Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2565

คณะสังคมศาสตร์


บทสรุปผู้บริหาร
บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบัน อุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.72         มีคุณภาพอยู่ในระดับดี  โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้

                   องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์รับนโยบายของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมาดำเนินการให้สอดคล้องกับมีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด คณะสังคมศาสตร์ได้ปรับปรุงมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ใช้ในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานวิชาการ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การรับรองวิทยฐานะและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ในส่วนของจำนวนอาจารย์นั้น คณะสังคมศาสตร์มีบุคลากรมีตำแหน่งทางวิชาการจำนวนน้อย ดังนั้น   จึงควรวางแผนสนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานทางวิชาการ เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการให้มากยิ่งขึ้น   คณะสังคมศาสตร์ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 3.81 อยู่ในระดับดี

                   องค์ประกอบที่ 2  งานวิจัย คณะสังคมศาสตร์มีบุคลากรอาจารย์ประจำ โดยมีสถาบันวิจัยญาณสังวรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยด้านการวิจัยให้คณะสังคมศาสตร์ การวิจัยมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 3.17 อยู่ในระดับปานกลาง

                   องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ คณะแต่งตั้งคณะกรรมการบริการทางวิชาการแก่สังคม เพื่อวางระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม มีหลักเกณฑ์การให้บริการวิชาการแก่สังคม ดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยจัดทำเป็นโครงการและผลการประเมินบริการวิชาการที่บูรณาการการเรียนการสอน       และรายงานผลการดำเนินงาน โดยคณะควรบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัย ประเมินผลความสำเร็จและนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม คณะสังคมศาสตร์มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 อยู่ในระดับปานกลาง

         องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา และสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา ซึ่งนอกจากการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา กับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการ และสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา และมีผลงานเป็นที่ยอมรับ คณะสังคมศาสตร์ มีผลการประเมินตนเอง    ในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

         องค์ประกอบที่ 5 การบริหารและการจัดการ คณะสังคมศาสตร์มีการรายงานผลการประเมินตนเองต่อคณะกรรมการประจำคณะ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กำหนดนโยบาย ทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ สนับสนุนให้บุคลากรในคณะ ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีการนัดประชุมโดยคณบดีเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ทางการบริหาร

                    ในด้านการพัฒนาคณะสังคมศาสตร์สู่มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ คณะสังคมศาสตร์ ควรมีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยอย่างน้อยครอบคลุม  พันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของ   ผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี และนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมา ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

สำหรับด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ ควรมีการสร้างเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และวางแผนระบบสารสนเทศที่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ การเงิน และสามารถใช้ในการดำเนินงานด้านคุณภาพระหว่างมหาวิทยาลัย หรือสร้างเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนอื่น ๆ และนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบสารสนเทศ มีการวางระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน           ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจของคณะสังคมศาสตร์ โดยการประกาศนโยบายและแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ให้บุคลากร คณาจารย์ ได้ทราบแนวทางระบบและกลไกเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งคณะสังคมศาสตร์ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับบุคลากร เพื่อให้อาจารย์ทุกคณะและทุกส่วนงานสามารถนำผลงานวิจัยนั้นไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาต่อไป คณะสังคมศาสตร์มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 5 อยู่ในระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

1.1 ชื่อส่วนงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

คณะสังคมศาสตร์  เป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ    มีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคณะดังนี้

1.1.1 ชื่อคณะ    คณะสังคมศาสตร์

ภาษาไทย        : คณะสังคมศาสตร์

ภาษาอังกฤษ     : FACULTY OF SOCIAL SCIENCES

อักษรย่อ คือ SO

1.1.2 สถานที่ตั้ง เลขที่ 248 อาคารสมเด็จพระวันรัต ถนนศาลายา-นครชัยศรี 

ตำบล ศาลายา อำเภอ พุทธมณฑล  จังหวัด นครปฐม   73170

โทรศัพท์          02 – 444 - 6000 ต่อ 1147 - 1148     

โทรสาร           02 -444-6080 

Website         www.Social.mbu.ac.th

1.2 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ

1.2.1 ปรัชญา   (Philosophy)

                   ความรู้คู่คุณธรรมนำพัฒนาสังคม

1.2.2 ปณิธาน  (Aspiration)

                   สร้างบัณฑิตให้รู้คิด รู้ทำ สร้างสรรค์สังคม

1.2.3 วิสัยทัศน์ (Vision Statements)

          มุ่งสร้างองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ เพื่อพัฒนาสังคมตามแนวทางพระพุทธศาสนา

1.2.4 พันธกิจ (Mission Statements)

พันธกิจที่ 1  ผลิตบัณฑิตด้านสังคมศาสตร์ที่มีรับผิดชอบต่อสังคม  

พันธกิจที่ 2 สร้างสรรค์ธรรมวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างสุขภาวะทางสังคมอย่างยั่งยืน

พันธกิจที่ 3 บริการวิชาการด้านสังคมศาสตร์และหลักธรรมเพื่อเป็นที่พึ่งแก่สังคม

พันธกิจที่ 4 ทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยตามวิถีพุทธ     

พันธกิจที่ 5 การบริหารและพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล   

1.3 เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต                        

เอกลักษณ์

บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

การชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคม 2 เรื่อง

  1. ภายในมหาวิทยาลัย จิตสาธารณะ หรือ จิตสำนึกทางสังคม
  2. ภายนอกมหาวิทยาลัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวพระราชดำรัสต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคม

อัตลักษณ์

บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ

1.2.1 ปรัชญา   (Philosophy)

                   ความรู้คู่คุณธรรมนำพัฒนาสังคม

1.2.2 ปณิธาน  (Aspiration)

                   สร้างบัณฑิตให้รู้คิด รู้ทำ สร้างสรรค์สังคม

1.2.3 วิสัยทัศน์ (Vision Statements)

          มุ่งสร้างองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ เพื่อพัฒนาสังคมตามแนวทางพระพุทธศาสนา

1.2.4 พันธกิจ (Mission Statements)

พันธกิจที่ 1  ผลิตบัณฑิตด้านสังคมศาสตร์ที่มีรับผิดชอบต่อสังคม  

พันธกิจที่ 2 สร้างสรรค์ธรรมวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างสุขภาวะทางสังคมอย่างยั่งยืน

พันธกิจที่ 3 บริการวิชาการด้านสังคมศาสตร์และหลักธรรมเพื่อเป็นที่พึ่งแก่สังคม

พันธกิจที่ 4 ทำนุบำรุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยตามวิถีพุทธ     

พันธกิจที่ 5 การบริหารและพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล   

1.3 เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต                        

เอกลักษณ์

บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

การชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคม 2 เรื่อง

  1. ภายในมหาวิทยาลัย จิตสาธารณะ หรือ จิตสำนึกทางสังคม
  2. ภายนอกมหาวิทยาลัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวพระราชดำรัสต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคม

อัตลักษณ์

บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

แผนภูมิโครงสร้างการแบ่งส่วนงาน

 

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

 

 

1.5  รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร และกรรมการสภาชุดปัจจุบัน

รายนามคณะกรรมการประจำคณะสังคมศาสตร์

  1. คณบดีคณะสังคมศาสตร์ (พระมหาสุรไกร ชินพุทฺธิสิริ) ประธานกรรมการ
  2. รองอธิการบดี (พระครูปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ) กรรมการ
  3. หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา           กรรมการ
  4. หัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์           กรรมการ        
  5. ดร.นภารัตน์ กิตติรัตนมงคล                              กรรมการ
  6. นายปริญญา ตรีธัญญา                                    กรรมการ
  7. นางสาวณัฐชยา กำแพงแก้ว                              กรรมการ
  8. พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์, ดร.                           กรรมการ
  9. รศ.ดร.สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ                              กรรมการ
  10. รศ.อภิญญา เวชยชัย                                       กรรมการ
  11. พระครูธรรมคุต                                             กรรมการและเลขานุการ
  12. ว่าที่ร้อยตรี ศรายุทธ เหลื่อมแก้ว                         ผู้ช่วยเลขานุการ
  13. นางสาวอธิชา เอี่ยมวิลัย                                    ผู้ช่วยเลขานุการ

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ปัจจุบันคณะสังคมศาสตร์  ได้เปิดทำการสอน 2 ภาควิชา และ 5 หลักสูตร คือ

1.6.1 ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

- หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

1.6.2 ภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์

- หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง

- หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

- หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

 

 

 

1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 380 รูป/คน

จำนวนนักศึกษาปีการศึกษา  2562 - 2565 มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น ดังนี้

 

สาขาวิชา

ปีการศึกษา 

2562

ปีการศึกษา 

2563

ปีการศึกษา 

2564

ปีการศึกษา 

2565

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

2

2

5

7

สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

7

33

42

47

สาขาวิชาการปกครอง

55

49

327

309

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

 

 

16

14

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

 

 

15

3

รวมนักศึกษาทั้งสิ้น

64

84

405

380

 

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา  2565 มีจำนวนผู้สำเร็จการทั้งสิ้น 113 รูป/คน

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา  2562-2565 มีจำนวนผู้สำเร็จการทั้งสิ้น ดังนี้

 

 

สาขาวิชา

ปีการศึกษา 

2562

ปีการศึกษา 

2563

ปีการศึกษา 

2564

ปีการศึกษา 

2565

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

3

3

6

3

สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

26

8

10

10

สาขาวิชาการปกครอง

52

43

69

89

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

 

 

13

11

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

 

 

-

-

รวมผู้สำเร็จการทั้งสิ้น

81

54

98

113

 

 

 

 

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

1.7  อาจารย์และบุคลากร

1.7.1 อาจารย์ประจำ

ที่

ชื่อ - ฉายา/นามสกุล

สาขาวิชา

วุฒิการศึกษา

วันที่บรรจุ

ปีเกษียณ

1.        

พระครูธรรมคุต

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ปริญญาโท

01 พ.ค. 2563

30 ก.ย. 2592

2.        

รศ.ประจวบ ประเสริฐสังข์

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ปริญญาโท

01 ก.พ. 2539

30 ก.ย. 2567

3.        

รศ.ดร.สุเทพ สุวีรางกูร

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ปริญญาเอก

01 มิ.ย. 2540

30 ก.ย. 2571

4.        

นายสงคราม จันทร์ทาคีรี

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ปริญญาโท

อาจารย์สัญญาจ้าง

สิ้นสุดสัญญาจ้าง          30 ก.ย. 2566

5.        

นายชาตรี สุขสบาย

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ปริญญาโท

อาจารย์สัญญาจ้าง

สิ้นสุดสัญญาจ้าง          30 ก.ย. 2566

6.        

พระมหาสุรไกร ชินพุทฺธสิริ

สังคมสงเคราะห์ศาสตร์

ปริญญาโท

01 ต.ค. 2557

30 ก.ย. 2586

7.        

นายปริญญา ตรีธัญญา

สังคมสงเคราะห์ศาสตร์

ปริญญาโท

03 พ.ค. 2548

30 ก.ย. 2578

8.        

ผศ.ณัฐชยา กำแพงแก้ว

สังคมสงเคราะห์ศาสตร์

ปริญญาโท

01 ต.ค. 2557

30 ก.ย. 2588

9.        

ผศ.สาวณัฐหทัย  นิรัติศัย

สังคมสงเคราะห์ศาสตร์

ปริญญาโท

01 ต.ค. 2557

30 ก.ย. 2587

10.    

ผศ.กฤติกา ชนะกุล

สังคมสงเคราะห์ศาสตร์

ปริญญาโท

01 ต.ค. 2557

30 ก.ย. 2587

11.    

พระมหาอรุณ ปญฺารุโณ

การปกครอง 

ปริญญาเอก

03 พ.ค. 2548

30 ก.ย. 2576

12.    

พระครูปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ

การปกครอง 

ปริญญาโท

01 ธ.ค. 2553

30 ก.ย. 2585

13.    

ผศ.ดร.กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์

การปกครอง 

ปริญญาเอก

01 ต.ค. 2557

30 ก.ย. 2582

14.    

นางสาวสุพัตรา สันติรุ่งโรจน์

การปกครอง 

ปริญญาโท

02 พ.ค. 2565

30 ก.ย. 2597

15.    

นายธนะชัย สามล

การปกครอง 

ปริญญาโท

อาจารย์สัญญาจ้าง

สิ้นสุดสัญญาจ้าง          30 ก.ย. 2566

16.    

ดร.นภารัตน์ กิตติรัตนมงคล

การปกครอง 

ปริญญาเอก

01 มิ.ย. 2563

30 ก.ย. 2576

17.    

รศ.ดร.สุกิจ ชัยมุสิก

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ปริญญาเอก

อาจารย์สัญญาจ้าง

สิ้นสุดสัญญาจ้าง          30 ก.ย. 2566

18.    

ผศ.ดร.สมภพ ระงับทุกข์

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ปริญญาเอก

อาจารย์สัญญาจ้าง

สิ้นสุดสัญญาจ้าง          30 ก.ย. 2566

 

 

19.    

ดร.เกษฎา ผาทอง

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ปริญญาเอก

02 พ.ค. 2565

30 ก.ย. 2595

20.    

ดร.ฐากูร หอมกลิ่น

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ปริญญาเอก

อาจารย์สัญญาจ้าง

สิ้นสุดสัญญาจ้าง          30 ก.ย. 2566

 

21.    

ดร.อารดา ฉิมมากูร

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ปริญญาเอก

อาจารย์สัญญาจ้าง

สิ้นสุดสัญญาจ้าง          30 ก.ย. 2566

 

 

 

1.7.2 เจ้าหน้าที่

ที่

ชื่อ - ฉายา / นามสกุล

วุฒิการศึกษา

1.        

ว่าที่ร้อยตรีศรายุทธ

เหลื่อมแก้ว

ปริญญาโท

2.        

นางสาวอธิชา

เอี่ยมวิลัย

ปริญญาโท

3.        

นายณัฏฐพล

บุดดีวรรณ

ปริญญาตรี

4.        

นางสาวณัฐฐา

แจ้งอักษร

ปริญญาโท

 

 

 

 

 

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.8  ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.8.1 งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1,588,000 บาท

1.8.2 อาคารสถานที่คณะสังคมศาตร์ เลขที่ 248 อาคารสมเด็จพระวันรัต ถนนศาลายา-นครชัยศรี 

ตำบล ศาลายา อำเภอ พุทธมณฑล  จังหวัด นครปฐม   73170

โทรศัพท์          02 – 444 - 6000 ต่อ 1147 - 1148     

โทรสาร           02 -444-6080 

Website         www.Social.mbu.ac.th

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

1.3 เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต                        

เอกลักษณ์

บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

การชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคม 2 เรื่อง

  1. ภายในมหาวิทยาลัย จิตสาธารณะ หรือ จิตสำนึกทางสังคม
  2. ภายนอกมหาวิทยาลัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวพระราชดำรัสต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคม

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

แผนพัฒนาฟื้นฟู (Improvement Plan)

ระดับคณะสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

1. ควรมีการนำผลการประเมินระดับหลักสูตรมาปรับปรุงเพื่อการพัฒนาตามลำดับ

คณะควรตั้งคณะทำงานเพื่อวางแผน ติดตาม และตรวจสอบการประกันคุณภาพหลักสูตร โดย กำหนดการในการกำกับติดตาม วางแผนพัฒนาเป็น ระยะ ๆ ผ่านโครงการ/กิจกรรม ที่ช่วยในการให้แต่ละหลักสูตรมีผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ทั้ง 6 องค์ประกอบให้มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างชัดเจนในแต่ละ รอบปีการประเมิน และศึกษาทบทวนเกณฑ์ใหม่การประเมินคุณภาพการศึกษาประกันภายในระดับหลักสูตร

คณะได้ตั้งคณะทำงานเพื่อวางแผน ติดตาม และตรวจสอบการประกันคุณภาพหลักสูตร โดย กำหนดการในการกำกับติดตาม วางแผนพัฒนาเป็น ระยะ ๆ ผ่านโครงการ/กิจกรรม ที่ช่วยในการให้แต่ละหลักสูตรมีผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ทั้ง 6 องค์ประกอบ ให้มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างชัดเจนในแต่ละรอบปีการประเมิน และได้อบรมศึกษาทบทวนเกณฑ์ใหม่การประเมินคุณภาพการศึกษาประกันภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565 อย่างต่อเนื่อง

 

2. ทางคณะควรมีเเผนพัฒนาอาจารย์เพื่อเป็นการเพิ่มคุณวุฒิอาจารย์ การเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ ทั้งระยะสั้นระยะยาว

คณะควรกำกับติดตามแผนพัฒนาบุคลากร คณะสังคมศาสตร์ เพื่อจัดทำแผนการบริหารและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน และกำหนดให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริม พัฒนาบุคลากรของคณะสังคมศาสตร์พัฒนาอาจารย์เพื่อเป็นการเพิ่มคุณวุฒิอาจารย์ การเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ ทั้งระยะสั้นระยะยาว

คณะได้กำกับติดตามแผนพัฒนาบุคลากร จากแผนการบริหารและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน โดยคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริม พัฒนาบุคลากรของคณะสังคมศาสตร์พัฒนาอาจารย์เพื่อเป็นการเพิ่มคุณวุฒิอาจารย์ การเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ ทั้งระยะสั้นระยะยาว

ผล

- อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเพิ่มขึ้น จำนวน 1 รูป

- อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น จำนวน 3 คน

 

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

1. ควรมีการสรรหา จัดสรร เเหล่งทุนทั้งภายในเเละภายนอกเพิ่มขึ้น

คณะควรมีการสรรหา จัดสรร เเหล่งทุนทั้งภายในเเละภายนอกเพิ่มขึ้น

คณะสังคมศาสตร์ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ โดยการประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักวิจัยส่งข้อเสนอโครงการวิจัยประจำปี 2565 และคณาจารย์ของคณะได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันจากงบประมาณแผ่นดิน ได้แก่ ทุนวิจัย จำนวน 8 ทุน เป็นเงิน 1,422,000 บาท 

2. ควรมีการจัดสรรงบประมาณของคณะเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

คณะควรมีการจัดสรรงบประมาณของคณะเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

คณะสังคมศาสตร์ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 63,000 บาท เพื่อเป็นการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย การประชุมวิชาการ จัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 ระยะที่ 1 (แบบออนไลน์) ระยะเวลาดำเนินการเดือนเมษายน – 30 มิถุนายน 2566 เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยสู่สาธารณะด้วยการตีพิมพ์ทางวิชาการด้านวิจัยและสหวิทยาการพุทธรัฐศาสตร์สู่การพัฒนาสังคม โลกยุคดิจิทัล เพื่อเป็นเวทีสาธารณะเสนอแนะผลงานวิชาการในประเด็นที่เกี่ยวกับวิจัยและสหวิทยาการพุทธ รัฐศาสตร์สู่การพัฒนาสังคมโลกยุคดิจิทัล

3. มหาวิทยาลัย เเละคณะ ควรมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัย

คณะ ควรมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัย

คณะสังคมศาสตร์ ได้มีการดำเนินงานในเรื่องขั้นตอนและกระบวนการวิจัย โดยผ่านสถาบันวิจัยญาณสังวร ซึ่งมีการดำเนินการเกี่ยวกับระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัย โดยกลไกเพื่อช่วยคุ้มครองสิทธิ์ของสถาบันวิจัยฯ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) นักวิจัยทำหนังสือขออนุมัติดำเนินโครงการวิจัย

2) นักวิจัยทำหนังสือแต่งตั้งที่ปรึกษาการวิจัย นักวิจัย และผู้ช่วยการวิจัย

3) นักวิจัยขออนุมัติทำสัญญาการวิจัย โดยในสัญญาการวิจัยนั้น ได้กำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยในสัญญาการวิจัย โดยกำหนดให้ผลการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยตามสัญญานี้ ผู้รับเงินอุดหนุนการวิจัย  ตกลงให้เป็นกรรมสิทธิ์ / ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยแต่เพียงผู้เดียว

4. คณะควรมีการสนับสนุนส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานอาจารย์ให้อยู่ในฐานที่สูงขึ้น

คณะควรมีการสนับสนุนส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานอาจารย์ให้อยู่ในฐานที่สูงขึ้น

คณะได้มีการสนับสนุนส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในระดับฐานที่สูงขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

1. นำผลการบริการวิชาการการประเมินของเเผนบริการวิชาการเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา ปรับปรุงเเละพัฒนาเเผนต่อไป

คณะควรนำผลการบริการวิชาการการประเมินของเเผนบริการวิชาการเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา ปรับปรุงเเละพัฒนาเเผนต่อไป

นำผลการบริการวิชาการการประเมินของเเผนบริการวิชาการเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา ปรับปรุงเเละพัฒนาเเผนต่อไป

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1. ควรมีการจัดทำเเผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทั้งระยะสั้น เเละระยะยาว

คณะควรมีการจัดทำเเผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทั้งระยะสั้น เเละระยะยาว

คณะสังคมศาสตร์มีการส่งเสริมและดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา โดยมีแผนงานและแนวทางในการบริหารงานของคณะที่มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางที่กำหนดไว้ โดยกระบวนการจัดทำแผนการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา ได้นำผลประเมินปีการศึกษา 2564 มาพิจารณาจัดทำแผนในปีการศึกษา 2565

2. ควรมีการทำ MOU สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอก

คณะควรมีการทำ MOU สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอก

คณะได้ดำเนินการในการทำ MOU สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอก ในปีงบประมาณ 2567

3. ควรมีการระบุคณะทำงานในการกำกับติดตามเเผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

คณะควรมีการระบุคณะทำงานในการกำกับติดตามเเผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม และพระพุทธศาสนาได้ทำการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา ประจำปีการศึกษา 2565  มีผลการประเมินบรรลุทุกตัวบ่งชี้ตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

1. ควรมีการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก

คณะควรวิเคราะห์ ความเสี่ยงจากเหตุปัจจัยภายนอก (External) เกิดจากสาเหตุภายนอกองค์กรที่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานหรือฐานะทางการเงินขององค์กร เช่น การเปลี่ยนแปลงของ ข้อกฎหมาย ภัยธรรมชาติ หรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ เป็นต้น

คณะได้วิเคราะห์ ความเสี่ยงจากเหตุปัจจัยภายนอก (External) เกิดจากสาเหตุภายนอกองค์กรที่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานหรือฐานะทางการเงินขององค์กร เช่น การเปลี่ยนแปลงของ ข้อกฎหมาย ภัยธรรมชาติ หรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ เป็นต้

2. ควรนำผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยมาปรับปรุงพัฒนา หาเเนวทางในการเข้าถึงจุดคุ้มทุน

คณะควรนำผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยมาปรับปรุงพัฒนา หาเเนวทางในการเข้าถึงจุดคุ้มทุน  (Break Even Point)

 

คณะได้นำผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยมาปรับปรุงพัฒนา หาเเนวทางในการเข้าถึงจุดคุ้มทุน(Break Even Point) ในทุกหลักสูตร

3. ผลงานของหลักสูตรด้านงานประกันคุณภาพ ควรมีการพัฒนาปรับปรุงให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น

คณะควรนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  เมื่อได้นำผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจและประเมินคุณภาพการศึกษา จากปีการศึกษา 2564 โดยมีการทบทวน และวิเคราะห์ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ ในทุกระดับ เพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน ทุกระดับ (Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา 2565 ซึ่งเป็นแนวทางในการกำหนด แผนงาน/กิจกรรม ที่จะพัฒนาปรับปรุง และกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้ผู้รับผิดชอบสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุตามตัวชี้วัดของแผน และสามารถดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ส่งผลให้การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พัฒนาปรับปรุงให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น

คณะได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  เมื่อได้นำผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจและประเมินคุณภาพการศึกษา จากปีการศึกษา 2564 โดยมีการทบทวน และวิเคราะห์ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ ในทุกระดับ เพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน ทุกระดับ (ImprovementPlan) ประจำปีการศึกษา 2565 ซึ่งเป็นแนวทางในการกำหนด แผนงาน/กิจกรรม ที่จะพัฒนาปรับปรุง และกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้ผู้รับผิดชอบสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุตามตัวชี้วัดของแผน และสามารถดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ส่งผลให้การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พัฒนาปรับปรุงให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น

สรุปผลการประเมิน
คณะสังคมศาสตร์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.50
3.50
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
3.18
3.18
ไม่บรรลุ
1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 การส่งเสริมสนับสนุน บัณฑิตปริญญาตรี มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร
2
5
2
บรรลุ
1.7 การส่งเสริมสนับสนุน ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนาแก่นักศึกษา
2
5
2
บรรลุ
1.8 ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านนักธรรมชั้นตรีหรือธรรมศึกษาชั้นตรีระดับอุดมศึกษา
2
4.80
4.80
บรรลุ
1.9 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.56
3.81
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
5
4
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
5
5
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
2.4 ผลงานงานวิจัยและ/หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Knowledge Contribution for Intellectual and Moral Development)
5
5
บรรลุ
2.5 บุคลากรที่มีบทบาทหรือผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Morality Role Model)
0
0
บรรลุ
2.6 ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือกับเครือข่าย (Knowledge Contribution from Intellectual and Moral Cultivation Network)
0
0
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.33
3.17
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (Collaboration Ecosystem for Sustainable Social Development)
2
5
5
บรรลุ
3.2 จำนวนหน่วยงานหรือองค์กรชุมชนเป้าหมาย ที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตามแผนบริการวิชาการ
2
5
0.00
บรรลุ
3.3 งบประมาณ/ทรัพยากรวิจัยเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม (Funding for Knowledge Creation in Intellectual and Mortal Development)
2
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
3.33
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนา
2
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (20 ตัวบ่งชี้)
4.32
3.72

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
คณะสังคมศาสตร์
ปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 8 4.09 3.50 4.15 3.81 ดี
2 6 5.00 4.00 2.50 3.17 ปานกลาง
3 3 - 5.00 2.50 3.33 ปานกลาง
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 20 4.39 4.22 2.91 3.72 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ปานกลาง ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.754.675.005.004.504.27
2563 3.555.005.005.004.504.26
2564 4.234.675.005.005.004.57
2565 3.813.173.335.005.003.72
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

เนื่องจากคะเเนนระดับหลักสูตรโดยรวมมีเเนวโน้มลดลงเนื่องจากมีเกณฑ์ประกันคุณภาพ มมร เกณฑ์ใหม่

คณะควรมีการสนับสนุน เเผนพัฒนาบุคลกรสายวิชาการระยะสั้น เรื่องคุณวุฒิ เเละระยะยาว เรื่องตำเเหน่งทางวิชาการ

คณะควรมีการจัดทำเเผนพัฒนานักศึกษาที่ถอดมาจากเเผนมหาวิทยาลัย ด้านภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี เเละพระพุทธศาสนา

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

คณะควรมีการสนับให้มีการตีพิมพ์เผยเเพร่ร่วมกับเครือข่ายนอมหาวิทยาลัย เเละควรมีการสนับสนุนการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ 

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

คณะควรมีการกำกับติดตามกิจกรรม/โครงการ ที่ทำร่วมกับเครือข่ายภายนอกเเละชุมชนด้านการบริการวิชาการ อย่างต่อเนื่อง

 

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
-
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

การวิเคาราะห์ต้นทุต่อหน่วยของคณะ ควรมีการพิจราณารายงานผลทุกหลักสูตร เพื่อเป็นเเนวทางในการบริหารจัดการของหลักสูตร เเละคณะในการจัดทำกลยุทธ์บริหารจัดการ

คณะควรมีการกำกับติดตาม ผลการดำเนินงานของทุกหลักสูตร ให้มีเเนวโน้มผลคะเเนนที่ดีขึ้น

บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบันคณะมีการกำกับติดตามนักศึกษาเป็นอย่างดี ช่วยเหลือทางด้านการศึกษาและการใช้ชีวิต มีโครงการ/กิจกรรมต่างๆที่ชาวยพัฒนานักศึกษาได้ ควรปรับปรุงเรื่องอาคารสถานที่

ศิษย์เก่าสามารถนำความรู้ทางด้านวิชาการไปพัฒนาอาชีพ และการเรียนกับพระทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานได้เป็นอย่างดี ควรมีการปรับปรุงเรื่องการประชาสัมพันธ์

ผู้ปกครองลูกหลานมีความประพฤติที่ดีขึ้นมีความรับผิดชอบตรงต่อเวลาทำตัวให้เป็นประโยชน์สามารถเข้าสังคมได้อย่างดีควรมีการปรับปรุงเรื่องการประชาสัมพันธ์

ตัวเเทนชุมชน มีการให้ความร่วมมือจากคณะสังคมศาสตร์ในการทำกิจกรรมเเละติดต่อสื่อสารด้านข่าวสารต่างๆ

ภาพถ่าย