Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์


บทสรุปผู้บริหาร
บทสรุปผู้บริหาร 

     จากการดำเนินงานของวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง  คะแนนเฉลี่ย  3.98  อยู่ในระดับดี  โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้

     องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหา
มกุฏราชวิทยาลัย มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบ  ที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย  4.20  อยู่ในระดับดี

     องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางวิทยาลัย  ศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย  3.49  อยู่ในระดับปานกลาง

      องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 3.33 อยู่ในระดับปานกลาง

       องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา และสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย  5.00  อยู่ในระดับดีมาก

        องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

 

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

1.1  ชื่อส่วนงานที่ตั้งและประวัติความเป็นมา

1.1.1  ชื่อหน่วยงาน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

          ภาษาไทย :       มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

                             อักษรย่อ  คือ มมร.วศก.

          ภาษาอังกฤษ :   Mahamakut Buddhist University, Kalasin  Buddhist  College.

                            อักษรย่อ  คือ MBU. KBC.

          1.1.2  สถานที่ตั้ง

                    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  ตั้งอยู่  เลขที่ 84/1 วัดประชานิยม  ถนนถีนานนท์   ตำบลกาฬสินธุ์  อำเภอเมืองกาฬสินธุ์  จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 โทร.0-4301-0379  Website.http://ksn.mbu.ac.th

          1.1.3  ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป

                   ในปีพุทธศักราช 2543 พระเดชพระคุณพระราชญาณเวที (บัวศรี  ชุตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดประชานิยม  เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุต) (ปัจจุบันสมณะศักดิ์พระเทพสารเมธี) พร้อมด้วยคณะสงฆ์ทายกทายิกาชาวจังหวัดกาฬสินธุ์เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาในระดับปริญญาเป็นโอกาสอันดีที่พระภิกษุสามเณรและฆราวาสภายในจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียงจะได้มีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงฆ์  จึงได้ขออนุมัติจัดตั้งศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์  สังกัดของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตร้อยเอ็ดและได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเป็นศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 2/2544   มติที่ 15 / 2544  เรื่องโครงการจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์

                   ศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์ได้เปิดรับสมัครพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป  เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเมื่อวันที่  18 เดือนพฤษภาคม  พุทธศักราช  2544 มีจำนวนนักศึกษาสองห้องเรียนโดยเปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติวันจันทร์- ศุกร์)

                    ต่อมาในปีการศึกษา 2545 ศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาภาคพิเศษจัดการเรียนการสอนในวันเสาร์-อาทิตย์และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรรายวิชาชีพครู (ปวค.)

                   ศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นทุกปีการศึกษาจากปริมาณนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นบุคลากรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การบริหารจัดการในรูปแบบศูนย์การศึกษาขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์  จึงได้ขอยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยฯ ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  และได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  ตามมติการประชุมของสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยครั้งที่ 2/2550 มติที่ 22/2550 เรื่องขออนุมัติยกฐานะศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์ และตามประกาศข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนงาน  (ฉบับที่  3)  พ.ศ. 2550  (30  เมษายน  2550)  ราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  124  ตอนพิเศษ  96  ง  14  สิงหาคม  2550

                 ปัจจุบันในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  เปิดสอนระดับปริญญาตรี  ดังนี้ฯ

        ระดับปริญญาตรี  ภาคปกติ (เรียนจันทร์ - ศุกร์) เปิดสอน 2  คณะ   4  สาขาวิชา ดังนี้

  1. คณะศึกษาศาสตร์

            - สาขาวิชาการสอนภาษาไทย                                หลักสูตร 5 ปี/4 ปี

            - สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา                         หลักสูตร 5 ปี/4 ปี

            - สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา                               หลักสูตร 4 ปี

  1. คณะสังคมศาสตร์

           - สาขาวิชาการปกครอง                                        หลักสูตร 4 ปี

        ระดับปริญญาตรีภาคนอกเวลาราชการ  เปิดสอน 1  คณะ   1  สาขาวิชา ดังนี้

  1. คณะสังคมศาสตร์

          - สาขาวิชาการปกครอง                                         หลักสูตร 4 ปี

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2.1  ปรัชญามหาวิทยาลัย  (Philosophy)

“ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา”

Academic Excellence based on Buddhism

(วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  ใช้ปรัชญาสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย)

1.2.2  ปณิธาน ( Aspiration )

                   มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม ชี้นำและแก้ไขปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

1.2.3  วิสัยทัศน์ ( Vision Statements )

                   (1) เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ

                   (2) เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมวลชนที่ผลิตบัณฑิตตามแนวพระพุทธศาสนาและบุคลากรด้านต่างๆ ที่มีความรู้ ความสามารถ มีศีลธรรมในการดำรงชีวิตแบบพุทธ

                             (3) เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาของโลกที่สามารถชี้นำและยุติความขัดแย้งในสังคมโดยใช้หลักพุทธธรรม

                   (4) เป็นสถาบันที่เน้นทำวิจัยพัฒนาตามกรอบแห่งศีลธรรมส่งเสริมงานวิจัยเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนาและนำผลการวิจัยไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

1.2.4  พันธกิจ ( Mission Statements )

                   (1) ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนาให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยและกระจายโอกาสให้พระภิกษุ สามเณร คฤหัสถ์และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น

                   (2) ให้บริการวิชาการแก่สังคม ชุมชนและท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา  เพื่อมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการพระพุทธศาสนา

                   (3) วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา  เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและเผยแพร่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย

                   (4) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม  เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้าทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น  รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

1.4.1     ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

รูปที่  1

              ชื่อ                        พระปริยัติสารเวที  (ทองสุข) ฉายา สุทฺธสิริ  นามสกุล  นาชัยดี

             ­วุฒิการศึกษา            นักธรรมชั้นเอก, เปรียญธรรม 7 ประโยค

                                        ศน.บ. (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

                                        อ.ม. (ภาษาบาลีและสันสกฤต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                                        ปร.ด. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

             สังกัด                     วัดปทุมวนาราม  เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ฯ

              ตำแหน่ง                 ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

                     พ.ศ.2550 – 30 กันยายน 2556

                                        รักษาการรองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

 

รูปที่  2

    ชื่อ                       พระครูวรจิตตานุรักษ์ (สงวน)  ฉายา  ปาลจิตฺโต  นามสกุล  วงศ์เสาเนา

             วุฒิการศึกษา            นักธรรมชั้นเอก

                                        ศน.บ. (รัฐศาสตร์การปกครอง)   มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

                                        รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)      มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

             สังกัด                    วัดป่าไม้แดง  ตำบลเหนือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

             ตำแหน่ง                 รักษาการแทนผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
                                        1 ตุลาคม 2556 - 13 มีนาคม 2557

                                        ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

                                        14 มีนาคม 2557 – 30 กันยายน  2557

                                       

 

 

 

 

 

 

รูปที่  3

    ชื่อ                        พระครูสุธีวรสาร, ดร.  (อุธ)  ฉายา  ฐิตปญฺโญ  นามสกุล  จันทุม

             วุฒิการศึกษา            นักธรรมชั้นเอก. เปรียญธรรม 4 ประโยค

                                        รวค.  (รายวิชาชีพครู)             มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

                                        ศน.บ. (รัฐศาสตร์การปกครอง)   มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

                                        ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)     มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                                        ปร.ด. (การบริหารการศึกษา)     มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

              สังกัด                     วัดหนองสวง  ตำบลหนองสรวง  อำเภอหนองกุงศรี  จังหวัดกาฬสินธุ์

              ตำแหน่ง                  รักษาการแทนผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
                                         1 ตุลาคม 2557 - 21 มกราคม 2561

                                                   ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

                                        22  มกราคม  2561 – ปัจจุบัน

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาตรี

ลำดับที่

คณะ

หลักสูตร

สาขาวิชาที่เปิดสอน

1

ศึกษาศาสตร์

ศึกษาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559/2562 (หลักสูตร 5 /4 ปี)

หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559/2562 (หลักสูตร 5/4 ปี)

หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2562 (หลักสูตร 4 ปี)

 

การสอนพระพุทธศาสนา

การสอนภาษาไทย

การสอนสังคมศึกษา

2

สังคมศาสตร์

รัฐศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559/2563 (หลักสูตร 4 ปี)

 

การปกครอง

1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา จำแนกคณะ สาขาวิชา/ ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2565

 

ลำดับที่

 

คณะ/สาขาวิชา

ระดับการศึกษา/จำนวนนักศึกษา

1

คณะศึกษาศาสตร์

 

การสอนพระพุทธศาสนา

11

การสอนภาษาไทย

68

การสอนสังคมศึกษา

54

2

คณะสังคมศาสตร์

 

การปกครอง

96

รวม

229

 

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

ระดับการศึกษา

สาขาวิชา

ปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา

หมายเหตุ

2565

ปริญญาตรี

การสอนพระพุทธศาสนา

8

 

การสอนภาษาไทย

26

 

การสอนสังคมศึกษา

9

 

การปกครอง

10

 

รวม

53

 

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

ระดับ/ประเภท

บรรพชิต

คฤหัสถ์

รวม

คณาจารย์ประจำ

6

3

9

คณาจารย์อัตราจ้าง

1

11

12

เจ้าหน้าที่ประจำ

-

6

6

เจ้าหน้าที่อัตราจ้าง

-

4

4

รวม

7 รูป

24 คน

31 รูป/คน

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.8.1  งบประมาณ

ปี

ประเภทของแหล่งงบประมาณ

 

รวม

งบประมาณแผ่นดิน

งบประมาณจากเงินรายได้

งบอื่นๆ( เงินอุดหนุนอื่นๆ)

2565

4,680,200

4,186,107

-

8,866,307

 

ปี

ประเภทของแหล่งงบประมาณ

 

รวม

งบประมาณแผ่นดิน

งบประมาณจากเงินรายได้

งบอื่นๆ (เงินอุดหนุนอื่นๆ)

2566

4,986,300

4,163,600

-

9,149,900

         

1.8.2 งบประมาณที่วิทยาลัยฯ จัดสรรตามภารกิจ

ปีงบประมาณ 2565

ที่

ภารกิจ

งบประมาณ

ผลต่าง

เงินรายได้

ผลต่าง

งบที่จัดสรร

รายจ่ายจริง

งบที่จัดสรร

รายจ่ายจริง

1

ค่าใช้จ่ายบุคลากร

-

-

-

3,881,107

3,287,394.02

593,712.98

2

ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน

1,800,000

1,174,953.41

625,046.59

305,000

9,154.39

295,845.65

3

ครุภัณฑ์การศึกษา

275,700

269,300

6,400

-

-

 

4

อุดหนุนค่าใช้จ่ายสนับสุนการผลิตบัณฑิต

2,823,600

879,569.30

1,944,030.70

-

-

-

รวม

4,680,200

2,323,822.71

3,833,835.50

4,186,107

3,296,548.41

889,558.63

1.8.3 อาคารสถานที่

วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ ดำเนินการเรียนการสอนภายในวัดประชานิยม
(วัดให้ใช้ฟรี)  เลขที่ 84/1 ถนนถีนานนท์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย อาคารจำนวน 4 อาคาร ดังนี้

  1. อาคารหอสมุดเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ชั้นบนใช้เป็นห้องสมุดรวมของวิทยาลัยฯ ชั้นล่างปรับใช้เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ฯ และห้องผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ
  2. อาคารจักรธรรมารักษ์ ชั้นเดียว จำนวน 8 ห้องเรียน ใช้เป็นห้องพัสดุ และใช้เป็นห้องเก็บวัสดุเสื่อมสภาพ
  3. อาคารใหม่ 4 ชั้น (อาคารพระเทพสารเมธี) ใช้เป็นห้องบัณฑิตวิทยาลัยและสืบค้นวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ ห้องประชุมเล็ก ห้องอาจารย์ประจำหลักสูตรการสอนภาษาไทย และพัฒนาห้องมุขหน้าอาคารเป็นห้องศูนย์ประสานงานนักศึกษา ห้องพักคณาจารย์ประจำหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนา และห้องอาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์การปกครอง ห้องยุวพุทธิกสมาคม ชั้นล่างห้องสำนักงานวิทยาลัยฯ                                                                                                                                                                                                                                                                                                             

          มาตรฐานห้องเรียน ห้องขนาดบรรจุ 50 รูป/คน ประกอบด้วยจอโปรเจคเตอร์ ประจำทุกห้อง เครื่องเสียงพร้อมไมค์โครโฟน

  1. อาคารอเนกประสงค์ 3  ชั้น  ชั้นที่ 1 ห้องพัสดุ และห้องกิจการนักศึกษา ชั้นที่ 2 ใช้เป็นห้องประชุม (เล็ก)  4 ห้อง, ห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องรับรอง

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

1.9.1  เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

                 บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติและนานาชาติ

       1.9.2  อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต 

                บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติและนานาชาติ

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
  1. วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ ควรพัฒนาหลักสูตรที่มีผลคะแนนต่ำ และพัฒนาค่าคะแนนของแต่ละหลักสูตรเพิ่มขึ้นในทุกๆปีตามลำดับ
  2. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรทำวิจัยและสนับสนุนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาในระดับหลักสูตรให้ทุกหลักสูตรมีอาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานวิชาการให้สามารถขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้
  3. ควรจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์แบบระยะสั้น และระยะยาวเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

ดำเนินการตามที่คณะกรรมการแนะนำ

1.สรุปเปรียบเทียบผลการประเมินระดับหลักสูตร (2563 - 2565)

วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2564

ปีการศึกษา 2565

3.60

3.68

3.73

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2564

ปีการศึกษา 2565

3.69

3.74

3.91

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2564

ปีการศึกษา 2565

3.48

3.52

4.02

สาขาวิชาการปกครอง

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2564

ปีการศึกษา 2565

3.66

3.57

3.68

 

  1. อาจารย์ประจำหลักสูตรของวิทยาลัยฯ ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ดังนี้

ข้อมูลพื้นฐาน

จำนวนยืนยัน

จำนวนของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่มีค่าน้ำหนัก 0.60

17

จำนวนของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่มีค่าน้ำหนัก 0.80

2

จำนวนของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่มีค่าน้ำหนัก 1.00

1

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์

20

 

   วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ จัดอบรมพัฒนาคณาจารย์ และส่งเสริมให้บุคลากรสายอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเข้าอบรมพัฒนาตนเอง เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และมอบหมายให้ฝ่ายวิชาการจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ระยะยาวที่ครอบคลุมด้านการพัฒนาตนเอง และด้านสวัสดิการ

   จำนวนคณาจารย์อัตราบรรจุ จำนวน 9 รูป/คน

   จำนวนอาจารย์อัตราจ้าง  จำนวน 12 รูป/คน

   อัตราจ้างอายุเกินกำหนดขาดคุณสมบัติตามระเบียบ  จำนวน 5 คน

   คณาจารย์รวมทั้งหมด จำนวน 21 รูป/คน มีคุณสมบัติตามระเบียบ 16 รูป/คน

   อยู่ในระหว่างได้เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 4 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 25 เปอร์เซ็น

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
  1. มหาวิทยาลัยควรจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่นการจัดประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย
  2. การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยควรมีการสรรหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก

 

ดำเนินการตามที่คณะกรรมการแนะนำ

  1. บุคลากรวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ ได้เข้าร่วมโครงการเขียนข้อเสนอของบประมาณแผนงาน บูรณาการ วิจัยและนวัตกรรม สำหรับอาจารย์ นักวิจัย ตามแบบบูรณาการพัฒนาศักยภาพ วิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 ในวันที่ 29 - 31 สิงหาคม 2565 และได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนบทความและเตรียมความพร้อมเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ” ระหว่างวันที่ 25 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2566

 1.1 สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ให้แก่อาจารย์  จำนวน  1  เรื่อง  เรื่องละ 100,000 บาท

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

          ควรมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากโครงการบริการวิชาการแก่สังคมพร้อมกับการวัดผลหรือประเมินผลจากการทำแผนการใช้ประโยชน์ด้วย

ดำเนินการตามที่คณะกรรมการแนะนำ

การใช้ประโยชน์จากการให้บริการวิชาการ อยู่ในรูปแบบการนำข้อมูลมาบูรณาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน บูรณาการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย และการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี การจัดทำแผนเฉพาะงานอยู่ในระหว่างดำเนินการแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมแก่ชุทชนและสังคม

แผนการใช้ประโยชน์จากการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการบริการวิชาการ

การใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ

ผลการพัฒนา

(นศ./ชุมชน/สังคม)

วันที่ดำเนินการใช้ประโยชน์

ผู้รับผิดชอบ

1. โครงการประเพณีวันสงกรานต์

นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไปสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของไทย

นักศึกษา/ชุมชน

เมษายน

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา

2. โครงการเทศน์มหาชาติ

นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไปสืบสานขนบธรรมเนียมโบราณของชาวพุทธ

นักศึกษา/ชุมชน

เมษายน

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา

3. โครงการประเพณีลอยกระทง

นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไปเกิดความภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของไทย

นักศึกษา/ชุมชน

ตามปฏิทิน

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา

4.โครงการประเพณีวันสำคัญของศาสนา

1.  นักศึกษา นักเรียน และประชาชน อนุรักษ์ส่งเสริมกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง

2.  นักศึกษา นักเรียน และประชาชน  มีคุณธรรมนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้

นักศึกษา/ชุมชน/สังคม

ตามปฏิทิน

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา

สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.84
3.84
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
4.76
4.76
ไม่บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
0.00
0.00
ไม่บรรลุ
1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 การส่งเสริมสนับสนุน บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร
2
5
5
บรรลุ
1.7 การส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา
2
5
5
บรรลุ
1.8 ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีหรือธรรมศึกษาชั้นตรีระดับอุดมศึกษา
2
5.00
5.00
บรรลุ
1.9 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.20
4.20
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
5
5
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
0.95
0.95
ไม่บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
2.4 ผลงานงานวิจัยและ/หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Knowledge Contribution for Intellectual and Moral Development)
2
5
5
บรรลุ
2.5 บุคลากรที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Morality Role Model)
2
0
0
ไม่บรรลุ
2.6 ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย (Knowledge Contribution from Intellectual and Moral Cultivation Network)
2
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.49
3.49
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration Ecosystem for Sustainable Social Development)
2
5
5
บรรลุ
3.2 จำนวนหน่วยงานหรือองค์กรชุมชนเป้าหมาย ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตามแผนบริการวิชาการ
2
5
5
บรรลุ
3.3 งบประมาณ/ทรัพยากรวิจัยเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Funding for Knowledge Creation in Intellectual and Mortal Development)
2
0
0
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.33
3.33
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา
2
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (20 ตัวบ่งชี้)
3.98
3.98

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 8 2.38 5.00 4.42 4.20 ดี
2 6 0.95 5.00 3.75 3.49 ปานกลาง
3 3 - 5.00 2.50 3.33 ปานกลาง
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 20 1.90 5.00 3.61 3.98 ดี
ผลการประเมิน ต้องปรับปรุง ดีมาก ดี ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.332.115.005.005.003.56
2563 3.703.654.005.005.004.01
2564 3.803.064.005.005.003.92
2565 4.203.493.335.005.003.98
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดเด่น

นักศึกษามีการ สอบนักธรรมได้ เต็มจำนวนที่ได้สำเร็จการศึกษา

ข้อเสนอแนะ

1. ให้มีการปรับเปลี่ยนค่าเป้าหมายเพื่อให้สามารถนำ ให้มีการปรับเปลี่ยนค่าเป้าหมายเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ตามเป้าหมายที่กำหนด

2. ควรเร่งดำเนินการให้มีอาจารย์ดำรงตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น โดยวิธีต่างๆให้เกิดขึ้น

3. ในด้านกิจกรรมนักศึกษาควรมีการเพิ่มกิจกรรมนักศึกษาให้มากและนำมาวิเคราะห์ ให้ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์และงบประมาณควรมีความสอดคล้องกัน 

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดเด่น

1. หน่วยงานมีงานวิจัยที่หลากหลายและมีผลงาน วิจัย เป็นไปตามเกณฑ์

ข้อเสนอแนะ

2. ควรหาแนวทางเพิ่มงบการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกให้มากขึ้น

ควรมีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง หรือบุคคลที่ได้ไรับการเชิดชูเกียรติ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

ข้อเสนอแนะ

1.ควรหาแหล่งทุนงบวิจัยจากหน่วยงานภายนอกให้มากขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้

 

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ข้อเสนอแนะ

ควรจัดกิจกรรม งานวิจัย หรือโครงการในการ การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนะธรรมและพระพุทธศาสนา ที่เป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยหรือเด่นที่เกี่ยวกับชุมชนเป็นหลัก

 

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

ข้อเสนอแนะ

1.หน่วยงานควรมีการแสวงหารายได้หรือประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับเพื่อให้เกิดรายได้และเกิดผลกับการรับนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น 

บทสัมภาษณ์

ศิษย์เก่า

ท่านมีความภาคภูมิใจต่อมหาวิทยาลัยอย่างไร

  -มหาวิทยาลัยมีความเปิด กวางในด้านทุนการศึกษาและการเข้ารับการศึกษาในสถานที่แห่งนี้

นักศึกษาเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรพัฒนาเพิ่มเติมในจุดใด

-อยากให้มหาวิทยาลัยมีการเปิดกว้างในด้านการประชาสัมพันธ์เผยแพร่มหาวิทยาลัยให้มากขึ้น

มหาวิทยาลัยมีชมรมศิษย์เก่าให้กับนักศึกษาหรือไม่

-มี เป็นกลุ่มต่างๆจาก socialเสียงข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆต่อกัน

อยากให้หลักสูตรภาษาไทยเพิ่มเติมข้อมูลใดเข้าไปในหลักสูตร

-อยากให้องค์ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมเสริมเข้าร่วมกับกับเทคโนโลยีในปัจจุบันให้กับนักศึกษา แต่นศ ต้องแสวงหาด้วยตนเอง

นักศึกษาถ่ายทอดสิ่งที่ได้ศึกษานักศึกษาสามารถถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์อย่างไร

- ถ่ายทอดโดยการนำหลักธรรมเข้ามาสอนนักศึกษาข่าวมาใช้ในชีวิตประจำวันเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน

 นักศึกษาอยากเสริม สิ่งใดในหลักสูตร

- อยากให้เพิ่มเติมด้านภาษาอังกฤษเพราะว่าเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันอยากให้เพิ่มเติมด้านภาษาอังกฤษเพราะว่าเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันหลายๆด้านรวมทั้งเรื่องของเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วย

-อยากให้มีการสอนเกี่ยวกับแผนในการสอนและอยากให้ใส่ข้อมูลในเนื้อหารายวิชาให้มากขึ้น มีโครงการ และกิจกรรม ให้มากขึ้น

ภาพถ่าย