Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

คณะศาสนาและปรัชญา


บทสรุปผู้บริหาร

จากการดำเนินงานของคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 4.60 อยู่ที่ระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบดังนี้
          องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาและดำเนินการตามระบบที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 4.14 อยู่ในระดับคุณภาพดี
          องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย คณะศาสนาและปรัชญา มีสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
          องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
          องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะศาสนาและปรัชญา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
          องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ สนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมีการนัดประชุมโดยคณบดีเป็นประธานในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และการบริหารด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล กำหนดนโยบาย การจัดทำแผน การบริหารความเสี่ยง เพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจและนโยบาย คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 5.00 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

           คณะศาสนาและปรัชญา เป็นส่วนงานจัดการศึกษาและบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในอดีตงานทุกอย่างขึ้นอยู่กับสำนักงานเลขาธิการเป็นส่วนใหญ่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา คณะศาสนาและปรัชญาอยู่รวมกับสำนักงานกลางมาเป็นเวลา 45 ปี ครั้นต่อมาปี พ.ศ. 2534 จึงได้แยกออกมาเป็นสัดส่วน มีสถานที่ทำงานเป็นเอกเทศ การทำงานก็เริ่มเข้าระบบและมีความคล่องตัวมากขึ้น ท่านบูรพาจารย์และผู้บริหารทุกท่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ มีความผูกพันกับคณะและมหาวิทยาลัยอย่างดียิ่ง ได้อุทิศชีวิตพร้อมทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังสติปัญญา ให้กับมหาวิทยาลัยนี้มาเป็นเวลาอันยาวนาน ซึ่งเต็มไปด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่เพื่อมุ่งสร้างศาสนบุคคลอันเป็นทรัพยากรสำคัญของชาติและผลิตผลให้มีพระนักศึกษาและนักศึกษาทั่วไปมีคุณภาพเป็นกำลังของพระศาสนาและประเทศชาติ การบริหารงานในคณะศาสนาและปรัชญามีคณบดีเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยมีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคณะดังนี้

1.1.1 ชื่อคณะ   
           ภาษาไทย          :  คณะศาสนาและปรัชญา
           ภาษาอังกฤษ     :  Faculty of Religion and Philosophy

1.1.2 สถานที่ตั้ง
           อาคารพระพรหมมุนี (B7.2) เลขที่ 248 หมู่ 1 ถนนศาลายา – นครชัยศรี
           ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
           โทรศัพท์          02-444-6000 ต่อ 1074, 1075, 1076
           โทรสาร            02-44-6068
           Website           http://www.philo.mbu.ac.th

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2.1 ปรัชญา   (Philosophy)
          ปญฺญา หเว หทยํ ปณฺฑิตานํ ปัญญาเป็นหัวใจของนักปราชญ์

1.2.2 ปณิธาน   (Aspiration)
          ผลิตบัณฑิตเพียบพร้อมด้วยความรู้เเละคุณธรรมเพื่อประโยชน์เเก่ชาติเเละพระพุทธศาสนา

1.2.3 วิสัยทัศน์  (Vision Statements)
          มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความประพฤติดี ความรู้ดี ความสามารถดี เเละความเป็นผู้มีใจสูง

1.2.4 พันธกิจ (Mission Statements)
         1. ผลิตบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาให้มีคุณสมบัติที่วางไว้ และกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจ
         2. วิจัยเเละพัฒนางานทางวิชาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจเเละสังคมของประเทศ
         3. สร้างเสริมให้บริการวิชาการเเก่สังคม ชุมชนเเละท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         4. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการในคณะศาสนาเเละปรัชญาให้ได้มาตรฐานสากล

1.2.5 วัตถุประสงค์
         
1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสนใจในวิชาการทางศาสนาและปรัชญา
         2. เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดริเริ่ม และมีอุปนิสัยในการค้นคว้าปรับปรุงความรู้ให้ก้าวหน้า ยึดมั่นในระเบียบวินัยและมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบตามสมควรแก่ภาวะ รวมทั้งสามารถแนะนำในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณี
         3. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจหลักคำสอนของพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาที่สำคัญของโลกและวิชาที่เกี่ยวข้อง
         4. เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีความสามารถเหมาะสมกับกาลสมัยและเป็นทรัพยากรบุคคลที่ดีมีคุณภาพของชาติ

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.3.1 โครงสร้างการแบ่งส่วนงาน

ntitled-4.1

1.3.2 โครงสร้างการบริหารงาน

 Untitled-4.2_1

 

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

รายชื่อคณะกรรมการประจำคณะศาสนาและปรัชญา

1.

คณบดีคณะศาสนาและปรัชญา

 

ประธานกรรมการ

2.

หัวหน้าภาควิชาพุทธศาสตร์

ผู้แทนผู้บริหาร

กรรมการ

3.

หัวหน้าภาควิชาศาสนศาสตร์

ผู้แทนผู้บริหาร

กรรมการ

4.

พระราชสารสุธี (อาชว์ อาชฺชวปเสฏโฐ)

ผู้ทรงคุณวุฒิ

กรรมการ

5.

พระมหาวิชิต อคฺคชิโต

ผู้แทนคณาจารย์

กรรมการ

6.

พระมหาเอกชัย สุชโย

ผู้แทนคณาจารย์

กรรมการ

7.

ดร.ประเวช วะทาแก้ว

ผู้แทนคณาจารย์

กรรมการ

8.

รศ.ดร.อำพล  บุดดาสาร

ผู้ทรงคุณวุฒิ

กรรมการ

9.

ผศ.ดร.สมบูรณ์  วัฒนะ

ผู้ทรงคุณวุฒิ

กรรมการ

10.

ผศ.ดร.ธีรัตม์ แสงแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิ

กรรมการ

11.

ดร.เสน่ห์  เดชะวงศ์

ผู้ทรงคุณวุฒิ    

กรรมการ

12.

พระครูธรรมธร เดโช  ฐิตเตโช

 

กรรมการและเลขานุการ

13.

พระมหาจักรพล อาจารสุโภ, ดร.

 

ผู้ช่วยเลขานุการ

14.

นางสาวสิริพร ครองชีพ

 

ผู้ช่วยเลขานุการ

15.

นางสาวจันทิมา แสงแพร

 

ผู้ช่วยเลขานุการ

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ภาควิชาพุทธศาสตร์

           หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
                - สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (Buddhist Studies for Development)

           หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)
                - สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (Buddhism)

ภาควิชาปรัชญา

           หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
                - สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม (Philosophy, Religions and cultures)

ภาควิชาศาสนศาสตร์

           หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
                - สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (Buddhist Studies)

           หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)
                - สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา(Buddhism and Philosophy)

1.6 จำนวนนักศึกษา

1.6.1 จำนวนนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564

ภาควิชาพุทธศาสตร์

      - สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

จำนวน  38  รูป/คน

      - สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (เรือนจำ/ทัณฑสถาน)

จำนวน  41  คน

ภาควิชาปรัชญา

      - สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

จำนวน  28  รูป/คน

ภาควิชาศาสนศาสตร์

      - สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

จำนวน  6  รูป/คน

      - สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

จำนวน  7  รูป/คน

รวมทั้งสิ้น

จำนวน  120  รูป/คน

1.6.2 จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564

ภาควิชาพุทธศาสตร์

      - สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

จำนวน  3  รูป/คน

      - สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

-

ภาควิชาปรัชญา

      - สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

จำนวน  6  รูป/คน

ภาควิชาศาสนศาสตร์

      - สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

-

      - สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

-

รวมทั้งสิ้น

จำนวน  13  รูป/คน

 

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

1.7.1 จำนวนอาจารย์

ที่

ชื่อ-ฉายา/นามสกุล

ตำแหน่งทางวิชาการ

วุฒิการศึกษา

1

พระเทพวัชรเมธี, ผศ.ดร.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ปริญญาเอก

2

พระศรีรัชมงคลบัณฑิต, รศ.

รองศาสตราจารย์

ปริญญาโท

3

พระครูวินัยธร เจริญ ทนฺตจิตฺโต, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

4

พระครูสุธีปริยัติโกศล, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

5

พระมหาขนบ สหายปญฺโญ, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

6

พระมหาเอกชัย สุชโย

อาจารย์

ปริญญาโท

7

พระมหาวิชิต อคฺคชิโต

อาจารย์

ปริญญาโท

8

พระมหาสมศักดิ์ ธมฺมโชติโก

อาจารย์

ปริญญาโท

9

พระมหารังสี ฐานวุฑฺโฒ

อาจารย์

ปริญญาโท

10

พระวีรพล โชติวโร

อาจารย์

ปริญญาโท

11

พระมหาจักรพล  อาจารสุโภ, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

12

พระมหาสราวุธ  ญาณโสภโณ

อาจารย์

ปริญญาโท

13

พระปลัด ธนา อคฺคธมฺโม

อาจารย์

ปริญญาโท

14

พระมหาอนันต์  อนุตฺตโร

อาจารย์

ปริญญาโท

15

พระมหาสันติราษฎร์ ฌานสนฺติ, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

16

พระจาตุรงค์ อาจารสุโภ, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

17

พระครูสังฆรักษ์ สุริยะ ปภสฺสโร

อาจารย์

ปริญญาโท

18

แม่ชีบุญช่วย ศรีเปรม, ดร.

อาจารย์

ปริญญาเอก

19

ผศ.ดร.แหวนทอง บุญคำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ปริญญาเอก

20

รศ.สุเชาวน์ พลอยชุม

รองศาสตราจารย์

ปริญญาโท

21

นายอำนาจ ศรีบรรเทา

อาจารย์

ปริญญาโท

22

ดร.สุรชัย พุดชู

อาจารย์

ปริญญาเอก

23

ดร.ประเวช วะทาแก้ว

อาจารย์

ปริญญาเอก

24

อาจารย์สิริพร ครองชีพ

อาจารย์

ปริญญาโท

25

อาจารย์จันทิมา แสงแพร

อาจารย์

ปริญญาโท

 
1.7.2 จำนวนเจ้าหน้าที่

ที่

ชื่อ-ฉายา/นามสกุล

ตำแหน่งทางวิชาการ

วุฒิการศึกษา

1

พระครูธรรม เดโช ฐิตเตโช

นักวิชาการศึกษา

ปริญญาโท

2

นายประเมศฐ์  จิรวิริยะสิริ

นักวิชาการศึกษา

ปริญญาโท

 

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

          คณะศาสนาและปรัชญา ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2564 ตามแผนงานพื้นฐาน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
                    - เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายสนับสนุนการผลิตบัณฑิต
                    - เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
                    - เงินอุดหนุนทุนวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน
                    - ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ
          โดยได้รับงบจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้กำหนดตามวิถี สรุปได้ดังนี้
                    วิถีที่ 1 ปริยัติ สืบสาน ส่งต่อ ต่อยอด
                    วิถีที่ 2 ประยุกต์ ผสาน สร้างสรรค์ อย่างลึกซึ้ง
                    วิถีที่ 3 ปฏิบัติ ค้นหา ตน เติม คน เสริมสร้าง สังคม
                    วิถีที่ 4 ปฏิบถ ฟื้นฟู เยียวยา นำพากลับสู่ความสว่าง สงบ
                    วิถีที่ 5 ปฏิรูป พลิก เปลี่ยน ปรับ รับการเปลี่ยนแปลง
          สรุปงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2564 ดังนี้
                    1) ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ จำนวน 1,616,900 บาท
                    2) งบดำเนินงานก่อนผูกพัน จำนวน 411,802 บาท
                    รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,028,702 บาท (เอกสารอ้างอิง งบประมาณ 2564)

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

1.9.1 เอกลักษณ์
         บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ การชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคม 2 เรื่อง
         1. ภายในมหาวิทยาลัย จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกทางสังคม
         2. ภายนอกมหาวิทยาลัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวพระราชดำรัสต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคม
1.9.2 อัตลักษณ์
         บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

ข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

1. ควรดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ด้านการขอตำแหน่งวิชาการและติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยทำกระบวนการที่ชัดเจน

2. ควรมีการติดตาม ประเมินผล การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมินและนำผลการประเมินการบริการนักศึกษา และการทำกิจกรรมพัฒนานักศึกษามาเชื่อมโยงกับการบูรณาการด้านกิจกรรมการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรม

องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย

1. ควรมีการส่งเสริมให้อาจารย์ในคณะวิชาขอทุนวิจัยภายนอกเพิ่มขึ้นโดยให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งอัตลักษณ์ของคณะวิชา

2. ทบทวนการวางแผนด้านการนำผลวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการสร้างคุณค่าให้นักศึกษา อาจารย์ ชุมชน สังคม

3. ควรส่งเสริมการตีพิมพ์ในแหล่ง TCI 1, TCI 2 และนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

1. ควรมีการทบทวนการวางแผนบริการวิชาการ การสำรวจความต้องการของชุมชน ควรเพิ่มการวางแผนเชื่อมโยงการบริการวิชาการกับงานวิจัยและการประชาสัมพันธ์มากขึ้น รวมทั้งการบริการวิชาการที่สร้างคุณค่าให้กับชุมชน นักศึกษาและคณะวิชาต่อไป

2. ควรทบทวนตัวชี้วัดที่ใช้วัดความสำเร็จของแผนและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการและกิจกรรมให้เห็นถึงการพัฒนาและการนำไปใช้ประโยชน์ในมิติของนักศึกษา ชุมชน และอาจารย์

3. ควรมีการวางแผนการจัดบริการวิชาการที่มีการนำ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในการถ่ายทอดเพิ่มขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1. จุดเน้นของคณะวิชา ศาสนาและปรัชญาสามารถเสริมสร้างสร้างความเข้มแข็งของงานศิลปะ และวัฒนธรรม

1. ในการจัดกิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรมควรมีการบูรณาการกับพันธกิจของคณะวิชาเพิ่มขึ้น โดยเน้นกิจกรรม/ โครงการ และมีการประเมินผล / ผลกระทบที่เกิดขึ้นของนักศึกษา ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ เพิ่มขึ้น

2. เสริมสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นที่ยอมรับระดับชาติและนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

คณะวิชามีผู้บริหารและทีมงานที่มีความสามารถและมีวิสัยทัศน์ ทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

1. ปีการศึกษา 2564 คณะศาสนาและปรัชญา ได้ดำเนินการโครงการเตรียมความพร้อมอาจารย์เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และโครงการพัฒนานักวิจัย เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ประจำคณะพัฒนาศักยภาพตนเองในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งในปี 2564 ได้มีผลงานวิจัยเกิดขึ้นจำนวน 11 โครงการ สำหรับเป็นผลงานในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการอย่างชัดเจน

2. คณะศาสนาและปรัชญา ได้ดำเนินการให้นักศึกษาประเมินผลผ่านระบบ reg.mbu.ac.th (ระบบการศึกษา) และนำผลที่ได้มาประเมินผ่านระบบ E-port และนำผลการประเมินมาปรับปรุง เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมให้นักศึกษา

องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย

1. ปีการศึกษา 2564 คณะศาสนาและปรัชญา ได้จัดโครงการพัฒนานักวิจัยและได้ให้คณาจารย์ในคณะได้ดำเนินการขอทุนวิจัยจากภายนอก และได้รับทุนวิจัยจากภายนอก วช. สกสว. จำนวน 3 โครงการ

2. คณะศาสนาและปรัชญา ได้ดำเนินการให้คณาจารย์นำผลงานวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพของคณาจารย์ในการสอนและบูรณาการผ่านงานวิจัยที่รายงานฉบับสมบูรณ์แล้ว เช่น (1) การศึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชนไทย 4.0 (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างจริยธรรมในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนรัตนาธิเบศร์จังหวัดนนทบุรี (3) กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (4) การใช้กิจกรรมเล่านิทานธรรมบทเพื่อพัฒนาคุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

3. คณะศาสนาและปรัชญาได้ส่งเสริมให้คณาจารย์ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี 2564 ได้ตีพิมพ์ในวารสาร TCI 2 จำนวน 20 เรื่อง วารสาร TCI 1 จำนวน 2 เรื่อง และ Scopus จำนวน 6 เรื่อง

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

1. เนื่องจากในปี 2564 อยู่ในช่วงของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงไม่สามารถจัดกิจกรรมบริการวิชาการแบบออนไซต์ ดำเนินการได้เฉพาะในระบบออนไลน์ เช่น จัดเป็นรายการออนไลน์ศาสนาและปรัชญาร่วมสมัย และบรรยายธรรมผ่านระบบออนไลน์

2. คณะศาสนาและปรัชญา ได้พัฒนาตัวชี้วัดโครงการและกิจกรรมที่ให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษาและชุมชนแต่ไม่สามารถนำไปดำเนินการวัดได้จริง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

3. คณะศาสนาและปรัชญาได้ดำเนินการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เกิดจากผลการวิจัยมาใช้ในการบริการวิชาการ เช่น โครงการวิจัยเรื่อง  การศึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชนไทย 4.0 ซึ่งได้มาปรับใช้ในการบริการวิชาการ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1. คณะศาสนาและปรัชญาได้มีการดำเนินการกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมโดยผ่านระบบออนไลน์ในการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

2. คณะศาสนาและปรัชญาได้จัดทำแผนในด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนากิจกรรมและโครงการด้านศิลปวัฒนธรรม

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

สรุปผลการประเมิน
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.51
3.51
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
1.33
1.33
ไม่บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5
5.00
5.00
บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.14
4.14
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
5
5
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
5
5
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.60
4.60

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 6 3.78 5.00 3.51 4.14 ดี
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 13 4.08 5.00 4.26 4.60 ดีมาก
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดี ดีมาก ดีมาก

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.612.673.003.004.503.44
2563 4.134.585.005.005.004.50
2564 4.145.005.005.005.004.60
2565 3.433.813.674.004.503.71
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดเด่น:

  1. มีสาขาวิชาที่สามารถบูรณาการศาสตร์ของทุกสาขาในการร่วมทำกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

จุดที่ควรพัฒนา:

  1. ควรส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการที่ตรงสาขาเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการต่อไป รวมทั้งควรติดตามอย่างต่อเนื่อง
  2. พิจารณาการติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่องจากการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการข้อมูลศิษย์เก่า/ ปัจจุบันเพื่อเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น
  3. ทบทวนตัวชี้วัด และแผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในการพัฒนาทักษะทั่วไปและทักษะเฉพาะของนักศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดเด่น:

  • มีอาจารย์ที่มีศักยภาพในการรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากภายนอก และตีพิมพ์ผลงานวิจัยในฐาน TCIและ Scopus

จุดที่ควรพัฒนา:

  1. พิจารณาสัดส่วนผลงานวิจัย และผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำคณะ รวมทั้งควรวางแผนการทำผลงานวิชาการเพื่อการก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการต่อไป/ทั้งนี้ควรสร้างผลงานทางวิชาการทั้งตำรา หนังสือ และบทความวิจัย เพื่อเข้าสู่การขอผลงานทางวิชาการ
  2. พิจารณาประเด็นผลงานการวิจัยและการบริการวิชาการที่สามารถจดลิขสิทธิ์เพื่อสร้างคุณค่าของงานในคณะ/ชุมชนหน่วยงานเพิ่มขึ้น
  3. พิจารณาการวางเป้าหมายด้านผลงานวิจัย และบูรณาการการบริการวิชาการ วิจัย และศิลปวัฒนธรรมให้สามารถยกระดับการคุ้มครองสิทธิ์ การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การขอรับอนุสิทธิบัตร หรือผลงานสร้างสรรค์
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดเด่น

  • มีการใช้คุณลักษณะและปรัชญาของคณะเพื่อทำการบริการวิชาการตามศาสตร์และตามความเชี่ยวชาญอย่างเป็นรูปธรรม

จุดที่ควรพัฒนา:

  1. พิจารณาประเด็นของการนำผลความพึงพอใจของผู้รับบริการมาทำการวิเคราะห์โครงการที่สามารถพัฒนาให้ยั่งยืนและเข้มแข็งและควรมีการให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างคณะและผู้รับบริการต่อไป
  2. คณะอาจพิจารณากำหนดประเภทของงานบริการวิชาการให้ชัดเจน ในแผนบริการวิชาการ เช่น 1) โครงการตามความเชี่ยวชาญ 2) โครงการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง และ 3) โครงการตามคำร้องขอ การนำเสนอในผลการดำเนินงานต้องแสดงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายให้ชัดเจน รวมทั้งมีการประเมินความสำเร็จผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
  3. พิจารณาถอดบทเรียนและร่วมพิจารณาประเด็นการหาแนวทางการได้ประโยชน์ของผู้รับบริการเพื่อมาจัดทำแผนพัฒนาการบริการวิชาการสู่สังคมในด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมและวัฒนธรรมที่จะสามารถก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งก่อให้เกิดกระบวนการทางความคิดทั้งของอาจารย์ นักศึกษา และผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดเด่น:

- มีทุนทางวัฒนธรรม ที่สามารถต่อยอดสู่ระดับชาติและนานาชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนเป็นที่ยอมรับ

- มีการส่งเสริมสนับสนุน นศ. ร่วมกิจกรรมวัฒนธรรม รวมทั้งสามารถนำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ถ่ายทอดให้กับผู้สนใจต่อไปได้

 

ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกตเพื่อการพัฒนา:

  1. อาจพิจารณานำผลลัพธ์จากการดำเนินการในปีที่ผ่านมา มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาโครงการที่สะท้อนวัฒนธรรมเชิงพื้นที่และประเพณีวัฒนธรรม ร่วมกับการพัฒนากิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น
  2. อาจพิจารณาจัดทำแผนด้านการทำนุศิลปะและวัฒนธรรมและมีการบรรจุโครงการด้านการทำนุศิลปะและวัฒนธรรมในแผน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างคุณค่า และสำนึกรักษ์ถิ่น  หรือกิจกรรมการจัดตั้งและเผยแพร่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน    สู่การอนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาสู่ฐานการเรียนรู้ สืบสาน ส่งต่อ ต่อยอดให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดเด่น:

  • มีคณะผู้บริหารที่ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และภาวะผู้นำเชิงวิชาการ รวมทั้งมีการบริหารงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ / เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของคณะได้เป็นอย่างดี

 

จุดที่ควรพัฒนา:

  1. อาจพิจารณาการบริหารความเสี่ยงร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพทั้งด้านสัดส่วนอาจารย์ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ ด้านจำนวนนักศึกษากับสัดส่วนอาจารย์ ด้านการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
  2. พิจารณาการนำเครื่องมือการจัดการความรู้มาใช้ประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยงด้านตำแหน่งวิชาการและจัดกลุ่มอาจารย์เพื่อเสริมสร้างการทำผลงานวิชาการต่อไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เชิงประจักษ์
  3. ควรพิจารณาประเด็นแผนพัฒนากลยุทธ์/แผนปฏิบัติการตามพันธกิจมาขับเคลื่อนการทำงานตามอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของคณะวิชาโดยเพิ่มตัวชี้วัดที่จะสามารถพัฒนางานด้านผลลัพธ์ผู้เรียน นวัตกรรม วิจัย และการบริการวิชาการให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น
บทสัมภาษณ์

ทาง อบต.ศาลายา ได้อะไรจากคณะ

  • อบต.ศาลายารู้สึกเป็นเกียรติที่มหาวิทยาลัยส่งนักศึกษาไปฝึกงาน เพราะมีความร่วมมือกันมานาน นอกจากจะส่งนักศึกษามาแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมร่วมกันอีก เช่น การตักบาตรท้องน้ำ และด้านอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งนักศึกษาที่ไปฝึกงานเป็นนักศึกษาที่มีความประพฤติเรียบร้อย มีความทุ่มเทในการทำงานเมื่อมาฝึกงานประชาชนได้รับประโยชน์จากมหาวิทยาลัยอีกด้วย

ในระหว่างที่ฝึกงานเป็นนักศึกษาพระหรือคฤหัสถ์

  • เข้ามาฝึกงารทั้งสอง โดยมีการมอบหมายงานให้เหมาะสมในแต่ละท่าน เช่น พระสงฆ์จะให้อยู่ฝ่ายพิธีการ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับธรรมะ เป็นต้น

ท่านคิดว่าทางคณะศาสนาและปรัชญาน่าจะมีอะไรที่ต้องพัฒนาอีก

  • เราจะพูดถึงการสอบ (มีการสอบติดกันเยอะ) เป็นที่รักใคร่ของคนในท้องถิ่นคิดว่านักศึกษาดีกว่าที่อื่นๆ และทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้ดี มีการเปิดกว้างหลายสาขา ขอชื่นชมในด้านนี้ และมีการทำงานบูรณาการกันตลอด

ท่านคาดหวังเรื่องของความรู้และทักษะอะไรบ้าง

  • ควรเพิ่มเติมหรือคาดหวังเรื่องชุมชน คือ สามารถจะเป็นพิธีกรในงานสำคัญได้ การนำสวดในงานต่างๆในกิจกรรมหรือชุมชน เช่น งานพิธีพระราชทานเพลิงศพ

คุณธรรม จริยธรรม เน้นเรื่องไหนเป็นพิเศษในงานของท่าน

  • เรื่องวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ตรงเวลา สามารถที่จะไว้วางใจในการมอบหมายงานให้เรียบร้อย ลุล่วงไปได้ด้วยดี

ทักษะอะไรที่อยากให้เพิ่มเติมและมีอะไรที่อยากให้พัฒนาที่ดีขึ้นไหม

  • เรื่องของความรู้รอบตัว นักศึกษาบางคนยังไม่รุ้ พยายามเอาผู้ที่มีความรู้จากภายนอกมาเสริม สามารถคิดค้นวิธีการสอนให้มากขึ้น

ท่านได้อะไรจากคณะ

  • ได้หลักธรรมนำไปปฏิบัติกรรมฐาน นำไปเพิ่มพูนในการเรียนต่อในระดับปริญญาโท และนำหลักธรรมมาคิดและปฏิบัติพร้อมกับถ่ายทอดต่อคนที่สนใจ

ท่านได้นำองค์ความรู้จากการเรียนไปพัฒนางานของท่านในด้านใดที่ภูมิใจที่สุด

  • ด้านจิตวิญญาณของคณะ โดยใช้หลักศาสนาและปรัชญา จิตวิทยามาใช้ในการปกครอง พอนำมาใช้และทำให้เกิดความสบายยิ่งขึ้น

อยากให้คณะมีการพัฒนาอะไร

  • อยากให้พัฒนาคุณภาพ คนจะได้สนใจในคณะขึ้นเยอะๆ
ภาพถ่าย

ไม่มีคำอธิบาย

ไม่มีคำอธิบาย

ไม่มีคำอธิบาย