Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์


บทสรุปผู้บริหาร

จากการดำเนินงานของวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง  คะแนนเฉลี่ย  3.92 อยู่ในระดับดี  โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้

     องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบ  ที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย  3.80  อยู่ในระดับดี

     องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางวิทยาลัย  ศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย  3.06  อยู่ในระดับปานกลาง

          องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 4.00 อยู่ในระดับดี

          องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา และสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย  5.00  อยู่ในระดับดีมาก

            องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

1.1.1  ชื่อหน่วยงาน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

          ภาษาไทย :       มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

                             อักษรย่อ  คือ มมร.วศก.

          ภาษาอังกฤษ :   Mahamakut Buddhist University, Kalasin  Buddhist  College.

                            อักษรย่อ  คือ MBU. KBC.

 1.1.2  สถานที่ตั้ง

                    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  ตั้งอยู่  เลขที่ 84/1 วัดประชานิยม  ถนนถีนานนท์   ตำบลกาฬสินธุ์  อำเภอเมืองกาฬสินธุ์  จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 โทร.0-4301-0379  Website.http://mbukalasin.com

          1.1.3  ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป

                   ในปีพุทธศักราช 2543 พระเดชพระคุณพระราชญาณเวที (บัวศรี  ชุตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดประชานิยม  เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุต) (ปัจจุบันสมณะศักดิ์พระเทพสารเมธี) พร้อมด้วยคณะสงฆ์ทายกทายิกาชาวจังหวัดกาฬสินธุ์เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาในระดับปริญญาเป็นโอกาสอันดีที่พระภิกษุสามเณรและฆราวาสภายในจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียงจะได้มีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงฆ์  จึงได้ขออนุมัติจัดตั้งศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์  สังกัดของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตร้อยเอ็ดและได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเป็นศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 2/2544   มติที่ 15 / 2544  เรื่องโครงการจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์

                   ศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์ได้เปิดรับสมัครพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป  เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเมื่อวันที่  18 เดือนพฤษภาคม  พุทธศักราช  2544 มีจำนวนนักศึกษาสองห้องเรียนโดยเปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติวันจันทร์- ศุกร์)

                    ต่อมาในปีการศึกษา 2545 ศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาภาคพิเศษจัดการเรียนการสอนในวันเสาร์-อาทิตย์และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรรายวิชาชีพครู (ปวค.)

                   ศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นทุกปีการศึกษาจากปริมาณนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นบุคลากรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การบริหารจัดการในรูปแบบศูนย์การศึกษาขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์  จึงได้ขอยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยฯ ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  และได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  ตามมติการประชุมของสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยครั้งที่ 2/2550 มติที่ 22/2550 เรื่องขออนุมัติยกฐานะศูนย์การศึกษากาฬสินธุ์ และตามประกาศข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนงาน  (ฉบับที่  3)  พ.ศ. 2550  (30  เมษายน  2550)  ราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  124  ตอนพิเศษ  96  ง  14  สิงหาคม  2550

                 ปัจจุบันในปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  เปิดสอนระดับปริญญาตรี  ดังนี้ฯ

        ระดับปริญญาตรี  ภาคปกติ (เรียนจันทร์ - ศุกร์) เปิดสอน 2  คณะ   4  สาขาวิชา ดังนี้

  1. คณะศึกษาศาสตร์

            - สาขาวิชาการสอนภาษาไทย                                หลักสูตร 5 ปี/4 ปี

            - สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา                         หลักสูตร 5 ปี/4 ปี

            - สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา                               หลักสูตร 4 ปี

  1. คณะสังคมศาสตร์

           - สาขาวิชาการปกครอง                                        หลักสูตร 4 ปี

        ระดับปริญญาตรีภาคนอกเวลาราชการ  เปิดสอน 1  คณะ   1  สาขาวิชา ดังนี้

  1. คณะสังคมศาสตร์

          - สาขาวิชาการปกครอง                                         หลักสูตร 4 ปี

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2.1  ปรัชญามหาวิทยาลัย  (Philosophy)

          “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา”

           Academic Excellence based on Buddhism

          (วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  ใช้ปรัชญาสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย)

1.2.2  ปณิธาน ( Aspiration )

                   มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม ชี้นำและแก้ไขปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 

          1.2.3  วิสัยทัศน์ ( Vision Statements )

                   (1) เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ

                   (2) เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมวลชนที่ผลิตบัณฑิตตามแนวพระพุทธศาสนาและบุคลากรด้านต่างๆ ที่มีความรู้ ความสามารถ มีศีลธรรมในการดำรงชีวิตแบบพุทธ

                   (3) เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาของโลกที่สามารถชี้นำและยุติความขัดแย้งในสังคมโดยใช้หลักพุทธธรรม

                   (4) เป็นสถาบันที่เน้นทำวิจัยพัฒนาตามกรอบแห่งศีลธรรมส่งเสริมงานวิจัยเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนาและนำผลการวิจัยไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 1.2.4  พันธกิจ ( Mission Statements )

                   (1) ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนาให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยและกระจายโอกาสให้พระภิกษุ สามเณร คฤหัสถ์และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น

                   (2) ให้บริการวิชาการแก่สังคม ชุมชนและท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา  เพื่อมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการพระพุทธศาสนา

                   (3) วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา  เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและเผยแพร่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย

                   (4) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม  เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้าทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น  รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม

 

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

1     ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

รูปที่  1

              ชื่อ                        พระปริยัติสารเวที  (ทองสุข) ฉายา สุทฺธสิริ  นามสกุล  นาชัยดี

             ­วุฒิการศึกษา            นักธรรมชั้นเอก, เปรียญธรรม 7 ประโยค

                                        ศน.บ. (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

                                        อ.ม. (ภาษาบาลีและสันสกฤต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                                        ปร.ด. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

             สังกัด                     วัดปทุมวนาราม  เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ฯ

              ตำแหน่ง                 ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

                     พ.ศ.2550 – 30 กันยายน 2556

                                        รักษาการรองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

รูปที่  2

    ชื่อ                       พระครูวรจิตตานุรักษ์ (สงวน)  ฉายา  ปาลจิตฺโต  นามสกุล  วงศ์เสาเนา

             วุฒิการศึกษา            นักธรรมชั้นเอก

                                        ศน.บ. (รัฐศาสตร์การปกครอง)   มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

                                        รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)      มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

             สังกัด                    วัดป่าไม้แดง  ตำบลเหนือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

             ตำแหน่ง                 รักษาการแทนผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
                                        1 ตุลาคม 2556 - 13 มีนาคม 2557

                                        ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

                                        14 มีนาคม 2557 – 30 กันยายน  2557

รูปที่  3

    ชื่อ                        พระครูสุธีวรสาร, ดร.  (อุธ)  ฉายา  ฐิตปญฺโญ  นามสกุล  จันทุม

             วุฒิการศึกษา            นักธรรมชั้นเอก. เปรียญธรรม 4 ประโยค

                                        รวค.  (รายวิชาชีพครู)             มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

                                        ศน.บ. (รัฐศาสตร์การปกครอง)   มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

                                        ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)     มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                                        ปร.ด. (การบริหารการศึกษา)     มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

              สังกัด                     วัดหนองสวง  ตำบลหนองสรวง  อำเภอหนองกุงศรี  จังหวัดกาฬสินธุ์

              ตำแหน่ง                  รักษาการแทนผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
                                         1 ตุลาคม 2557 - 21 มกราคม 2561

                                                   ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

                                        22  มกราคม  2561 – ปัจจุบัน

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาตรี

ลำดับที่

คณะ

หลักสูตร

สาขาวิชาที่เปิดสอน

1

ศึกษาศาสตร์

ศึกษาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559/2562 (หลักสูตร 5 /4 ปี)

หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559/2562 (หลักสูตร 5/4 ปี)

หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2562 (หลักสูตร 4 ปี)

 

การสอนพระพุทธศาสนา

การสอนภาษาไทย

การสอนสังคมศึกษา

2

สังคมศาสตร์

รัฐศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559/2563 (หลักสูตร 4 ปี)

 

การปกครอง

 

1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา จำแนกคณะ สาขาวิชา/ ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564

 ลำดับที่

 คณะ/สาขาวิชา

ระดับการศึกษา/จำนวนนักศึกษา

1

คณะศึกษาศาสตร์

 

การสอนพระพุทธศาสนา

29

การสอนภาษาไทย

90

การสอนสังคมศึกษา

40

2

คณะสังคมศาสตร์

 

การปกครอง

92

รวม

251

 

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

ระดับการศึกษา

สาขาวิชา

ปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา

หมายเหตุ

2564

ปริญญาตรี

การสอนพระพุทธศาสนา

14

 

การสอนภาษาไทย

19

 

การสอนสังคมศึกษา

-

 

การปกครอง

13

 

รวม

46

 

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

ระดับ/ประเภท

บรรพชิต

คฤหัสถ์

รวม

คณาจารย์ประจำ

6

3

9

คณาจารย์อัตราจ้าง

1

11

12

เจ้าหน้าที่ประจำ

-

5

5

เจ้าหน้าที่อัตราจ้าง

-

4

4

รวม

7 รูป

23 คน

30 รูป/คน

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.8.1  งบประมาณ

ปี

ประเภทของแหล่งงบประมาณ

 

รวม

งบประมาณแผ่นดิน

งบประมาณ

จากเงินรายได้

งบอื่นๆ

( เงินอุดหนุนอื่นๆ )

2565

4,404,500

4,186,107

-

8,590,607

 

1.8.3 อาคารสถานที่

     วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ ดำเนินการเรียนการสอนภายในวัดประชานิยม
(วัดให้ใช้ฟรี)  เลขที่ 84/1 ถนนถีนานนท์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย อาคารจำนวน 4 อาคาร ดังนี้

  1. อาคารหอสมุดเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ชั้นบนใช้เป็นห้องสมุดรวมของวิทยาลัยฯ ชั้นล่างปรับใช้เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ฯ และห้องผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ
  2. อาคารจักรธรรมารักษ์ ชั้นเดียว จำนวน 8 ห้องเรียน ใช้เป็นห้องพัสดุ และใช้เป็นห้องเก็บวัสดุเสื่อมสภาพ
  3. อาคารใหม่ 4 ชั้น (อาคารพระเทพสารเมธี) ใช้เป็นห้องบัณฑิตวิทยาลัยและสืบค้นวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ ห้องประชุมเล็ก ห้องอาจารย์ประจำหลักสูตรการสอนภาษาไทย และพัฒนาห้องมุขหน้าอาคารเป็นห้องศูนย์ประสานงานนักศึกษา ห้องพักคณาจารย์ประจำหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนา และห้องอาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์การปกครอง ห้องยุวพุทธิกสมาคม ชั้นล่างห้องสำนักงานวิทยาลัยฯ                                                                                        

      มาตรฐานห้องเรียน ห้องขนาดบรรจุ 50 รูป/คน ประกอบด้วยจอโปรเจคเตอร์ ประจำทุกห้อง เครื่องเสียงพร้อมไมค์โครโฟน

  1. อาคารอเนกประสงค์ 3  ชั้น  ชั้นที่ 1 ห้องพัสดุ และห้องกิจการนักศึกษา ชั้นที่ 2 ใช้เป็นห้องประชุม (เล็ก)  4 ห้อง, ห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องรับรอง

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

       1.9.1  เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

                 บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติและนานาชาติ

       1.9.2  อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต 

                บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติและนานาชาติ

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

องค์ประกอบที่  1  การผลิตบัณฑิต

  1. ควรส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้มีวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้นและตรงกับสาขาวิชาที่เปิดทำการเรียนการสอน และควรกำหนดแผนในการพัฒนาบุคลากร โดยกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนอย่างต่อเนื่อง
  2. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรทำวิจัยและสนับสนุนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาในระดับหลักสูตรให้ทุกหลักสูตรมีอาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานวิชาการให้สามารถขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้

 

 

  1. ควรนำผลการประเมินการบริการนักศึกษาจากปีที่ผ่านมา มาปรับปรุงและพัฒนาวิธีการให้บริการนักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป โดยควรระบุให้ชัดเจนว่าได้มีการปรับปรุงและพัฒนาการบริการนักศึกษาเรื่องอะไรบ้างที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม และในปีการศึกษาที่ประเมินมี่การดำเนินการอย่างไร และควรมีการเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นถึงระดับความพึงพอใจในระดับที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควรมีการดำเนินการปลายปีการศึกษานั้น ๆ และวางแผนในการปรับปรุงในปีการศึกษาถัดไป

 

 

 

 

 

 

 

4. การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ควรให้ผู้แทนนักศึกษาจากสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน และอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกหลักสูตรได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับวิทยาลัย ในระดับหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทั้ง 5 ด้าน และอัตลักษณ์ของวิทยาลัย โดยมีการระบุตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของแผนอย่างเหมาะสม ชัดเจน และควรมีการดำเนินการทุกต้นปีการศึกษาหรือต้นปีงบประมาณหรือปลายปีงบประมาณ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมในการดำเนินการ

     1. อาจารย์ของวิทยาลัยฯ ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา จำนวน 2 คน และหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา จำนวน 3 คน  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น  

     2. อาจารย์ประจำหลักสูตรของวิทยาลัยฯ ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ดังนี้

 

ข้อมูลพื้นฐาน

จำนวนยืนยัน

จำนวนของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่มีค่าน้ำหนัก 0.60

11

จำนวนของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่มีค่าน้ำหนัก 0.80

3

จำนวนของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่มีค่าน้ำหนัก 1.00

4

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์

18

 

3. ตารางเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการ

ประเด็นการประเมิน

ปีการศึกษา 2562

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2564

การจัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวการใช้ชีวิตแก่นักศึกษา

4.49

4.51

4.51

การจัดให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา

4.44

4.49

4.50

การจัดให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตรแหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา

4.43

4.51

4.53

 

          แนวทางการปรับปรุง วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  ส่งเสริมให้แต่ละสาขาวิชา ได้จัดตั้งเพจ/เฟสบุ๊ค เช่น เว็บไซด์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ /เพจ วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ /เพจศิษย์เก่า มมร.กาฬสินธุ์ /เพจสาขาวิชาการสอนภาษาไทย  คณะศึกษาศาสตร์  MBU Kalasin /  เพจคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา/ เพจรัฐศาสตร์  มมร.กาฬสินธุ์ / เพจชมรมสื่อเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มมร.กาฬสินธุ์ โดยเน้นประชาสัมพันธ์ข่าวสาร หรือ กิจกรรมที่จะเกิดขึ้น

 

     4. วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มีกระบวนการในการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์ แต่งตั้งคณะกรรมการทำแผนพัฒนากิจกรรมนักศึกษา โดยมีตัวแทนอาจารย์ประจำหลักสูตร และนักศึกษาเป็นคณะกรรมการ ทำแผนงานโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา กำหนดรูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของวิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  โดยมีการประชุมคณะกรรมการ และอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมร่วมกันเพื่อจัดทำแผน โดยกิจกรรมทั้งหมดที่ดำเนินการใน ปีการศึกษา 2564 มีความสอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา TQF 5 ด้าน และครอบคลุมกิจกรรม 5 ประเภท โดยแต่ละกิจกรรม ได้กำหนดผู้รับผิดชอบและดำเนินการโดยนักศึกษา มีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการตามแผนงาน เพื่อให้คำปรึกษา ติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนมีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมาย วัดความสำเร็จตามแผนการจัดกิจกรรม

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

      1. การพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย

      2. การขอสนับสนุนทุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก

  1.1 สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ให้แก่อาจารย์  จำนวน  6  เรื่อง  เรื่องละ 25,000 บาท รวมทั้งสิ้น จำนวน 150,000  บาท

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

  1. การจัดทำแผนการให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
  2. แผนการใช้ประโยชน์จากการให้บริการทางวิชาการ

 วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ได้จัดทำแผนบริการวิชาการในปีการศึกษา 2564    โดยมีแผนการสำรวจความต้องการของชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน และนำผลการสำรวจมาลงในแผนมีโครงการบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษาชุมชนหรือสังคม

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

การวิจัยการตีพิมพ์ในวารสารในภาพรวมแล้วยังน้อยอยู่ควรมีการทำวิจัยและตีพิมพ์ในวารสารเพิ่มให้มากขึ้นเพื่อไม่เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยงในองค์นี้

อาจารย์ประจำหลักสูตรของวิทยาลัยฯ ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ดังนี้

ข้อมูลพื้นฐาน

จำนวนยืนยัน

จำนวนของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่มีค่าน้ำหนัก 0.60

11

จำนวนของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่มีค่าน้ำหนัก 0.80

3

จำนวนของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่มีค่าน้ำหนัก 1.00

4

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์

13

สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.64
3.64
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5.00
4.17
4.17
ไม่บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5.00
0.00
0.00
ไม่บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5.00
5.00
5.00
บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5.00
5
5
บรรลุ
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
3.80
3.80
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5.00
5
3
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5.00
1.19
1.19
ไม่บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.73
3.06
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5.00
5
4
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
4.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5.00
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.15
3.92

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 6 3.06 5.00 3.64 3.80 ดี
2 3 1.19 3.00 5.00 3.06 ปานกลาง
3 1 - 4.00 - 4.00 ดี
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 13 2.59 4.57 4.32 3.92 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดีมาก ดี ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.332.115.005.005.003.56
2563 3.703.654.005.005.004.01
2564 3.803.064.005.005.003.92
2565 4.203.493.335.005.003.98
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
  1. วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ ควรพัฒนาหลักสูตรที่มีผลคะแนนต่ำ และพัฒนาค่าคะแนนของแต่ละหลักสูตรเพิ่มขึ้นในทุกๆปีตามลำดับ
  2. ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรทำวิจัยและสนับสนุนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาในระดับหลักสูตรให้ทุกหลักสูตรมีอาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานวิชาการให้สามารถขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้
  3. ควรจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์แบบระยะสั้น และระยะยาวเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

1. มหาวิทยาลัยควรจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่นการจัดประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย 

2. การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยควรมีการสรรหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก

 

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

ควรมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากโครงการบริการวิชาการแก่สังคมพร้อมกับการวัดผลหรือประเมินผลจากการทำแผนการใช้ประโยชน์ด้วย

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน
1. นักศึกษาได้มีโอกาศเข้าร่วมโครงการมบริการวิชาการที่ทางวิทยาลัยจัดบ้างหรือไม่
    - ได้เข้าร่วมโครงการสอนภาษาไทย หมอภาษา เป็นการช่วยสอนหนังสือให้กับน้องๆ ในพื้นที่ อุปสรรคที่พบ เป็นที่ตัวของนักศึกษาเองที่ยังไม่กล้าแสดงออก แต่อาจารย์ได้ให้การสนับสนุนให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงตนเอง ทำให้เรามีประสบการณ์ในการสอนมีความกล้าและเชี่ยวชาญมากขึ้นจากเดิม
    - นักศึกษาคณะสังคม ได้เข้าร่วมโครงการคุณธรรมจริยธรรมสัญจรโดยเข้าร่วมอบรมจริยธรรมให้กับนักเรียนในโรงเรียนโดยเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กได้ฝึกฝนตัวเองในการพูดหน้าชั้นเรียนหรือการควบคุมเด็กในการอยู่ร่วมกันให้อยู่ในระเบียบของคนหมู่มาก
 เหตุที่เลือกศึกษาสถานแห่งนี้เนื่ืองจากสาเหตุใด

    - ได้รับคำแนะนำจากผุู้ปกครอง ว่าวิทยาลัยแห่งนี้เป็นสถานที่ทางการศึกษาควบคู่กับคุณธรรม
2. มีวิธีแนะนำวิทยาลัยอย่างไรให้เป็นที่รู้จัก
    - อยากให้มีการประชาสัมพันธ์หรือการทำกิจกรรมร่วมกับกับหน่วยงานต่างๆให้มากขึ้น
    - อยากให้มีการใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นที่รู้จักและเป็รการเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้เข้ามาศึกษามากขึ้น

ศิษย์เก่า

1. หลังสำเร็จการศึกษาได้เข้ามาวิทยาลัยหรือไม่

   - ได้เข้ามาวิทยาลัยเพื่อช่วยงานในด้านการดูแลเว็ปไซด์ เพจ เฟสบุ๊ค วิทยาลัย

2. จุดเด่นของวิทยาลัย

   - เป็นวิทยาลัยที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้กับนักศึกษา

   - เป็นวิทยาลัยที่ค่าเล่าเรียนถูก ผู้มีทุนทรัพย์น้อยสามารถเข้าศึกษาได้ และอาจารย์ที่วิทยาลัยมีความใส่ใจกับนักศึกษา

3. ข้อเสนอแนะต่อวิทยาลัย

   - อยากให้มีสื่ออิเล็คทรอนิคที่เพิ่มขึ้นและทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเรียนการสอน

   - อยากให้วิทยาลัยมีการติดต่อกับองค์กรภายนอกเพิ่มมากขึ้น และปรับภูมิทัศน์ภายในวิทยาลัยเพื่อความน่าอยู่

4. มีความประทับใจอย่างไรบ้างกับอาจารย์ที่วิทยาลัย

   - อาจารย์ที่วิทยาลัยเปรียบเสมือนพ่อครูแม่ครู ที่อบรม สั่งสอน ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ทั้งวิชาการ และวิชาโลก 

   - อาจารย์พรทิพย์  ซังธาดา  เป็นอาจารย์ผู้ให้ทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) ณ มหาวิทยาลัยมหามสารคาม แก่ พระมหาจารุวัฒน์ จิรวุฑฺโฒ (สุพิบาล) 

บันทึกการสัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิต

ผู้รับการสัมภาษณ์ นายทองสุข  ทุมทา ผู้อำนวยการโรงเรียนดงน้อยวิทยา บ้านหนองฝาย ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้สัมภาษณ์: ท่านในฐานะเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน รับนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ว่าที่บัณฑิตของมหาวิทยาลัย มีความพึงพอใจมากหรือมีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้างต่อคุณภาพ ศักยภาพของว่าที่บัณฑิต

ผู้รับการสัมภาษณ์: ทางโรงเรียนรับนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา จำนวน 2 คน เริ่มฝึกปฏิบัติการสอนตั้งแต่ต้นปีการศึกษา 2565 ณ ปัจจุบันอยู่ในภาคเรียนที่ 2/2565 จากการร่วมงาน การสังเกต การสอบถาม สามารถสรุปผลการปฏิบัติการสอนและคุณภาพนักศึกษาได้ว่านักศึกษาทั้ง 2 คน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความตรงต่อเวลา  จัดทำแผนการสอนและปฏิบัติการสอนได้อย่างดี มีจิตวิทยาในการควบคุมดูแลนักเรียนโดยเฉพาะทางโรงเรียนได้มอบหมายให้สอนและดูแลนักเรียนชั้น ม.1-3 ซึ่งเป็นวัยกำลังต้องการเรียนรู้และควบคุมได้ยาก แต่ทั้ง 2 คนสามารถควบคุมดูแลได้เป็นอย่างดี ขอชื่นชม

ผู้สัมภาษณ์:  ท่านได้เข้ามาติดต่อประสานงานกับทางวิทยาลัยในเรื่องใดบ้าง และประสงค์จะให้ทางวิทยาลัยฯคณาจารย์ของวิทยาลัยฯอนุเคราะห์ช่วยเหลือด้านใดบ้าง

ผู้รับสัมภาษณ์: ช่วงที่มาติดต่อทางวิทยาลัยฯคือช่วงกิจกรรมลงนามความร่วมมือในการส่งนักศึกษาไปฝึกสอน และประสานงานติดต่อทางวิทยาลัยฯผ่านนักศึกษาและคณาจารย์ที่คุ้นเคยอย่างต่อเนื่อง  ทางโรงเรียนประสงค์จะเป็นเครือข่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้กับคณะครูและนักศึกษาที่โรงเรียนอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง

ผู้สัมภาษณ์:  ภาพรวมความพึงพอใจและคุณภาพของว่าที่บัณฑิตของวิทยาลัย

ผู้รับการสัมภาษณ์: ทางโรงเรียน คณะผู้บริหาร คุณครูและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการแสดงออกอย่างมีสัมมาคารวะ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความรับผิดชอบ รู้จักเรียนรู้งาน ใส่ใจต่่อการดูแลผู้เรียน

 

   

ภาพถ่าย