Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช


บทสรุปผู้บริหาร

จากการดำเนินงานของวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราชหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค.2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.70 อยู่ที่ระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาและดำเนินการตามระบบที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 4.18 อยู่ในระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 3.25 อยู่ในระดับ ปานกลาง

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 2.67 อยู่ในระดับ ปานกลาง

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมมีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับ ปานกลาง

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช วิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ตั้งอยู่เลขที่ 128 หมู่ที่ 6 ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 โทร. 075-809128-9 | http://www.ssc.mbu.ac.th

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) เป็นสถาบันการศึกษา ที่ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2436 ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้จัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเรียกชื่อว่า “สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย” โดยวัตถุประสงค์ตามที่สมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งไว้ 3 ประการ คือ

(1) เพื่อเป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์

(2) เพื่อเป็นสถานศึกษาวิทยา ซึ่งเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศแห่งกุลบุตรทั้งหลาย

(3) เพื่อเป็นสถานที่จัดสั่งสอนพระพุทธศาสนา

จนถึง ในปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” ให้เป็น มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นนิติบุคคล (มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ) เป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการพรุทธศาสนาแก่ภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ขยายการศึกษาออกไปเปิดวิทยาเขต ในส่วนภูมิภาค รวม 7 วิทยาเขต 3 วิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ได้ก่อตั้งและเปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีสถานที่ตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งวิทยาเขตแห่งนี้ได้ดำเนินการก่อตั้งโดย พระธรรมรัตโนภาส (ประดับ โอภาโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) ได้เล็งเห็นว่า มีพระภิกษุ-สามเณรในส่วนภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ที่มีความประสงค์จะศึกษาเล่าเรียนในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่สามารถเข้าไปศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพมหานครได้ เนื่องจากข้อจำกัด เรื่องการหาที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ ได้นั้นค่อนข้างลำบาก จึงได้ขอขยายวิทยาเขตออกมาตั้ง ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชอันเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคใต้ และได้นำเอาพระนามของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ปฐมกษัตริย์ของเมืองนครศรีธรรมราชในอดีต และทรงเป็นผู้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์อันเป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช มาเป็นชื่อของวิทยาเขตเพื่อเป็นมงคลนาม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็นวิทยาเขตเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2535 ตามคำสั่งสภาการศึกษามหาวิทยาลัย ที่ 26/2535

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ได้ย้ายสถานที่ทำการเรียนการสอนไปยังอาคารเรียน ภายในวัดป่าห้วยพระ หมู่ที่ 5 ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราชภายในวัดป่าห้วยพระ อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง และมีความยากลำบากในการเดินทางของนักศึกษา พระเทพปริยัติวิมล อธิการบดีในสมัยนั้น ได้มอบนโยบายว่าสถานที่ตั้งของวิทยาเขตควรอยู่ในทำเลที่เหมาะสม คณะผู้บริหารวิทยาเขตจึงได้เสนอโครงการขออนุมัติจัดซื้อที่ดินเพื่อขยายวิทยาเขต ในปี พ.ศ. 2555 และเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564ได้ย้ายสถานที่ทำการเรียนการสอนมาที่แห่งใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 128 หมู่ที่ 6 ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช และในปี พ.ศ. 2565 วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราชได้เปิดทำการเรียนการสอนครบรอบ 30 ปี โดยเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งได้ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้พระพุทธศาสนาและสังคมมาแล้วเป็นจำนวนมาก

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ปรัชญา

ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา (Academic Excellence based on Buddhism)

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มุ่งที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรม มีความสามารถในการคิดเป็น พูดเป็น ทำเป็น มีคุณธรรมประจำกาย วาจา ใจ มีอุดมคติและอุดมการณ์ มุ่งอุทิศชีวิตบำเพ็ญประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ผู้อื่น

ปณิธาน

มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพโดยให้มีความรู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรมมีความสามารถดีในการคิดเป็นพูดเป็นทำเป็นมีคุณธรรมและจริยธรรมประจำกายวาจาใจมีอุดมคติและมีอุดมการณ์มุ่งอุทิศชีวิตบำเพ็ญประโยชน์ตนและผู้อื่นเพื่อให้บัณฑิตเข้าใจโลกและชีวิตอย่างลึกซึ้งสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข

วิสัยทัศน์

1) วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราชจะมุ่งพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องมีระบบบริหารจัดการและระบบประกันคุณภาพที่ดีสามารถให้ความเชื่อมั่นแก่สังคมได้ว่ามหาวิทยาลัยในฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยอย่างมีคุณภาพและทันสมัย

2) เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน ที่มุ่งผลิตบัณฑิตตามแนวทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ความสามารถและมีศีลธรรมในการดำรงชีวิตแบบพุทธ

3) เป็นสถาบันที่ดำรงคุณค่าและอุดมการณ์ของการเป็นประชาคมแห่งการสร้างสรรค์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

4) จะมุ่งมั่นพัฒนาสถาบันให้มีการทำวิจัยเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนาเพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

พันธกิจ

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีภารกิจที่จะต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอย่างมีระบบและต่อเนื่องตลอดจนเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยแก่สาธารณชนทั้งนี้โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยนโยบายของทบวง มหาวิทยาลัยและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยมีพันธกิจดังต่อไปนี้

1) พัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตของวิทยาเขตฯ ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน

2) ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอย่างต่อเนื่อง

3) การถ่ายทอดและมีการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนในท้องถิ่นเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ

4) แสวงหาความร่วมมือด้านต่างๆจากสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่นเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ

5) ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนางานวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมการเมืองและความต้องการของท้องถิ่น

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

การจัดรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัย เป็นการจัดตามความในมาตราที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 และเป็นการจัดตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้รัฐมนตรี (กระทรวงศึกษาธิการ) มีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตราที่ 6 คือ “วัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัยส่งเสริม และการให้บริการทางพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการบำรุงศิลปวัฒนธรรม” การจัดโครงสร้างและระบบการบริหารมหาวิทยาลัย ในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ตามความในมาตรานั้นๆ โดยอาจจำแนกองค์กรหรือหน่วยงานหลักๆ ได้ดังนี้

 

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

 

คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ที่ 22/2563 (25 ธันวาคม 2563)

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประจำวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

1.

รองอธิการบดีวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

ประธานกรรมการ

2.

ผู้ช่วยอธิการบดี วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

กรรมการ

3.

ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ในวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

กรรมการ

4.

ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ศรีธรรมาโศกราช

กรรมการ

5.

ผู้อำนวยวิทยาลัยศาสนศาสตร์ศรีธรรมาโศกราช

กรรมการ

6.

รองศาสตราจารย์ ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว

กรรมการ

7.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพมาศ เศวตวรโชติ

กรรมการ

8.

ดร.สันติ อุนจะนำ

กรรมการ

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ปีการศึกษา 2565 วิทยาเขตศรีธรรมราชเปิดทำการเรียนการสอน จำนวน 10 สาขาวิชา ได้แก่

 

คณะ/สาขาวิชา

จำนวนหลักสูตร

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

รวม

คณะศาสนาและปรัชญา

 

 

 

 

- สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

1

1

-

2

คณะศึกษาศาสตร์

 

 

 

 

- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

1

-

-

1

- สาขาการบริหารการศึกษา

 

1

1

2

คณะสังคมศาสตร์

 

 

 

 

- สาขาวิชาการปกครอง

1

-

-

1

- สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์

 

1

1

2

- รัฐศาสตร์

 

1

1

2

รวม

3

4

3

10

 

 1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

ชื่อภาษาไทย             : ศิลปะศาสตรบัณฑิต (พุทธศาตร์เพื่อการพัฒนา)

ชื่อย่อไทย                : ศศ.บ. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

ชื่อภาษาอังกฤษ         : Bachelor of Arts (Buddhist Studies for Development)

ชื่อย่ออังกฤษ            : B.A. (Buddhist Studies for Development)

2. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

ชื่อภาษาไทย             : รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง)

ชื่อย่อไทย                : ร.บ. (การปกครอง)

ชื่อภาษาอังกฤษ         : Bachelor of Political Science Program in Government

ชื่อย่ออังกฤษ            : B.Pol.Sc. (Government)

3. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)

ชื่อภาษาไทย             : ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนสังคมศึกษา)

ชื่อย่อไทย                : ศษ.บ. (การสอนสังคมศึกษา)

ชื่อภาษาอังกฤษ         : Bachelor of Education (Teaching Social Studies)

ชื่อย่ออังกฤษ            : B.Ed. (Teaching Social Studies)

4. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)

ชื่อภาษาไทย             : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

ชื่อย่อไทย                : ศศ.ม. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

ชื่อภาษาอังกฤษ          : Master of Arts (Buddhist Studies for Development)

ชื่อย่ออังกฤษ             : M.A. (Buddhist Studies for Development)

5. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)

ชื่อภาษาไทย             : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์)

ชื่อย่อไทย                : ศศ.ม. (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์)

ชื่อภาษาอังกฤษ          : Master of Arts (Buddhistic Sociology)

ชื่อย่ออังกฤษ             : M.A. (Buddhistic Sociology)

6. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

ชื่อภาษาไทย             : ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

ชื่อย่อไทย                : ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)

ชื่อภาษาอังกฤษ          : Master of Education (Educational Administration)

ชื่อย่ออังกฤษ             : M.Ed. (Educational Administration)

7. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)

ชื่อภาษาไทย             : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์)

ชื่อย่อไทย                : ปร.ด. (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์)

ชื่อภาษาอังกฤษ          : Doctor of Philosophy (Buddhistic Sociology)

ชื่อย่ออังกฤษ             : Ph.D. (Buddhistic Sociology)

 8. หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

ชื่อภาษาไทย             : ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

ชื่อย่อไทย                : ศษ.ด. (การบริหารการศึกษา)

ชื่อภาษาอังกฤษ          : Doctor of Education (Educational Administration)

ชื่อย่ออังกฤษ             : Ed.D. (Educational Administration)

9. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ชื่อภาษาไทย             : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

ชื่อย่อไทย                : ร.ม.

ชื่อภาษาอังกฤษ          : Master of Political Science

ชื่อย่ออังกฤษ             : M.Pol.Sc.

10. หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ชื่อภาษาไทย             : รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ชื่อย่อไทย                : ร.ด.

ชื่อภาษาอังกฤษ          : Doctor of Political Science

ชื่อย่ออังกฤษ             : D.Pol.Sc.

 

1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 2565

ในปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีนักศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 632 รูป/คน โดยแบ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 414 รูป/คน (ร้อยละ 65.67) เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 149 รูป/คน (ร้อยละ 23.58) และเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก 68 รูป/คน (ร้อยละ 10.76) จำแนกดังต่อไปนี้

คณะ / สาขาวิชา

จำนวนนักศึกษา

รวม

ทั้งหมด

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

บรรพชิต

คฤหัสถ์

บรรพชิต

คฤหัสถ์

บรรพชิต

คฤหัสถ์

คณะศาสนาและปรัชญา

 

 

 

 

 

 

 

- สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

23

11

16

13

-

-

63

คณะศึกษาศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

10

33

-

-

-

-

43

- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

-

-

-

55

1

35

91

คณะสังคมศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

- สาขาวิชาการปกครอง

47

291

-

-

-

-

338

-  สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์

-

-

0

0

4

5

9

-  รัฐศาสตร์

-

-

14

51

3

20

88

                                     รวมทั้งหมด

80

335

30

119

8

60

632

 

จำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2565

ในปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการปกครอง จำนวน 44 รูป/คน ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ ปริญญาโท จำนวน 5 รูป/คน และปริญญาเอก จำนวน 2 รูป/คน รวมทั้งหมด 51 รูป/คน จำแนกดังต่อไปนี้

คณะ / สาขาวิชา

สำเร็จการศึกษา 2565

บรรพชิต

คฤหัสถ์

รวม

คณะสังคมศาสตร์

 

 

 

- สาขาวิชาการปกครอง

13

31

44

- สาขาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ (โท)

2

3

5

- สาขาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ (เอก)

-

2

2

รวม

15

36

51

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีบุคลากรทั้งหมด 61 รูป/คน

โดยแบ่งเป็นสายวิชาการ จำนวน 36 รูป/คน มีคุณวุฒิระดับปริญญาโท 16 รูป/คน (ร้อยละ 44.44) และมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก 20 รูป/คน (ร้อยละ 55.56) แบ่งตามตำแหน่งทางวิชาการ มีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 5 รูป/คน (ร้อยละ 13.89) และมีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 3 รูป/คน (ร้อยละ 8.33)

และแบ่งเป็นบุคลการสายสนับสนุน จำนวน 25 รูป/คน มีวุฒิปริญญาตรี 9 รูป/คน (ร้อยละ 36.00) และมีวุฒิระดับปริญญาโท 16 รูป/คน (ร้อยละ 64.00) ดังตารางรายละเอียดต่อไปนี้

 

ประเภท

ระดับการศึกษา

รวม

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาตรี

ผู้บริหารระดับสูง

1

-

-

1

ผู้บริหารระดับกลาง

4

-

-

4

อาจารย์

 

 

 

 

- อาจารย์ประจำ

7

4

-

11

- อาจารย์พิเศษประจำ

8

12

 

20

เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน

 

 

 

 

- ประจำ

 

11

4

15

- สัญญาจ้าง

 

5

5

10

รวม

20

32

9

61

1.7.1 บุคลากรสายวิชาการ

ที่

ชื่อ-นามสกุล

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

ตำแหน่งทางวิชาการ

ตรี

โท

เอก

ผศ.

รศ.

ศ.

1

พระครูสิริธรรมาภิรัต, ผศ.ดร.

รองอธิการบดี

 

 

ü

ü

 

 

2

พระมหาวิชาญ กนฺตสีโล, ดร.

ผอ.การสำนักงานวิทยาเขต

 

 

ü

 

 

 

3

พระครูบวรชัยวัฒน์ เมธิโก, ดร.

ผอ.วิทยาลัยศาสนศาสตร์

 

 

ü

 

 

 

4

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร, ดร.

ผอ.ศูนย์บริการวิชาการ

 

 

ü

 

 

 

5

รศ.ดร.เดชชาติ ตรีทรัพย์

ผู้ช่วยอธิการบดี

 

 

ü

 

ü

 

6

พระราชวิสุทธิกวี

อาจารย์ประจำ

 

ü

 

 

 

 

7

พระครูธรรมจักรเจติยาภิบาล

อาจารย์ประจำ

 

ü

 

 

 

 

8

ดร.สันติ อุนจะนำ

อาจารย์ประจำ

 

 

ü

 

 

 

9

ผศ.ดร.ทิพมาศ เศวตวรโชติ

อาจารย์ประจำ

 

 

ü

ü

 

 

10

นายธีรักษ์ หนูทองแก้ว

อาจารย์ประจำ

 

ü

 

 

 

 

11

รศ.ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว

อาจารย์ประจำ

 

 

ü

 

ü

 

12

ดร.บุญส่ง ทองเอียง

อาจารย์ประจำ

 

 

ü

 

 

 

13

ผศ.ดร.ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี

อาจารย์ประจำ

 

 

ü

ü

 

 

14

ดร.สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

อาจารย์ประจำ

 

 

ü

 

 

 

15

นางจินตนา กะตากูล

อาจารย์ประจำ

 

ü

 

 

 

 

16

ดร.วชิรวิชญ์  อิทธิธนาศูภวิชญ์

อาจารย์ประจำ

 

 

ü

 

 

 

17

พระครูปริยัติวุฒิธาดา

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

18

พระมหาประทิ่น เขมจารี

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

19

พระปลัดวิสุทธิ์ศรี นนฺทชโย, ดร.

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

ü

 

 

 

20

พระปลัดสุริยา อาภาโค

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

21

พระมหาโยธิน มหาวีโร

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

22

พระปลัดไพโรจน์ อตุโล

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

23

พระอนุรักษ์ อนุรกฺขิโต, ดร.

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

ü

 

 

 

24

พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ, ดร.

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

ü

 

 

 

25

พระครูวินัยวุฒิชัย ชยธมฺโม, ดร.

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

ü

 

 

 

26

พระมหาอดิศักดิ์ คเวสโก

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

27

รศ.สมเกียรติ ตันสกุล

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

ü

 

28

ผศ.ดร.เกศริน มนูญผล

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

ü

ü

 

 

29

ผศ.ดร.สรัญญา แสงอัมพร

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

ü

ü

 

 

30

ดร.สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

ü

 

 

 

31

นายเอกชัย แซ่ลิ้ม

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

32

ดร.สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

ü

 

 

 

33

นางสาวจิรวัฒนา พุ่มด้วง

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

34

นายแสงสุรีย์ ทองขาว

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

35

นางสาวปรรณพัชญ์ จิตร์จำนงค์

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

36

นายธเนศ นกเพชร

อาจารย์พิเศษประจำ

 

ü

 

 

 

 

 

1.7.2 บุคลากรสายสนับสนุน

ที่

ชื่อ-นามสกุล/ฉายา

ตำแหน่ง

ตรี

โท

37

นางจิตรา อุนจะนำ

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

 

ü

38

นายวิทยา ระน้อมบำรุง

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

ü

 

39

นายประเสริฐ เนาวพล

นักวิชาการฝ่ายพัสดุ

 

ü

40

นายมนต์ชัย ทองสม

นักวิชาการการเงินและบัญชี

 

ü

41

นายชุติเดช สุวรรณมณี

เจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผล

 

ü

42

นางกุสุมา ทองเอียง

นักวิชาการการเงินและบัญชี

 

ü

43

นางสาวสุฑารัตน์ บุญมี

บรรณารักษ์

 

ü

44

นางสาวสุทธิดาลักษมี ปิยภัทร์มงคล

นักวิชาการการเงินและบัญชี

 

ü

45

นายภาควัฒ ปล้องสุวรรณ

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

 

ü

46

นางสาวปิยารัตน์ นาคพุ่ม

นักวิชาการการเงินและบัญชี

ü

 

47

นายจิรพัฒน์ เผือแก้ว

เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพการศึกษา

 

ü

48

นางสาวหฤทัย วิเศษ

นักวิชาการศึกษา

 

ü

49

นายศราวุธ สิทธาอภิรักษ์

นักทรัพยากรบุคคล

 

ü

50

นายจันทร์ทอง พิชคุณ

นักการ

ü

 

51

นายเชาวลิต ระน้อมบำรุง

พนักงานขับรถ

ü

 

52

นายเทียน ศรีลา

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (โสตและทัศนูปกรณ์)

ü

 

53

นางจิราพร อุไรกุล

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (บัณฑิตวิทยาลัย)

 

ü

54

นายศุภกฤต คงแป้น

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ผู้ช่วยฝ่ายพัสดุ)

ü

 

55

นางสาวละออง สิทธิฤกษ์

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (กิจการนักศึกษา)

ü

 

56

นายสราวุธ ธรนิล

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (พระสอนศีลธรรมฯ)

ü

 

57

นายสมพร เกื้อสงค์

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

 

ü

58

นางสาวภัสราภรณ์ นวลวัฒน์

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

 

ü

59

นางสาวจิราภรณ์ ชูชำนาญ

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

 

ü

60

นายญาณภัทร คงจันทร์

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

ü

 

61

นายวิศรุตม์ คงจันทร์

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (นักการ)

 

ü

ที่มา : ฝ่ายบุคคล

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ประจำปีงบประมาณ 2566

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ได้รับการจัดสรรงบประมาณทั้งหมด 54,384,200 บาท จำแนกตามประเภท

ที่

แผนงบประมาณ

งบประมาณ

รวม

งบประมาณ

งบรายได้

1

งบกลาง

-

 

 

2

งบบุคลากร

-

8,454,400

8,454,400

3

งบดำเนินงาน

2,000,000

6,188,200

8,188,200

4

งบรายจ่ายลงทุน

33,437,600

-

33,437,600

5

งบรายจ่ายเงินอุดหนุนศูนย์การศึกษา

800,000

-

800,000

6

เงินอุดหนุนตามวิถี

 

 

 

 

วิถีที่ 1 ปริยัติ สืบสาน ส่งต่อ ต่อยอด

2,194,000

260,000-

2,194,000

 

วิถีที่ 2 ประยุกต์ ผสาน สร้างสรรค์อย่างลึกซึ้ง

350,000

-

350,000

 

วิถีที่ 3 ปฏิบัติ ค้นหา ตน เติม คน เสริมสร้าง สังคม

300,000

-

300,000

 

วิถีที่ 4 ปฏิบถ ฟื้นฟู เยียวยา นำกลับสู่ความสว่าง

 

-

 

 

วิถีที่ 5 ปฏิรูป พลิก เปลี่ยน ปรับ รับการเปลี่ยนแปลง

400,000

-

400,000

7

เงินอุดหนุนวิจัย

-

-

-

 

รวม

39,481,600

14,902,600

54,384,200

1.8.2 แผนงาน-โครงการ และงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ประจำปีงบประมาณ 2566

ที่

แผนงาน-โครงการ

งบประมาณ

 

วิถีที่ 1 ปริยัติ สืบสาน ส่งต่อ ต่อยอด

 

 

1.2 โครงการ พัฒนาพุทธปัญญาแก่พลเมืองโลก

2,194,000

1

โครงการสัปดาห์มหามกุฏวิชาการเพื่อพัฒนาปัญญาและศีลธรรม

310,000

 

กิจกรรมที่ 1 การฝึกอบรมทักษะวิชาการที่จำเป็นในยุคดิจิตัล

30,000

 

กิจกรรมที่ 2 นิทรรศการวิชาการ

100,000

 

กิจกรรมที่ 3 การเผยแพร่ความรู้คู่คุณธรรมผ่านสื่อสิ่งพิมพ์

50,000

 

กิจกรรมที่ 4 มอบรางวัลคนดีศรีมหามกุฏ

30000

 

กิจกรรมที่ 5 การสร้างเครือข่ายและสานสัมพันธ์พี่น้องปันสุข

100000

2

โครงการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาในศตวรรษที่ 21

480,000

 

กิจกรรมที่  1 ไหว้ครู

100,000

 

กิจกรรมที่  2 การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับนักศึกษา

30000

 

กิจกรรมที่  3 การเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

30,000

 

กิจกรรมที่  4 กิจกรรมปัจฉิมนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

30,000

 

กิจกรรมที่  5 การพัฒนาทักษะการเรียนและการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย

30,000

 

กิจกรรมที่  6 การพัฒนาศักยภาพและทักษะการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา

30,000

 

กิจกรรมที่ 7 การเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเพื่อก้าวสู่โลกอาชีพ

30,000

 

กิจกรรมที่ 8 กีฬาสานสัมพันธ์ มมร.

100,000

 

กิจกรรมที่ 9 ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

100,000

3

โครงการพัฒนาทักษะวิชาการและทักษะวิชาชีพให้เป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์

350,000

 

กิจกรรมที่ 1 การสัมมนาวิชาการหลักสูตรการสอนสังคมศึกษา

70,000

 

กิจกรรมที่ 2 การสัมมนาวิชาการหลักสูตรด้านพุทธศาสนาและปรัชญา

70,000

 

กิจกรรมที่ 3 การสัมมนาวิชาการหลักสูตรด้านรัฐศาสตร์

70,000

 

กิจกรรมที่ 4 การสัมมนาวิชาการด้านการบริหารการศึกษา

70,000

 

กิจกรรมที่ 5 การสัมมนาวิชาการด้านสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์

70,000

4

โครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษา

174,000

 

กิจกรรมที่ 1 การอบรมจิตใจและพัฒนาปัญญาและไหว้พระสวดมนต์ประจำสัปดาห์

24,000

 

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาจิตปัญญาสำหรับนักศึกษา

50000

 

กิจกรรมที่ 3 กตัญญูบูรพาจารย์

100,000

5

โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและการเผยแผ่

160,000

 

กิจกรรมที่ 1 ค่ายธรรมะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา

100,000

 

กิจกรรมที่ 2 การอบรมศาสนพิธีกรต้นแบบ

60,000

 6

โครงการอบรมกรรมฐานภาคปฏิบัติประจำปี

160,000

 

กิจกรรมที่ 1 การอบรมกรรมฐานภาคปฏิบัติประจำเดือนหลักสูตร 3 วัน 2 คืน

60,000

 

กิจกรรมที่ 2 การอบรมกรรมฐานภาคปฏิบัติประจำปี หลักสูตร 15 วัน

100,000

 7

โครงการแนะแนวและสร้างความร่วมมือเครือข่ายสถาบันการศึกษา

150,000

 

กิจกรรมที่ 1 การออกนิเทศและแนะแนวการศึกษา

50,000

 

กิจกรรมที่ 2 การประชุมสัมมนาครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษา

100,000

8

โครงการฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

420,000

 

กิจกรรมที่ 1 การสวดด้าน

80,000

 

กิจกรรมที่ 2 แห่ผ้าขึ้นธาตุ                                                                         

50,000

 

กิจกรรมที่ 3 ให้ทานไฟ

60,000

 

กิจกรรมที่ 4 บุญสารทเดือนสิบ

100,000

 

กิจกรรมที่ 5 แห่เทียนพรรษา

50,000

 

กิจกรรมที่ 6 ตักบาตรเทโว

80,000

9

โครงการพัฒนาสมรรถนะสากลให้กับบุคลากรและนักศึกษา

100,000

 

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาการเรียนรู้ ICT เพื่อการศึกษา

50,000

 

กิจกรรมที่ 2 อบรมทักษะการใช้สื่อสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

50,000

 

วิถีที่ 2 ประยุกต์ ผสาน สร้างสรรค์ อย่างลึกซึ้ง

350,000

 

2.1 โครงการ วิจัยพุทธศาสตร์และสหศาสตร์สาขาวิทยาการ

 

1

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

350,000

 

กิจกรรมที่ 1 การฝึกอบรมเทคนิคการเขียนงานวิจัย-ตำราและผลงานวิชาการ

100,000

 

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาผลงานวิจัยเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

100,000

 

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาผลงานด้านตำราและเอกสารประกอบการสอน

100,000

 

กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาผลงานด้านบทความวิชาการสู่ฐาน TCI

50,000

 

วิถีที่ 3 ปฏิบัติ ค้นหา ตน เติม คน เสริมสร้าง สังคม

 

 

3.1 โครงการ พลเมืองดูแลตน ต้องเริ่มจากมองตน ดูจิตตน เพื่อผู้คนในสังคม

300,000

1

โครงการอบรมสัมมนาพระสังฆาธิการภาคใต้

100,000

2

โครงการธรรมสังคีตสู่ชุมชน

200,000

 

กิจกรรมที่ 1 การสืบสานและเผยแพร่ธรรมผ่านเพลงลูกทุ่งตามวิถีใต้

50,000

 

กิจกรรมที่ 2 ผลิตและสร้างสรรค์สื่อธรรมสังคีตสู่ชุมชน

80,000

 

กิจกรรมที่ 3 การผลิตและเผยแพร่ธรรมวิชาการผ่านสื่อออนไลน์

70,000

 

วิถีที่ 5  ปฏิรูป พลิก เปลี่ยน ปรับ รับการเปลี่ยนแปลง

 

 

5.1 พลิกโฉม ระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ Next Gen for HR

250,000

 

โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา

150,000

 

โครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ของบุคลากร

100,000

 

กิจกรรมที่ 1 การฝึกอบรมทักษะการใช้เทคโลยีในปฏิบัติงานยุคใหม่

30,000

 

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาองค์กรแห่งความสุข ( Happy Workplace)

70,000

 

5.4 ปฏิรูปทั้งองค์กร สู่ New MAHAMAKUT : กฎหมาย โครงสร้าง กระบวนการ การบริหาร ระบบดำเนินการ ระบบบริการ ระบบกำกับติดตาม

950,000

1

เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายศูนย์การศึกษา

800,000

2

โครงการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี

150,000

 

กิจกรรมที่ 1 การเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา

20,000

 

กิจกรรมที่ 2 การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร

100,000

 

กิจกรรมที่ 3 การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับวิทยาเขต

30,000

ที่มา : ฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผน

1.8.3 ข้อมูลพื้นฐานด้านอาคารสถานที่ และสิ่งปลูกสร้าง

ที่

อาคาร

พื้นที่ใช้สอย

ประโยชน์ใช้สอย

จำนวนห้อง

หมายเหตุ

สถานที่เดิม ภายในวัดป่าห้วยพระ

1

อาคารสำนักงานรองอธิการบบดี

อาคาร 2 ชั้น

ฝ่ายการเงินและบัญชี /

ฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผน

1 ห้อง

 

 

 

 

ฝ่ายพัสดุ

1 ห้อง

 

 

 

 

ห้องประชุม

1 ห้อง

 

 

 

 

ห้องรองอธิการบดี

1 ห้อง

 

 

 

 

ห้องผู้ช่วยอธิการบดี

1 ห้อง

 

 

 

 

ห้องศูนย์บริการวิชาการ

1 ห้อง

 

 

 

 

ศูนย์ประสานงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน

1 ห้อง

 

2

อาคารเรียน

อาคาร 3 ชั้น

ห้องวิทยาลัยศาสนศาสตร์

ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์

งานทะเบียนและวัดผล

ฝ่ายบริหารวิทยาลัยและกิจการ

ฝ่ายจัดการศึกษา

ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา

1 ห้อง

 

 

 

 

ห้องสมุด / บรรณารักษ์ /

ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ

1 ห้อง

 

 

 

 

ห้องบัณฑิตวิทยาลัย /

อาจารย์ประจำหลักสูตร

1 ห้อง

 

 

 

 

ห้องคอมพิวเตอร์

1 ห้อง

 

 

 

 

ห้องปฏิบัติภาษาอังกฤษ

1 ห้อง

 

 

 

 

ห้องพักอาจารย์ /

อาจารย์ประจำหลักสูตร

1 ห้อง

 

 

 

 

ห้องเรียนและห้องปฏิบัติงาน

13 ห้อง

 

3

อาคารศูนย์บริการวิชาการ

อาคาร 3 ชั้น

ใช้เป็นอาคารสำหรับห้องสมุด /

ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ

4

อาคารปฏิบัติธรรม

อาคาร 2 ชั้น

ชั้นบนเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน / ชั้นล่างเป็นพื้นที่ใช้สอยแบบโล่ง

 

 

5

โรงอาหาร

อาคารโล่ง

ใช้เป็นโรงอาหารสำหรับนักศึกษา และจัดกิจกรรมต่าง ๆ

 

 

 

 

อาคารเรียน (สถานที่แห่งใหม่)

อาคาร 4 ชั้น

ชั้น 1

 

- ห้องทะเบียน

- ห้องธุรการ

- ห้องบัณฑิตวิทยาลัย

- ห้องฝ่ายบริหารวิทยาลัยฯ / กิจการนักศึกษา

- ห้องพยาบาล

- ห้องประชุม (ย่อย)

 

1

1

1

1

 

1

1

 

 

 

ชั้น 2

- ห้องสมุด

- ห้องศูนย์บริการวิชาการ

- ห้องบัณฑิตวิทยาลัย (อาจารย์)

- ห้องวิทยาลัยศาสนศาสตร์

- ฝ่ายจัดการศึกษา

- ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา

- อาจารย์ประจำหลักสูตร (ป.ตรี)

- สำนักงานวิทยาเขต

- ฝ่ายพัสดุ

- ฝ่ายการเงิน

- ฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผน

- ห้องรองอธิการบดี

- ห้องประชุม

1

1

1

1

 

 

 

1

 

 

 

1

1

 

 

 

ชั้น 3 / 4

- ห้องคอมพิวเตอร์

- ห้องเรียน

1

21

 

 

ที่มา : ฝ่ายพัสดุ/อาคารสถานที่

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

อัตถลักษณ์

บัณฑิตที่มีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

เอกลักษณ์

บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

1. ควรดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคณาจารย์ ด้านการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พร้อมการกำกับ ติดตาม ประเมินผล และเพิ่มระบบพี่เลี้ยงด้านการวิจัยและส่งเสริมการขอตำแหน่งทางวิชาการโดยกระทำเป็นกระบวนการที่ชัดเจน

1. ฝ่ายบริหารงานบุคคลมีการกำหนดให้บุคลากรทุกระดับจัดทำแผนพัฒนาตนเองเป็นรายบุคคล (ID PLAN) เพื่อทราบสมรรถนะของบุคลากร

2. สำรวจ ส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์ที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์การเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ พร้อมกันนี้ได้กำหนดให้มีระบบพี่เลี้ยงจากผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการของวิทยาเขตเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาและคอยแนะนำกระบวนการและขั้นตอนการเข้าสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

2. วิเคราะห์ความต้องการขององค์กรว่าขาดอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาใด จะได้ดำเนินการพัฒนาเพิ่มได้อย่างถูกต้อง

1. กำหนดคุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกหลักสูตรต้องเป็นไปตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานทุกระดับ ทั้งหลักสูตรที่เปิดอยู่แล้วในปีการศึกษา 2565 จำนวน 10 หลักสูตร และที่ขอเปิดใหม่ ในปีการศึกษา 2566

2. การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคลเพื่อกำกับ ติดตาม และวิเคราะห์ศักยภาพของบุคคล และวิเคราะห์ความต้องการอัตรากำลังที่สอดคล้องกับการบริหารจัดการเพื่อความเหมาะสม ทั้งบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

3. การประชุมวางแผน วิเคราะห์ เพื่อกำหนดและสรรหาคัดเลือกบุคลากรตามกรอบอัตรากำลังที่ต้องการปรับเพิ่ม

4. การเสนอขออนุมัติเพิ่มอัตรากำลังเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพหลักสูตร

5. การเสนอขออนุมัติแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรสัญญาจ้างต่อสภาวิชาการของมหาวิทยาลัย

3. เพิ่มสำรวจความต้องการการจัดทำแผนกิจกรรมนักศึกษาโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม พร้อมกำหนดกลยุทธ์ และออกแบบกิจกรรมรวมถึงการพัฒนาแผนกิจกรรมนักศึกษาที่เกิดจากการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม (โดยนักศึกษามีส่วนร่วม)

1. ฝ่ายกิจการนักศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการในการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาที่ประกอบด้วยอาจารย์ กรรมการบริหารหลักสูตรแต่ละหลักสูตร และตัวแทนนักศึกษา เพื่อร่วมกันจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา

2. งานกิจการนักศึกษากำหนดระยะเวลาในการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาร่วมกับนักศึกษาและดำเนินการประชุมจัดทำแผนร่วมกันและนำเสนออนุมัติในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาเขต

3. การจัดกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมสมรรถนะและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา

4. การจัดกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการเรียนการสอนและสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21

4. การจัดกิจกรรม/โครงการการให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้กับศิษย์เก่า

วิทยาเขตควรมีการสำรวจความต้องการของศิษย์เก่า และวางแผนกำหนดกิจกรรมหรือแหล่งข้อมูลบริการให้กับศิษย์เก่าที่เป็นประโยชน์ทั้งในด้านการรับรู้ข่าวสารของวิทยาเขต และการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาด้านความรู้เพื่อไปปรับใช้ในการทำงานและการสร้างความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

1.กิจกรรม/โครงการด้านการส่งเสริมอาชีพ

2. อบรมสัมมนาพัฒนาศักยภาพการเป็นครู

3. อบรมสัมมนารัฐศาสตร์วิชาการ

4. อบรมสัมมนาวิชาการด้านการบริหารการศึกษา

5. อบรมสัมมนาวิชาการด้านสังคมวิทยา

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

1. ควรมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และเขียนโครงการของบวิจัยภายนอกเพื่อเพิ่มแหล่งทุนให้มากขึ้น

1. วิเคราะห์ ทบทวน เพื่อกำหนดแผนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนทุนการสร้างผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ให้อาจารย์ที่มีความต้องการในการพัฒนาศักยภาพในการเขียนโครงการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก เพื่อการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอตามความต้องการของอาจารย์

2. ส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมประชุม/อบรม การทำวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก เพื่อพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการเขียนเสนอโครงการวิจัย และให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการโดยศักยภาพของอาจารย์ในการขอทุนวิจัยจากภายนอก โดยมีทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการเขียนโครงการวิจัย

2. ควรส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์ผลิตผลงานวิชาการหรืองานวิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาคุณภาพอาจารย์

การจัดกิจกรรมการส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ โดยการถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ โดยการวิเคราะห์ วางแผนงานวิจัยที่สร้างความเชื่อมโยงกับการบริการวิชาการ / การเรียนการสอน / ศิลปะและวัฒนธรรม ที่เกิดจากการสำรวจบริบทของวิทยาเขตและสังคม และส่งเสริมให้อาจารย์มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่อย่างน้อย 1 ชิ้นงานต่อปีอยู่ในรูปของบทความวิจัยหรือบทความทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI ปีการศึกษา 2565 มีผลงานตีพิมพ์จำนวน 45 เรื่อง

3. ควรริเริ่มการจัดทำระบบ และกลไกในการคุ้มครองสิทธิ์ โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยญาณสังวร

มหาวิทยาลัยโดยสถาบันวิจัยญาณสังวร มีการนำเสนอนโยบายที่จะดำเนินการให้มีระบบและกลไกที่ช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของสถาบัน เข้าสู่การประชุมระดับผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวปฏิบัติ และขั้นตอนของการคุ้มครองสิทธิ์

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

1. กระบวนการกำกับ ติดตาม การบริการวิชาการแก่สังคม ควรมีการกำกับติดตามตามระยะไตรมาส และควรกำกับ ติดตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่กำหนดไว้ในแผนบริการวิชาการ

1. มีการรายงานผลการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ ในการดำเนินงานกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ด้านการให้บริการวิชาการ เพื่อรับทราบผลการดำเนินงาน จุดอ่อน จุดแข็งรวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ และเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข พัฒนาการดำเนินงานตามแผนบริการวิชาต่อไป

2. การปรับกลยุทธิ์ กระบวนการการดำเนินงานของโครงการที่เน้นถึงกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชน และสามารถนำสิ่งที่ได้ไปต่อยอดที่นำไปสู่การพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับสถาบัน และชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน

3. มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการวิชาการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถดำเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

4. รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อจะได้นำไปปรับปรุงพัฒนาในครั้งต่อไป

5. ประชุมคณะกรรมการการให้บริการวิชาการเพื่อทบทวน การปรับรูปแบบการให้บริการวิชาการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

 

2. ควรรายงานตัวบ่งชี้ที่ใช้วัดความสำเร็จของแผน และตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการให้เห็นถึงการพัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกมิติ

การนำแผนการดำเนินงานเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาเขตเพื่อพิจารณา วิเคราะห์เพื่อพัฒนาในทุก ๆ ด้าน / นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำวิทยาเขตไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีถัดไป

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1. ควรมีการรวบรวมองค์ความรู้ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ที่นำสู่การเผยแพร่ในสาธารณะให้เป็นที่ยอมรับ โดยอาจมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้ประชาชนและผู้สนใจได้เรียนรู้เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น

1. แต่งตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อการกำกับ ติดตาม วางแผนในด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

2. ดำเนินการโครงการฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

- กิจกรรมการสวดด้าน

- กิจกรรมแห่ผ้าขึ้นธาตุ

- กิจกรรมให้ทานไฟ

- กิจกรรมบุญสารทเดือนสิบ

- กิจกรรมแห่เทียนพรรษา

- กิจกรรมตักบาตรเทโว

 

2. ควรเพิ่มการบูรณาการองค์ความรู้ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับงานวิจัย และการเรียนการสอนมากขึ้นโดยร่วมมือกับชุมชนและผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้านเพื่อสร้างความเข็มแข็งและยั่งยืนของสังคม

1. การจัดทำแผนที่กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ความสำเร็จของแผนให้สอดคล้องกับบริบทของสถาบันและของชุมชน/สังคม พร้อมทั้งมีการประเมินความสำเร็จตัวชี้วัดนั้นอย่างเป็นระบบและชัดเจน

2.ฝ่ายกิจการนักศึกษาร่วมกับศูนย์บริการวิชาการออกแบบให้ทุกโครงการที่อยู่ภายใต้แผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและแผนพัฒนานักศึกษา ให้ดำเนินกิจกรรม/โครงการตามระบบ PDCA โดยระบุจากผลการดำเนินงาน และสิ่งที่ต้องการพัฒนาที่ชัดเจน และรายงานผลการดำเนินงานในคราวประชุมในระดับต่าง ๆ

3. การนำผลการดำเนินงานเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาเขตเพื่อพิจารณา วิเคราะห์เพื่อพัฒนาในทุก ๆ ด้าน / นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำวิทยาเขตไปปรับปรุงแผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในปีถัดไป

3. ในอนาคตควรมีการกำหนดมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นที่ยอมรับระดับชาติ หรือนานาชาติ เพื่อแสดงศักยภาพของวิทยาเขตในด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1. วิทยาเขตมีการถ่ายทอดศิลปะวัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักและยอมรับศักยภาพในการจัดกิจกรรม โดยการนำเสนอวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตที่ถ่ายทอดรูปแบบผ่านโครงการ กิจกรรม

2. ดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช และสอดคล้องกับบริบทของวิทยาเขต และนำไปสู่การปฏิบัติตามเป้าหมายด้านทำนุบำรุงที่วางไว้

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

1. การทบทวนแผนควรมีการวิเคราะห์ SWOT ให้เชื่อมโยงกับกลยุทธ์และให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และตอบโจทย์ความเป็นตัวตน ของบริบทของวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

1. มีการทบทวนแผนกลยุทธ์ และการวิเคราะห์ผลที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและภายใน เพื่อนำมาพัฒนาแผนกลยุทธ์ของวิทยาเขต และสอดคล้องกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย และเชื่อมโยงกับกรอบเกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษา โดยบุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาวิทยาเขต พ.ศ. 2564-2568

2. ทบทวนกระบวนการถ่ายทอดแผนพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงสอดคล้องกัน รวมทั้งสื่อสารนโยบายสำคัญให้ชัดเจน นอกจจากนี้ควรทบทวนกระบวนการติดติดตามผลการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย เพื่อให้ทราบผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานและปรับปรุง

3. การประชุมเพื่อทบทวนและวิเคราะห์ผลที่เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกร่วมกัน เพื่อนำไปปรับปรุง พัฒนาแผนกลยุทธ์ของวิทยาเขต

2. ควรมีการกำหนดความเสี่ยงของวิทยาเขตที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลของความเสี่ยงที่แท้จริง และควรออกแบบหรือกำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงให้ลดลง

1. จัดประชุมบุคลากรเพื่อร่วมกับทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อวิทยาเขต

2. โครงการอบรมการบริหารความเสี่ยง

3. ประชุมและแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินแผนกลยุทธ์ทางการเงิน/แผนบริหารความเสี่ยง/แผนพัฒนาบุคลากร เป็นการกำกับติดตามการดำเนินงานของแผนในแต่ละแผน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง พัฒนาในแต่ละด้าน โดยการนำผลจากการกำกับติดตามเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาเขตเพื่อพิจารณา / นำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแผนที่ชัดเจน

4. ประชุมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน และวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละหลักสูตรในให้ครอบคลุมการพัฒนานักศึกษา การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาอาจารย์และสิ่งสนับสนุนต่อการเรียนรู้

3. การนำเสนอองค์ความรู้จาก KM ที่ได้มาออกแบบกระบวนการของการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้เข้าถึงองค์ความรู้และนำไปใช้ กระบวนการได้มาของแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ควรเขียนเป็นกระบวนการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมมีการดำเนินการการจัดการความรู้ (KM) ในการเชื่อมโยงเป้าหมายการจัดการความรู้ภายในวิทยาเขตที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย มาพัฒนาให้เป็นระบบและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ในประเด็นตามวิถีแห่งการพัฒนาทั้ง 5 ได้แก่ ปริยัติ ประยุกต์ ปฏิบัติ ปฏิบถ และปฏิรูป และรวบรวมความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับให้ให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าสูงสุดในการปฏิบัติและเสนอต่อผู้บริหาร

2. การประชุมหารือบุคลากรของวิทยาเขตเกี่ยวกับการจัดการความรู้

3. มหาวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรม KM DAY ขึ้นเพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีภายในมหาวิทยาลัย นำไปสู่การถ่ายทอดและเผยแพร่ให้ผู้สนใจทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยผ่านช่องทางต่าง ๆ

โดยมุ่งเน้นใช้หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus oriented) แบบฟอร์ม KM-01 KM-02 และได้แผนการจัดการความรู้ตามแบบฟอร์ม KM-03

4. ควรมีการจัดสรรงบประมาณในการบริหารจัดการหลักสูตรในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องในการบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุก ๆ ด้าน

1. กำหนดให้หลักสูตรแต่ละหลักสูตรจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตร (Improvement Plan) เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารหลักสูตร เพื่อเป็นการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในรอบปีการศึกษาที่เกิดจากข้อเสนอแนะจากผลการประเมินในปีการศึกษาที่ผ่านมา นำมาปรับปรุงพัฒนาให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น

สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.60
3.60
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
1.85
1.85
ไม่บรรลุ
1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 การส่งเสริมสนับสนุน บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร
2
4
4
บรรลุ
1.7 การส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา
2
4
4
บรรลุ
1.8 ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีหรือธรรมศึกษาชั้นตรีระดับอุดมศึกษา
2
5.00
5.00
บรรลุ
1.9 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.18
4.18
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
4
4
ไม่บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
3.50
3.50
ไม่บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
2.4 ผลงานงานวิจัยและ/หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Knowledge Contribution for Intellectual and Moral Development)
2
5
5
บรรลุ
2.5 บุคลากรที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Morality Role Model)
2
0
0
ไม่บรรลุ
2.6 ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย (Knowledge Contribution from Intellectual and Moral Cultivation Network)
2
2
2
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.25
3.25
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration Ecosystem for Sustainable Social Development)
2
3
3
บรรลุ
3.2 จำนวนหน่วยงานหรือองค์กรชุมชนเป้าหมาย ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตามแผนบริการวิชาการ
2
5
5
บรรลุ
3.3 งบประมาณ/ทรัพยากรวิจัยเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Funding for Knowledge Creation in Intellectual and Mortal Development)
2
0
0
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
2.67
2.67
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา
2
3
3
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
3.00
3.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (20 ตัวบ่งชี้)
3.70
3.70

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 8 3.43 4.50 4.30 4.18 ดี
2 6 3.50 4.00 3.00 3.25 ปานกลาง
3 3 - 3.00 2.50 2.67 ปานกลาง
4 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 20 3.45 4.22 3.20 3.70 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี ปานกลาง ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 4.153.085.005.005.004.16
2563 4.104.673.004.005.004.28
2564 3.823.555.005.005.004.12
2565 4.183.252.673.005.003.70
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

แนวทางการพัฒนา

ทบทวนการเขียนแผนให้ครอบคลุมทุกกิจกรรมและมีความเชื่อมโยงสามารถวัดและประเมินผลความสำเร็จของแผน 

ทบทวนผลการประเมินระดับหลักสูตรที่มีคะแนนน้อยเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงการบริหารหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

แนวทางเสริม

จัดทำเป็นระเบียบการส่งเสริมให้อาจารย์ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

 

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

แนวทางเสริม

กำหนดเป้าหมายการพัฒนาชุมชน/เครือข่ายที่ยั่งยืนร่วมกันกับเครือข่ายให้ชัดเจนพร้อมมีการวางแผน การกำหนดกิจกรรม และงบประมาณในการบริการวิชาการให้ครอบคลุมและชัดเจน 

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

แนวทางการเสริม

ควรรายงานการบูรณาการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การเรียนการสอน การวิจัย ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

แนวทางการพัฒนา

1.หลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่จะต้องดำเนินการในขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพ เช่น เกณฑ์ AUN และ เกณฑ์ Edpex

2. การเขียนแผนให้เชื่อมโยง และวัตถุประสงค์ ให้ครอบคลุมทุกองค์ประกอบและทุกแผน

บทสัมภาษณ์

บทสัมภาษณ์ นักศึกษาปัจจุบัน

แรงบันดาลใจในการมาเรียนมหาวิทยาลัย

  • ได้เรียนกับพระและได้เรียนรู้ธรรมะไปด้วย ตั้งใจมาเรียนที่นี่ตั้งแต่แรกเพราะมีรุ่นพี่มาเรียนที่นี่ด้วย

เป็นไปตามที่เราคาดหวังไหม

  • เป็นไปตามที่คาดหวัง

มมร มีความโดดเด่นด้านพระพุทธ นักศึกษา ได้เข้าร่วมกิจกรรมอะไรบ้างและคิดว่าไปพัฒนาตนเองได้ไหม

  • ตอบกรรมฐานและได้นำมาใช้ในการดำรงชีวิตได้จริง

นักศึกษามีข้อเสนออยาจะให้ทางมหาวิทยาลัยปรับปรุง

  • อยากมีการส่งเสริมเรื่องภาษาอังกฤษให้มากขึ้น

การวางตัวสำหรับพระนักศึกษาเป็นอย่างไร

  • มีการปรับตัวที่ดี

ได้รับประโยชน์อะไรบ้างในการเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์

  • การมีระเบียบวินัย ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีการสอดแทรกด้านคุณธรรม จริยธรรม ในรายวิชาทุกช่วงเช้าจะมีการสวดมนต์ เช้า และนักเรียน มีคุณธรรม เช่น มารยาทในการไหว้ นับถือครูบารย์อาจารย์ มีกาละเทศะ
  • การสวดมนต์ และได้ไปช่วยสอนในคาบรายวิชาด้านพระพุทธศาสนา

สิ่งที่มหาวิทยาลัยน่าจะปรับปรุงเพื่อใช้ให้กับรุ่นน้อง ที่คาดหวัง อยากให้มี หรือ อยากให้เกิดขึ้น

  • มีเสริมโครงการภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา
  • มีการเสริมแนะนำการอบรมลูกเสือ

การสอนสมัครครูวิชาชีพปีนี้ทันไหม

ไม่ทัน มีการติวอยู่ แต่อยากเน้นรายวิชาภาษาอังกฤษ กับ วิชาเอกด้านวิชาครู

 

ผู้ประกอบการ

นักศึกษาที่ไปสอนคุณลักษณะเป็นอย่างไร

  • นักศึกษาเป็นเด็กกิจกรรม
  • มีจิตอาสา

ศิษย์เก่า

อยากให้วิทยาเขตปรับปรุงในเรื่องอะไรบ้าง

  • มีปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • ในที่เรียน มมร มา ได้นำไปพัฒนาอะไรบ้าง
  • พัฒนาตัวเราในเรื่องของจิตใจ ที่เย็นลง

ในกรณีวิทยาเขตขอความช่วยเหลือจากศิษย์เก่าจะเข้ามาช่วยใน มมร ในเรื่องอะไรได้บ้าง

  • ช่วยในเรื่องการแรงกาย ในการจัดสวนทำความสะอาด ห้องเรียน

การติดต่อข้อมูลข่าวสารทางไหน

  • สามารถติดต่อได้เลย อยู่ใกล้มหาวิทยาลัย

อยากให้มหาวิทยาลัยมีการ upskill ในเรื่องไหนบ้างอย่างไร

  • ในเรื่องวิชาชีพ ในส่วนราชการ

 

 

ภาพถ่าย