Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย


บทสรุปผู้บริหาร

การศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย มีจำนวนหลักสูตร 3 หลักสูตร ในระดับปริญญาตรี มีอาจารย์ประจำ จำนวน 17 รูป/คน แบ่งเป็นอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน  5 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 29.41 อาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 3 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 17.64 ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 640,000 บาท  และมีผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 21 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 80.00

คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับวิทยาเขตฯ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการ 2 คน เลขานุการ 1 คน และผู้ช่วยเลขานุการ 1 คน ได้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับวิทยาเขตฯ ประจำปีการศึกษา 2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบผลการบริหารจัดการคณะตามเกณฑ์การประเมินของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) คณะกรรมการได้ศึกษาข้อมูลจากการรายงานผลการประเมินตนเองของคณะ เอกสารหลักฐานและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร อาจารย์ประจำวิทยาเขต ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบัน ตามเกณฑ์การประเมินของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และเกณฑ์เพิ่มเติมของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 20 ตัวบ่งชี้ มีผลการประเมินตาม องค์ประกอบ 1 – 5 ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 3.79 อยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมีผลการประเมินจำแนกตามองค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต                                คะแนน 3.68 ระดับคุณภาพ ดี

          องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย                                         คะแนน 3.33 ระดับคุณภาพ ปานกลาง

          องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ                             คะแนน 3.33 ระดับคุณภาพ ปานกลาง

          องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม           คะแนน 5.00 ระดับคุณภาพ ดีมาก

          องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ                             คะแนน 5.00 ระดับคุณภาพ ดีมาก                                     

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน

1.1  ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง ประวัติความเป็นมา

ชื่อสถาบัน

ภาษาไทย        :     มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย   วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

อักษรย่อ          :     มมร.มวก.

ภาษาอังกฤษ     : Mahamakut Buddhist University,MahavajiralongkornRajavidyalaya

                             Campus.

อักษรย่อ          :     MBU.MRC.

 ที่ตั้ง

57 หมู่ 1   วัดชูจิตธรรมาราม  ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   13170 

หมายเลขโทรศัพท์  0-3574-5037-8       โทรสาร   0-3574-5037

Website:www.mrc.mbu.ac.th

 

ประวัติ

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 

 เมื่อปีพุทธศักราช  2436  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งวิทยาลัยขึ้นในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงพระราชทานว่า “มหา-มกุฏราชวิทยาลัย”เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร ทรงอุทิศพระราชทรัพย์บำรุงประจำปีและก่อสร้างสถานศึกษาของมหาวิทยาลัย

           ครั้นเมื่อวันที่26 ตุลาคม 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเปิดมหามกุฏราชวิทยาลัยพระองค์ทรงอุปถัมภ์ด้วยทรงพระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงประจำปี อาศัยพระราชประสงค์ดังกล่าวแล้วนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงตั้งพระวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัยขึ้น  3 ประการดังนี้

  1. เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณร
  2. เพื่อเป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและของต่างประเทศ
  3. เพื่อเป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา

          เมื่อกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยได้ดำเนินแล้วปรากฏว่าพระวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้รับผลเป็นที่น่าพอใจตลอดมา

          เพื่อที่จะให้พระวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2488 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  ในฐานะที่ทรงเป็นนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัยพร้อมทั้งพระเถรานุเถระจึงได้ประกาศแต่งตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงในรูปมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้นโดยอาศัยนามว่า  “สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย  ในพระบรมราชูปถัมภ์”โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ

  1. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม
  2. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศ
  3. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและนอกประเทศ
  4. เพื่อให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้ความสามารถ ในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชน
  5. เพื่อให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้ความสามารถในการค้นคว้าโต้ตอบ หรืออภิปรายได้อย่างกว้าง ขวางแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
  6. เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้เป็นกำลังสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนทายาทที่เหมาะสมแก่กาลสมัย

7.เพื่อความเจริญก้าวหน้าและคงอยู่ตลอดกาลนานของพระพุทธศาสนา

 ทั้งนี้ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า กรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย   ปัจจุบันเรียกว่า  กรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สถาบันแห่งนี้เริ่มเปิดให้มีการอบรมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2489  ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มี 7 วิทยาเขตอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ  ของประเทศ รวม 7 แห่ง  คือ

    1.วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  1. วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระอุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
  2. วิทยาเขตอีสาน บ้านโนนชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

   4.วิทยาเขตล้านนา วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

   5.วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช วัดพระมหาธาตุ อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช

  1. วิทยาเขตร้อยเอ็ด บ้านดงลาน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
  2. วิทยาเขตศรีล้านช้าง วัดศรีสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดเลย

3 วิทยาลัย คือ

          1.มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา

          2.วิทยาลัยศาสนศาสตร์กาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

          3.วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร จังหวัดยโสธร

 

ประวัติวิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาของพระภิกษุสามเณรโดยตรง ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง ในมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย  ตำบลสนับทึบอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยขยายเขตการศึกษามาจาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานครโดยเป็นวิทยาเขตแห่งแรกของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ระหว่างกิโลเมตรที่ 73-74 สายกรุงเทพมหานคร - สระบุรี ภายในวัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง เลขที่ 57 หมู่ที่  1  ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170 หมายเลขโทรศัพท์ที่จะติดต่อ วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย 035-745037 โทรสาร  035-745038

จากพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช(จวน อุฏฺฐายีมหาเถร)วัดมกุฏกษัตริยาราม ว่า“ความสำคัญของการศึกษาของคณะสงฆ์ในปัจจุบันนี้ จะต้องอนุวัติให้ทันกับความเจริญของโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา” ซึ่งในขณะนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มีพระประสงค์ที่จะขยายการศึกษาของคณะสงฆ์ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

                    ในปี พ.ศ.2513-2514 ได้ทรงจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ร่างหลักสูตร พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา  และประกาศใช้เป็นหลักสูตรหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2514 สมัยฯพณฯ สุกิจ  นิมมานเหมินทร์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อกระทรวงประกาศใช้หลักสูตรแล้ว พระองค์ท่านได้เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งแรกขึ้นชื่อว่า โรงเรียนวชิรมกุฏซึ่งตั้งอยู่บริเวณหลังวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานครเป็นสาขาแห่งหนึ่งของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้หลักสูตร  พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514

                    ในปีเดียวกันนี้ นายฉบับ คุณนายสงวน ชูจิตตารมย์ได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินจำนวน 186 ไร่ ที่ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(ต่อมาได้มีผู้บริจาคซื้อถวายเพิ่มเติมเป็น736 ไร่) ให้เป็นที่ตั้งสถานศึกษาของคณะสงฆ์ขยายการศึกษาออกไปสู่ชนบทและเปิดทำการสอนพระภิกษุสามเณรขึ้นได้ทรงวางวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถาบันสงฆ์แห่งนี้ไว้ 6ประการ คือ :-

  1. เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์
  2. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร
  3. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนวิชาการทางพระพุทธศาสนาของชาวต่างประเทศ
  4. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการชั้นสูงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
  5. เพื่อเป็นสถานที่อบรมในด้านการปฏิบัติธรรม
  6. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาฝึกอบรมพระภิกษุผู้จะปฏิบัติศาสนกิจในระดับสูง เช่นงานด้านการปกครองการเผยแผ่ การสาธารณูปการ เป็นต้น

ขณะที่ทรงเตรียมการจะดำเนินงานภายหลังชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จสิ้นแล้วแต่พระดำริดังกล่าวยังไม่ทันสัมฤทธิ์ผล  พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เสียก่อน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2514

ต่อมาปีพ.ศ.2516พระเถรานุเถระผู้มีบทบาทในการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติหลายรูป เช่น 

  1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ              วัดบวรนิเวศวิหาร
  2. สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร  สนฺตงฺกุโร)              วัดเทพศิรินทราวาส
  3. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ  กนฺตาจาโร)           วัดมกุฏกษัตริยาราม
  4. พระเทพเมธาจารย์ (สุวรรณ   กญฺจโน)                    วัดมกุฏกษัตริยาราม
  5. พระธรรมวราจารย์ (แบน  กิตฺติสาโร)                      วัดบวรนิเวศวิหาร
  6. พระราชธรรมเจติยาจารย์ (วิริยังค์สิรินฺธโร)               วัดธรรมมงคล
  7. พระเทพปัญญากวี         (บรรจง  กลฺลิโต)              วัดมกุฏกษัตริยาราม

          โดยร่วมกันก่อตั้งสถาบันสงฆ์แห่งนี้ขึ้น เริ่มแรกใช้ชื่อว่า  สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย  เป็นที่รู้จักกันของประชาชนโดยทั่วไปว่า “วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย”ในปี พ.ศ. 2519 ได้ขอตั้งเป็นวัดชื่อ “วัดชูจิตธรรมาราม” เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์สกุลชูจิตารมย์ผู้ถวายที่ดินเพื่อการก่อตั้งครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 20  มีนาคม พ.ศ. 2520 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ  พระราชทานพระนามาภิไธยในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมารว่า“มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย”และทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อว่า“ม.ว.ก.”ภายใต้สีมาธรรมจักรพร้อมทั้งพระราชทานสุภาษิตว่า“วชิรูปมจิตฺโต  สิยา”(พึงเป็นผู้มีจิตแกร่งประดุจเพชร)ให้เป็นตราประจำวิทยาลัย

 ด้านการศึกษา

          มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาคือหลักสูตรศาสนบัณฑิตใช้อักษรย่อว่า ศน.บ. โดยใช้ระบบการจัดการศึกษาตามหลักสูตร    ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ได้เปิดการเรียนการสอนตามลำดับดังต่อไปนี้ 

          ในปี 2526 ได้เปิดสอนวิชาศาสนาบังคับและวิชาพื้นฐานทั่วไป ใน 2 ระดับชั้นคือ ศาสนศาสตร์ปีที่ 1 และปีที่2 ส่วนชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ต้องเข้าไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร  กรุงเทพฯ(รุ่นที่ 4 ) เป็นรุ่นสุดท้ายที่เข้าไปศึกษาต่อที่  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  กรุงเทพฯ

          ในปี 2531 เปิดการเรียนการสอน 2สาขาวิชาคือสาขาวิชาภาษาอังกฤษ(คณะมนุษยศาสตร์)และสาขาวิชาสังคมวิทยา (คณะสังคมศาสตร์) ในปี  2534เปิดการเรียนการสอนเพิ่มอีก1สาขาวิชาคือ สาขาวิชาการภาษาอังกฤษ(คณะศึกษาศาสตร์)ในปี 2542เปิดการเรียนการสอนเพิ่ม 1สาขาวิชาคือ สาขาวิชาปรัชญา (คณะศาสนาและปรัชญา) และ

          ในปี 2545 เปิดการสอนเพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือสาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง(คณะสังคมศาสตร์) 

ในปี 2549 วิทยาเขตได้ขออนุมัติเปิดโครงการบัณฑิตศึกษา  ได้เปิดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งได้เปิดการเรียนการสอน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา, สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง และสาขาวิชาการจัดการศึกษา(บริหารการศึกษาในปัจจุบัน)

ปัจจุบันในระดับปริญญาตรีมีการเรียนการสอน3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ(คณะศึกษาศาสตร์)  สาขาวิชาการปกครอง (คณะสังคมศาสตร์)  และสาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม (คณะศาสนาและปรัชญา)

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ปรัชญา/ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ

ปรัชญา/ปณิธาน
ความเพียรเลิศ  อดทนเยี่ยม  เปี่ยมกตัญญู  รู้สัจจะ

วัตถุประสงค์หลัก (Objectives)

  1. ผลิตบัณฑิตพระภิกษุ/สามเณรให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อจรรโลง พระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ
  2. ผลิตบัณฑิตคฤหัสถ์ทุกคน ให้เป็นคนดี คือ คิดดี พูดดี และทำดีตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา

บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นประจักษ์ชัดเจนต่อสังคมไทยและสังคมโลก

  1. ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำเพื่อสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งทางสังคมศาสตร์และมีคุณภาพทั้งด้านความรู้และความประพฤติ
  2. ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำเพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา การเรียนรู้และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท
  3. ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำเพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งสมานฉันท์ความเอื้ออาทรต่อกันและความสามัคคีโดยใช้หลักสาราณียธรรมและพรหมวิหารธรรม
  4. สร้างระบบการบริหารองค์การให้เป็นองค์การที่มีลักษณะของความเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนาและมีมาตรฐานระดับสากล

 วิสัยทัศน์

         เป็นสถานศึกษาและปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ฝึกอบรมปฏิบัติจิตภาวนา ส่งเสริมและให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

 พันธกิจ

         มุ่งผลิตบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาที่ประกอบด้วยความรู้ดีทั้งทางธรรมและทางโลก ความสามารถดีในการคิด พูด ทำ มีคุณธรรมและจริยธรรมประจำใจ  สามารถควบคุมกายวาจาใจให้สงบเย็นมีอุดมคติและมีอุดมการณ์มุ่งอุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม

 

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

โครงสร้างองค์กร/โครงสร้างการบริหารจัดการ/แผนภูมิการแบ่งส่วนราชการ

          โครงสร้างการบริหาร (Organization Chart, Administrative Chart, และActivity Chart)

แผ่นภาพโครงสร้างการแบ่งส่วนงานของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราช-วิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกำกับของรัฐบาลมีสภาพเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรมสังกัดคณะกรรมการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ มีโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงาน ดังนี้

โครงสร้างการแบ่งส่วนงานการบริหาร

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

 

แผนภาพที่ 1  แผนภูมิโครงสร้างการบริหารงานของ วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

ตามหน้าที่ (Activity Chart)

ก.  สำนักงานวิทยาเขต

 

 

สำนักงานวิทยาเขต

          มีผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต  เป็นผู้กำกับดูแลปฏิบัติหน้าที่ตามที่รองอธิการบดีวิทยาเขตและผู้ช่วยอธิการบดีมอบหมาย ดำเนินกิจการตามนโยบายของมหาวิทยาลัย บริหารงบประมาณเพื่อกิจการของวิทยาเขต  บริหารงานบุคคล งานการเงินและการบัญชี  การติดตามประสานงานแผนและงบประมาณ และหน้าที่อย่างอื่นตามที่รองอธิการบดีวิทยาเขตมอบหมาย  โดยมีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบดังนี้

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

1 .  งานประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ดังนี้

1.1  แจ้งข่าวความเคลื่อนไหวภายในมหาวิทยาลัย

1.2  ติดต่อประสานงานด้านสื่อมวลชน

1.3  เขียนข่าวป้ายโฆษณา แผ่นประกาศและประชาสัมพันธ์ตามที่ได้รับมอบหมาย

1.4  ติดตามข่าวสาร หรือข้อมูลจากมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาต่างๆ และนำมาเผยแพร่

1.5 แจ้งข่าวสารและประกาศของทางราชการ

1.6 หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

2 .  งานสารบรรณมีหน้าที่ดังนี้

  • จัดลงทะเบียน รับ-ส่ง หนังสือราชการของวิทยาเขต

2.2 จัดเก็บหนังสือเอกสารราชการและเอกสารอื่นๆ ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยดำเนินการจัดส่งหนังสือภายในและภายนอก

2.3  ทำหน้าที่กรองงานเอกสารก่อนนำเสนอรองอธิการบดีลงนาม

2.4  ร่างและพิมพ์หนังสือ คำสั่ง ประกาศและระเบียบต่างๆ ของวิทยาเขต

2.5  ควบคุมและให้บริการ การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องถ่ายเอกสารและอุปกรณสำนักงาน

2.6  ดำเนินงานธุรการตามที่ได้รับมอบหมาย  ตามระเบียบงานสารบรรณของมหาวิทยาลัย

2.7  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานบริหารงานบุคคลมีหน้าที่ดังนี้

3.1  ดำเนินการบรรจุ การโอนย้าย การลาทุกประเภทตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

3.2  จัดทำทะเบียนประวัติบุคลากร ดำเนินการลงโทษทางวินัย การขอเลื่อนตำแหน่ง ทางวิชาการ การปรับลดเงินเดือนและออกหนังสือรับรองให้บุคลากร

3.3  จัดทำรายงานทำงาน บันทึกเวลาการทำงาน วันลา และวันขาดเสนอรองอธิการบดีเป็นรายเดือน

3.4  จัดทำสถิติบุคลากร เช่น การขาด การลา การมาสาย ผลงาน การผ่านงาน

3.5 ปฏิบัติงานตามระเบียบบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย

3.6  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานการเงินและบัญชีมีหน้าทีดังนี้

4.1  ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี ทั้งในงบประมาณและนอกงบประมาณ

4.2  ตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

4.3  จัดทำฎีกาเบิกเงิน จัดทำบัญชีเบิกจ่ายจากส่วนกลาง

4.4  จัดทำบัญชีงบดุลรายปี

4.5  ควบคุมยอดงบประมาณ และเงินทดรองจ่าย และเบิกจ่ายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

4.6  ดูแลและให้บริการด้านสวัสดิการแก่บุคลากร

4.7  ดำเนินงานตามระเบียบบริหารการเงิน  และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมาย

4.8  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

 

5.งานพัสดุมีหน้าที่ ดังนี้

5.1  ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามงบประมาณแหล่งต่างๆ ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

5.2  จัดลงทะเบียน การจัดเก็บ  การซ่อมบำรุงรักษา การเบิกจ่าย การยืม และการจำหน่ายวัสดุครุภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย

5.3  ควบคุมดูแลห้องเก็บพัสดุครุภัณฑ์ของวิทยาเขต

5.4  ติดตามเรื่องการตรวจรับเพื่อเบิกจ่ายเงิน

5.5  ดำเนินการจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะและเอกสารประกอบการจัดซื้อจัดจ้าง

5.6  ทำรายงานขออนุมัติจัดซื้อ จัดจ้าง

5.7  จัดเตรียมหลักฐานเกี่ยวกับการทำสัญญา จัดซื้อจัดจ้าง

5.8  สำรวจ ตรวจนับพัสดุ ประจำปี

5.9  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

 6.งานอาคารสถานที่และยานพาหนะมีหน้าที่ ดังนี้

6.1  ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลโครงสร้างอาคารสถานที่ งบประมาณ และประเภทการก่อสร้างเพื่อจัดทำงบประมาณซ่อมแซมหรือต่อเติม

6.2  ดูแลความปลอดภัย ความสะอาด  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายใน และภายในอาคารเรียน สนามหญ้า สวนหย่อม  ต้นไม้ และไม้ประดับ

6.3  จัดหา/บริการสถานที่ประชุม/อบรม/สัมมนาและตกแต่งสถานที่ในงานพิธีของ วิทยาเขต

6.4  จัดเก็บรวบรวมงานด้านสถาปัตย์และแบบก่อสร้าง

6.5  ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอาคารสถานที่ ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อมภายในวิทยาเขต

6.6  ดำเนินการซ่อมแซมตกแต่งยานพาหนะ

6.7 ซ่อมบำรุง รักษา และบริการการใช้รถยนต์แก่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ในการเดินทางไปปฏิบัติราชการ

6.8 รวบรวมหลักฐานการใช้รถยนต์ หลักฐานการซ่อมแซมและใบเสร็จค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเสนอขอตั้งเบิกงบประมาณ

6.9  ดำเนินการต่อทะเบียนรถยนต์ และการโอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

6.10หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานติดตามและประสานงานมีหน้าที่ ดังนี้

7.1  ดำเนินการตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

7.2  ทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับเรื่องของวิทยาเขต

7.3  ควบคุมและวิเคราะห์การจัดทำงบประมาณ

7.4  เร่งรัด และติดตามเรื่องที่วิทยาเขตเสนอ

7.5  เสนองานตามคำสั่งอธิการบดีและรองอธิการบดีวิทยาเขต

7.6  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานแผนและงบประมาณมีหน้าที่ ดังนี้

8.1  รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ของวิทยาเขต ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งด้านการบริหารการสนับสนุนด้านการเรียนการสอนและใช้ทรัพยากรต่างๆ รวบทั้งการจัดทำรายงานประจำปีของวิทยาเขต

8.2  พิจารณาวางแผนทั้งระยะสั้นระยะยาว รับผิดชอบการประเมิน และการปฏิบัติตามแผนรวมทั้งศึกษาวิเคราะห์หาแนวทางปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานพัฒนาของมหาวิทยาลัย

8.3  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. 9. งานประกันคุณภาพการศึกษา

9.1 จัดทำและพัฒนาระบบและเครื่องมือการประเมินผลการประกันคุณภาพการศึกษาให้ความร่วมมือและประสานงานกับทุกหน่วยงานในการจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง

9.2 จัดทำรายงานการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัยเพื่อรับการตรวจสอบภายใน

9.3 จัดทำการประเมินผลการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเพื่อรับการประเมินจากหน่วยงานภายนอก

9.4 ให้ความร่วมมือและประสานงานกับทุกหน่วยงานในการจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง

ประสานงานกับหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

9.5 จัดเก็บเอกสารที่ส่งมาถึงสำนักประกันคุณภาพการศึกษาและประสานงานด้านเอกสารในฝ่ายต่างๆของสำนักประกันคุณภาพการศึกษา

9.6 จัดรวบรวมเอกสารและฐานข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิง

 

ข.  วิทยาลัยศาสนศาสตร์

 

 

 วิทยาลัยศาสนศาสตร์

          มีผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เป็นผู้กำกับดูแลและรับผิดชอบ ทำหน้าที่ตามที่รองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีวิทยาเขตมอบหมาย มีภารกิจในการจัดการศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัย เสริมสร้างให้อาจารย์มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ โดยให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในฐานะความเป็นครู ส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนและผลิตบัณฑิตออกสู่สังคม การติดตามประเมินผลการศึกษา และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและหน้าที่อย่างอื่นตามที่รองอธิการบดีวิทยาเขตมอบหมาย โดยมีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้

 ฝ่ายบริหาร

1 . งานทะเบียนและวัดผลมีหน้าที่ดังนี้

1.1  ดำเนินการรับขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่และออกบัตรนักศึกษา

1.2  ดำเนินการจัดทำและออกเอกสารสำคัญแก่ผู้สำเร็จการศึกษาและใบรับรอง

1.3   ดำเนินการจัดทำเอกสาร หลักฐาน ข้อมูลประวัติการศึกษา

1.4   ตรวจสอบวุฒิการศึกษา คุณสมบัติทางการศึกษาของนักศึกษา

1.5   ดำเนินการรวบรวม ติดตามตรวจสอบเอกสารผลการสอบรายวิชา และแจ้งการสอบ

1.6   ดำเนินการขออนุมัติปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษา

1.7  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานกิจการนักศึกษามีหน้าที่ ดังนี้

2.1  ดำเนินการรับสมัคร สัมภาษณ์นักศึกษาและจัดทำบันทึกถ้อยคำ

2.2 ให้คำปรึกษา ควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมของชมรม กลุ่มนักศึกษา พร้อมทั้ง ส่งเสริมงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

2.3  ดำเนินการจัดปฐมนิเทศ ปัจฉิมนิเทศ นักศึกษา จัดห้องสอบและประสานงานการประสาทปริญญา  ตลอดถึงประสานกับกองกิจกรรมนักศึกษาภายนอกสถาบัน

2.4  ให้การแนะนำ ให้การปรึกษาแก่นักศึกษาในการตัดสินใจเลือกศึกษา การโอน การย้ายคณะวิชา และการยื่นคำร้องต่าง ๆ

2.5  ดำเนินการสอบสวนความประพฤตินักศึกษาผู้กระทำผิดระเบียบและลงโทษ

2.6  รวบรวมเอกสารเกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ เผยแผ่แก่นักศึกษาและวินิจฉัยระเบียบวินัยเพื่อคุ้มครองสิทธินักศึกษา

2.7  จัดเก็บประวัติ  ภูมิหลังนักศึกษา

2.8   ดำเนินการจัดกิจกรรม ระหว่างปิดภาคเรียน ภาคฤดูร้อน เวลาว่าง และในโอกาสต่างๆ

2.9  จัดทำแผนระยะ 3-5ปี เพื่อรองรับนักศึกษา ตามแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยและนำเสนอคณะกรรมการประจำวิทยาเขต

2.10  จัดทำทำเนียบนักศึกษาทุกรุ่นไว้เป็นหลักฐาน

2.11  ดูแลและประสานงานเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจของนักศึกษา

2.12  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานธุรการ/การพิมพ์ มีหน้าที่ ดังนี้

3.1  ทำหน้าที่เป็นสารบรรณของวิทยาลัยศาสนศาสตร์  

3.2  ร่างและพิมพ์หนังสือ โต้-ตอบ กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

3.3  ผลิตเอกสารและตรวจทางเอกสารในวิทยาลัยศาสนศาสตร์

3.4  ประสานงานกับสารบรรณสำนักงานวิทยาเขต

3.5  จัดพิมพ์/บันทึกเอกสารประกอบการสอน/คำบรรยายของอาจารย์สอน

3.6  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานประกันคุณภาพการศึกษา มีหน้าที่ดังนี้

4.1  ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามนโยบายมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

4.2 รวบรวมข้อมูล เอกสาร หลักฐาน ที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัยมหา-มกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

4.3 จัดเก็บเอกสาร ข้อมูล แยกเรื่องตามความจำเป็นเพื่อเป็นเอกสารประกอบตัวบ่งชี้ เพื่อสะดวกในการทำรายงานประจำปี

4.4 จัดทำรายงานประจำปี  ส่งต้นสังกัดตามกำหนด

4.5 มีหน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

 ฝ่ายจัดการศึกษา

มีหัวหน้าฝ่ายจัดการศึกษาเป็นผู้ควบคุมดูแลการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิต และส่งเสริมวิชาการของคณาจารย์ มีหน้าที่ ดังนี้

สาขาวิชา มีหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล และรับผิดชอบ มีหน้าที่  ดังนี้

  1. จัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตรของแต่ละสาขาวิชา
  2. จัดตารางสอน ชั่วโมงสอน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตร
  3. ดูแลการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตร
  4. ให้คำปรึกษาแนะนำคณาจารย์ในด้านการเรียนการสอน
  5. วิเคราะห์หลักสูตรและข้อสอบวิชาต่าง ๆ ในสาขาวิชาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  6. ทดสอบความถูกต้องและมาตรฐานของข้อสอบและการวัดผลวิชานั้นๆ ประเมิน วิเคราะห์ วิจัย แนวทางปรับปรุงและแก้ปัญหาทางด้านวิชาการ
  7. ร่วมมือกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์และประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนและการใช้วัสดุอุปกรณ์ในสาขาวิชานั้น ๆ
  8. ติดต่อประสานงานด้านการเรียนการสอนทั้งในและนอกวิทยาเขต
  9. รวบรวมเก็บหลักฐาน โครงการสอน แผนการเรียนการสอนของคณาจารย์หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

 ค.  ศูนย์บริการวิชาการ

 

 

ศูนย์บริการวิชาการ

          มีผู้อำนวยการศูนย์เป็นผู้กำกับดูแลและรับผิดชอบ ทำหน้าที่ตามที่รองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีวิทยาเขตมอบหมายมีภารกิจในการให้การบริการวิชาการ การประชาสัมพันธ์ การวิจัย การเผยแผ่ผลงาน การอบรมสัมมนาและข้อมูลสารสนเทศ ดำเนินงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ดังนี้

ฝ่ายบริหารทั่วไปและบริการวิชาการ

  1. งานธุรการ มีหน้าที่ ดังนี้

1.1  ทำหน้าที่เป็นสารบรรณของศูนย์บริการวิชาการ

1.2  ร่างและพิมพ์หนังสือโต้ – ตอบกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

1.3  ผลิตเอกสารและตรวจทานเอกสารในศูนย์บริการวิชาการ

1.4  กลั่นกรองและนำเสนอหนังสือ

1.5  ประสานงานกับงานสารบรรณสำนักงานวิทยาเขต

1.6  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานฝึกอบรมและพัฒนา มีหน้าที่ดังนี้

2.1  ดำเนินงานเกี่ยวกับการอบรม ประชุมและสัมมนาของวิทยาเขต

2.2  จัดทำโครงการฝึกอบรม เตรียมเอกสารประกอบการบรรยาย ประสานงานเกี่ยวกับการฝึกอบรมรวมทั้งการประเมินผลของโครงการ

2.3  จัดหลักสูตรอบรมโครงการระยะสั้นเพื่อนำผลสู่การพัฒนาวิทยาเขต

2.4  จัดทำแผนพัฒนา/โครงการตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

2.5  จัดทำคำของบประมาณและแผนปฏิบัติการประจำปีตามที่ได้รับมอบหมาย

2.6  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานประชาสัมพันธ์ มีดังนี้

3.1  จัดทำนิทรรศการเผยแผ่ความรู้และกิจกรรมสำคัญของมหาวิทยาลัย

3.2 จัดทำวารสารหรือจุลสาร เพื่อเผยแผ่กิจกรรมและเผยแผ่รายงานประจำปี

3.3  เขียนข่าว ป้ายโฆษณา แผ่นประกาศและประชาสัมพันธ์ ตามที่ได้รับมอบหมาย

3.4  ติดตามข่าวสาร ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาต่าง ๆ นำมาเผยแผ่

3.5  แจ้งข่าวสาร และประกาศของทางราชการ

3.6  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

          4 .  งานวิจัย/ข้อมูลสถิติ/สารสนเทศ มีหน้าที่ดังนี้

4.1  ประสานงานเกี่ยวกับการวิจัยและศูนย์สารสนเทศในส่วนกลาง

4.2  เก็บรวบรวมประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เช่น นักศึกษา บุคลากร โปรแกรมการศึกษาและอาคารสถานที่

4.3  เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย

4..4   จัดหาทุนอุดหนุนการวิจัย ในงบประมาณและนอกงบประมาณและนำเสนอโครงการวิจัย

4.5  วิเคราะห์ความพร้อมในการเปิดหลักสูตรใหม่และหน่วยงานใหม่

4.6  ดูแลเรื่องการให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ เช่น ประวัติความเป็นมา เจ้าหน้าที่ นักศึกษา อาจารย์ โปรแกรมการศึกษา อาคารและสถานที่ ฯลฯ

4.7  ดูแลเรื่องสถิติข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

4.8  ให้ข้อมูลเพื่อประชาสัมพันธ์กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

4.9  จัดทำสารสนเทศและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงาน

4.10 ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลบัณฑิตที่จบการศึกษาออกไป

4.11 ติดตามและประเมินผลกิจกรรมโครงการของผู้บริการเพื่อเป็นข้อมูลในการบริหาร  

4.12 หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานห้องสมุด มีหน้าที่ดังนี้

5.1  วิเคราะห์หมวดหมู่และทำบัตรรายการ

5.2  ระวังรักษาหนังสือ สำรวจและตรวจสอบและทำบันทึกรายงาน

5.3  จัดหนังสือและสิ่งตีพิมพ์ให้สะดวกแก่การใช้

5.4  บริการให้ยืม-รับคืนหนังสือ บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

5.5  บริการเครื่องถ่ายเอกสาร บริการหนังสือจองและหนังสือสำรอง

5.6  บริการแนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการจัดทำรายชื่อหนังสือ

5.7  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานโสตทัศนูปกรณ์และสื่อ มีหน้าที่ดังนี้

6.1  ควบคุมดูแลและให้บริการห้องโสตทัศน์ศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์

6.2 จัดเก็บบำรุงรักษาสื่อการเรียนการสอน

6.3  ผลิตสื่อบริการนักศึกษา

6.4  เก็บภาพและถ่ายภาพกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย/วิทยาเขต ทั้งภาพนิ่งและ ภาพเคลื่อนไหว

6.5  นิเทศการใช้อุปกรณ์แก่เจ้าหน้าที่และอาจารย์ก่อนใช้งาน

6.6  บริการเครื่องเสียงและอุปกรณ์โสตทัศน์ศึกษาทั้งในและนอกสถานที่

6.7  หน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

  1. งานประกันคุณภาพการศึกษา มีหน้าที่ดังนี้

7.1  ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามนโยบายมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

7.2 รวบรวมข้อมูล เอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

7.3 จัดเก็บเอกสาร ข้อมูล แยกเรื่องตามความจำเป็นเพื่อเป็นเอกสารประกอบตัวบ่งชี้ เพื่อสะดวกในการทำรายงานประจำปี

7.4 จัดทำรายงานประจำปี  ส่งต้นสังกัดตามกำหนด

7.5 มีหน้าที่อย่างอื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

รายชื่อผู้บริหารวิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

  1. พระกิตติสารสุธี                           รองอธิการบดี
  2. พระครูวิภัชธรรมวิจิตร                   ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์
  3. พระครูพิศิษฏ์ธรรมนิเทศ                รักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ
  4. พระมหาโชควรรธน์อาภากโร           ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต
  5. ผศ.ดร.สำราญ ศรีคำมูล                 ผู้ช่วยอธิการบดี

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

                                                     หลักสูตรที่เปิดสอน

ลำดับที่

สาขาวิชาที่เปิดสอน

หลักสูตร

ระดับการศึกษา

รายชื่อหลักสูตร

1

สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

หลักสูตร 2563

ปริญญาตรี

ศิลปศาสตรบัณฑิต

2

สาขาวิชาการปกครอง

หลักสูตร 2563

ปริญญาตรี

รัฐศาสตรบัณฑิต

3

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

หลักสูตร 2562

ปริญญาตรี

ศึกษาศาสตรบัณฑิต

รวม

สาขาวิชาที่เปิดสอน 3 สาขาวิชา

จำนวน  3  หลักสูตร

1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา

ลำดับที่

คณะ/สาขา

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

รวม

บรรพชิต

คฤหัสถ์

บรรพชิต

คฤหัสถ์

บรรพชิต

คฤหัสถ์

คณะศาสนาและปรัชญา

 

 

 

 

 

 

 

1

สาขาวิชาปรัชญา

15

1

-

-

-

-

16

คณะสังคมศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

2

สาขาวิชาการปกครอง

33

162

-

-

-

-

195

คณะศึกษาศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

3

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

3

5

-

-

-

-

8

รวม

 

 

-

-

-

-

219

 

จำนวนนักศึกษาสำเร็จการศึกษา

สาขาวิชา

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา (รูป/คน)

2565

รวม

1.สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

-

-

2.สาขาวิชาการปกครอง

34

34

3.สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

-

-

รวม

34

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

จำนวนอาจารย์ประจำ/อาจารย์ประจำหลักสูตร

 

ที่

ชื่อ-นามสกุล

คณะ

สาขาวิชา

ตำแหน่ง

คุณวุฒิ

1

พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม

คณะศาสนาและปรัชญา

ปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

อาจารย์

ปริญญาเอก

2

พระมหากรธัช กมฺพุวณฺโณ

คณะศาสนาและปรัชญา

ปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

อาจารย์

ปริญญาโท

3

พระครูพิศิษฏ์ธรรมนิเทศ

คณะศาสนาและปรัชญา

ปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

อาจารย์

ปริญญาโท

4

พระครูธรรมธร มะลิน กิตฺติปาโล,ผศ.

คณะศาสนาและปรัชญา

ปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

ผศ.

ปริญญาโท

5

นายชาญพัฒน์  ขำขัน

คณะศาสนาและปรัชญา

ปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

อาจารย์

ปริญญาโท

6

ผศ.ดร.พนัด ด้วงติลี

คณะสังคมศาสตร์

การปกครอง

ผศ.

ปริญญาเอก

7

นายอาทิตย์  ชูชัย

คณะสังคมศาสตร์

การปกครอง

อาจารย์

ปริญญาโท

8

นายวรวุฒิ  สุขสมบูรณ์

คณะสังคมศาสตร์

การปกครอง

อาจารย์

ปริญญาโท

9

นายมนตรี  รอดแก้ว

คณะสังคมศาสตร์

การปกครอง

อาจารย์

ปริญญาเอก

10

นางสาวณฐภัทร  อยู่ประไพ

คณะสังคมศาสตร์

การปกครอง

อาจารย์

ปริญญาโท

11

นายสนิท  วงปล้อมหิรัญ

คณะศึกษาศาสตร์

การสอนภาษาอังกฤษ

อาจารย์

ปริญญาโท

12

พระมหาสายัณห์ เปมสีโล,ดร.

คณะศึกษาศาสตร์

การสอนภาษาอังกฤษ

อาจารย์

ปริญญาเอก

13

ผศ.ดร.สำราญ  ศรีคำมูล

คณะศึกษาศาสตร์

การสอนภาษาอังกฤษ

ผศ.

ปริญญาเอก

14

นางสาวนฤมล  ชุ่มเจริญสุข

คณะศึกษาศาสตร์

การสอนภาษาอังกฤษ

อาจารย์

ปริญญาโท

15

พระครูวินัยการโกวิท

คณะศึกษาศาสตร์

การสอนภาษาอังกฤษ

อาจารย์

ปริญญาโท

16

พระครูวิภัชธรรมวิจิตร

 

การปกครอง

อาจารย์

ปริญญาโท

17

นายไชยยา  เรืองดี

 

การปกครอง

อาจารย์

ปริญญาโท

อาจารย์ประจำ/อาจารย์ประจำหลักสูตร/บุคลากรสายสนับสนุน

 ที่

บุคลากรประจำ

ตำแหน่ง

1

พระสุธารักษ์  ปิยมาตย์

เจ้าพนักงานธุรการ

2

ว่าที่ ร.ต.กมลวิช  ภาคย์สุภาพ

เจ้าพนักงานธุรการ

3

นายไพรัตน์   ธรรมมิกะ

เจ้าหน้าห้องสมุด

4

นางสยุมพร  ชีพไธสง

นักวิชาการพัสดุ

5

นายอัศวิน  คงชำนาญ

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

6

นางสาวอุไร  เรืองดาว

บรรณารักษ์

7

นางสาวกชกร  กมลคร

นักวิเคราะห์แผนและนโยบาย

8

นางสาวทวีวัฒน์  ทองเงิน

นักวิชาการการเงินและบัญชี

9

นางประทิน  อุปนันท์

เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพการศึกษา

10

นางสาวรัติกาล  บุณยานันต์

นักวิชาการการเงินและบัญชี

11

นายณัฐฎ์ชัยภูษิต  ศรีมาลี

เจ้าพนักงานธุรการ

12

นายสมเกียรติ  แสงสว่าง

พนักงานขับรถ

13

นายปรีชา  เรืองดาว

นักการภารโรง

 

 

 

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

ลำดับ

ภารกิจ

งบดำเนินการ

รวม

หมายเหตุ

งบประมาณ

เงินรายได้

1

ผลิตบัณฑิต

1,514,000

484,600

1,998,600

 

2

วิจัย

-

-

-

 

3

บริการวิชาการ

520,200

-

520,200

 

4

ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

262,600

-

262,600

 

5

บริหารจัดการ

1,330,000

2,128,800

3,458,800

 

รวม

3,626,800

2,613,400

6,240,200

 

 

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย และ อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย

1)  อัตลักษณ์

          บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติและนานาชาติ

2)  เอกลักษณ์

          บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติและนานาชาติ

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

องค์ประกอบที่ 1

  1. ควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
  2. ควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

 

  1. ควรกำกับติดตามแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกอย่างใกล้ชิด โดยสนับสนุนงบประมาณ หรือจัดหาแหล่งทุนสนับสนุนในการพัฒนาอาจารย์
  2. ควรกำหนดหัวข้อให้ความรู้สำหรับศิษย์เก่าที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานหรือสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันโดยอาจสำรวจความต้องการของศิษย์เก่าและนำมาเป็นแนวทางในการให้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นแก่ศิษย์เก่า
  3. ควรทบทวนการจัดทำแผนจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยกำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่มุ่งเป้าผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษา

 

2.1 การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ประจำหลักสูตรทั้ง 3 สาขาวิชา ได้เสนอขอเพื่อกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งผ่านกระบวนการสอบสอน ในระดับ ผศ. จำนวน  6 รูป/คน โดยแยกเป็นสาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 1 รูป สาขาวิชาการปกครอง จำนวน 2 คน และสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 3 รูป/คน ซึ่งขณะนี้ จำนวน 2 รูป/คน อยู่ระหว่างการตรวจสอบผลงาน รอประกาศผล และอีก 4 รูป/คน อยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารเพิ่มเติมเพื่อให้คณะกรรมการตรวจประเมินได้พิจารณา

2.2 ในการบริการและกิจกรรมนักศึกษา ซึ่งผูกโยงไปสู่ศิษย์เก่า ซึ่งวิทยาเขตได้ทำการรวบรวมข้อมูลศิษย์เก่าไว้บนเว็บไซต์ของวิทยาเขต 

องค์ประกอบที่ 2

  1. ควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์สร้างผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น
  2. ควรสรรหาแหล่งทุนภายนอกสนับสนุนการสร้างผลงานวิจัย

 

  1. ควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ขอทุนจากแหล่งทุนภายนอก วิทยาเขตจัดหาข้อมูลแหล่งทุนภายนอกเพื่อประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ทราบ
  2. ควรร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัยและเตรียมจัดทำโครงร่างขอเสนองานวิจัยที่สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณได้ทันท่วงทีเมื่อมีแหล่งทุนวิจัย

1.วิทยาเขตได้ส่งเสริมให้อาจารย์ ยื่นขอเงินสนับสนุนงานวิจัยจากหน่วยงานภายใน ได้แก่ สถาบันวิจัยญาณสังวร ในปี 2565 และได้รับเงินทุนอุดหนุนงานวิจัยจำนวน 640,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 497,500 บาท (จากปี 2564 เงินวิจัย 142,500 บ.) 

 

องค์ประกอบที่ 3

  1. ควรกำหนดตัวบ่งชี้ระดับแผน ระดับโครงการ รวมทั้งจัดทำคู่มือการให้บริการวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน การกำกับติดตาม ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
  2. ควรหาแนวทางร่วมกันระหว่างชุมชนและวิทยาเขตเพื่อทบทวนและปรับแผนให้เหมาะสมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19
  1. ควรจัดทำแผนบริการ โดยกำหนดตัวบ่งชี้ระดับแผน ระดับโครงการ รวมทั้งจัดทำคู่มือการให้บริการวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน การกำกับติดตาม ให้เกิดสังคมที่ยั่งยืนสืบไป
  2. ควรหาแนวทางร่วมกันระหว่างชุมชนและวิทยาเขตเพื่อทบทวนและปรับแผนให้เหมาะสมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19

1.คณะกรรมการบริการวิชาการได้จัดทำแผนโดยการกำหนดตัวบ่งชี้ระดับแผน และระดับโครงการ รวมถึงการจัดทำคู่มือการบริการวิชาการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดทำโครงการต่อไป

2.มหาวิทยาลัยได้มีมาตรการผ่อนปรน การจัดโครงการภายในที่ตั้ง แต่ยังคงมีมาตรการป้องกันการแผ่เชื้อระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยอยู่ภายใต้การเว้นระยะห่างทางสังคม และตรวจ ATK ก่อนเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม อย่างน้อย 24 ชั่วโมง

องค์ประกอบที่ 4

    ควรกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยอย่างยั่งยืน โดยจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระยะยาวให้ครอบคลุมบุคลากรทุกภาคส่วน มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ รวมทั้งแสดงการบูรณาการกับพันธกิจอื่นให้ชัดเจนในผลการดำเนินงาน ทั้งนี้ ควรหาแนวทางการปรับแผน เพื่อให้เหมาะสมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19

 

ควรจัดแผนทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม ในระยะยาว โดยให้ครอบคลุมบุคลากรทุกภาคส่วน รวมถึงการบูรณาการกับพันธกิจอื่นๆให้มีความชัดเจน และมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19

คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้จัดทำแผนในระยะยาว เพื่อให้ครอบคลุมบุคลากรทุกภาคส่วน และยังคงมาตรการป้องกันกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19

องค์ประกอบที่ 5 ควรนำข้อมูลของการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินต้นทุนค่าใช้จ่ายมาวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของแต่ละหลักสูตร เพื่อจัดทำแผนการรับนักศึกษาให้ได้ตามจุดคุ้มทุนนั้น ควรนำการจัดการความรู้ที่ครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัยไปเผยแพร่เพื่อนำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดี และการนำไปปรับใช้ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม

- ควรมีการวิเคราะห์ทางการเงิน ที่สามารถสะท้อนหน่วยงานของการผลิตบัณฑิตแต่ละคนของแต่ละหลักสูตร เพื่อจะได้ทราบจุดคุ้มทุน

- วิทยาเขตมหาวิราลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนกับวิทยาเขตต่าง ๆ ในการกำหนดแนวทางวิเคราะห์ทางการเงิน เพื่อหาข้อมูลต้นทุนค่าใช้จ่ายและจุดคุ้มทุนของแต่ละหลักสูตร 

- วิทยาเขตมหาวิราลงกรณราชวิทยาลัย มีพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัยไปเผยแพร่เพื่อนำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดี โดยการผลักดันให้คณาจารย์มีการพัฒนาการสร้าง E-book เพื่อให้การเผยแผ่เอกสารประกอบการสอนแก่นักศึกษา รวมทั้งผลงานด้านงานวิจัยด้วย และแพร่หลายสู่สาธารณชนภายนอกให้รับรู้

 

สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.64
3.64
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
3.68
3.68
ไม่บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
1.47
1.47
ไม่บรรลุ
1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 การส่งเสริมสนับสนุน บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร
2
2
2
บรรลุ
1.7 การส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา
2
5
5
บรรลุ
1.8 ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีหรือธรรมศึกษาชั้นตรีระดับอุดมศึกษา
2
5.00
5.00
บรรลุ
1.9 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
3.85
3.85
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
4
4
ไม่บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
5
5
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
2.4 ผลงานงานวิจัยและ/หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Knowledge Contribution for Intellectual and Moral Development)
5
5
บรรลุ
2.5 บุคลากรที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Morality Role Model)
0
0
บรรลุ
2.6 ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย (Knowledge Contribution from Intellectual and Moral Cultivation Network)
1
1
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.33
3.33
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration Ecosystem for Sustainable Social Development)
2
5
5
บรรลุ
3.2 จำนวนหน่วยงานหรือองค์กรชุมชนเป้าหมาย ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตามแผนบริการวิชาการ
2
5
5
บรรลุ
3.3 งบประมาณ/ทรัพยากรวิจัยเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Funding for Knowledge Creation in Intellectual and Mortal Development)
2
0
0
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.33
3.33
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา
2
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (20 ตัวบ่งชี้)
3.79
3.79

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 8 2.58 4.25 4.32 3.85 ดี
2 6 5.00 4.00 2.75 3.33 ปานกลาง
3 3 - 5.00 2.50 3.33 ปานกลาง
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 20 3.38 4.56 3.08 3.79 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดีมาก ปานกลาง ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.603.425.005.004.503.91
2563 3.655.005.005.004.504.30
2564 3.993.565.005.005.004.20
2565 3.853.333.335.005.003.79
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริม :

  1. วิทยาเขตฯมีกระบวนการในการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษา และนักศึกษาเป็นผู้เสนอและจัดทำโครงการเอง จัดทำเป็นแผนที่มีการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม และนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาที่ครอบคลุมการพัฒนานักศึกษา อาจารย์ สื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ รวมถึงครอบคลุมกิจกรรมในทุกด้าน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยควรวิเคราะห์เชิงลึกถึงปัญหาสาเหตุที่ทำให้บางโครงการไม่บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งควรมีกิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านภาษาและด้านดิจิทัล เพื่อให้นักศึกษา/บัณฑิต สอบผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR ในระดับ B1 หรือสูงขึ้นตามข้อสอบมาตรฐานที่ยอมรับระดับชาติและระดับสากล ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับเกณฑ์ที่กำหนด
  2. วิทยาเขตฯมีกระบวนการส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนา และจัดกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนา มีบัณฑิตที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีร้อยละ 100 ทั้งนี้อาจเสริมโดยบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาให้กับชุมชนในท้องถิ่นใกล้มหาวิทยาลัยร่วมด้วย

ข้อเสนอแนะ :

  1. วิทยาเขตฯควรส่งเสริมการเพิ่มคุณวุฒิและการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ โดยการจัดทำแผนพัฒนาเป็นรายบุคคลและกำกับติดตามแผนการศึกษาต่อและการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์อย่างใกล้ชิด เพื่อเพิ่มจำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
  2. วิทยาเขตฯควรยกระดับงานพัฒนานักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการนำระบบประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ในการจัดทำแผนและโครงการต่างๆ กำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนและโครงการที่มีความท้าทายและสามารถวัดผลการจัดกิจกรรมที่บ่งชี้การสร้างเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตได้อย่างเป็นรูปธรรม
  3. วิทยาเขตฯควรมีช่องทางในการสำรวจความต้องการของศิษย์เก่า เพื่อการกำหนดหัวข้อการให้ความรู้สำหรับศิษย์เก่าที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานหรือสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันหรือสถานการณ์ในอนาคต
  4. วิทยาเขตฯควรวางแผนการดำเนินงานแบบมุ่งเป้า สำหรับระดับหลักสูตร เพื่อให้ มีวิธีการที่สอดรับกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLO) และมาตรฐานผลการเรียนรู้รายชั้นปี (YLO) เพื่อให้รับกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
  5. วิทยาเขตควรกำหนดให้อาจารย์ในแต่ละหลักสูตรได้จัดทำผลลัพธ์การเรียนรู้ (CLO) แต่ละรายวิชา แทนผลการเรียนรู้ 5 ด้าน
  6. วิทยาเขตฯควรพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนให้นักศึกษามีทักษะการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมตามศาสตร์ โดยดำเนินการแบบมีทิศทางและมุ่งผลลัพธ์ในทุกคณะ ทุกหลักสูตรและทุกวิชาเอก ซึ่งสามารถดำเนินการโดยศึกษาความต้องการของชุมชน/สถานศึกษา วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อจัดทำนวัตกรรมในลักษณะบูรณาการศาสตร์หรือเฉพาะศาสตร์ นำไปสู่การใช้ประโยชน์ และติดตามผลการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการทำงานทั้ง ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริม :

  1. คณาจารย์มีศักยภาพในการสร้างผลงานวิจัยและได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก (ร้อยละ 84.375) ควรส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์มีการเผยแพร่ผลงานในระดับชาติและนานาชาติ
  2. ผลงานวิจัยมีลักษณะเด่นในด้านพัฒนาปัญญาและคุณธรรม ควรส่งเสริมให้อาจารย์ทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างหลักสูตรเพื่อสร้างงานวิจัยในลักษณะบูรณาการเป็นชุดโครงการวิจัย

 

     จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะ :

  1. จำนวนนักวิจัยในวิทยาเขตฯมีน้อย ควรพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์/สนับสนุนให้อาจารย์สร้างผลงานวิจัยของตนเองเพิ่มขึ้น โดยให้นักวิจัยรุ่นพี่ ร่วมสร้างนักวิจัยใหม่ เปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่เข้าร่วมทีมทำวิจัยด้วยกัน และนำไปต่อยอดเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้
  2. วิทยาเขตฯควรร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัยในลักษณะการบูรณาการระหว่างศาสตร์เป็นชุดโครงการ และเตรียมจัดทำโครงร่างข้อเสนองานวิจัยที่สามารถยื่นของบประมาณสนับสนุนได้ทันทีเมื่อมีแหล่งทุน
  3. พัฒนาคุณภาพงานวิจัยของอาจารย์ให้มีความโดดเด่นด้านการประยุกต์ (พุทธนวัตกรรม) ใช้หลักพระพุทธศาสนากับศาสตร์แขนงอื่นเป็นที่สนใจใช้ในการอ้างอิงของบุคคลภายนอก
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริม :

วิทยาเขตฯมีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับเครือข่าย ตั้งแต่ปี 2563 จัดทำระบบและกลไก การบริการวิชาการเพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมประพฤติให้กลับตนเป็นคนดีสู่สังคม โดยการจัดทำแผนบริการฯ ร่วมกับชุมชนที่สอดคล้องกับจุดเน้นของวิทยาเขตฯ มีการพัฒนาปรับปรุง ทั้งนี้ วิทยาเขตฯควรหาแนวทางร่วมกันเพื่อทบทวนและปรับแผนให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ เพื่อยังคงให้เกิดผลลัพธ์ที่นำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

 

     จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะ :

วิทยาเขตฯควรนำเสนอข้อมูลโดยสรุปในรายงานผลการดำเนินงานในเล่ม SAR ของชุมชนเป้าหมายที่ได้ รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (3 ปีขึ้นไป) เพื่อแสดงผลการให้บริการตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา รวมถึงด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริม :

วิทยาเขตฯให้ความสำคัญกับพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมกับความเป็นไทย โดยมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการทำนุศิลปะ วัฒนธรรมและพระพุทธศาสนาอย่างชัดเจน จัดทำแผนและโครงการตามวันทางพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอนและเป็นที่เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นของคณาจารย์ นักศึกษา และชุมชนในท้องถิ่น

     จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะ :

วิทยาเขตฯควรแสดงผลการบูรณาการระหว่างโครงการที่จัดในด้านศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทยกับพันธกิจอื่นๆ โดยระบุรายละเอียดของการบูรณาการเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง เพื่อการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบองค์รวมต่อไป

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริม :

  1. วิทยาเขตฯมีศาสตร์ด้านพระพุทธศาสนาที่เอื้อต่อการพัฒนาท้องถิ่น สามารถนำไปดำเนินงานแบบมุ่งผลลัพธ์ ยกระดับคุณภาพการบริหารงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาท้องถิ่น เน้นให้บัณฑิตเรียนรู้ชีวิต เรียนรู้สังคม เรียนรู้โลก
  2. วิทยาเขตฯมีการคำนวณข้อมูลทางการเงินของแต่ละสาขาที่ชัดเจน ทั้งต้นทุนต่อหน่วยและสัดส่วนเพื่อพัฒนานักศึกษา

 

     จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะ :

  1. วิทยาเขตฯควรนำข้อมูลทางการเงินที่ได้มาวิเคราะห์ความคุ้มค่า เพื่อให้ทราบโอกาสในการแข่งขันกับสถาบันอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง
  2. วิทยาเขตฯควรจัดการความรู้ทั้งด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดีสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาเขต ครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัยเป็นองค์ความรู้ โดยเผยแพร่และนำไปปรับใช้ให้เห็นผลได้อย่างชัดเจน
  3. วิทยาเขตฯควรใช้การประกันคุณภาพเป็นแนวทางให้คณาจารย์และบุคลากรมีส่วนร่วมในการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการในคณะเพิ่มมากขึ้น
  4. วิทยาเขตฯควรวางแผนการดำเนินงานแบบมุ่งเป้าเพื่อให้ทุกภาคส่วนในวิทยาเขต มีวิธีการที่สอดรับกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLO) และมาตรฐานผลการเรียนรู้รายชั้นปี (YLO) ของแต่ละหลักสูตร รวมถึงกำกับติดตามให้หลักสูตร ประเมินความสำเร็จทั้งระดับแผนและระดับโครงการ เพื่อนำผลไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทาง PDCA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทสัมภาษณ์

- น้องที่มาฝึกงานเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ มีทักษะดี คลอมคลุม อัธยาศัยดี

- บุตรที่มาเรียนคิดว่าหลักสูตรควรเพิ่มอะไรในส่วนไหนบ้าง

ตอบ ไม่มี อาจารย์เอาใจใส่ดี ทำงานปกติ มีคุณภาพอยู่แล้ว

- พอเราไปทำงานความรู้ที่ได้ไปพอไหม อยากให้หลักสูตรเพิ่มเติมอะไรให้กับรุ่นน้อง

ตอบ เพียงพอ และสามารถนำไปต่อยอดในชีวิตประจำวันได้

- มหาวิทยาลัยจะทำการเปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษาขึ้น เห็นว่าสมควรหรือไม่

ตอบ สมควร เพราะอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมีคุณภาพ จบ ดร. เยอะ และอาจจะเปิดหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารได้

ภาพถ่าย