Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

คณะมนุษยศาสตร์


บทสรุปผู้บริหาร
บทสรุปผู้บริหาร (ตนเอง)

จากการดำเนินงานของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค.(สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.39 อยู่ที่ระดับ ปานกลาง โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง องค์ประกอบดังนี้ 

          องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาและดำเนินการตามระบบที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับ ดี

          องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 2.30 อยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง

          องค์ประกอบที่ การบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 2.67 อยู่ในระดับ ดปานกลาง

          องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมมีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับ ดี

          องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ชื่อหน่วยงาน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

          ที่ตั้ง เลขที่ 248  อาคารพระพรหมมุนี ม.1  ถ.ศาลายา-นครชัยศรี  ตำบล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัด นครปฐม   73170

          ประวัติความเป็นมาโดยย่อ

          ในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (เดิมชื่อสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย) ไม่จัดเป็นคณะต่าง ๆ อย่างปัจจุบันนี้ มีเพียงแต่ว่าผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะได้รับปริญญาบัตรเทียบเท่าปริญญาทางศาสนาของต่างประเทศ  โดยหลักสูตรที่ศึกษานั้นเป็นหลักสูตรปริญญา ศาสนศาสตร์บัณฑิต 4 ปี ต่อมาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของหลักสูตรหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย จนกระทั่ง พ.ศ. 2511 ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต 4 ปีเป็นระบบหน่วยกิต รวมทั้งสิ้น 240 หน่วยกิต

          ครั้นถึง พ.ศ. 2513 ได้จัดการศึกษาเป็นคณะที่สมบูรณ์ 4 คณะ คือ คณะศาสนาและปรัชญา คณะสังคมศาสตร์  คณะศิลปศาสตร์  และคณะศึกษาศาสตร์

          พ.ศ.  2525  ได้เปลี่ยนชื่อคณะศิลปศาสตร์  เป็น คณะมนุษยศาสตร์

          หลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์ในปัจจุบัน เป็นหลักสูตรปรับปรุงครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ.2564 และมีหลักสูตรที่เปิดใหม่ใน พ.ศ.2562 โดยแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น  2 ภาควิชา  คือ

  1.     1. ภาควิชาภาษาตะวันตก

                    - สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ.2559)

  1.     2. ภาควิชาภาษาตะวันออก

                    - สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562)

                    - สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2562)

                    - สาขาวิชาภาษาบาลี สันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564)

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ปรัชญา (Philosophy)

                   การเรียนรู้ภาษา คือการเรียนรู้มนุษย์ (Languages lead to the understanding of human  beings)

          ปณิธาน (Aspiration)

                   “มุ่งมั่นให้การศึกษาทางด้านภาษาแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์อย่างเต็มศักยภาพ”        

          วิสัยทัศน์ (Vision Statements) คณะมนุษยศาสตร์ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของคณะไว้ ดังนี้

          1. เป็นแหล่งการศึกษาทางด้านภาษาบาลี สันสกฤต และภาษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้ศึกษามีความก้าวหน้าในการสื่อสารและเข้าใจมนุษย์ (นิรุตติปฏิสัมภิทา)

          2. เป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าหลักธรรมคำสอนทางศาสนาที่ลึกซึ้งอันเป็นทางนำไปสู่การพัฒนาตนเองและผู้อื่นให้ดีขึ้น กล่าวคือ ให้มีพฤติกรรมทางกาย วาจาดีขึ้น มีจิตใจที่งดงาม และมีปัญญารู้เท่าทันโลกและชีวิต (ไตรสิกขา) จนกระทั่งบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดระดับอุดมคติ

          พันธกิจ (Mission Statements) คณะมนุษยศาสตร์มีพันธกิจหลักที่จะต้องดำเนินการ ดังนี้

          1. จัดการเรียนการสอน

          2. ผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค

          3. ให้การบริการทางวิชาการแก่สังคม

          4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

รายนามผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์

     1. พระมหาสมัคร มหาวีโร          คณบดีคณะมนุษยศาสตร์

     2. พระมหาวิโรจน์ าณวีโร, ดร.   หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันตก    

รายนามคณะกรรมการบริหารคณะ

   1. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์                              ประธานกรรมการ

   2. รองอธิการบดีด้านวิชาการและพัฒนาคุณภาพ   กรรมการ

   3. คณบดีคณะศึกษาศาสตร์                            กรรมการ

   4. หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันตก                     กรรมการ

   5. พระมหาไมตรี ปุฺามรินฺโท                        กรรมการ

   6. นายสานิตย์ สีนาค                                     กรรมการ

   7. นางสาวอรรชนิดา หวานคง                           กรรมการ

   8. รศ.ดร.ปรมัตถ์ คำเอก                                   กรรมการ

   9. รศ.ดร.เวทย์ บรรณกรกุล                               กรรมการ

   10. รศ.ดร.โกวิทย์ พิมพวง                                 กรรมการ

   11. ผศ.ดร.สมบัติ มั่งมีสุขศิริ                               กรรมการ

   12. ผศ.ดร.อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน                                กรรมการ

   13. ว่าที่ร้อยตรีณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ                       กรรมการและเลขานุการ

   14. นายมนต์เทียน มนตราภิบูลย์                                ผู้ช่วยเลขานุการ

   15. นางสาวกิตติมา มางเขียว                                     ผู้ช่วยเลขานุการ

   16. นางสาวสุภัชรี รักนาวี                                        ผู้ช่วยเลขานุการ

รายนามกรรมการสภาชุดปัจจุบัน

  1. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์
  2. พระมหาไมตรี ปุฺามรินฺโท
  3. นายสานิตย์ สีนาค
  4. นางสาวอรรชนิดา หวานคง

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่

สาขาวิชาที่เปิดสอน

รายชื่อหลักสูตร

1. ภาควิชาภาษาตะวันตก

ภาษาอังกฤษ

ศิลปศาสตรบัณฑิต

2. ภาควิชาภาษาตะวันออก

 

 

ภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์

ศิลปศาสตรบัณฑิต

ภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา

ศิลปศาสตรบัณฑิต

ภาษาไทย

ศิลปศาสตรบัณฑิต

1.6 จำนวนนักศึกษา

ที่

คณะมนุษยศาสตร์

จำนวนนักศึกษา

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

1

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

44

-

-

44

2

สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์

2

-

-

2

3

สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา

12

 

 

12

4

ภาษาไทย

15

-

-

15

รวม

73

-

-

73

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

ที่

คณะมนุษยศาสตร์

จำนวนอาจารย์จำแนกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

1

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

       

3

     

2

     

5

     

2

สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต และพุทธศาสตร์

       

3

     

2

     

5

     

3

สาขาวิชาภาษาไทย

       

5

             

5

     

4

สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต และพระไตรปิฎกศึกษา

       

5

     

2

     

7

     

รวม

 

 

 

 

16

 

 

 

6

 

 

 

22

 

 

 

รวมทั้งหมด

 

16

6

22

 

จำนวนบุคลากรสายสนับสนุน

     1. นางสาวสุภัชรี   รักนาวี          นักวิชาการศึกษา

     2. นางสาวกิตติมา   มางเขียว      นักวิชาการศึกษา

 

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.8.1 งบประมาณ

รายการ

งบประมาณ

4) อุดหนุนค่าใช้จ่ายสนับสนุนการผลิตบัณฑิต

810,000.00

วิถีที่ 1 ปริยัติ สืบสาน ส่งต่อ ต่อยอด

500,000

1.1 โครงการ ทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา ศาสนทายาทแห่งโลก

-

1.2 โครงการ พัฒนาพุทธปัญญาแก่พลเมืองโลก

390,000

โครงการไหว้ครู

30,000

โครงการการเตรียมความพร้อมในการทำงานของนักศึกษา

30,000

โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาและต้อนรับนักศึกษาใหม่

30,000

โครงการสัมมนาพัฒนาคณาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน สาขาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์

150,000

โครงการเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านภาษาและวรรณกรรมไทย

150,000

1.3 โครงการพุทธภาษา พัฒนาภาษาแก่ ศาสนทายาท หรือ พระธรรมฑูต

110,000

โครงการพัฒนานักศึกษาสู่อาชีพ : ศิลปะการแปล  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

30,000

โครงการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ

30,000

โครงการพัฒนาทักษะภาษาบุคลากร คณะมนุษยศาสตร์

50,000

1.4 โครงการอริยะเอไอ

-

วิถีที่ 2 ประยุกต์ ผสาน สร้างสรรค์ อย่างลึกซึ้ง

220,000

2.1 โครงการ วิจัยพุทธศาสตร์และสหศาสตร์สาขาวิทยาการ

220,000

โครงการวารสาร คณะมนุษยศาสตร์

100,000

โครงการการประชุมวิชาการระดับชาติด้านมนุษยศาสตร์และบูรณาการภาษา

120,000

วิถีที่ 3 ปฏิบัติ ค้นหา ตน เติม คน เสริมสร้าง สังคม

-

วิถีที่ 4  ปฏิบถ ฟื้นฟู เยียวยา นำพากลับสู่ความสว่าง สงบ

-

วิถีที่ 5  ปฏิรูป พลิก เปลี่ยน ปรับ รับการเปลี่ยนแปลง

90,000

5.1 พลิกโฉม ระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ Next Gen for HR

 

5.2 ปรับรื้อ สู่ Digital University

 

5.3 สร้างสรรค์ การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ COMMUnitaction

 

5.4 ปฏิรูปทั้งองค์กร สู่ New MAHAMAKUT : กฎหมาย โครงสร้าง กระบวนการ การบริหาร ระบบดำเนินการ ระบบบริการ ระบบกำกับติดตาม

90,000

โครงการพัฒนาอาจารย์

90,000

 

1.8.2 อาคารสถานที่

          อาคาร B7.6 เลขที่ 248 อาคารสมเด็จพระวันรัต ถนนศาลายา-นครชัยศรี  ตำบล ศาลายา อำเภอ พุทธมณฑล  จังหวัด นครปฐม   73170

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

คณะฯ ควรมีแผนกลยุทธ์โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ควรมีคณะทำงานการจัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะฯ

คณะฯ ได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมกับทางมหาวิทยาลัยในการจัดทำแผน และผู้เข้าร่วมอบรมได้ดำเนินการจัดทำแผน

สรุปผลการประเมิน
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.59
3.59
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
3.41
3.41
ไม่บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
0.00
0.00
ไม่บรรลุ
1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 การส่งเสริมสนับสนุน บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร
2
5
5
บรรลุ
1.7 การส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา
2
5
5
บรรลุ
1.8 ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีหรือธรรมศึกษาชั้นตรีระดับอุดมศึกษา
2
5.00
5.00
บรรลุ
1.9 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.00
4.00
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
4
4
ไม่บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
1.82
1.82
ไม่บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
2.4 ผลงานงานวิจัยและ/หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Knowledge Contribution for Intellectual and Moral Development)
2
3
3
บรรลุ
2.5 บุคลากรที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Morality Role Model)
2
0
0
ไม่บรรลุ
2.6 ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย (Knowledge Contribution from Intellectual and Moral Cultivation Network)
2
0
0
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.30
2.30
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration Ecosystem for Sustainable Social Development)
2
4
3
บรรลุ
3.2 จำนวนหน่วยงานหรือองค์กรชุมชนเป้าหมาย ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตามแผนบริการวิชาการ
2
5
5
บรรลุ
3.3 งบประมาณ/ทรัพยากรวิจัยเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Funding for Knowledge Creation in Intellectual and Mortal Development)
2
0
0
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.00
2.67
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา
2
4
4
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.00
4.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (20 ตัวบ่งชี้)
3.44
3.39

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 8 1.71 5.00 4.30 4.00 ดี
2 6 1.82 4.00 2.00 2.30 ต้องปรับปรุง
3 3 - 3.00 2.50 2.67 ปานกลาง
4 1 - 4.00 - 4.00 ดี
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 20 1.74 4.56 2.70 3.39 ปานกลาง
ผลการประเมิน ต้องปรับปรุง ดีมาก ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.802.673.004.004.503.60
2563 3.083.563.004.003.503.32
2564 3.513.525.003.004.003.66
2565 4.002.302.674.005.003.39
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

 

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ปรับแผนพัฒนาอาจารย์ ให้เป็นแผนพัฒนาแบบเน้นเป้าหมายทั้งคุณวุฒิปริญญาเอกและตำแหน่งทางวิชาการ มีกระบวนการติดตามอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นหลักสูตรที่อาจารย์มีศักยภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐานเป็นอันดับแรก
  2.   จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติทั้ง 5 ประการ ในเชิงรุก โดยกำหนดเป้าหมายความสำเร็จทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และมีการตรวจติดตามเพื่อการพัฒนาเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง

3.คณะควรมีการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น

4.การเตรียมความพร้อมเพื่อกาการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานความสำเร็จแก่นักศึกษาควรมีช่องทาง กิจกรรม ที่หลากหลายและตรงตามความสามารถของนักศึกษาแต่ละสาขา

5. ควรเพิ่มกิจกรรมนอกชั้นเรียนให้กับนักศึกษาให้มากขึ้น 

6. ควรมีการประเมินวัตถุประสงค์ของแผนตามที่กำหนดให้เห็นอย่างชัดเจน

7. ควรเน้นการบูรณาการในหลักสูตรต่างๆ ให้เข้ากับหลักศาสนาที่หลากหลาย

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดที่ควรพัฒนา

  1. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดแนวคิดการต่อยอดการวิจัย และการวิจัยเชิงบูรณาการ
  2. จัดทำแผนพัฒนาการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเชิงบูรณาการของอาจารย์เพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็ง อาจารย์มีความเชี่ยวชาญตามศาสตร์ ในสาขาวิชาที่หลากหลาย สามารถให้บริการวิชาการแก่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดที่ควรพัฒนา

  1. พัฒนาแผนบริการวิชาการแก่สังคม โดยการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือทำวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาบริบท หรือปัญหาของชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก เป็นแนวทางในการจัดทำแผนบริการวิชาการที่เกิดประโยชน์และตรงตามความต้องการของชุมชนมากขึ้น
  2. กำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผนบริการวิชาการแก่สังคมให้ครอบคลุมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม เชิงประจักษ์
  3. พัฒนาแผนบริการวิชาการแก่สังคมระดับคณะให้เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคมระดับหลักสูตร
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ปรับปรุงแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่สามารถติดตามความก้าวหน้าของเป้าหมายที่กำหนดในระดับแผนและระดับโครงการ
  2. พัฒนาแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมระดับคณะให้เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมระดับหลักสูตร
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

 

จุดที่ควรพัฒนา

  1. วิเคราะห์ SWOT ตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะ
  2. ระบุและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ

3.ควรวิเคราะห์ตารางswotเป็นภาพ หรือตารางให้เห็นชัดเจนเกี่ยวกับจุดอ่อนและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขในการดำเนินการในการวิเคราะห์swotในปีถัดไป

4. ควรอธิบายความคุ้มค่าที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับต้นทุนในหลักสูตร ให้ชัดเจนในกรอบของผลการดำเนินงาน ให้ชัดเจนในกรอบของผลการดำเนินงาน

5. ความเสี่ยงที่จำเป็นควรคำนึงถึงเรื่องนักศึกษา ที่เป็นความเสี่ยงสำคัญควรเร่งดำเนินการแก้ไข โดยการเพิ่มนักศึกษา หรือพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆให้เกิดขึ้น

6. การจัดทำการจัดทำ kmเกี่ยวกับปัญญาและคุณธรรมหรือโมเดลเครือข่ายต่างๆให้เพิ่มขึ้น

การกำกับติดตามแผนการดำเนินงาน ควรอธิบายความกา้วหน้า หรือปัญหาที่พยตามแผนให้ระบุเพิ่มเติม

 

 

บทสัมภาษณ์

มีแรงบันดาลใจ อะไรที่เลือกเรียนสถานที่แห่งนี้

- นักศึกษาปัจจุบัน ใกล้บ้านและคณาจารย์มีความรู้ความสามารถเหมาะสม

นักศึกษาเมื่อจบแล้วคิดว่าจะไปประกอบอาชีพใด

-ยังต้องดูความสามารถของตนที่เหมาะสมกับงานต่อไปซึ่ง สนใจเกี่ยวกับล่ามและนักแปลภาษา

ท่านปากร

เมื่อท่านจบแล้วคิด คิดว่าจะทำ คิดว่าจะทำประโยชน์ในด้านใด

-อยากเผยแพร่เกี่ยวกับศาสนาให้เด็กรุ่นหลังได้สืบทอด พระพุทธศาสนาต่อไป

นักศึกษามีข้อเสนอแนะอะไรบ้างให้กับมหาลัยหรือหลักสูตรในการพัฒนาเพิ่มเติม

- การสื่อสารของอาจารย์ยังไม่ตรงกับนักศึกษา

-ทางกายภาพเหมาะสมและดี

-อยากให้มีการปรับปรุงหอพักนักศึกษาเนื่องจากวะอยู่รวมทั้งฆราวาสและพระภิกษุ ในเรื่องของสุขขายังไม่สะอาด

ท่านประทับจัยสิ่งใดในสถานที่แห่งนี้แล้มีความคิดที่จะประชาสัมพันธ์อย่างไรบ้าง

- อยากออกร่วมแนะแนว ให้ความรู้ กับนักศึกษา

-สิ่งที่ประทับใจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาซึ่งอาจารย์ให้คำปรึกษาได้สิ่งที่ประทับใจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาซึ่งอนาจารให้คำปรึกษาได้เป็นอย่างดี

- ประทับใจในตัวของอาจารย์ผู้สอนซึ่งอาจารย์เป็นผู้มีความรู้อย่างมาก ทั้งในด้านพระพุทธศาสนาและความรู้ภายนอก

ภาพถ่าย