Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

คณะศาสนาและปรัชญา


บทสรุปผู้บริหาร

จากการดำเนินงานของคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.96 อยู่ที่ระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาและดำเนินการตามระบบที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 3.43 อยู่ในระดับปานกลาง

 องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย คณะศาสนาและปรัชญา มีสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 3.81 อยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.67 อยู่ในระดับดี

 องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะศาสนาและปรัชญา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ สนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมีการนัดประชุมโดยคณบดีเป็นประธานในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และการบริหารด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล กำหนดนโยบาย การจัดทำแผน การบริหารความเสี่ยง เพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจและนโยบาย คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.50 อยู่ในระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

1.1 ชื่อส่วนงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

           คณะศาสนาและปรัชญา เป็นส่วนงานจัดการศึกษาและบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในอดีตงานทุกอย่างขึ้นอยู่กับสำนักงานเลขาธิการเป็นส่วนใหญ่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา คณะศาสนาและปรัชญาอยู่รวมกับสำนักงานกลางมาเป็นเวลา 45 ปี ครั้นต่อมาปี พ.ศ. 2534 จึงได้แยกออกมาเป็นสัดส่วน มีสถานที่ทำงานเป็นเอกเทศ การทำงานก็เริ่มเข้าระบบและมีความคล่องตัวมากขึ้น ท่านบูรพาจารย์และผู้บริหารทุกท่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ มีความผูกพันกับคณะและมหาวิทยาลัยอย่างดียิ่ง ได้อุทิศชีวิตพร้อมทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังสติปัญญา ให้กับมหาวิทยาลัยนี้มาเป็นเวลาอันยาวนาน ซึ่งเต็มไปด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่เพื่อมุ่งสร้างศาสนบุคคลอันเป็นทรัพยากรสำคัญของชาติและผลิตผลให้มีพระนักศึกษาและนักศึกษาทั่วไปมีคุณภาพเป็นกำลังของพระศาสนาและประเทศชาติ การบริหารงานในคณะศาสนาและปรัชญามีคณบดีเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยมีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคณะดังนี้

1.1.1 ชื่อคณะ  

          ภาษาไทย        : คณะศาสนาและปรัชญา

          ภาษาอังกฤษ     : Faculty of Religion and Philosophy

1.1.2 สถานที่ตั้ง

          อาคารพระพรหมมุนี (B7.2) เลขที่ 248 หมู่ 1 ถนนศาลายา – นครชัยศรี

          ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

          โทรศัพท์          02-444-6000 ต่อ 1074, 1075, 1076

          โทรสาร           02-44-6068

          Website         http://www.philo.mbu.ac.th

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2.1 ปรัชญา   (Philosophy)

        ปญฺญา หเว หทยํ ปณฺฑิตานํ ปัญญาเป็นหัวใจของนักปราชญ์

1.2.2 ปณิธาน   (Aspiration)

        ผลิตบัณฑิตเพียบพร้อมด้วยความรู้เเละคุณธรรมเพื่อประโยชน์เเก่ชาติเเละพระพุทธศาสนา

1.2.3 วิสัยทัศน์  (Vision Statements)

        มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความประพฤติดี ความรู้ดี ความสามารถดี เเละความเป็นผู้มีใจสูง

1.2.4 พันธกิจ (Mission Statements)

  1. ผลิตบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาให้มีคุณสมบัติที่วางไว้ และกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจ
  2. วิจัยเเละพัฒนางานทางวิชาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจเเละสังคมของประเทศ
  3. สร้างเสริมให้บริการวิชาการเเก่สังคม ชุมชนเเละท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  4. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการในคณะศาสนาเเละปรัชญาให้ได้มาตรฐานสากล

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.3.1 โครงสร้างการแบ่งส่วนงาน

1.3.2 โครงสร้างการบริหารงาน

 

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

1.4  รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหารคณะศาสนาและปรัชญา

      รายชื่อคณะกรรมการประจำคณะศาสนาและปรัชญา

  1. คณบดีคณะศาสนาและปรัชญา (ประธานกรรมการ)
  2. หัวหน้าภาควิชาพุทธศาสตร์ (ผู้แทนผู้บริหาร กรรมการ)
  3. หัวหน้าภาควิชาศาสนศาสตร์ (ผู้แทนผู้บริหาร กรรมการ)
  4. พระราชสารสุธี (อาชว์ อาชฺชวปเสฏโ) (ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ)
  5. พระมหาวิชิต อคฺคชิโต (ผู้แทนคณาจารย์ กรรมการ)
  6. พระมหาเอกชัย สุชโย (ผู้แทนคณาจารย์ กรรมการ)
  7. ดร.ประเวช วะทาแก้ว (ผู้แทนคณาจารย์ กรรมการ)
  8. รศ.ดร.อำพล บุดดาสาร (ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ)
  9. ผศ.ดร.สมบูรณ์ วัฒนะ (ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ)
  10. ผศ.ดร.ธีรัตม์ แสงแก้ว (ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ)
  11. ดร.เสน่ห์ เดชะวงศ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ)
  12. พระครูธรรมธร เดโช ิตเตโช (กรรมการและเลขานุการ)
  13. พระมหาจักรพล อาจารสุโภ, ดร. (ผู้ช่วยเลขานุการ)
  14. นางสาวสิริพร ครองชีพ (ผู้ช่วยเลขานุการ)
  15. นางสาวจันทิมา แสงแพร (ผู้ช่วยเลขานุการ)

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดการสอน

     ภาควิชาพุทธศาสตร์

           - หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (Buddhist Studies for Development)

           - หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (Buddhism) (เปิดการเรียนการสอนเฉพาะในเรือนจำ/ทัณฑสถาน)

     ภาควิชาปรัชญา

           - หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม (Philosophy, Religions and cultures)

     ภาควิชาศาสนศาสตร์

           - หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (Buddhist Studies)

           - หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (Buddhism and Philosophy)

1.6 จำนวนนักศึกษา

1.6 จำนวนนักศึกษา
1.6.1 จำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา
2565 สรุปได้ดังนี้

ภาควิชา/สาขาวิชา

จำนวนนักศึกษา

ภาควิชาพุทธศาสตร์

 

      - สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

27

      - สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (เรือนจำ/ทัณฑสถาน)

115

ภาควิชาปรัชญา

 

      - สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

19

ภาควิชาศาสนศาสตร์

 

      - สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

9

      - สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

23

รวมจำนวนทั้งสิ้น

193

 1.6.2 จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2565 สรุปได้ดังนี้

ภาควิชา/สาขาวิชา

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

ภาควิชาพุทธศาสตร์

 

      - สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

6

      - สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

-

ภาควิชาปรัชญา

 

      - สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

6

ภาควิชาศาสนศาสตร์

 

      - สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

2

      - สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

-

รวมจำนวนทั้งสิ้น

14

 


 

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

1.7.1 จำนวนอาจารย์

ที่

ชื่อ-ฉายา/นามสกุล

ตำแหน่งทางวิชาการ

วุฒิการศึกษา

1

พระเทพวัชรเมธี, ผศ.ดร.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ปริญญาเอก

2

พระศรีรัชมงคลบัณฑิต, รศ.ดร.

รองศาสตราจารย์

ปริญญาเอก

3

พระครูวินัยธร เจริญ ทนฺตจิตฺโต, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

4

พระครูสุธีปริยัติโกศล, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

5

พระมหาขนบ สหายปญฺโญ, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

6

พระมหาจักรพล อาจารสุโภ, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

7

พระมหาสันติราษฎร์ ฌานสนฺติ, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

8

พระมหาเอกชัย สุชโย

อาจารย์

ปริญญาโท

9

พระมหาวิชิต อคฺคชิโต

อาจารย์

ปริญญาโท

10

พระมหาสมศักดิ์ ธมฺมโชติโก

อาจารย์

ปริญญาโท

11

พระมหาสราวุธ  าณโสภโณ

อาจารย์

ปริญญาโท

12

พระปลัด ธนา อคฺคธมฺโม

อาจารย์

ปริญญาโท

13

พระมหาอนันต์  อนุตฺตโร

อาจารย์

ปริญญาโท

14

พระปลัดบุญช่วย ฐิตจิตฺโต

อาจารย์

ปริญญาโท

15

พระครูสังฆรักษ์ สุริยะ ปภสฺสโร

อาจารย์

ปริญญาโท

16

พระมหาบุญประสิทธิ์ นาถปุญฺโญ

อาจารย์

ปริญญาโท

17

แม่ชีบุญช่วย ศรีเปรม, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

18

แม่ชีเนตรนภา สุทธิรัตน์, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

19

ผศ.ดร.แหวนทอง บุญคำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ปริญญาเอก

20

ดร.ปารินันท์ ปางทิพย์อำไพ

อาจารย์

ปริญญาเอก

21

ดร.สุรชัย พุดชู

อาจารย์

ปริญญาเอก

22

ดร.ประเวช วะทาแก้ว

อาจารย์

ปริญญาเอก

23

ดร.สิริพร ครองชีพ

อาจารย์

ปริญญาเอก

24

อาจารย์จันทิมา แสงแพร

อาจารย์

ปริญญาโท

25

อาจารย์อริสา สายศรีโกศล

อาจารย์

ปริญญาโท

 

1.7.2 จำนวนเจ้าหน้าที่

ที่

ชื่อ-ฉายา/นามสกุล

ตำแหน่งทางวิชาการ

วุฒิการศึกษา

1

พระครูธรรม เดโช ฐิตเตโช

นักวิชาการศึกษา

ปริญญาโท

2

นายประเมศฐ์  จิรวิริยะสิริ

นักวิชาการศึกษา

ปริญญาโท

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

          คณะศาสนาและปรัชญา ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2565 ตามแผนงานพื้นฐาน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์
สรุปได้ดังนี้

                    - เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายสนับสนุนการผลิตบัณฑิต

                    - เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

                    - เงินอุดหนุนทุนวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน

                    - ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ

          โดยได้รับงบจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้กำหนดตามวิถี สรุปได้ดังนี้

                    วิถีที่ 1 ปริยัติ สืบสาน ส่งต่อ ต่อยอด

                    วิถีที่ 2 ประยุกต์ ผสาน สร้างสรรค์ อย่างลึกซึ้ง

                    วิถีที่ 3 ปฏิบัติ ค้นหา ตน เติม คน เสริมสร้าง สังคม

                    วิถีที่ 4 ปฏิบถ ฟื้นฟู เยียวยา นำพากลับสู่ความสว่าง สงบ

                    วิถีที่ 5 ปฏิรูป พลิก เปลี่ยน ปรับ รับการเปลี่ยนแปลง

สรุปงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2565 ดังนี้

  • ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ จำนวน 1,915,205 บาท
  • งบดำเนินงานก่อนผูกพัน จำนวน 619,795 บาท

          รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,535,000 บาท

(เอกสารอ้างอิง งบประมาณ 2565)

 

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

1.9. เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

1.9.1 เอกลักษณ์

        บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ การชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคม 2 เรื่อง

        1. ภายในมหาวิทยาลัย จิตสาธารณะ หรือจำสำนึกทางสังคม

        2. ภายนอกมหาวิทยาลัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวพระราชดำรัสต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคม

1.9.2 อัตลักษณ์

        บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ควรส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการที่ตรงสาขาวิชาเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการต่อไป รวมทั้งควรติดตามอย่างต่อเนื่อง
  2. ทบทวนตัวชี้วัด และแผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในการพัฒนาทักษะทั่วไปและทักษะเฉพาะของนักศึกษา

1. คณบดีคณะศาสนาและปรัชญา ได้มอบนโยบายและแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมอาจารย์ให้พิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์และคุณสมบัติที่สามารถขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการให้ดำเนินการขอตำแหน่งทางวิชาการ

2. คณะศาสนาและปรัชญา ได้เชิญเจ้าหน้าที่กองนโยบายและแผน เข้ามาให้ความรู้เกี่ยวการจัดทำแผนให้ตรงกับนโยบายของมหาวิทยาลัย

1. ในปีการศึกษา 2565 ได้ผ่านกระบวนการสอบสอน เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 3 รูป/คน ได้แก่

1. พระมหาจักรพล อาจารสุโภ, ดร.

2. แม่ชีบุญช่วย ศรีเปรม, ดร.

3. ดร.สันติราษฎร์ พวงมลิ

2. ผู้ช่วยอธิการบดี นายทศพร จันทรมงคลเลิศ ได้มาอธิบายและกำหนดตัวชี้วัดและการเขียนแผนของคณะศาสนาและปรัชญาให้เชื่อมโยงกับแผนของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดตัวชีวัด และวัดความสำเร็จของแผน

 

องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย

จุดที่ควรพัฒนา

  1. พิจารณาสัดส่วนผลงานวิจัย และผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำคณะ รวมทั้งควรวางแผนการทำผลงานวิชาการเพื่อการก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการต่อไป/ทั้งนี้ควรสร้างผลงานทางวิชาการทั้งตำรา หนังสือ และบทความวิจัย เพื่อเข้าสู่การขอผลงานทางวิชาการ
  2. พิจารณาประเด็นผลงานการวิจัยและการบริการวิชาการที่สามารถจดลิขสิทธิ์เพื่อสร้างคุณค่าของงานในคณะ/ชุมชน หน่วยงานเพิ่มขึ้น
  3. พิจารณาการวางเป้าหมายด้านผลงานวิจัย และบูรณาการการบริการวิชาการ วิจัย และศิลปวัฒนธรรมให้สามารถยกระดับการคุ้มครองสิทธิ์การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การขอรับอนุสิทธิบัตร หรือผลงานสร้างสรรค์

1. คณบดีคณะศาสนาและปรัชญา ได้มอบนโยบายและแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมอาจารย์ให้พิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์และคุณสมบัติที่สามารถขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการให้ดำเนินการขอตำแหน่งทางวิชาการ

2. คณบดีคณะศาสนาและปรัชญา มีนโยบายผลักดันให้เกิดงานวิจัยและการบริการวิชาการที่สามารถจดลิขสิทธิ์เพื่อสร้างคุณค่าของงานในคณะ/ชุมชน หน่วยงานให้เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีระบและกลไกในการส่งเสริมให้อาจารย์จดลิขสิทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

1. ในปีการศึกษา 2565 ได้ผ่านกระบวนการสอบสอน เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 3 รูป/คน ได้แก่

1. พระมหาจักรพล อาจารสุโภ, ดร.

2. แม่ชีบุญช่วย ศรีเปรม, ดร.

3. ดร.สันติราษฎร์ พวงมลิ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนา

  1. พิจารณาประเด็นของการนำผลความพึงพอใจของผู้รับบริการมาทำการวิเคราะห์โครงการที่สามารถพัฒนาให้ยั่งยืนและเข้มแข็งและควรมีการให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างคณะและผู้รับบริการต่อไป
  2. คณะอาจพิจารณากำหนดประเภทของงานบริการวิชาการให้ชัดเจน ในแผนบริการวิชาการ เช่น 1) โครงการตามความเชี่ยวชาญ 2) โครงการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง และ 3) โครงการตามคำร้องขอ การนำเสนอในผลการดำเนินงานต้องแสดงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายให้ชัดเจน รวมทั้งมีการประเมินความสำเร็จผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
  3. พิจารณาถอดบทเรียนและร่วมพิจารณาประเด็นการหาแนวทางการได้ประโยชน์ของผู้รับบริการเพื่อมาจัดทำแผนพัฒนาการบริการวิชาการสู่สังคมในด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมและวัฒนธรรมที่จะสามารถก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งก่อให้เกิดกระบวนการทางความคิดทั้งของอาจารย์ นักศึกษา และผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น

1. ประชุมคณะกรรมการนำผลความพึงพอใจของผู้รับบริการมาทำการวิเคราะห์และมอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนโครงการที่สามารถตอบโจทย์ชุมชนและผู้รับบริการ

2. คณะศาสนาและปรัชญา ได้พิจารณากำหนดการบริการวิชาการให้ครอบคลุมความเชื่อมโยงเพื่อสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งเพื่อพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

3. ประชุม วิเคราะห์ แนวทาง การจัดทำโครงการให้ครอบคลุม เพื่อตอบโจทย์ผู้รับบริการ ให้สามารถก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งก่อให้เกิดกระบวนการทางความคิดทั้งของอาจารย์ นักศึกษา และผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น

1. คณะศาสนาและปรัชญา ได้มีการพิจารณาโดยการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้รับบริการ คือ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและความร่วมมือเพื่อพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกตเพื่อการพัฒนา

  1. อาจพิจารณานำผลลัพธ์จากการดำเนินการในปีที่ผ่านมา มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาโครงการที่สะท้อนวัฒนธรรมเชิงพื้นที่และประเพณีวัฒนธรรมร่วมกับการพัฒนากิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น
  2. อาจพิจารณาจัดทำแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและมีการบรรจุโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในแผนโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างคุณค่า และสำนึกรักษ์ถิ่น หรือกิจกรรมจัดตั้งและเผยแพร่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน สู่การอนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาสู่ฐานการเรียนรู้ สืบสาน ส่งต่อ ต่อยอดให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

2. คณบดีคณะศาสนาและปรัชญา ได้มีการประชุมทบทวนการจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีหนวยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนร่วมกันได้แก่ วัดนครอินทร์ 

2. คณะศาสนาและปรัชญา ได้ดำเนินการทบทวนแผนและบรรจุโครงการ คือ โครงการเทศน์มหาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเข้าร่วมเพื่อเรียนรู้และเข้าใจถึงความสำคัญแห่งการเทศน์มหาชาติฯ 2) เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีเทศน์มหาชาติฯ ให้คงอยู่สืบไป

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดที่ควรพัฒนา

  1. อาจพิจารณาการบริหารความเสี่ยงร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพทั้งด้านสัดส่วนอาจารย์ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ ด้านจำนวนนักศึกษากับสัดส่วนอาจารย์ ด้านการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
  2. พิจารณาการนำเครื่องมือการจัดการความรู้มาใช้ประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยงด้านตำแหน่งวิชาการและจัดกลุ่มอาจารย์เพื่อเสริมสร้างการทำผลงานวิชาการต่อไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เชิงประจักษ์
  3. ควรพิจารณาประเด็นแผนพัฒนากลยุทธ์/แผนปฏิบัติการตามพันธกิจมาขับเคลื่อนการทำงานตามอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของคณะวิชาโดยเพิ่มตัวชี้วัดที่จะสามารถพัฒนางานด้านผลลัพธ์ผู้เรียน นวัตกรรม วิจัย และการบริการวิชาการให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น

1. มหาวิทยาลัยมีระบบและกลไกในการวิเคราะห์และประเด็นความเสี่ยงข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้ระบบ e-port มาพิจารณาการบริหารจัดการพร้อมกับจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรและแผนพัฒนาคณะ เพื่อลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ

 

1. ระบบ e-port และแผนพัฒนาหลักสูตรและแผนพัฒนาคณะ

สรุปผลการประเมิน
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.76
3.76
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
1.00
1.00
ไม่บรรลุ
1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
3
บรรลุ
1.6 การส่งเสริมสนับสนุน บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร
2
2
2
บรรลุ
1.7 การส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา
2
3
3
บรรลุ
1.8 ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีหรือธรรมศึกษาชั้นตรีระดับอุดมศึกษา
2
4.64
4.64
บรรลุ
1.9 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
3.68
3.43
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
5
4
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
4.88
4.88
ไม่บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
2.4 ผลงานงานวิจัยและ/หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Knowledge Contribution for Intellectual and Moral Development)
2
5
5
บรรลุ
2.5 บุคลากรที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Morality Role Model)
2
4
4
บรรลุ
2.6 ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย (Knowledge Contribution from Intellectual and Moral Cultivation Network)
2
0
0
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.98
3.81
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration Ecosystem for Sustainable Social Development)
2
5
5
บรรลุ
3.2 จำนวนหน่วยงานหรือองค์กรชุมชนเป้าหมาย ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตามแผนบริการวิชาการ
2
5
5
บรรลุ
3.3 งบประมาณ/ทรัพยากรวิจัยเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Funding for Knowledge Creation in Intellectual and Mortal Development)
2
1
1
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.67
3.67
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา
2
5
4
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
4.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
4
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
4.50
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (20 ตัวบ่งชี้)
3.96
3.71

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 8 3.00 3.25 4.20 3.43 ปานกลาง
2 6 4.88 4.00 3.50 3.81 ดี
3 3 - 5.00 3.00 3.67 ดี
4 1 - 4.00 - 4.00 ดี
5 2 - 4.50 - 4.50 ดี
รวม 20 3.63 3.89 3.55 3.71 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดี ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.612.673.003.004.503.44
2563 4.134.585.005.005.004.50
2564 4.145.005.005.005.004.60
2565 3.433.813.674.004.503.71
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

1.ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผลิตผลงานวิชาการที่สอดคล้องกับสาขาวิชา และสามารถใช้ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้

2.การให้ความรู้กับศิษย์เก่าควรเป็นการ up-skill หรือ re-skill ให้กับศิษย์เก่า

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

 1. พิจารณาสัดส่วนผลงานวิจัย และผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำคณะ รวมทั้งควรวางแผนการทำผลงานวิชาการเพื่อการก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการต่อไป/ทั้งนี้ควรสร้างผลงานทางวิชาการทั้งตำรา หนังสือ และบทความวิจัย เพื่อเข้าสู่การขอผลงานทางวิชาการ

2. พิจารณาประเด็นผลงานการวิจัยและการบริการวิชาการที่สามารถจดลิขสิทธิ์เพื่อสร้างคุณค่าของงานในคณะ/ชุมชนหน่วยงานเพิ่มขึ้น

3.คณะควรร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

 

จุดเด่น

  • มีการใช้คุณลักษณะและปรัชญาของคณะเพื่อทำการบริการวิชาการตามศาสตร์และตามความเชี่ยวชาญของอย่างเป็นรูปธรรม

จุดที่ควรพัฒนา:

  1. พิจารณาประเด็นของการนำผลความพึงพอใจของผู้รับบริการมาทำการวิเคราะห์โครงการที่สามารถพัฒนาให้ยั่งยืนและเข้มแข็งและควรมีการให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างคณะและผู้รับบริการต่อไป
  2. คณะอาจพิจารณากำหนดประเภทของงานบริการวิชาการให้ชัดเจน ในแผนบริการวิชาการ เช่น 1) โครงการตามความเชี่ยวชาญ 2) โครงการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง และ 3) โครงการตามคำร้องขอ การนำเสนอในผลการดำเนินงานต้องแสดงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายให้ชัดเจน รวมทั้งมีการประเมินความสำเร็จผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายและแสดงการมีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรม ที่คณะมีส่วนร่วมโครงการ/กิจกรรม
  3. พิจารณาถอดบทเรียนและร่วมพิจารณาประเด็นการหาแนวทางการได้ประโยชน์ของผู้รับบริการเพื่อมาจัดทำแผนพัฒนาการบริการวิชาการสู่สังคมในด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมและวัฒนธรรมที่จะสามารถก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งก่อให้เกิดกระบวนการทางความคิดทั้งของอาจารย์ นักศึกษา และผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น
  4. ควรวางแผน กำหนดเป้าหมาย เครือข่าย ดำเนินการตามแผน และประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของแผนในการบริการวิชาการให้ชัดเจน เช่น โครงการวิทยบริการสอนพระพุทธศาสนาในเรือนจำ รวมทั้งนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาผลการดำเนินงานในปีถัดไปเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการบริการวิชาการร่วมกับเครือข่าย
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ควรมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงานและประเมินผลความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการนำผลประเมินมาปรับปรุง

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

1. พิจารณาความเสี่ยงเรื่องสัดส่วนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์

2. ควรการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ

3.พิจารณาการนำเครื่องมือการจัดการความรู้มาใช้ประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยงด้านตำแหน่งวิชาการและจัดกลุ่มอาจารย์เพื่อเสริมสร้างการทำผลงานวิชาการต่อไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เชิงประจักษ์

บทสัมภาษณ์

จุดเด่นของคณะ คือ

1. คณาจารย์มีความรู้ในสาขาวิชาที่ลึกซึ้ง และนอกเหนือจากตำรา สามารถให้ความรู้ในเชิงการคิดวิเคราะห์แก่นักศึกษาได้มากกว่าการอ่านจากหนังสือหรือตำรา

2. สวัสดิการของนักศึกษา เช่น ทุนการศึกษา การดูแลอย่างเป็นระบบ

3. ปลูกฝังให้นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งจะช่วยให้การทำงานราบรื่น ไม่มีความขัดแย้ง

จุดที่ควรพัฒนา คือ

1. การปรับปรุงเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความทันสมัย สามารถที่จะใช้สืบค้นความรู้เพื่อการศึกษาได้มากขึ้น 

2. การประชาสัมพันธ์ของคณะ และมหาวิทยาลัยยังด้อยกว่าที่อื่น ควรใช้เทคโนโลยีหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในการประชาสัมพันธ์ เช่น Tik Tok, facebook 

 3. ควรมีการทำ MOU กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาเรียน และเป็นการช่วยเหลือให้นักศึกษาสามารถสอบเข้าหรือสอบบรรจุในงาน

 

ภาพถ่าย