Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

บัณฑิตวิทยาลัย


บทสรุปผู้บริหาร

จากการดำเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่
ในกลุ่ม ค.2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 4.10 อยู่ที่ระดับดี โดยมี
รายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบดังนี้

องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 4 5.00 - 3.77 4.69 ดีมาก
2 3 1.35 4.00 5.00 3.45 ปานกลาง
3 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
4 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 11 4.09 4.00 4.39 4.10 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดี ดี ดี
บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ชื่อส่วนงาน   :        บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

อักษรย่อ      :   บว.

ภาษาอังกฤษ :   Graduate School

อักษรย่อ      :   GS

สถานที่ตั้ง    :    เลขที่ 248 อาคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หมู่ที่ 1
ถ.ศาลายา-นครชัยศรี ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

ประวัติ        :   บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งขึ้นจาก
สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2530 เพื่อทำการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

  1. เพื่อผลิตนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาและปรัชญาให้มีคุณวุฒิและคุณสมบัติ
  2. เพื่อผลิตพระภิกษุนักบริหาร นักพัฒนา นักวิจัย และนักเผยแผ่ตามหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา
  3. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ภาษา ศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
  4. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยทางพระพุทธศาสนาและปรัชญา

ลำดับการเปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย :

พ.ศ. 2535  เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา

พ.ศ. 2545  เปิดรับนักศึกษาคฤหัสถ์รุ่นแรก สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ระดับปริญญาโท

พ.ศ. 2547  เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง รับบรรพชิต/คฤหัสถ์ และสาขาวิชาสังคมวิทยา รับบรรพชิต/คฤหัสถ์

พ.ศ. 2548  เปิดสอนระดับปริญญาเอก สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา รับบรรพชิต/คฤหัสถ์

พ.ศ. 2550  เปิดสอนระดับปริญญาเอก สาขาวิชาศาสนาและปรัชญารับบรรพชิต/คฤหัสถ์

พ.ศ. 2551  เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาการจัดการศึกษา รับบรรพชิต/คฤหัสถ์

พ.ศ. 2552  บัณฑิตวิทยาลัยมีวิวัฒนาการเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ และได้ย้ายสำนักงานที่ทำการจากตึก สว.ธรรมนิเวศ ชั้นที่ 5 วัดบวรนิเวศวิหาร มา ณ อาคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ
วโรรส อาคาร B 7.1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ. นครปฐม

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

 

ปรัชญามหาวิทยาลัย

    “ความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนา”

     Academic Excellence Based on Buddhism

 

ปรัชญาบัณฑิตวิทยาลัย

          “ส่งเสริม ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อองค์ความรู้ คู่คุณธรรม”

           Encouragement of Education, Learning and Research for Gainng Knowledge and Characters Commitment of Gradeate School

 

          ปณิธาน

          “ให้โอกาสศึกษา ค้นคว้า วิจัย ใช้คุณธรรมนำวิชาการ”

           Giving Education Opportunity, Learning and Research with Intergrated Academic Knowledge and Characters

 

          วิสัยทัศน์

          “คณาจารย์และบัณฑิตมีความเป็นผู้นำด้านการวิจัยและการศึกษาทางพระพุทธศาสนา”

           Instructors and Scholars Being of Leadership on Research and Education According to Buddhism

 

     พันธกิจ

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม และมีจิตอาสา
  2. ส่งเสริมบุคลากรผลิตผลงานทางวิชาการและนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้
  3. สนับสนุนบุคลากรและนักศึกษาสามารถบริการวิชาการแก่สังคม
  4. สร้างความเป็นผู้นำทางความรู้ในการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม
  5. มุ่งสร้างองค์กรให้มีการบริหารจัดการตามหลักพระพุทธศาสนาและธรรมาภิบาล

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

ผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย

     พระศรีวินยาภรณ์, ดร.                            คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

     รายชื่อคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ในปีการศึกษา 2564 บัณฑิตวิทยาลัย มีการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 4 หลักสูตร โดยแบ่งเป็น ระดับปริญญาโท จำนวน 2 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก จำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้

ระดับปริญญาโท

1.หลักสูตศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)

2.หลักสูตศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)

ระดับปริญญาเอก

3. หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561)

4.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)

1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 2564

ที่

หลักสูตร

รูป/คน

1

หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

19

2

หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

7

3

หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

12

4

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

0

 

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

อาจารย์และบุคลากร

คณาจารย์

สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (ป.โท และเอก)

1.พระเมธาวินัยรส (สุเทพ พุทธจรรยา), รศ.ดร.                      (ป.โท และป.เอก)

2.รศ.ดร.สุวิญ รักสัตย์                                                   (ป.โท และป.เอก)

3.พระมหาบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ (วงค์แก้ว), ผศ.ดร.                   (ป.โท และป.เอก)

4.พระศรีวินยาภรณ์ (สายรุ้ง แดงงาม), ดร.                          (ป.โท และป.เอก)

5.ดร.สุมานพ ศิวารัตน์                                                  (ป.โท และป.เอก)

 

สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (ป.โท และเอก)

10.พระสุทธิสารเมธี (ชัยยันต์ สืบกระพันธ์), ดร.                    (ป.โท และป.เอก)

11.พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน (ด้วงวงศ์), ดร.                      (ป.โท และป.เอก)

12.พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม (อามาตย์มนตรี), ผศ.ดร.         (ป.โท และป.เอก)

13.รศ.ดร.บุญร่วม คำเมืองแสน                                       (ป.โท และป.เอก)

14.ดร.กฤตสุชิน พลเสน                                                (ป.โท และป.เอก)

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย

 15.พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร(ธาระพุฒ), ผศ.ดร.                              

                              

บุคลากร

1.พระครูวินัยธรอภิชาติ  อภิชาโต

2.แม่ชีอชิรญา  จริงวาจา

3.ดร.กิตติวัจน์  ไชยสุข

4.นางวสุมดี นันตมาศ

5.นายสุคำ  ยะเรือนงาม

6.นายสรศักดิ์ อินทแพทย์

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมโดยสถานที่ตั้งของบัณฑิตวิทยาลัยอยู่ที่ อาคารสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (B 7.1) เป็นอาคาร 5 ชั้น โดยชั้นที่ 1 เป็นห้องโถง ใช้สำหรับในการจัดกิจกรรมทั่วไป ชั้นที่ 2 เป็นสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย ห้องประชุม และห้องอเนกประสงค์ ชั้นที่ 3 เป็นห้องทำงานคณาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา ชั้นที่ 4 และ 5 เป็นห้องเรียนระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท และปริญญาเอก) และได้บริหารงบประมาณซึ่งเป็นงบรายได้ของบัณฑิตวิทยาลัยโดยผ่านแผนงบประมาณของมหาวิทยาลัยแต่ละปีงบประมาณ

 

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย

          “บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ”

 อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย

          “บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ”

 อัตลักษณ์บัณฑิต

          “บุคลากรและบัณฑิตมีองค์ความรู้ทางการวิจัยตามแนวพระพุทธศาสนา”

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ
สรุปผลการประเมิน
บัณฑิตวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.77
3.77
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
5
5
บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5
5.00
5.00
บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่รับการประเมิน
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.69
4.69
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
5
4
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
1.35
1.35
ไม่บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.78
3.45
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5
5
3
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
3.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5
5
3
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
3.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
4.56
4.10

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
บัณฑิตวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 4 5.00 - 3.77 4.69 ดีมาก
2 3 1.35 4.00 5.00 3.45 ปานกลาง
3 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
4 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 11 4.09 4.00 4.39 4.10 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดี ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 4.444.072.001.004.003.72
2563 4.334.563.003.004.004.09
2564 4.693.453.003.005.004.10
2565 4.734.502.675.004.504.27
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

แนวทางเสริม

1.บัณฑิตวิทยาลัยควรกำกับส่งเสริมให้หลักสูตรที่อยู่ในกำกับดูแล ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้หลักสูตรมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

2.พัฒนาการรับนักศึกษาให้มีมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

แนวทางเสริม

1.การบริหารงบจัดสรรงานวิจัยและการตีพิมพ์ผลงาน ควรทำให้ชัดเจน แยกให้ชัดระหว่างการทำวิจัยและการตีพิมพ์เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำผลงานวิชาการ

2.กระตุ้นให้อาจารย์และนักวิจัยเสนอขอรับทุนที่วิจัยให้เป็นไปตามวงเงินของบัณฑิตวิทยาลัยที่จัดสรรไว้เพื่อขอใช้ในการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการต่อไป

3.ควรมีการกำกับติดตามการดำเนินทำวิจัยของผู้ทำวิจัยให้เป็นไปตามระยะเวลาของการรับทุนวิจัย

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

ข้อเสนอเพื่อการพัฒนา

1.ควรทำความเข้าใจและทบทวน การจัดทำแผนการบริการวิชาการให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ระดับมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนและโครงการ/กิจกรรมให้บริการวิชาการแก่สังคมให้ชัดเจนตามเป้าประสงค์ของการดำเนินงาน กำหนดตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่ชัดเจน ท้าทาย และให้สามารถนำไปสู่การประเมินความสำเร็จของการให้บริการวิชาการแก่สังคมที่สะท้อนถึงผลลัพธ์ที่แท้จริง

2.ควรมีการสำรวจความต้องการของชุมชุนก่อนจัดทำแผนการบริการวิชาการ เพื่อให้สามารถจัดโครงการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน สร้างความแข้มแข็งและยั่งยืนให้กับชุมชุน สังคมองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนและประเทศชาติ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ข้อเสนอเพื่อการพัฒนา

1.การจัดกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะวิชาเป็นการสืบสาน เผยแพร่วัฒนธรรมไทยมาอย่างต่อเนื่อง แต่การกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผนและโครงการ/กิจกรรมเป็นการเน้นปัจจัยนำเข้า และผลผลิต ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการดำเนินงานในพันธกิจนี้ให้มีความโดดเด่น ตามอัตลักษณ์ของคณะ

 

2.บัณฑิตวิทยาลัยควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้มีความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน กำหนดตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ และค่าเป้าหมายเชิงท้าทาย ให้สามารถนำไปสู่การประเมินความสำเร็จของการดำเนินการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมได้อย่างแท้จริง

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

แนวทางเสริมจุดเด่น

1. คณะควรพัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

2. ควรถอดแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานให้เป็นแผนย่อย เช่น แผนพัฒนาบุคลากร แผนบริการวิชาการ เป็นต้น


 

บทสัมภาษณ์

เหตุผลในการเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัย

  • มีความเชื่อมั่นในทางพระพุทธศาสนา
  • มีความสนใจในพระพุทธศาสนา สามารถกล่อมเกลาจิตใจทำให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
  • มีความประทับใจในอาจารย์ ความรู้แม่นถูกต้องและสามารถถ่ายทอดได้ดี
  • อยากเรียนเพื่อช่วยสืบถอดพระพุทธศาสนา

 

สิ่งที่บัณฑิตวิทยาลัยในการบริการ

  • อยากให้เพิ่มระบบการทำงานแบบครีเอทีพติ้งกิ้ง ปรับระบบการทำงานเช่น การประสานงาน การติดต่อของเจ้าหน้าที่
  • ปรับระยะเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้เอื้ออำนวยต่อการให้บริการนักศึกษาระดับปริญญาโทเอก
  • กระชับขั้นตอนการทำงานให้สั้นลงและมีการกระจายอำนาจให้เจ้าหน้าที่เพื่อความรวดเร็วขึ้น
  • อยากให้นำงานวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์นำไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง
  • เพิ่มการให้มีวิทยากรจากภายนอกมาบรรยายเนื่องจากนักศึกษามีความสนใจ และความตื่นเต้น
ภาพถ่าย