Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย


บทสรุปผู้บริหาร
บทสรุปผู้บริหาร (ตนเอง)

จากผลการดำเนินงานของวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค(สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 4.06 การดำเนินงานระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง องค์ประกอบ ดังนี้

         องค์ประกอบที่การผลิตบัณฑิต วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย รับนโยบายของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มาดำเนินการให้สอดคล้องกับมีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนดวิทยาเขตสิรินธรฯ ให้ความร่วมมือโดยการประชุมหารือการรับรองปริญญาทางการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยควรสร้างความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตรของจำนวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมด ทุกระดับการศึกษาและควรปรับปรุงมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ใช้ในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การรับรองวิทยฐานะและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

          ในส่วนของจำนวนอาจารย์นั้น วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย มีบุคลากรสายวิชาการจำนวนน้อย ดังนั้น จึงควรวางแผนสนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานทางวิชาการ เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการให้มากยิ่งขึ้น วิทยาเขตสิรินธรฯ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.52 การดำเนินงานระดับดีมาก

           องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย มีบุคลากรอาจารย์ประจำ โดยมีสถาบันวิจัยญาณสังวรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ให้กับวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย การวิจัยมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.33 การดำเนินงานระดับปานกลาง

           องค์ประกอบที่ การบริการวิชาการ วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริการทางวิชาการแก่ชุมชน เพื่อวางระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม มีหลักเกณฑ์การให้บริการวิชาการแก่สังคม ดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยจัดทำเป็นโครงการและผลการประเมินบริการวิชาการที่บูรณาการการเรียนการสอน และรายงานผลการดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยควรบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยประเมินผลความสำเร็จและนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม วิทยาเขตสิรินธรฯ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.33 การดำเนินงานระดับปานกลาง

           องค์ประกอบที่ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมมีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งนอกจากการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการ และสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ วิทยาเขตสิรินธรฯ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารและการจัดการ คณะกรรมการประจำวิทยาเขตปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มาตรา19 (อำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย) ครบถ้วน และมีการรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการประจำวิทยาเขต ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กำหนดนโยบาย ทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ สนับสนุนให้บุคลากรในวิทยาเขต มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีการนัดประชุมโดยรักษาการแทนรองอธิการบดี เพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ทางการบริหาร และมอบอำนาจให้ผู้ช่วยอธิการบดีดำเนินการต่อไป

          ในด้านการพัฒนาวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย สู่มหาวิทยาลัยเรียนรู้ มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยอย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี และนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมา ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

สำหรับด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ มีการสร้างเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และวางแผนระบบสารสนเทศที่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ การเงิน และสามารถใช้ในการดำเนินงานด้านคุณภาพระหว่างมหาวิทยาลัย หรือสร้างเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนอื่น ๆ และนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบสารสนเทศ

มีการวางระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยโดยการประกาศนโยบายและแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัยให้บุคลากร คณาจารย์ ได้ทราบแนวทางระบบและกลไกเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาต่อไป วิทยาเขตสิรินธรฯ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

(1) ชื่อ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

อักษรย่อ          มมร.สธ.

ภาษาอังกฤษ     Mahamakut Buddhist University Sirindhornrajavidhyalaya Campus

อักษรย่อ          MBU. SRC.

(2) เว๊บไซต์  www.src.mbu.ac.th

(3) ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย : วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส หมายถึง ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

(4) สีประจำมหาวิทยาลัย : สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับสีของวันพฤหัสบดี  อันเป็นวันพระราชสมภพ

(5) ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นโพธิ์ เป็นที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

(6) คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา : ระเบียบ   สามัคคี  บำเพ็ญประโยชน์

(7) ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย :

                                            

 พระมหามงกุฎ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม มหามกุฏราชวิทยาลัย

พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ  60 ชั่ง

หนังสือ หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษหมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน  ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา  เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา

ช่อดอกไม้แย้มกลีบในทางการศึกษา หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้ แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง กิตติศัพท์ กิตติคุณ ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ อิสริยยศ บริวารยศ

พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคงและแพร่หลายของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่

วงรัศมี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของ มหามกุฏราชวิทยาลัยภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย

มหามกุฏราชวิทยาลัย หมายถึง สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

(8) อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย : บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

(9) เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย : บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

สถานที่ตั้ง

ที่

วิทยาเขต

ที่อยู่

โทรศัพท์

โทรสาร

1

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง

248 วัดบ้านสุวรรณ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม  73170

0-2282-8303,

0-2281-6427

0-2281-0294

2

วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

วัดชูจิตธรรมาราม เลขที่ 57 หมู่ที่ 1 ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 13170

035 – 745037 –8

035 - 745037

3

วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

วัดสิรินธรเทพรัตนาราม เลขที่ 26 หมู่ที่ 7 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน  จ.นครปฐม 73160

02 – 4291663,

02 - 4291719

02 - 4291241

4

วิทยาเขตอีสาน

เลขที่ 9/37 ม. 12 ถ.ราษฏร์คนึง บ้านโนนชัย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

043 – 241488,

043 - 239605

043 - 241502

5

วิทยาเขตล้านนา

วัดเจดีย์หลวง 103 ต.พระสิงห์  อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

053-270-9756

053-814-752

6

วิทยาเขตร้อยเอ็ด

เลขที่ 148 ถ.เลี่ยงเมือง ต.ดงลาน

อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000

043 – 518364,

043 - 516076

043 - 514618

7

วิทยาเขตศรีล้านช้าง

วัดศรีสุทธาวาส เลขที่ 253/7  ถ.วิสุทธิเทพ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย 42000

042 – 813028,

042 - 830434

042 –830686,

042 - 811255

8

วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

เลขที่ 128 หมู่ ถนนนครศรีฯ-ร่อนพิบูลย์ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม นครศรีธรรมราช 80000

075 – 340499

075 –310293,

075 - 357968

9

มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์

หมู่ 6 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย

จ.นครราชสีมา 30150

081 – 7022076, 086 – 0123470, 086 – 0155830

044 - 249398

10

วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

วัดศรีธรรมาราม เลขที่ 1 ถ.วิทยธำรงค์

อ.เมือง จ.ยโสธร 35000

045 – 711056

045 –711567,

045 - 711056

11

วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

วัดประชานิยม ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง

จ.กาฬสินธุ์ 46000

043 - 815393

043 – 815393

 043 - 815855

 

ประวัติความเป็นมาโดยย่อ

เมื่อปี พ.ศ. 2531 พระครูสถิตสีลวัฒน์ (พระอุดมศีลคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบุรณศิริฯ) ได้นำ นางสาวจำรูญ ภูไท และนางจำเริญ ไวทยานุวัติ เข้ากราบทูลน้อมถวายที่ดิน จำนวน 62 ไร่เศษ แด่สมเด็จพระญาณสังวร องค์นายกสภามหามกุฏราชวิทยาลัย พร้อมทั้งโอนโฉนดที่ดินแปลงนี้ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย และทางมูลนิธิฯได้มอบที่ดินดังกล่าวให้กับสภาการศึกษาฯ เพื่อจัดสร้างเป็นวิทยาเขตแห่งที่ 2 การดำเนินการได้เริ่มขึ้นเมื่อ ประธานกรรมการสภาการศึกษาฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานให้มีหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และดำเนินการในด้านต่าง ๆ

ระยะแรกได้สร้างที่พักชั่วคราวคือกุฏิมุงจาก 3 หลัง และศาลา 1 หลัง มีพระภิกษุและสามเณรมาอยู่ประจำ ตอนแรกชาวบ้านเข้าใจว่าจะมีการสร้างวัดใหม่ จึงเรียกสถานที่นี้ว่า “วัดใหม่คลองแค” และเรียกกันมาจนถึงทุกวันนี้

วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2532 สมเด็จพระญาณสังวร ฯ ประธานกรรมการได้มาดูที่ดินที่จะสร้างวิทยาเขตฯ อย่างไม่เป็นทางการ พร้อมด้วยพระเถระระดับผู้บริหารของสภาการศึกษาฯ มีพระญาณวโรดม เป็นต้น

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ เสด็จทรงเททองหล่อพระประธาน สำหรับประดิษฐาน ณ ศาลาเอนกประสงค์ วางศิลาฤกษ์หอฉันและกุฏิ ญสส. ถือวันอันเป็นมงคลนี้ ว่าเป็นวันสถาปนาวิทยาเขตแห่งนี้  ประธานกรรมการ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ได้มีคำสั่งที่ 21/2533 ให้จัดตั้งเป็นวิทยาเขตแห่งที่ 2 โดยใช้นามว่า “วิทยาเขตอ้อมน้อย” ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 26 หมู่ที่ 7 ตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และมีคำสั่งที่ 19/2534 แต่งตั้งกรรมการบริหาร “วิทยาเขตอ้อมน้อย” ขึ้น

ในปี พ.ศ. 2537 วิทยาเขตอ้อมน้อย ได้รับพระราชทานนามใหม่จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า “วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์” พร้อมทั้งพระราชทานอักษรพระนามาภิไธย “สธ” เป็นตราประจำวิทยาเขต และได้รับพระราชทานพุทธภาษิตประจำวิทยาเขตว่า “สิริ โภคานมาสโย” แปลว่า “สิริเป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์”

ปี พ.ศ. 2548 พระวิบูลธรรมาภรณ์ รองอธิการบดี ได้เสนอเรื่องต่อสภาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อขออนุมัติเปิดศูนย์การศึกษาชลบุรี และได้รับการอนุมัติ ซึ่งได้อาราธนานิมนต์
เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวโรดม อุปนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนและเปิดศูนย์การศึกษาชลบุรี วัดศรีมหาราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ปี พ.ศ. 2549 พระวิบูลธรรมาภรณ์ รองอธิการบดี ได้เสนอเรื่องต่อสภาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อขออนุมัติเปิดศูนย์การศึกษาเพชรบุรี และได้รับการอนุมัติ ซึ่งได้อาราธนานิมนต์
เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวโรดม อุปนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนและเปิดศูนย์การศึกษาเพชรบุรี วัดเนรัญชราราม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ปี พ.ศ. 2550 วิบูลธรรมาภรณ์ รองอธิการบดี ได้เสนอเรื่องต่อสภาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อขออนุมัติเปิดห้องเรียนวัดป่าชัยรังสี ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

วิทยาเขตแห่งนี้ตั้งขึ้นมาโดยที่มิได้อาศัยวัดใดวัดหนึ่งเหมือนกับวิทยาเขตแห่งอื่น ๆ จึงต้องสร้างที่พักอาศัยสำหรับอาจารย์เจ้าหน้าที่และนักศึกษา ต่อมาเมื่อมีพระภิกษุสามเณรอยู่ประจำ และเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี จึงขอตั้งเป็นวัด กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งวัด เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามวัดว่า “วัดสิรินธรเทพรัตนาราม” และทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์

ทั้งนี้ ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการประจำวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย โดยมีพระมงคลธรรมวิธาน, ผศ.ดร. รองอธิการบดี เป็นประธานกรรมการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ได้แบ่งส่วนการบริหารงานออกเป็น 3 ส่วนงาน คือ

  1. สำนักงานวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
  2. ศูนย์บริการวิชาการสิรินธรราชวิทยาลัย
  3. วิทยาลัยศาสนศาสตร์สิรินธรราชวิทยาลัย

เริ่มเปิดให้การศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณรตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2535 เป็นต้นมา และได้เปิดรับนักศึกษา (บุคคลทั่วไป) ในปีการศึกษา 2544

สาขาวิชาจำนวน 4 สาขาวิชา ประกอบด้วย

หลักสูตรระดับปริญญาตรีในปัจจุบัน เปิดสอน 3 สาขาวิชา ได้แก่

  1. 1. สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการศึกษา
  2. 2. สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
  3. 3. สาขาวิชาการปกครอง

หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโท จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่

  1. 1. สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ปรัชญา(Philosophy)

“ความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนา”

Academic Excellence based on Buddhism

 ปณิธาน (Aspiration)

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา มีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาเป็นปรัชญาชีวิตอันประเสริฐ สามารถช่วยป้องกันแก้ไขและดับปัญหาอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ คือ ความทุกข์ได้ สมควรเผยแผ่ให้กว้างขวางออกไปในระดับโลกพระพุทธศาสนาเป็นมรดกทางปัญญา และทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทยที่ควรถนอมรักษาไว้ด้วยชีวิต : มนุษย์เกิดมาพร้อมด้วยศักยภาพที่จะพัฒนาการเรียนรู้ได้ตั้งแต่ระดับ รู้จำ (สัญญา) จนถึงขั้นรู้จบ (โพธิ) และสามารถจะเปลี่ยนแปลงตนเอง จากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนได้ ถ้าได้รับการศึกษาที่ถูกต้อง

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย มุ่งจะผลิตบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่ประกอบด้วยคุณสมบัติ 5 ประการ คือ

1. มีความรู้ดีทั้งทางธรรมและทางโลก

2. มีความสามารถดีในการคิดเป็น พูดเป็น

3. มีคุณธรรมและจริยธรรมประจำกาย วาจา ใจ

4. มีอุดมคติ

5. มีอุดมการณ์มุ่งอุทิศชีวิตบำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านเป็นพุทธบูชา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย มุ่งจัดกระบวนการศึกษาให้ครบวงจรตามหลักพุทธธรรม คือให้มีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ

ในด้านปริยัติ จะช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ทะลุปรุโปร่งด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา) เป็นอย่างต่ำ ในด้านปฏิบัติจะให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์ครบทั้ง 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และในด้านปฏิเวธ จะให้นักศึกษาเกิดสัมมาทิฏฐิและอจลศรัทธาเป็นพุทธมามกะชั้นกัลยาณปุถุชนเป็นอย่างต่ำ

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่บริหารและจัดการโดยยึดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นฐานเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นนิติบุคคลเป็นรูปแบบที่รัฐให้อิสระในการบริหารและการจัดการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว มีประสิทธิภาพสูงในการดำเนินงานและเป็นแบบการบริหารที่ยึดหลักการปกครองตนเอง  โดยให้การตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการ สิ้นสุดในระดับองค์กรบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยคือสภามหาวิทยาลัย และให้มีการควบคุมตรวจสอบการบริหารและการจัดการจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

วิสัยทัศน์ (Vision Statements)

เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐมและปริมณฑล มุ่งผลิตบัณฑิตและให้บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมแก่สังคม

 พันธกิจ (Mission Statements)

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย เป็นสถาบันพัฒนาท้องถิ่นมีภารกิจในการผลิตบัณฑิต ทำการวิจัย พัฒนา ส่งเสริมวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา ส่งเสริมวิชาชีพครู และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จัดการศึกษาด้วยหลักเสมอภาค ความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม หลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ เชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล โดยฝึกหลักการจัดการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล

 วัตถุประสงค์ (Objectives)

  1. เพื่อขยายเขตการศึกษาออกสู่ส่วนภูมิภาค
  2. เพื่อบริการทางการศึกษา แก่พระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป
  3. เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาค้นคว้าวิชาการทางพระพุทธศาสนา
  4. เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น
  5. เพื่อตอบสนองนโยบายทางการศึกษาของคณะสงฆ์และรัฐบาล
  6. เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและบริการสังคม

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

การจัดรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัย เป็นการจัดตามความในมาตราที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 และเป็นการจัดตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้รัฐมนตรี (กระทรวงศึกษาธิการ) มีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตราที่ 6 คือ “วัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัยส่งเสริม และการให้บริการทางพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการบำรุงศิลปวัฒนธรรม” การจัดโครงสร้างและระบบการบริหารมหาวิทยาลัย ในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ตามความในมาตรานั้นๆ โดยอาจจำแนกองค์กรหรือหน่วยงานหลักๆ ได้ดังนี้

 

 

 

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหารชุดปัจจุบัน

  1. พระมงคลธรรมวิธาน, ผศ.ดร. รองอธิการบดี 
  2. พระครูศรีปริยัติวิธาน, ดร. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ
  3. พระมหาธนภัทร  อภิชาโน, ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์
  4. พระครูสิทธิวรวัฒน์. รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต
  5. ผศ.ดร.ภาษิต สุขวรรณดี ผู้ช่วยอธิการบดี
  6. รศ.ดร.มานพ นักการเรียน กรรมการ
  7. นายสุดใจ ภูกงลี กรรมการ
  8. นายวิญญู กินะเสน กรรมการ

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

หลักสูตร

คณะ/สาขาวิชา

จำนวนหลักสูตร

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ศิลปศาสตรบัณฑิต

ศาสนาและปรัชญา

 

 

- หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2563

- สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

1

 

รัฐศาสตรบัณฑิต

สังคมศาสตร์

 

 

- หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2563

- สาขาวิชาการปกครอง

1

 

ศึกษาศาสตรบัณฑิต

ศึกษาศาสตร์

 

 

- หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2562

- สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

1

 

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ศาสนาและปรัชญา

 

 

- หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2564

- สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

 

1

 

 

 

1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา

ลำดับ

สาขาวิชา

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ภาคการศึกษาที่

1-2565

ภาคการศึกษาที่

2-2565

ภาคการศึกษาที่

1-2565

ภาคการศึกษาที่

2-2565

1

สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

29

21

-

-

2

สาขาวิชาการปกครอง

268

256

-

-

3

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

22

16

-

-

4

สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

 

 

-

-

รวม

319

293

-

-

 

1.6.1 จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

ลำดับ

สาขาวิชา

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

รวมทั้งหมด

1

สาขาวิชาพุทธศาสตร์

3

-

-

3

2

สาขาวิชาการปกครอง

82

-

-

82

3

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

8

-

-

8

รวม

93

-

93

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

จำนวนอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน

ที่

คณะ

จำนวนอาจารย์จำแนกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

1

สาขาวิชา

พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

-

-

-

-

3

2

-

-

-

-

-

-

3

2

-

-

2

สาขาวิชาการปกครอง

 

-

 

-

 

-

 

-

 

2

 

-

 

-

 

-

 

5

 

1

 

-

 

-

 

7

 

1

 

-

 

-

3

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

-

-

-

-

4

-

-

-

-

1

-

-

4

1

-

-

4

สาขาวิชา พุทธศาสน์ศึกษา

-

-

-

-

-

-

-

-

2

2

1

-

2

2

1

-

รวมทั้งหมด

-

-

-

-

9

2

-

-

7

4

1

-

16

6

1

-

 

 

ลำดับที่

วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

จำนวนบุคลากรสายสนับสนุน

จำแนกตามคุณวุฒิ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

1

สำนักงานวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

2

7

-

9

2

วิทยาลัยศาสนศาสตร์สิรินธรราชวิทยาลัย

-

5

1

6

3

ศูนย์บริการวิชาการสิรินธรราชวิทยาลัย

4

3

1

8

รวม

6

15

2

23

 

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

ลำดับ

ภารกิจ

งบดำเนินการ

รวม

หมายเหตุ

งบประมาณ

เงินรายได้

1

ผลิตบัณฑิต

5,737,400

50,000

6,949,400

 

2

วิจัย

196,000

-

196,000

 

3

บริการวิชาการ

371,700

-

371,700

 

4

ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

80,000

-

80,000

 

5

บริหารจัดการ

-

-

-

 

รวม

6,385,100

1,212,000

7,597,100

 

 

 

ลำดับ

ราบการ

หมายเหตุ

1

อาคารสำนักงาน รองอธิการบดี

1. ห้องรองอธิการบดี  จำนวน 1 ห้อง

2. ห้องรับรอง  จำนวน 1 ห้อง

3. ห้องเก็บเอกสาร  จำนวน 2 ห้อง

2

อาคารเฉลิมพระเกียรติ (จปร.)

1. ห้องประชุมใหญ่  จำนวน 1 ห้อง

2. ห้องสำนักงานวิทยาเขต  จำนวน 1 ห้อง

3. ห้องการเงินและบัญชี  จำนวน 1 ห้อง

4. ห้องประชุมเล็ก  จำนวน 1 ห้อง

5. ห้องอาจารย์ประจำ  จำนวน 1 ห้อง

6. ห้องบัณฑิตวิทยาลัย  จำนวน 1 ห้อง

7. ห้องพัสดุ  จำนวน 2 ห้อง

8. ห้องงานทะเบียน  จำนวน 1 ห้อง

9. ห้องผู้ช่วยอธิการบดี  จำนวน 1 ห้อง

10. ห้องงานประกันคุณภาพการศึกษา  จำนวน 1 ห้อง

11. ห้องคณะศาสนาและปรัชญา  จำนวน 1 ห้อง  

12 คณะศึกษาศาสตร์  จำนวน 1 ห้อง  

13. ห้องคณะสังคมศาสตร์  จำนวน 2 ห้อง

14. ห้องเก็บคอมพิวเตอร์  จำนวน 1 ห้อง

15. ห้องสำนักงานวิทยาลัยศาสนศาสตร์  จำนวน 1ห้อง

16. ห้องโสตทัศนูปกรณ์  จำนวน 1 ห้อง

17. ห้องอาจารย์ประจำ  จำนวน 1 ห้อง

18. ห้องคอมพิวเตอร์  จำนวน 1 ห้อง

3

อาคารศูนย์บริการวิชาการ

1. ห้องสมุดสิรินธรราชวิทยาลัย  จำนวน 2 ห้อง

2. ห้องโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  จำนวน 1 ห้อง 3. ห้องผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ  จำนวน 1 ห้อง

4

อาคาร 113 ปี (ผิน สุวโจ)

1. ห้องประชุม  จำนวน 1 ห้อง

2. ห้องเรียน  จำนวน 12 ห้อง

3. ห้องดนตรี SRC สิรินธรแบรนด์  จำนวน 1 ห้อง

 

 

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

 

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย

               บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย            

           บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ         

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

องค์ประกอบที่ 1

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ควรมีการปรับแผนพัฒนาอาจารย์ ให้เป็นแผนพัฒนาแบบมุ่งเป้าทั้งในด้านคุณวุฒิปริญญาเอก และตำแหน่งทางวิชาการ

 

 

  1. ควรมีกระบวนการติดตามการดำเนินงานของแผนอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นในตัวหลักสูตร ศักยภาพอาจารย์ควรไปตามมาตรฐานเป็นอันดับแรก
  2. หลักสูตรควรปรับให้มีความหลากหลาย โดยดูความสอดคล้องกับโครงสร้างประชากร

 

  1. ควรมีการจัดทำหลักสูตรระยะสั้น ในระดับ ปตรี และ ป โท

 

 

  1. ควรมีการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้มากขึ้นโดยเร่งด่วน
  2. ควรมีการประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษาในสื่อต่างๆ เพื่อให้ได้นักศึกษาที่มากขึ้น
  3. ควรมีการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสตร์ศึกษาให้มีผลการดำเนินงานในระดับที่สูงขึ้น
  4. ควรจัดทำแผนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงรุกของนักศึกษา โดยกำหนดเป้าหมายความสำเร็จทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และมีการตรวจติดตามเพื่อการพัฒนาเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง

 

องค์ประกอบที่ 2

จุดที่ควรพัฒนา

1.จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดแนวคิดการต่อยอดการวิจัย และการวิจัยเชิงบูรณาการ

  1. จัดทำแผนพัฒนาการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเชิงบูรณาการของอาจารย์เพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
  2. ควรมีการจัดหาทุนในภายนอกให้มากขึ้นอาจเป็นการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ
  3. หาจุดเด่นที่หาจุดเด่นที่สำคัญของหน่วยงานหรือของหลักสูตรที่สามารถนำมาดำเนินงานได้เพื่อเป็นอัตลักษณ์ของหน่วยงาน

องค์ประกอบที่ 3

จุดที่ควรพัฒนา

1.พัฒนาแผนบริการวิชาการแก่สังคม โดยการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือทำวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาบริบท หรือปัญหาของชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก เป็นแนวทางในการจัดทำแผนบริการวิชาการที่เกิดประโยชน์และตรงตามความต้องการของชุมชนมากขึ้น

  1. พัฒนาแผนบริการวิชาการแก่สังคมระดับคณะให้เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคมระดับหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 4

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ปรับปรุงแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่สามารถติดตามความก้าวหน้าของเป้าหมายที่ที่กำหนดในระดับแผนและระดับโครงการ

 

  1. พัฒนาแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมระดับคณะให้เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมระดับหลักสูตร
  2. สร้างจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเพื่อให้หน่วยงานต่างๆภายนอกได้รับรู้ว่าเป็นสิ่งสำคัญของมหาวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 5

จุดที่ควรพัฒนา

  1. 1. ระบุและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของวิทยาเขต
  2. 2. จัดทำแผนในทุกส่วนงานอย่างชัดเจน และหาช่องทางที่ทำให้มหาวิทยาลัยมีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อให้มหาวิทยาลัยดำเนินงานไปได้อย่างคุ้มทุน
  3. 3. เตรียมความพร้อมในเรื่องของความเสี่ยงในหลายหลายด้านเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้น
  1. ปรับแผนพัฒนาอาจารย์ ให้เป็นแผนพัฒนาแบบมุ่งเป้าทั้งในด้านคุณวุฒิปริญญาเอก และตำแหน่งทางวิชาการ โดยเน้นการทำงานวิชาการเป็นระบบทีม เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์มีผลงาน

 

 

  1. ติดตามการดำเนินงานของแผนอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นในตัวหลักสูตร ศักยภาพอาจารย์ควรไปตามมาตรฐานเป็นอันดับแรก

 

 

  1. นำเสนอต่อกรรมการวิทยาลัยศาสตร์ แล้วนำเข้าสู่กรรมการวิทยาเขต เพื่อปรับให้หลักสูตรควรมีความหลากหลาย สอดคล้องกับโครงสร้างประชากร
  2. อาจารย์ประจำหลักสูตรส่วนหนึ่งได้ยกร่างหลักสูตรประกาศนียบัตรการสอนศีลธรรมในโรงเรียน (ป.สธ.) จำนวน 30 หน่วยกิต โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน 400 รูป
  3. นำเสนอต่อกรรมการวิทยาลัยศาสตร์ แล้วนำเข้าสู่กรรมการวิทยาเขต เพื่อหาแนวทางพัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้มากขึ้น
  1. นำข้อเสนอแนะกรรมการไปพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสตร์ศึกษาในปีการศึกษา 2565

 

 

 

 

คณะผู้บริหารมีการประชุม ปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาด้านการวิจัยตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมตรวจประเมิน

 

 

 

มอบ ผอ.ศูนย์บริการวิชาการสิรินธรฯ ร่วมกับคณะกรรมการจัดทำแผนบริการวิชาการ ดำเนินการจัดทำแผนบริการวิชาการให้สอดคล้องตรงตามความต้องของชุมชนและเกิดประโยชน์กับชุมชนมากขึ้น

 

 

 

มอบ ผอ.ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับคณะกรรมการจัดทำแผนบริการวิชาการแก่สังคมของวิทยาเขตให้เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคมระดับหลักสูตร

 

มอบ ผอ.ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับคณะกรรมการจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยให้มีการกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่สามารถติดตามความก้าวหน้าของเป้าหมายที่ที่กำหนดในระดับแผนและระดับโครงการ

 

มอบ ผอ.ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะกรรมการจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ในการนำมาบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย

 

คณะผู้บริหารมีการประชุม ปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาด้านการวิจัยตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมตรวจประเมิน

  1. อยู่ระหว่างดำเนินการปรับแผนพัฒนาอาจารย์

 

 

 

 

  1. อยู่ระหว่างดำเนินการ

 

 

 

 

 

 

  1. ยกร่างหลักสูตรประกาศนียบัตรการสอนศีลธรรมในโรงเรียน (ป.สธ.) เสร็จสมบูรณ์แล้ว

 

  1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนำข้อเสนอแนะกรรมการไปพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสตร์ศึกษาทำให้ผลคะแนนการประเมินเพิ่มขึ้น

องค์ประกอบที่ 2

วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ได้จัดโครงการพัฒนานักวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนด้วยงานวิจัยนวัตกรรมสร้างสรรค์พลังบวรโดยมี พระครูศรีปริยัติวิธาน,ผศ.ดร. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานักวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนด้วยงานวิจัยนวัตกรรมสร้างสรรค์พลังบวร  “แนวคิดและวิธีวิทยาการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ” ให้กับคณาจารย์ มมร.วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16-18 สิงหาคม 2565 วิทยากรโดย อาจารย์ชิษนุวัฒน์  มณีศรีขำ บริษัท สร้างสรรค์ปํญญา จำกัด ณ โรงแรมกนกรัตน์รีสอร์ท  อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการเขียนหัวข้อเสนอโครงการวิจัยโดยมี พระครูศรีปริยัติวิธาน,ผศ.ดร. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการเขียนหัวข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้รับสนับสนุน และการเลือกหัวข้อการวิจัยและนวัตกรรม ” ให้กับคณาจารย์ มมร.วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ 2566 วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.นรินทร์ สังข์รักษา มหาวิทยาลัยศิลปกร ณ ไอธารารีสอร์ท อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

 

องค์ประกอบที่ 5

คณะผู้บริหารมีการประชุม จัดทำแผนพัฒนาระดับส่วนงาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ครบที่ 4 พันธกิจ คือ 1)ด้านการผลิตบัณฑิต 2) ด้านการวิจัย 3) ด้านบริการวิชาการ 4) ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5)ด้านการบริหารจัดการ

 

 

สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.59
3.59
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
2.54
2.54
ไม่บรรลุ
1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 การส่งเสริมสนับสนุน บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร
2
5
5
บรรลุ
1.7 การส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา
2
5
5
บรรลุ
1.8 ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีหรือธรรมศึกษาชั้นตรีระดับอุดมศึกษา
2
5.00
5.00
บรรลุ
1.9 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.52
4.52
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
4
4
ไม่บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
5
5
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
2.4 ผลงานงานวิจัยและ/หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Knowledge Contribution for Intellectual and Moral Development)
2
5
5
บรรลุ
2.5 บุคลากรที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Morality Role Model)
2
1
1
ไม่บรรลุ
2.6 ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย (Knowledge Contribution from Intellectual and Moral Cultivation Network)
2
0
0
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.33
3.33
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration Ecosystem for Sustainable Social Development)
2
5
5
บรรลุ
3.2 จำนวนหน่วยงานหรือองค์กรชุมชนเป้าหมาย ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตามแผนบริการวิชาการ
2
5
5
บรรลุ
3.3 งบประมาณ/ทรัพยากรวิจัยเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Funding for Knowledge Creation in Intellectual and Mortal Development)
2
0
0
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.33
3.33
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา
2
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (20 ตัวบ่งชี้)
4.06
4.06

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 8 3.77 5.00 4.30 4.52 ดีมาก
2 6 5.00 4.00 2.75 3.33 ปานกลาง
3 3 - 5.00 2.50 3.33 ปานกลาง
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 20 4.18 4.89 3.07 4.06 ดี
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ปานกลาง ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.624.335.005.004.004.06
2563 3.573.124.005.005.003.83
2564 4.214.335.005.005.004.48
2565 4.523.333.335.005.004.06
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดเด่น

จำนวนคณาจารย์ในวิทยาเขตมีคุณวุฒิปริญญาเอกที่มาก เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

มีจุดเด่นด้านงานวิจัยที่มาก

 ข้อเสนอแนะ

1.ให้มีการลดการตั้งค่าเป้าหมายในระดับที่ต่ำลงเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

2.ควรจัดโครงการสำหรับการเตรียมความพร้อมให้ นักศึกษาให้มากขึ้น

3. ควรพัฒนาในด้านตำแหน่งควรพัฒนาในด้านตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น

4. ควรให้ความสำคัญ ควรให้ความสำคัญในด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาให้มากขึ้น ให้เป็นไปตามตัวชี้วัด

5. ผลการประเมินในระดับหลักสูตรควรมีการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สูงขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดเด่น

มีงานวิจัยที่มาก

จุดที่ควรพัฒนา

1.ให้มีการเร่งดำเนินการคุ้มครองสิทธิ์งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ให้เป็นไปตามระบบโดยเร็ว อาจดำเนินการ โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยญาณสังวร โดยทำหน้าที่ร่วมกัน

2.ให้มีการผลักดันงานวิจัยเพื่อใช้ในการขอตำแหน่งให้มีการผลักดันงานวิจัยเพื่อใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น

3. ควรมีการขอทุนวิจัยจากภายนอกให้มากขึ้นอาจเป็นในลักษณะแผนทำการ ควรมีการขอทุนวิจัยจากภายนอกให้มากขึ้นอาจเป็นในลักษณะแผนทำการวิจัยร่วมกันกับหน่วยงานภายนอก

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนา

1.ควรดำเนินการควรดำเนินการร่วมกับชุมชนให้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

2. ให้เน้นการบริการวิชาการกับชุมชนในด้านของการปฎิบัติธรรมร่วมกับชุมชน และควรมีการเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยให้มากขึ้น

 

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดที่ควรพัฒนา

ควรดำเนินเกี่ยวกับกิจจกรรมหรือโครงการในศิลปะวัฒนะธรรมและพระพุทธศาสนาในการปฏิบัติให้ลึกและมีโครงการที่มากขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
-
บทสัมภาษณ์

มหาวิทยาลัยมีการดำเนินการมหาวิทยาลัยมีการดำเนินการอย่างไรร่วมกับชุมชน

- อยากให้มหาวิทยาลัยมีการติดต่อประสานงานกับชุมชนโดยตรงไม่ต้องผ่านหน่วยงานอื่นเพื่อความถูกต้องในการดำเนินงานอยา หาก ประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลอาจจะไม่ทราบเนื่องจากเป็นผู้สูงอายุ

อยากให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือสิ่งใดในชุมชน

-อยากให้ช่วยเหลือด้านการประชาสัมพันธ์ในงานต่างๆ

ผู้ปกครอง

จากที่ทานให้นักศึกษาเข้ามาศึกษาในสถานที่แห่งนี้พบว่าเป็นอย่างไร

- นักศึกษามีความรับผิดชอบมากขึ้น

มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมใดบ้างให้กับนักศึกษา

-มีอาจารย์คอยให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาตลอดภาคปีการศึกษา

-และผู้ปกครองมีการเข้าร่วมกิจกรรมกรรมฐานกับทางมหาวิทยาลัย

สิ่งคาดหวังของผู้ปกครอง

-ตั้งหวังให้ลูกดูแลตัวเองได้ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่สังคม

ศิษย์เก่า

นักศึกษามีความภาคภูมิใจสิ่งใดในมหาวิทยาลัย

-สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อบอุ่น แล้ครูบาอาจารย์ให้คำแนะนำให้แล้ครูบาอาจารย์ให้คำแนะนำให้คำปรึกษาอย่างดี

ความคาดหวังที่นักศึกษาอยากได้

-สามารถนำสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันด้านคุณธรรมและมีเหตุผล บนพื้นฐานคุณธรรม

ให้มหาวิทยาลัยพัฒนาในด้านใด

-อยากให้มีการพัฒนาด้านการเพิ่มการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

กระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรนักศึกษามีข้อเสนอแนะใดบ้าง

-หลักสูตรมีความดีและสมบูรณ์แล้ว

ศิษย์ปัจจุบัน

-อยากให้หลักสูตรมีการจัดปรับหลักสูตรตามกระทรวง อว.ที่มีการศึกษาในระดับที่สั้นลง

กิจกรรมที่รู้สึกว่าประทับใจและได้ใช้ประโยชน์

-ชอบของการปฏิบัติกรรมฐานเนื่องจากทุกคนได้มีส่วนร่วมและช่วยเหลือกัน

นักศึกษาคิดว่าจะกลับมาพัฒนามหาวิทยาลัยได้อย่างไร

-อยากให้มีการพัฒนาเกี่ยวกับระบบการศึกษาในเรื่องของการเทียบโอนเพื่อเพิ่มช่องทางในการศึกษาที่มากขึ้น

ภาพถ่าย