Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์


บทสรุปผู้บริหาร

ผลการดำเนินงานของระดับคณะ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเองคือ 3.24 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้
          องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต หรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 3.62  อยู่ในระดับดี
          องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 1.80 อยู่ในระดับต้องปรับปรุง
          องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ แก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา พึงให้การบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติในรูปแบบต่าง ๆ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 อยู่ในระดับปานกลาง
          องค์ประกอบที่ 4 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม ฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานพัฒนาและผ่ยแพร่ศิลปและวัฒนธรรม สร้างสรรค์ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

          องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ กำกับดูแลการทำงานของสถาบันให้มีประสิทธิภาพ  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5  นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

 1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ชื่อหน่วยงาน : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์ (Mahapajapati Buddhist College)

ที่ตั้ง: 95 หมู่ 7 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150 

โทรศัพท์ : 091-330-709 

เว็บไซต์ :https://nbc.mbu.ac.th/ ,http://mbu.mbc.in.th 

ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย : วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส หมายถึง ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

สีประจำมหาวิทยาลัย : สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี  อันเป็นวันพระราชสมภพ

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นโพธิ์ เป็นที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา : ระเบียบ   สามัคคี  บำเพ็ญประโยชน์

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย :

พระมหามงกุฎ หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4  พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม  “มหามกุฏราชวิทยาลัย”

พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง หมายถึง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  5  ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย

หนังสือ  หมายถึง  คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา  โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ปากกาปากไก่  ดินสอ  และม้วนกระดาษ หมายถึง  อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน  ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา  เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา

ช่อดอกไม้แย้มกลีบในทางการศึกษา หมายถึง  ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้  แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง  กิตติศัพท์  กิตติคุณ  ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ  อิสริยยศ  บริวารยศ

พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ หมายถึง  มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคงและแพร่หลายของพระพุทธศาสนา  ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่

วงรัศมี หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของ  มหามกุฏราชวิทยาลัยภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย

มหามกุฏราชวิทยาลัย หมายถึง  สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก  ปัจจุบัน  คือ  “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

วิทยาเขต/วิทยาลัย

 

   ที่

            วิทยาเขต

                    ที่อยู่

                  โทรศัพท์

   1.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่วนกลาง

248 วัดบ้านสุวรรณ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑลจ.นครปฐม 73170

0-2282 - 8303,   
0-2281 - 6427

   2.

วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

วัดชูจิตธรรมาราม เลขที่ 57 หมู่ที่ 1
ต.สนับทึบ อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา 13170

     035 - 745037 - 8

   3.

วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

วัดสิรินธรเทพรัตนาราม เลขที่ 26
หมู่ที่ 7 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน         
จ.นครปฐม 73160

   02 - 4291663,           

   02 - 4291719

   4.

วิทยาเขตอีสาน

เลขที่ 9/37 ม. 12 ถ.ราษฏร์คนึง
บ้านโนนชัย ต.ในเมือง อ.เมือง
จ.ขอนแก่น 40000

     043 - 241488,
     043 - 239605

   5.

วิทยาเขตล้านนา

วัดเจดีย์หลวง 103 ตำบลพระสิงห์ 
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

      053 - 270 - 9756

   6.

วิทยาเขตร้อยเอ็ด

เลขที่ 148 ถ.เลี่ยงเมือง ต.ดงลาน   
อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000

      043 - 518364,
      043 - 516076

   7.

วิทยาเขตศรีล้านช้าง

วัดศรีสุทธาวาส เลขที่ 253/7         
ถ.วิสุทธิเทพ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย 42000

     042 - 813028,
     042 - 830434

   8.

วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

วัดพระมหาธาตุ เลขที่ 169/9         
ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ. เมือง

จ.นครศรีธรรมราช 80000

     075 - 340499

   9.

มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์

 95 หมู่ 7 ตำบลภูหลวง 

อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150

 091-3303709

 

  10.

วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

วัดศรีธรรมาราม เลขที่ 1              
ถ.วิทยธำรงค์ อ.เมือง จ.ยโสธร 35000

      045 - 711056

  11.

วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

วัดประชานิยม ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000

      043 - 815393

          ประวัติความเป็นมาโดยย่อ

      ในปี พ.ศ. 2537 มูลนิธิ สถาบันแม่ชีไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัตดามาตุ ได้ดำริร่วมกันในการกำหนดบทบาทและสถานภาพของสตรี ภายใต้โครงสร้าง ความเปลี่ยนแปลงและเงื่อนไขของสังคมที่นับวันจะทวีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือสตรีที่ขาดโอกาสและถูกละเลยเอาเปรียบจากสังคม โดยในระยะเริ่มต้นได้ประสานการดำเนินการเพื่อกำหนดสถานภาพของแม่ชี และแสวงหาความร่วมมือในการจัดตั้งสถานศึกษาในลักษณะที่เป็นสถานศึกษาสำหรับ สตรี ที่จัดการศึกษาบนพื้นฐานเฉพาะทางพระพุทธศาสนา

        ในพ.ศ. 2541 องค์กรสตรีทั้งสององค์กร โดยการนำของแม่ชีคุณหญิงขนิษฐา  วิเชียร เจริญ ที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันแม่ชีไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ประสานงานขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏ-ราชวิทยาลัย เพื่อจัดการศึกษาตามความดำริดังกล่าว และสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่  12/2541 เมื่อวันพุธที่ 25พฤศจิกายน 2541 ได้มีมติสนับสนุนโครงการและให้เป็นวิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัย จึงถือว่าโครงการจัดสร้างสถานศึกษาสำหรับสตรีนี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนการ จัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยในระยะเริ่มต้นให้เปิดดำเนินการเรียนการสอนในสาขาวิชาพุทธศาสตร์ (Buddhist Studies) ที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี เลขที่ 501/1 หมู่3 ถนนเดชะตุงคะ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ภายใต้ชื่อว่า “มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย”ในการเปิดการเรียนการสอนที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี กลุ่มองค์กรสตรีได้ดำเนินการจัดสร้างสถานศึกษาแห่งใหม่ขึ้นที่ตำบลภูหลวง อำเภอปักธยงชัย จังหวัดนครราชสีมา บนเนื้อที่จำนวน 76 ไร่ 82 ตารางวา  ซึ่งบริจาคโดย นายเสรี  เวชโช จำนวน 57 ไร่ 82 ตารางวา  และแม่ชีราตรี  ตุรงควัธน์ จำนวน 19 ไร่  และในปี พ.ศ. 2544  ได้เปิดการเรียนการสอนที่ 95 หมู่ 7 ตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาจนถึงปัจจุบัน

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2.1 ปรัชญามหาวิทยาลัย (Philosophy)  

          “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา ”

          "Academic Excellence based on Buddhism"

1.2.2 ปณิธาน (Aspiration)

มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม  ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

          1.2.3 วิสัยทัศน์ (Vision Statements)

          เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตสตรี ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนา สู่สากล

1.2.4 พันธกิจ (Mission Statements)

  1. ผลิตบัณฑิตสตรีให้มีคุณลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งทางด้านพระพุทธศาสนาและภาษาอังกฤษ
  2. ผลิตงานวิจัยตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน
  3. ส่งเสริมการบริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
  4. อนุรักษ์ฟื้นฟูปกป้องศิลปะและวัฒนธรรมของไทยให้ยั่งยืนและเผยแพร่สู่ระดับนานาชาติ
  5. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 2                                                                                                                                  1.3 เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต    

     บัณฑิตสตรีมีความรอบรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับสากล

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

 

รายชื่อผู้บริหาร

            พระอุดมธีรคุณ                             ผู้อำนวยการ

คณะกรรมการวิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมา

            รายชื่อ

ตำแหน่ง

1) พระศุภวัฒน์ สุขวฑฺฒโน (เกตุกระทึก)

กรรมการ

2) แม่ชีศรีสลับ อุปมัย

กรรมการ

3) แม่ชีประครอง งามชัยภูมิ

กรรมการ

4) ดร.พนมมาศ บำรุงศิลป์

กรรมการ

5) ดร.บัณฑิกา จารุมา

กรรมการ

6) นางสาวสุดารัตน์ วงค์คำ

กรรมการ

7) นางสาวบุศรา สุวรรณไตรย์

กรรมการ

8) นายชลวัฒน์ กิมซัว

กรรมการ

9) นางสาวเบญญาภา เพิ่มบุญ

กรรมการ

10) นายอาคม อุโคตร

กรรมการ

11) ดร.อนันตชัย ขันโพธิ์น้อย

กรรมการ

12) แม่ชีจิดาภา ศรีสุข

กรรมการ

13) แม่ชีวรินทร ฟองลาที

กรรมการ

14) แม่ชีนุชจรี  จันทร์ประเสริฐ

กรรมการ

15) นางสาวกาณฑ์ณพัชร เลี่ยมพรมราช

กรรมการ

       

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่

.  สาขาวิชาที่เปิดสอน

รายชื่อหลักสูตร

1.

สาขาวิชาภาษา อังกฤษเพื่อการสื่อสาร (หลักสูตร 4 ปี)

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (ศศ.บ.) พ.ศ. 2561

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (ศศ.บ.) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566

2.

สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

(หลักสูตร 4 ปี)

ศึกษาศาสตรบัณฑิต(ศษ.บ.) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562

ศึกษาศาสตรบัณฑิต(ศษ.บ.) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566

รวม

สาขาวิชาที่เปิดสอน 2 สาขาวิชา

จำนวนหลักสูตร 2 หลักสูตร

1.6 จำนวนนักศึกษา

สาขาวิชา

ชั้นปี 1

(รหัส 65)

ชั้นปี 2

(รหัส 64)

ชั้นปี 3

(รหัส 63)

ชั้นปี 4

(รหัส 62)

รวม

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

4 2 6 -  12

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

24 11 11 25  71

รวม

 28  13  17  25  83

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา/สาขาวิชา

ปี 2562

ปี 2563

ปี 2564

ปี 2565

ปี 2566

สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

 7

 11

 11

5

สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

 -

 -

 16 

15

25

รวม

 7

 11

 23

22

 

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

จำนวนอาจารย์

อาจารย์ประจำหลักสูตร คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

  • 1.แม่ชีประครอง งามชัยภูมิ
  • 2.นางสาวสุดารัตน์ วงค์คำ
  • 3.นางสาวเบญญาภา เพิ่มบุญ
  • 4.พระศุภวัฒน์ สุขวฑฺฒโน (เกตุกระทึก)
  • 5.ดร.อนันตชัย ขันโพธิ์น้อย

อาจารย์ประจำหลักสูตร คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

      1) พระอุดมธีรคุณ (ภาวัต วิสุทเธสโก,แสวงดี)

      2) นายชลวัฒน์ กิมซัว

     3)ดร.บัณฑิกา จารุมา

     4) นางสาวบุศรา สุวรรณไตรย์

     5) นายอาคม อุโคตร

    6) ดร.พนมมาศ บำรุงศิลป์ (อาจารย์ประจำ)

จำนวนอาจารย์แยกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ
ที่ คณะ ปริญญาโท       ปริญญาเอก       รวม
    อ. ผศ. รศ. ศ. อ. ผศ รศ. ศ.  
คณะศึกษาศาสตร์                  
1 สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา       1       5
คณะมนุษยศาสตร์                  
1 สาขาวิชาภาษา อังกฤษเพื่อการสื่อสาร       2       6
รวม   8       3       11

จำนวนสายสนับสนุน

ที่

ชื่อ-นามสกุล

ปริญญาตรี

1

แม่ชีนุชจรี จันท์ประเสริฐ

2

แม่ชีวรินทร ฟองลาที

3

แม่ชีจิดาภา ศรีสุข

4

แม่ชีกนกรัตน์ ปอยมะเริง

5

นางสาวกาณฑ์ณพัชร เลี่ยมพรมราช

 

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

อาคารสถานที่

ที่

รายการ

จำนวน

หมายเหตุ

1

อาคารปฏิบัติธรรมหอประชุมอเนกประสงค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

1

อาคาร 2 ชั้น

ห้องอเนกประสงค์

ห้องพัก

ห้องเก็บของ

 

1 ห้อง

1 ห้อง

2 ห้อง

2

มหาปชาบดีเถรีวิทยาคาร

1

ห้องเรียน

ห้องประชุม

ห้องพักครู

ห้องเก็บของ

ห้องทำงาน

6 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

3

หอสมุดสมเด็จย่า 100 ปี

1

อาคาร 2 ชั้น

ห้องสมุด

ห้องเก็บของ

 

1 ห้อง

2 ห้อง

4

หอพักนักศึกษา

2

ห้องพัก

52 ห้อง

5

อาคารอำนวยการ

1

อาคาร 2 ชั้น

ห้องสำนักงาน

ห้องประชุมเล็ก

ห้องปฐมพยาบาล

ห้องเก็บของ

ห้องปฏิบัติการคอมฯ
(จุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต)

ร้านค้าสวัสดิการ

ห้องหัตถกรรม

 

1 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

2 ห้อง

1 ห้อง

 

1 ห้อง

1 ห้อง

6

โรงอาหารครัวคุณย่า

1

ห้องทำอาหาร

ห้องทานอาหาร

ห้องเก็บของ

ห้องพัก

1 ห้อง

1 ห้อง

3 ห้อง

2 ห้อง

7

หอระฆังซาซากาว่า

1

หอระฆัง

1 หลัง

8

หอพักคณาจารย์-เจ้าหน้าที่และสตรีปฏิบัติธรรม

1

ห้องพัก 2 ชั้น

12 ห้อง

9

โรงจอดรถ

1

ที่จอดรถ

16 ช่อง

10

ถังเก็บน้ำอุปโภค บริโภค

3

 

 

11

สนามกีฬา

1

ห้องเก็บของ

ห้องน้ำ

1ห้อง

2 ห้อง

12

ป้อมยาม

1

ป้อมยาม

ห้องน้ำ

1 ห้อง1 ห้อง

13

ที่พักสำหรับพระคุณเจ้า

1

1 ชั้น

2 ห้อง

14

อาคารเรียนใหม่ 3 ชั้น

1

ชั้น 1

ห้องปฏิบัติการทางภาษา

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ห้องปฎิบัติการสอน

ห้องประชุมใหญ่

ห้องน้ำ

ชั้น 2

ห้องเรียน

ห้องผู้อำนวยการ

ห้องทำงานอาจารย์

ห้องน้ำ

ชั้น 3

ห้องประกันคุณภาพการศึกษา

ห้องเรียน

ห้องน้ำ

รวม

 

1 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

6 ห้อง

 

7 ห้อง

1 ห้อง

2 ห้อง

6 ห้อง

 

 

1 ห้อง

8 ห้อง

6 ห้อง

22 ห้อง

รวม

17

 

 

ที่

ภารกิจ

งบดำเนินการ

รวม

หมายเหตุ

งบประมาณ

งบรายได้

1

ผลิตบัณฑิต

836,000

-

836,000

 

2

วิจัย

100,000

-

100,000

 

3

บริการวิชาการ

690,000

-

690,000

 

4

ทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม

80,000

-

80,000

 

 

รวม

 

 

1,706,000

 

 

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต

     บัณฑิตสตรีมีความรอบรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับสากล

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

องค์ประกอบที่ 1  การผลิตบัณฑิต

          จุดที่ควรพัฒนา :

  1. การจัดทำแผนพัฒนาและกิจกรรมนักศึกษา ยังขาดความชัดเจนทางด้านการกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ทำให้ไม่สะท้อนการเสริมสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ ส่งผลทำให้ไม่สามารถนำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงพัฒนานักศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม
  2. การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น ยังขาด ผลลัพธ์ที่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตรและศักยภาพของอาจารย์โดยมีแผนพัฒนาและกลยุทธ์เชิงรุก
  3. การพัฒนาอาจารย์ด้านวิชาชีพเฉพาะเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน อันจะนำไปสู่คุณภาพของบัณฑิต
  4. ควรมีกิจกรรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่าให้เป็นระบบและมีรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
  1. ประเมินผลลัพธ์เชิงคุณภาพของการให้บริการนักศึกษา โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ แล้วจะนำผลการประเมินมาปรับปรุงการให้บริการได้
  2. สำรวจความต้องการของศิษย์เก่าอย่างต่อเนื่องเพื่อการจัดอบรมหรือสัมมนาให้ความรู้แก่ศิษย์เก่าโดยเฉพาะในประเด็นความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพสมัยใหม่หรือนวัตกรรมที่เสริมสร้างความสามารถของศิษย์เก่าให้เพิ่มขึ้น

-สำรวจความต้องการของศิษย์เก่า จากการสอบถามหรือสัมภาษณ์ แต่เนื่องจากศฺิษย์เก่าหลายคนมีงานทำแล้ว ประคนประกอบธุรกิจส่วนตัว และบางคนไม่สามารถมาเข้าร่วมการอบรมได้เนื่องจากติดภาระกิจ แต่วิทยาลัยก็มีได้จัดอบรมเกี่ยวกันการเตรียมความพร้อมในการไปสอบเป็นครูผู้ช่วย โดยมีการเชิญศิษย์เก่าที่ได้รับการสอบบรรจุเป็นข้าราชการที่โรเรียนจังหวัดอ่างทอง มาให้ความรู้และแนวทางในการอ่านหนังสือ การสอบให้รุ่นน้อง

-มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาโดยกำหนดตัวชี้วัด เป็นเชิงคุณภาพ

-มีแผนการพัฒนาบุคลากรระยะเวลา 4 ปี 

 

จุดที่ควรพัฒนา :

  1. ผลงานตีพิมพ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย
  2. ควรพัฒนาระบบงานสารสนเทศงานวิจัย เพื่อการบริหารงานให้สามารถนำข้อมูลในระบบสารสนเทศงานวิจัยมาบริหารจัดการเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. พิจารณากลยุทธ์ในการส่งเสริมคณาจารย์ในการสร้างงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ รวมถึงการขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานภายนอกให้มากขึ้น ผลงานวิชาการให้เพิ่มขึ้นและกระจายให้ทั่วถึง
  1. ประเมินศักยภาพของบุคลากรและความสามารถเฉพาะด้าน มากำหนดทิศทาง งานวิจัยให้สอดคล้องกับหลักสูตร โดยมีการสร้างทีมวิจัยตามความเชี่ยวชาญเฉพาะ รวมถึงความต้องการแก้ไขปัญหาของคณะ พร้อมด้วยการส่งเสริม สนับสนุนเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณในการตีพิมพ์ผลงานวิจัย และการเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์ให้มีความต่อเนื่อง

-มีการจัดสรรงบประมาณในการตีพิมพ์

-มีวารสารมหาปชาบดีเถรีปริทรรศน์" ISSN : 2822 1036 (Online)

-มีวารสารศาสนศาสตร์ปริทรรศน์

องค์ประกอบที่ 3  การบริการวิชาการ

          จุดควรพัฒนา :

  1. การบริการทางวิชาการได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่ามีตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนไม่สอดคล้องกับกิจกรรมและโครงการ และผลลัพธ์การบริการทางวิชาการแก่สังคมของวิทยาลัย ไม่ได้สะท้อนให้งานบริการทางวิชาการบรรลุเป้าหมาย

 

 

1.ทบทวน ตัวชี้วัดความสำเร็จ ด้านบริการวิชาการ  อันจะส่งผลต่อการประเมินผลลัพธ์ความสำเร็จของความเข้มแข็งการบริการวิชาการ โดยกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ และในการดำเนินการทางด้านบริการทางวิชาการ ต้องมีการนำข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์ของวิทยาลัยซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ โดยกำหนดเป้าหมายการบริการทางวิชาการในปี 2564 มีเป้าหมายอย่างไร ตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จคืออะไร แล้วนำมาเป็นหลักในการดำเนินการบริการวิชาการของวิทยาลัย รวมทั้งประเมินความสำเร็จของการบริการทางวิชาการตามตัวบ่งชี้ของแผนที่กำหนด ทำให้ทราบปัญหาที่จะต้องนำมาปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้ผลลัพธ์ของการบริการวิชาการดีขึ้นกว่าเดิม

-มีการทบทวนตัวชี้วัดที่เป็นเชิงคุณภาพของแผนบริการวิชาการ ประจำปี 2565

องค์ประกอบที่ 4  การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

          จุดที่ควรพัฒนา :

  1. การทำแผนกลยุทธ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและตัวบ่งชี้ความสำเร็จของ
    การดำเนินกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ยังไม่สะท้อนผลลัพธ์ที่ชัดเจน และในกิจกรรมโครงการที่ดำเนินการไม่ได้ตอบผลลัพธ์ว่าดำเนินการแล้วได้รับประโยชน์อย่างไรจากการดำเนินกิจกรรมโครงการ
  1. นำเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ มาเป็นแผนหลักในการกำหนดโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการประจำปีและกำกับติดตามผลลัพธ์ของกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อจะส่งผลให้ตัวชี้วัดความสำเร็จตามกลยุทธ์ด้านศิลปวัฒนธรรมบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งตัวบ่งชี้ของแผนที่สะท้อนความสำเร็จตามพันธกิจของการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทยรวมถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมขององค์กรโดยเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่สะท้อนถึงการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรม และนำมาเป็นแนวทางพัฒนานักศึกษาด้านศิลปะและวัฒนธรรม

-มีแผนทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา ปี 2565,2566

องค์ประกอบที่ 5  การบริหารจัดการ

          จุดที่ควรพัฒนา

  1. ควรมีการทบทวนแผนกลยุทธ์ ในส่วนของการกำหนดตัวบ่งชี้ที่เป็นผลลัพธ์ของการดำเนินการที่สะท้อนความสำเร็จของผลลัพธ์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
    เพราะเป็นตัวบ่งชี้ที่เน้นปัจจัยนำเข้า เช่น จำนวนโครงการ จำนวนหลักสูตร จึงไม่ได้สะท้อนความสำเร็จของแผนได้ รวมทั้งทบทวนแผนกลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อทำให้แผน
    กลยุทธ์บรรลุเป้าหมาย
  2. มีการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละหลักสูตร แต่ไม่ได้นำไปวิเคราะห์ว่า ต้นทุนของแต่ละหลักสูตรนั้นมาจากค่าใช้จ่ายในพันธกิจใดบ้าง และยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งโอกาสทางการแข่งขันในแต่ละหลักสูตร
  1. มีการทบทวนแผนกลยุทธ์  โดยกำหนดตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน ในส่วนของการกำหนดตัวบ่งชี้ที่เป็นผลลัพธ์ของการดำเนินการที่สะท้อนความสำเร็จของผลลัพธ์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ และเป็นตัวบ่งชี้ที่สะท้อนความสำเร็จของแผนได้อย่างชัดเจน ผู้บริหารทุกระดับของวิทยาลัยควรมีการกำกับติดตามผลลัพธ์อย่างเป็นระบบและตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่กำหนดไว้

-มีแผนกลยุทธ์

-มีแผนประจำปี

-มีแผนการเงิน

--มีการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละหลักสูตรที่ชัดเจน

 

 

สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.53
3.53
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
3.41
3.41
ไม่บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
-
0.00
ไม่บรรลุ
1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 การส่งเสริมสนับสนุน บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร
2
2
2
บรรลุ
1.7 การส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา
2
5
5
บรรลุ
1.8 ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีหรือธรรมศึกษาชั้นตรีระดับอุดมศึกษา
2
5.00
5.00
บรรลุ
1.9 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
3.62
3.62
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
5
4
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
1.82
1.82
ไม่บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
2.4 ผลงานงานวิจัยและ/หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Knowledge Contribution for Intellectual and Moral Development)
0
0
บรรลุ
2.5 บุคลากรที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Morality Role Model)
0
0
บรรลุ
2.6 ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย (Knowledge Contribution from Intellectual and Moral Cultivation Network)
0
0
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
1.97
1.80
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration Ecosystem for Sustainable Social Development)
2
5
5
บรรลุ
3.2 จำนวนหน่วยงานหรือองค์กรชุมชนเป้าหมาย ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตามแผนบริการวิชาการ
2
5
5
บรรลุ
3.3 งบประมาณ/ทรัพยากรวิจัยเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Funding for Knowledge Creation in Intellectual and Mortal Development)
2
0
1
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.33
3.67
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา
2
4
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (20 ตัวบ่งชี้)
3.24
3.29

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 8 1.71 4.25 4.27 3.62 ดี
2 6 1.82 4.00 1.25 1.80 ต้องปรับปรุง
3 3 - 5.00 3.00 3.67 ดี
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 20 1.74 4.56 2.44 3.29 ปานกลาง
ผลการประเมิน ต้องปรับปรุง ดีมาก ต้องปรับปรุง ปานกลาง ปานกลาง

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.714.674.005.004.504.17
2563 3.874.123.005.004.504.05
2564 3.413.915.005.005.004.01
2565 3.621.803.675.005.003.29
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนา :

  1. การจัดทำแผนพัฒนาและกิจกรรมนักศึกษา ยังขาดความชัดเจนทางด้านการกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ทำให้ไม่สะท้อนการเสริมสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ ส่งผลทำให้ไม่สามารถนำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงพัฒนานักศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม
  2. การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น ยังขาด ผลลัพธ์ที่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตรและศักยภาพของอาจารย์
  3. การพัฒนาอาจารย์ด้านวิชาชีพเฉพาะเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน อันจะนำไปสู่คุณภาพของบัณฑิต

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา :

  1. ควรมีการประเมินผลลัพธ์เชิงคุณภาพของการให้บริการนักศึกษา โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ แล้วจะนำผลการประเมินมาปรับปรุงการให้บริการได้
  2. ควรมีการสำรวจความต้องการของศิษย์เก่าอย่างต่อเนื่องเพื่อการจัดอบรมหรือสัมมนาให้ความรู้แก่ศิษย์เก่าโดยเฉพาะในประเด็นความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพสมัยใหม่หรือนวัตกรรมที่เสริมสร้างความสามารถของศิษย์เก่าให้เพิ่มขึ้น
  3. ควรมีการทบทวนการจัดทำแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษา เพื่อสะท้อนถึงคุณภาพบัณฑิตที่พึงประสงค์ และคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ โดยสามารถประเมินผลความสำเร็จในเชิงคุณภาพ โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ ที่สะท้อนผลความสำเร็จในการจัดแผนและกิจกรรม เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงการให้บริการได้ และปรับปรุงกิจกรรมและแผนพัฒนานักศึกษา ส่งผลทำให้สามารถพัฒนานักศึกษาได้ตามปรัชญา เป้าหมาย และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามความคาดหวังของหลักสูตร (มคอ.2) วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้อย่างเหมาะสม
  4. ควรมีแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการที่ชัดเจนทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ และตำแหน่งทางวิชาการให้ก้าวหน้า ควรนำแผนความต้องการพัฒนารายบุคคล (IDP) ไปทำการวิเคราะห์และวางแผนทั้งในระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งวางแผนทรัพยากรที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา ตามความต้องการของหลักสูตรและผู้ใช้บัณฑิต โดยความร่วมมือกับหลักสูตรทำการวิเคราะห์ ความเหมาะสมของการพัฒนาอาจารย์ให้สอดคล้องกับลักษณะของหลักสูตรและ หาแนวทางในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาให้ชัดเจน แล้ว นำมาจัดทำแผนการพัฒนาในภาพรวมของวิทยาลัย เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือและติดตามการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดที่ควรพัฒนา :

  1. การพัฒนาโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนการวิจัย ทั้งภายใน และภายนอก

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา :

  1. วิทยาลัยควรประเมินศักยภาพของบุคลากรและความสามารถเฉพาะด้าน มากำหนดทิศทาง งานวิจัยให้สอดคล้องกับหลักสูตร โดยมีการสร้างทีมวิจัยตามความเชี่ยวชาญเฉพาะ รวมถึงความต้องการแก้ไขปัญหาของวิทยาลัย พร้อมด้วยการส่งเสริม สนับสนุนเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณในการตีพิมพ์ผลงานวิจัย และการเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์ให้มีความต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

1.ควรปรับตัวบ่งชี้ในการประเมินผลของโครงการที่เป็นส่วนประกอบของแผนการบริการวิชาการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ความพึงพอใจ

2.ควรหาแหล่งทุนสนับสนุนการบริการวิชาการจากภายนอก และทำความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

นำผลการประเมินผลลัพธ์จากแผนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมาวิเคราะห์เพื่อหาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และนำมาปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมต่อไป

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

1. วิทยาลัยควรทำแผนบริหารความเสี่ยงเรื่องการรับนักศึกษา

2. วิทยาเขตฯควรวางแผนการดำเนินงานแบบมุ่งเป้าเพื่อให้ทุกภาคส่วนในวิทยาเขต มีวิธีการที่สอดรับกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLO) และมาตรฐานผลการเรียนรู้รายชั้นปี (YLO) ของแต่ละหลักสูตร รวมถึงกำกับติดตามให้หลักสูตร ประเมินความสำเร็จทั้งระดับแผนและระดับโครงการ เพื่อนำผลไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทาง PDCA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทสัมภาษณ์

1. จัดให้มีโครงการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา โดยการเชิญอาจารย์ชาวต่างชาติเข้ามาสอนเพื่อเสริมทักษะการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและการทำงานในอนาคต

ศิษย์เก่า คิดว่าได้มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยนำความรู้ไปใช้เพียงพอไหมค่ะ

ตอบ ในสาขาวิชาของตัวเองเลยคิดว่าเพียงพอ อยากได้เนื้อหาวิชาสังคมที่เยอะกว่านี้ เพราะต้องใช้สอนเด็กตามโรงเรียนถามกันเยอะว่าสอนสังคมด้วยได้ไหมเขาไม่มั่นใจในตัวเราแต่เราหาความรู้ได้แต่อยากให้วิทยาลัยเพิ่มรายวิชาที่เกี่ยวข้องนำไปต่อยอดและสอนที่โรงเรียนต่อไป

ศิษย์ปัจจุบัน

อยู่สาขาอะไร

ตอบ สาขาการสอนพระพุทธศาสนา

เหตุผลที่มาเรียนเพื่ออะไร

ตอบ เพื่อนำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่ต่อคนรอบข้าง

เข้ามาเรียนแล้วเป็นไปตามที่เราคาดหวังไหม

ตอบ เป็นไปตามที่เราคาดหวัง และได้เห็นผู้ฟังที่หลากหลายและทำให้เรารู้ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร

เราได้มีส่วนร่วมในโครงการของวิทยาลัยไหม

ตอบ มีค่ะ เยอะมากเลยส่วนใหญ่ปีนี่จะทำงานกิจกรรมเยอะมาก

กิจกรรมเหล่านี้เราอยากให้วิทยาลัยปรับปรุงอะไรบ้าง

ตอบ อยากให้พาอาจารย์ต่างชาติมาสอนภาษาให้มากขึ้น อยากเจออาจารย์ต่างชาติ

ศิษย์เก่า

ในวิทยาลัยที่เราศึกษามีจุดเด่นอะไร

ตอบ มีความอบอุ่นเหมือนบ้านหลังหนึ่งไม่ได้สอนในนักศึกษาแข่งขันกันแต่สอนให้เราช่วยเหลือกันมากกว่า

จุดที่ควรพัฒนาในด้านใดเรื่องอะไร

ตอบ เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ซึ่งของเราค้อนข้างที่จะมีปัญหาบ่อย

ศิษย์ปัจจุบัน

ก่อนที่เราจะเข้ามาศึกษาที่วิทยาลัยแห่งนี้มองว่าวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอย่างไร

ตอบ ได้มีโอกาสเข้ามาในวิทยาลัยบ้างแล้ว ได้เห็นภาพการให้ความรู้และการใช้ชีวิตควบคู่กันไป

ตอนยังไม่ได้เข้ามาคิดว่ามีโอกาสที่จะใหเรียนรู้เยอะมากและภูมิใจมากที่ได้มาเรียนที่นี่

ทางวิทยาลัยเน้นการสนทนากันกี่รายวิชา

ตอบ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาบาลี สันสกฤต

ถ้าเกิดให้คะแนนเต็ม 10 ให้วิทยาลัยกี่คะแนน

ตอบ ศิษย์เก่า 9 เพราะว่าสัญญาณอินเตอเน็ตไม่ค่อยดี

ศิษย์ปัจจุบัน ให้ 8

ภาพถ่าย