Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

คณะมนุษยศาสตร์


บทสรุปผู้บริหาร

จากการดำเนินงานของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค.2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.66 อยู่ที่ระดับ ดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาและดำเนินการตามระบบที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 3.51 อยู่ในระดับดี

          องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 3.52 อยู่ในระดับ ดี

          องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับ ดีมาก

          องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมมีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับ ปานกลาง

          องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับ ดี

 

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ชื่อหน่วยงาน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ที่ตั้ง เลขที่ 248  อาคารพระพรหมมุนี ม.1  ถ.ศาลายา-นครชัยศรี  ตำบล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัด นครปฐม   73170

ประวัติความเป็นมาโดยย่อ

   ในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (เดิมชื่อสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย) ไม่จัดเป็นคณะต่าง ๆ อย่างปัจจุบันนี้ มีเพียงแต่ว่าผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะได้รับปริญญาบัตรเทียบเท่าปริญญาทางศาสนาของต่างประเทศ  โดยหลักสูตรที่ศึกษานั้นเป็นหลักสูตรปริญญา ศาสนศาสตร์บัณฑิต 4 ปี

   ต่อมาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของหลักสูตรหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย จนกระทั่ง พ.ศ. 2511 ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต 4 ปีเป็นระบบหน่วยกิต รวมทั้งสิ้น 240 หน่วยกิต

   ครั้นถึง พ.ศ. 2513 ได้จัดการศึกษาเป็นคณะที่สมบูรณ์ 4 คณะ คือ คณะศาสนาและปรัชญา คณะสังคมศาสตร์  คณะศิลปศาสตร์  และคณะศึกษาศาสตร์

   พ.ศ.  2525  ได้เปลี่ยนชื่อคณะศิลปศาสตร์  เป็น คณะมนุษยศาสตร์

   หลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์ในปัจจุบัน เป็นหลักสูตรปรับปรุงครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ.2564 และมีหลักสูตรที่เปิดใหม่ใน พ.ศ.2562 โดยแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น  2 ภาควิชา  คือ

     1. ภาควิชาภาษาตะวันตก

        - สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ.2559)

     2. ภาควิชาภาษาตะวันออก

        - สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562)

        - สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2562)

        - สาขาวิชาภาษาบาลี สันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564)

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ปรัชญา (Philosophy)

   การเรียนรู้ภาษา คือการเรียนรู้มนุษย์ (Languages lead to the understanding of human  beings)

ปณิธาน (Aspiration)

   “มุ่งมั่นให้การศึกษาทางด้านภาษาแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์อย่างเต็มศักยภาพ”        

วิสัยทัศน์ (Vision Statements) คณะมนุษยศาสตร์ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของคณะไว้ ดังนี้

   1. เป็นแหล่งการศึกษาทางด้านภาษาบาลี สันสกฤต และภาษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้ศึกษามีความก้าวหน้าในการสื่อสารและเข้าใจมนุษย์ (นิรุตติปฏิสัมภิทา)

   2. เป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าหลักธรรมคำสอนทางศาสนาที่ลึกซึ้งอันเป็นทางนำไปสู่การพัฒนาตนเองและผู้อื่นให้ดีขึ้น กล่าวคือ ให้มีพฤติกรรมทางกาย วาจาดีขึ้น มีจิตใจที่งดงาม และมีปัญญารู้เท่าทันโลกและชีวิต (ไตรสิกขา) จนกระทั่งบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดระดับอุดมคติ

พันธกิจ (Mission Statements) คณะมนุษยศาสตร์มีพันธกิจหลักที่จะต้องดำเนินการ ดังนี้

   1. จัดการเรียนการสอน

   2. ผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

   3. ให้การบริการทางวิชาการแก่สังคม

   4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

รายนามผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์

     1. พระมหาสมัคร มหาวีโร คณบดีคณะมนุษยศาสตร์

     2. พระมหาวิโรจน์ าณวีโร,ดร. หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันตก    

รายนามคณะกรรมการบริหารคณะ

     1. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์           ประธานกรรมการ

     2. รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์       รองประธานกรรมการ

     3. หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก    กรรมการ

     4. หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันตก      กรรมการ

     5. พระมหาไมตรี ปุฺามรินฺโท        กรรมการ

     6. ดร.ณัฐธนธีรา ศรีภา                  กรรมการ

     7. นายสานิตย์ สีนาค                    กรรมการ

     8. นางสาวอรรชนิดา หวานคง         กรรมการ

     9. ดร.เสน่ห์ เดชะวงศ์                    กรรมการ

     10. รศ.ดร.ปรมัตถ์ คำเอก               กรรมการ

     11. ผศ.ดร.อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน     กรรมการ

    12. เลขานุการคณะมนุษยศาสตร์        กรรมการและเลขานุการ

รายนามกรรมการสภาชุดปัจจุบัน

  1. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์
  2. พระมหาไมตรี ปุฺามรินฺโท
  3. นายสานิตย์ สีนาค
  4. นางสาวอรรชนิดา หวานคง

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่

สาขาวิชาที่เปิดสอน

รายชื่อหลักสูตร

1. ภาควิชาภาษาตะวันตก

ภาษาอังกฤษ

ศิลปศาสตรบัณฑิต

2. ภาควิชาภาษาตะวันออก

ภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์

ศิลปศาสตรบัณฑิต

 

ภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา

ศิลปศาสตรบัณฑิต

 

ภาษาไทย

ศิลปศาสตรบัณฑิต

1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา

ที่

คณะมนุษยศาสตร์

จำนวนนักศึกษา

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

1

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

46

-

-

46

2

สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์

6

-

-

6

3

สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา

5

 

 

5

4

ภาษาไทย

9

-

-

9

รวม

66

-

-

66

     

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

     สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์

ปีการศึกษาที่รับเข้า

ผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา

2560

2561

2562

2563

2564

2559

 

 

2

 

 

2560

 

 

 

2

 

2561

 

 

 

 

4

     สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ปีการศึกษาที่รับเข้า

ผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา

2560

2561

2562

2563

2564

2559

 

 

2

 

 

2560

 

 

 

2

 

2561

 

 

 

 

4

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

ที่

คณะมนุษยศาสตร์

จำนวนอาจารย์จำแนกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

1

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

 

 

 

 

4

 

 

 

1

 

 

 

5

 

 

 

2

สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต และพุทธศาสตร์

 

 

 

 

4

 

 

 

2

 

 

 

6

 

 

 

3

สาขาวิชาภาษาไทย

 

 

 

 

5

 

 

 

 

 

 

 

5

 

 

 

4

สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต และพระไตรปิฎกศึกษา

 

 

 

 

3

 

 

 

2

 

 

 

5

 

 

 

รวม

 

 

 

 

16

 

 

 

5

 

 

 

21

 

 

 

รวมทั้งหมด

 

16

5

21

     จำนวนบุคลากรสายสนับสนุน

     1. นางสาวสุภัชรี   รักนาวี          นักวิชาการศึกษา

     2. นางสาวกิตติมา   มางเขียว      นักวิชาการศึกษา

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

ชื่อโครงการ

จำนวนเงิน

โครงการสัมมนาวิชาการ "บทบาทและความสำคัญภาษาบาลีสันสกฤตที่มีต่อภาษาอาเซียน"

100,000

โครงการเสริมสร้างความรู้และทักษะภาษาไทย

 

   กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่

50,000

   กิจกรรมที่ 2  วันสุนทรภู่

50,000

   กิจกรรมที่ 3 วันภาษาไทย

50,000

   กิจกรรมที่ 4 วาทศิลป์

50,000

   กิจกรรมที่ 5 เรียนรู้เชิดชูวัฒนธรรมไทย

50,000

โครงการพัฒนานักศึกษาสู่อาชีพ : ศิลปะการแปล

30,000

โครงการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ

35,000

โครงการพัฒนาทักษะการทำงานอย่างมืออาชีพ

55,000

โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาและต้อนรับนักศึกษาใหม่ คณะมนุษยศาสตร์

50,000

โครงการวารสาร คณะมนุษยศาสตร์

100,000 

   วารสาร คณะมนุษยศาสตร์ ฉบับที่ ๑

 

   วารสาร คณะมนุษยศาสตร์ ฉบับที่ ๒

 

โครงการพัฒนาอาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์

90,000

   

 

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ
สรุปผลการประเมิน
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.48
3.48
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5.00
3.57
3.57
ไม่บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5.00
0.00
0.00
ไม่บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5.00
5.00
5.00
บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5.00
4
5
ไม่บรรลุ
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5.00
5
4
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
3.51
3.51
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5.00
4
4
ไม่บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5.00
1.56
1.56
ไม่บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.52
3.52
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
4
3
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.00
3.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5.00
4
3
ไม่บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
4.50
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.82
3.66

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 6 2.86 4.50 3.48 3.51 ดี
2 3 1.56 4.00 5.00 3.52 ดี
3 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
4 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
5 2 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 2.53 4.14 4.24 3.66 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี ดี ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.802.673.004.004.503.60
2563 3.083.563.004.003.503.32
2564 3.513.525.003.004.003.66
2565 4.002.302.674.005.003.39
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็ง

  1. คณะมีการจัดโครงการเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิต ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ แห่งชาติครบทั้ง 5 ด้าน
  2. อาจารย์ประจำและอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ส่งเสริมให้อาจารย์หรืออาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

 

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็ง

   1. อาจารย์มีบทความวิชาการและบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

จุดที่ควรพัฒนา

   1. สนับสนุนบุคลากรด้านค่าใช้จ่ายเพื่อส่งบทความวิชาการและบทความวิจัย

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็ง

   -

จุดที่ควรพัฒนา

   1. ควรมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการบริการวิชาการ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็ง

   -

จุดที่ควรพัฒนา

   1.  ควรมีประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็ง

   1. คณะฯ บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วน

จุดที่ควรพัฒนา

    1. คณะฯ ควรมีแผนกลยุทธ์โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

   2. การดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ในการเขียนผลการดำเนินงานให้เห็นว่า มีการทบทวนความเสี่ยงในปีที่ผ่านมาอย่างไร ความสามารถในการจัดการความเสี่ยงให้ลดลงได้หรือไม่ ความเสี่ยงปีที่แล้ว ยังเป็นความเสี่ยงในปีปัจจุบันหรือไม่ และจะจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างไร 

บทสัมภาษณ์

1. ทำไมนักศึกษาถึงเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้

     - รู้จักมหาวิทยาลัยนี้จากการไปแนะแนวของทางคณะน และเมื่อมาสมัครเรียนอาจารย์จะมีการติดตาม ให้ความใส่ใจนักศึกษาในการเข้ามาสมัครเรียน จึงเลือกเรียนที่นี่

2. ประทับใจอะไรในคณะฯ

     - อาจารย์มีความดูแลเอาใจใส่ สนใจนักศึกษา ให้ความสำคัญกับนักศึกษา

     - การเรียนการสอนของอาจารย์ที่สามารถถามข้อสงสัยได้ตลอดเวลาทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน

3. อยากให้ทางคณะฯ ปรับปรุงอะไร

     - การรับฟังปัญหาของนักศึกษาให้มากขึ้น และให้คำแนะนำที่ชัดเจน

4. กิจกรรมคณะฯ ตรงกับความต้องการของนักศึกษาหรือไป

     - กิจกรรมที่คณะฯ ได้จัดขึ้นตรงกับความต้องการนักศึกษาและกิจกรรมได้เสริมและมีความสอดคล้องกับรายวิชาที่เรียน และอยากให้ทางคณะฯ จัดโครงการปฐมนิเทศและต้อนรับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ภาพถ่าย