย่างใกล้ชิด มีจิตใจที่อ่อนโยน และนักศึกษาเป็นโรคซึมเศร้า ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ปกครองได้ดี

- ลดค่าใช้จ่าย

2.การที่มาเรียนได้อะไร แล้วเราได้นำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

  - เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน

  - หลักคำสอนทางด้านพระพุทธศาสนา

 - การควบคุมชั้นเรียน และการสอนในชั้นเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง

3. สิ่งที่น่าประทับใจ ได้จาก มมร

- มิตรภาพที่ดี

- ได้คำสอนที่ดี 

- และได้สิ่งที่เราตามหาความเป็นครู เช่น การสอน จรรยาบรรณวิชาชีพ การอยู่ร่วมกับครู สติปัญญา 

4.อยากให้มหาวิทยาลัยพัฒนาและเพิ่มเติมอย่างไร 

1. เน้นการสอนจริงในรายวิชา เช่น การเรียนบนกระดาษดำ อย่างไรให้เด็กสนใจในห้องเรียน 

2. ค่าเช่าที่พักเวลาออกปฏิบัติการสอน 

3. ฝึกต้นแบบให้รุ่นพี่ นำไปสู่รุ่นน้อง 

 4.ทักษะเรื่องการร่างเอกสารราชการ

 5. สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น จอโปรแจ็กเตอร์ และสายต่อโปรแจ็กเตอร์ ลิฟท์

6. อยากให้เพิ่มครูสอนภาษาอังกฤษ

7. ทักษะเรื่องการร่างเอกสารราชการ

 5.บัณฑิตไปฝึกสอนป็นอย่างไร 

1. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีแผนการสอนดี และมีความมุ่งมั่นตั้งใจ กล้้าแสดงออก ตลอดระยะเวลาที่ฝึกสอน

2. อยากให้เพิ่มเติมคุณลักษณ์ของบัณฑิตหรือเสริมพัฒนาบัณฑิต

3. ด้านปฏิสัมพันธ์ยังไม่กล้าประสานกับหน่วยงานภายนอก

4. มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

5. มีจิตอาสา ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและพร้อมที่จะพัฒนา

6. อาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างไร

- ตรงเวลา และให้คำแนะนำให้คำปรึกษาดี

7.ได้ร่วมกิจกรรมอะไรระหว่างเรียนและได้เข้าร่วมกิจกรรมอะไรบ้าง

- มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และได้เข้าร่วมกิจกรรม 

- กิจกรรมด้านงานประกันคุณภาพ

- กิจกรรมสำหรับครู

- กิจกรรม English Cafe

 

ภาพถ่าย