Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง คะแนนเฉลี่ย 4.17 อยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบ ที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับคะแนนเฉลี่ย 3.81 อยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 3.78 อยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ร่วมกับมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา และสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ข้อมูลเบื้องต้นของหน่วยงาน

1.1  ชื่อส่วนงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อชื่อหน่วยงานภาษาไทย :วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธรอักษารย่อ  คือ  วศย.ภาษาอังกฤษ :  Yasothon  Buddhist  Collegeอักษรย่อ  คือ  MBU.YBC.

ที่ตั้ง

174 หมู่ 3  ถนนวารีราชเดช  ตำบลทุ่งแต้  อำเภอเมืองยโสธร  จังหวัดยโสธร

35000

โทรศัพท์  0-4575-6859

โทรสาร   0-4571-4408

E-mail :www.ybc.mbu.ac.th

ประวัติโดยย่อ

         ประวัติความเป็นมาโดยสังเขปของวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร ซึ่งเป็นวิทยาลัยของรัฐในการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ  ได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทพร้อมทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตในปี  พ.ศ.  2541  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  เสนอขออนุมัติจัดตั้งศูนย์ยโสธรต่อสภามหาวิทยาลัยจากมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย  ครั้งที่  3/2541  อนุมัติจัดตั้ง “ศูนย์ยโสธร”  มีฐานะเป็นห้องเรียนหนึ่งของวิทยาเขตร้อยเอ็ด  โดยมีพระครูศรีวิริยโสภณ  เป็นหัวหน้าศูนย์รูปแรก  (พ.ศ.  2541-2550)ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 ได้เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ณ วัดศรีธรรมาราม (พระอารามหลวง)  ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองยโสธร  จังหวัดยโสธร  โดยความอนุเคราะห์ของพระเทพสังวรญาณ  (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่  พระราชธรรมสุธี) เจ้าอาวาสวัดศรีธรรมารามและรองเจ้าคณะภาค 10 (ธ) เป็นปฐมาจารย์และองค์อุปถัมภ์

        ในปี  พ.ศ.  2547  วิทยาเขตร้อยเอ็ด  ได้ดำเนินการให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรศาสนศาสตร มหาบัณฑิต  (ปริญญาโท)  สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครองและในปี  พ.ศ.  2548  ได้เปิดสาขาวิชาศาสนาและปรัชญา  และสาขาวิชาการจัดการศึกษา  โดยมีศูนย์การศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยประจำศูนย์ยโสธรเป็นผู้ดูแล

        ในปี  พ.ศ.  2550  สำนักงานอธิการบดีได้แจ้งคำสั่งมหาวิทยาลัยว่าด้วยการจัดตั้งส่วนงาน  (ฉบับที่  3)  พ.ศ.  2550  โดยอาศัยอำนาจตามความมาตรา  8  และมาตรา  9  วรรคแรก  และมาตรา 19  (2)  และ  (4)  แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  พ.ศ.  2540  และมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย  ที่  21/2550  เมื่อวันที่  27  เมษายน  2550  ให้ตราข้อกำหนดไว้ในข้อ  4  ไว้ว่า  “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีส่วนงานเพิ่มเติม คือ วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร”

        วันที่ 26 ตุลาคม 2550 สำนักงานอธิการบดี ได้แจ้งคำสั่งมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนงาน  (ฉบับที่  3)  พ.ศ.  2550  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124  ตอนพิเศ96 ง ลงวันที่ 14 สิงหาคม  2550  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2550 และแต่งตั้งให้พระราชปริยัติวิมล (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่  พระสุทธิสารโสภณ) รองอธิการบดีวิทยาเขตร้อยเอ็ด  เป็นรักการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร  เป็นรูปแรกปัจจุบัน (พ.ศ.  2560)

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

  1. 2ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ

ปรัชญา  (Philosophy)

ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา

Academic  Excellence  based   on  Buddhism

ปณิธาน (Aspiration)

“มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรมมีความรู้ความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณธรรมสู่สังคมไทย”

 

นโยบาย  (Policy)

วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร มีนโยบายในด้านดำเนินงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ  ดังนี้

  1. ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านวิชากรทางพระพุทธศาสนาถึงพร้อมด้วยความประพฤติที่ดีงามเพื่อให้ตรงตามคติพจน์และปรัชญาของวิทยาลัยพร้อมทั้งขยายโอกาสให้พระภิกษุ–สามเณรและประชาชนในท้องถิ่นที่มีความสนใจได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากยิ่งขึ้น2. สร้างเสริมให้บริการด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่ชุมชนท้องถิ่นและสังคมเพื่อไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตอันจะนำมาซึ่งสันติสุขแก่ตนเองและสังคมสามารถนำพาสังคมสร้างความสามัคคีและสร้างความเข้าใจร่วมกันในกรณีเกิดข้อขัดแย้งด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนา
  2. ส่งเสริมพัฒนาด้านวิชาการและงานวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ทางพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น
  3. ปรับปรุงแก้ไขการบริหารการจัดการของวิทยาลัยให้เป็นระบบตรงตามมาตรฐานสากล
  4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

 

วัตถุประสงค์  (Objectives)

  1. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้และความประพฤติ 2. สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความรู้คู่คุณธรรม 3. สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และวิจัย   4. สร้างสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการสมานฉันท์ให้อภัยซึ่งกันและกันปรองดองกัน  5. สร้างระบบบริหารองค์การให้เป็นองค์การที่มีมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและนำไปสู่ความสู่ความเป็นสากล 

    วิสัยทัศน์  (Vision  Statements)

    “เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางพระพุทธศาสนาที่ได้มาตรฐานระดับท้องถิ่นและระดับชาติ”

    ศาสนสุภาษิตประจำวิทยาลัยศาสนศาตร์ยโสธร

    ปญฺญานรานํรตนํ

            ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน

      สีประจำวิทยาลัยศาสนศาตร์ยโสธร

                  สีฟ้า

    ต้นไม้ประจำวิทยาลัยศาสนศาตร์ยโสธร

                ต้นพิกุล

    คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา

            สามัคคี  กตัญญู  รู้หน้าที่  มีวินัย  ใส่ใจบำเพ็ญประโยชน์

    ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

     

     

 

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

       การจัดรูปแบบการบริหารวิทยาลัยเป็นการจัดตามความในมาตราที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 และเป็นการจัดตามรูปแบบของวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามความในมาตรา  48 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  พ.ศ.2540 ที่กำหนดให้รัฐมนตรี  (กระทรวงศึกษาธิการ)  มีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งมีกิจการของวิทยาลัย ให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา  6  คือ  “มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริมและให้บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์รวมทั้งทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม”

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

การจัดโครงสร้างและระบบการบริหารวิทยาลัยในแต่ละส่วนงานหรือองค์กรมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  พ.ศ.  2540  ตามความในมาตรานั้น ๆ โดยอาจจำแนกองค์กรหรือส่วนงานหลักๆได้ดังนี้                                                                                         

 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร และกรรมการชุดปัจจุบัน                                                                                                              ผู้บริหารวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร  มีบทบาทและภารกิจทางด้านการบริหารในระดับต่าง ๆ ดังนี้                     

พระมหาจิรายุทธปโยโค,ผศ.     ผู้อำนวยการ                                                                         

พระครูศิริโสธรคณารักษ์         อาจารย์ประจำ                                                                                        

ผศ.ดร.จำรัส  บุดดาพงษ์        อาจารย์ประจำ                                                                                              

นายวิพจน์  วันคำ                อาจารย์ประจำ                                                                                   

นายนิคม  ปาทะวงศ์            อาจารย์ประจำ                                                                                                 

นายกันต์  ศรีหล้า               อาจารย์ประจำ                                                                            

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

หลักสูตรและจำนวนนักศึกษา

ลำดับที่

รายชื่อหลักสูตร

สาขาวิชาที่เปิดสอน

1.

ระดับปริญญาตรี 5 ปี (ป.ตรี)

การสอนภาษาไทย

2.

ระดับปริญญาตรี 4 ปี (ป.ตรี)

สาขาวิชาปรัชญาศาสนาและวัฒนธรรม

3.

ระดับปริญญาตรี 4 ปี (ป.ตรี)

การปกครอง

รวม

จำนวนหลักสูตร3  หลักสูตร

สาขาวิชาที่เปิดสอนป.ตรี 3 สาขา

1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา

ลำดับที่

คณะ....

จำนวนนักศึกษา

รวม

ปริญญาตรี

 

 

บรรพชิต

คฤหัสถ์

 

1

คณะสังคมศาสตร์

 

 

 

 

สาขาวิชาการปกครอง

35

118

153

2

คณะศึกษาศาสตร์

 

 

 

 

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

10

69

79

3

คณะศาสนาและปรัชญา

 

 

 

 

 

39

3

42

รวม

84

190

274

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

อาจารย์และบุคลากร

ลำดับที่

คณะ...

จำนวนอาจารย์จำแนกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

1

ศาสนาและปรัชญา

-

-

-

-

4

-

-

-

1

1

-

-

5

1

-

-

2

ศึกษาศาสตร์

-

-

-

-

3

2

-

-

-

-

-

-

5

2

-

-

3

สังคมศาสตร์

-

-

-

-

3

-

-

-

2

-

-

-

5

-

-

-

รวม

 

 

 

 

10

2

-

-

3

1

-

-

15

3

 

 

รวมทั้งหมด

 

10

5

15

 

บุคลากรสายสนับสนุน

ที่

ชื่อ-ฉายา/สกุล

วุฒิการศึกษา

ตำแหน่ง/ภาระงาน

1

นางสาวจรัสพร  ทรงสังขาร

บช.บ.(การบัญชี)                                                ศน.ม.(รัฐศาสตร์การปกครอง)

เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี

2

นางสาวจันทรัสม์  โภคสวัสดิ์

ค.บ.(สังคมศึกษา)                                                 ศน.ม.(รัฐศาสตร์การปกครอง)

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป

3

นางสาวธัญรัตน์  โตจำเริญ

ศศ.บ.(การบัญชี)

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

4

นางอุไลวัลย์  เผ่าเพ็ง

ค.บ.(ภาษาไทย)                                            ศศ.บ.(เศรษฐศาสตร์สหกรณ์)

เจ้าหน้าที่งานทะเบียนและวัดผล

5

นายสมร  อาศัย

ศน.บ.(รัฐศาสตร์การปกครอง)

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์บุคคล

6

นางสาวจิรัชญา  ทองใบ

ศศ.บ. (ภาษาอังกฤษธุรกิจ)                                  ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)

เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพการศึกษา

7

นาวสาวนวรัตน์  ผิวอุบล

ร.บ. (รัฐศาสตร์การปกครอง)

เจ้าหน้าที่ห้องสมุด

8

นางสาววิภาพร  แก้วดวงใหญ่

บธ.บ. (การบัญชี)

เจ้าหน้าที่ธุรการ

9

นายอิทธิพล ป้องทอง

ศศ.บ. (สารสนเทศศาสตร์)                                   คอ.ม.(เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์)

เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ

10

นายสันติ  ขอพึ่งด่านกลาง

ศน.บ. (รัฐศาสตร์การปกครอง)

นักวิชาการศึกษา

11

นายณรงค์กร  ทองขาว

ปวส. (คอมพิวเตอร์)

พนักงานขับรถ

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

ลำดับ

ภารกิจ

งบดำเนินการ

รวม

หมายเหตุ

งบประมาณ

เงินรายได้

1

ผลิตบัณฑิต

700,000

-

700,000

 

2

วิจัย

-

-

-

 

3

บริการวิชาการ

708,600

-

708,600

 

4

ทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม

800,000

-

800,000

 

5

บริหารจัดการ

500,000

2,800,000

 

 

500,000

 

รวม

2,708,600

   2,800,000

 

5,508,000

 

 

 

 

 

อาคารสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง

ลำดับ

รายการ

ส่วนงาน

1

อาคารสำนักงาน วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

1.ห้องผู้อำนวยการ จำนวน 1  ห้อง

2.ห้องประชุม จำนวน 1 ห้อง

3.ห้องปฏิบัติงาน/ห้องพักรับรอง จำนวน 1 ห้อง

4.ห้องการเงิน/ห้อง กยศ.  จำนวน 1 ห้อง

5.ห้องงานแผนและนโยบาย จำนวน 1 ห้อง

6.ห้องประกันคุณภาพการศึกษา/งานสารสนเทศจำนวน 1 ห้อง

7.ห้องทะเบียนและวัดผล/งานธุรการ จำนวน 1 ห้อง

8.ห้องงานวิเคราะห์บุคคล/งานอาคารสถานที่/พนักงานขับรถ/แม่บ้าน จำนวน 1 ห้อง

9.งานพัสดุ จำนวน 1 ห้อง

2

อาคารเรียน

 

ชั้น 1

1.ห้องเรียนจำนวน  1ห้อง (ห้อง 101)                                                          2.ห้องกิจการนักศึกษา/ห้องสมาคมศิษย์เก่า จำนวน 1 ห้อง (ห้อง 102)

3.ห้องอาจารย์ประหลักสูตรรวม 3 ห้อง                                                               3.1 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จำนวน 1 ห้อง (ห้อง 104)                          3.2 สาขาวิชาการปกครอง จำนวน 1 ห้อง (ห้อง 105)                                 3.3 สาขาวิชาศาสนาและปรัชญาจำนวน 1 ห้อง (ห้อง 106)

4.ห้องปฐมพยาบาล จำนวน 1 ห้อง (ห้อง 107)

5.ห้องรับรอง/ห้องประชุมสภาคณาจารย์ จำนวน 1 ห้อง (ห้อง 108)

ชั้น 2 อาคารเรียน

6.ห้องเรียนจำนวน  8ห้อง (ห้อง 201-208)

7.ห้องรับรอง/ห้องทำงาน จำนวน 1 ห้อง

ชั้น 3 อาคารเรียน

8.ห้องเรียนจำนวน  8 ห้อง (ห้อง 301-308)

9.ห้องรับรอง/ห้องทำงาน จำนวน 1 ห้อง

3

อาคารหอประชุม

1.ห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน 1 ห้อง                                                   2.ห้องเก็บเอกสาร จำนวน 3 ห้อง

3.ห้องประชุม/นักศึกษาทำกิจกรรม จำนวน 1 ห้อง

4.ห้องสนับสนุนการเรียนรู้ จำนวน 1 ห้อง

5.ห้องปฏิบัติงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน 1 ห้อง

6.ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ห้อง

7.ห้องศิลปวัฒนธรรม จำนวน 1 ห้อง

8.ห้องเรียนจำนวน  1 ห้อง

4

อาคารห้องสมุด

1.ห้องสมุดจำนวน 1 ห้อง

2.ห้องเรียน จำนวน 1 ห้อง

3.ห้องสนับสนุนการเรียนรู้ จำนวน 1 ห้อง

5

โรงอาหาร

โรงอาหารจำนวน 4 ห้อง

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิตอัตลักษณ์และเอกลักษณ์

อัตลักษณ์  :  “บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ”

เอกลักษณ์:  “บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ”

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ
สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.70
3.70
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
2.50
2.50
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
1.67
1.67
บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5.00
5.00
บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
บรรลุ
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
3.81
3.81
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
5
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
1.33
1.33
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.78
3.78
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.17
4.17

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 6 3.06 5.00 3.70 3.81 ดี
2 3 1.33 5.00 5.00 3.78 ดี
3 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 13 2.63 5.00 4.35 4.17 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดีมาก ดี ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.665.005.004.005.004.30
2563 3.505.005.005.005.004.31
2564 3.813.785.005.005.004.17
2565 4.113.175.005.004.003.99
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดเด่น

ที่ตั้งของวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธรตั้งอยู่ทำเลที่เป็นศูนย์กลางคมนาคม เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นที่ดึงดูดความต้องการของนักศึกษารวมไปถึงมีหน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุนการเรียนการสอน ดังนั้น วิทยาลัยควรจะสำรวจหรือวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน/ชุมชน เพื่อให้มีการเปิดหลักสูตรระยะสั้นที่สามารถรองรับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

  • คุณวุฒิปริญญาเอกของอาจารย์ประจำแต่ละหลักสูตร
  • ผลงานทางวิชาการ รวมถึงบทความวิชาการ งานวิจัย ตำรา หรือหนังสือ
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

  • งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
  • การตีพิมพ์หรือเผยแผ่ผลงานวิจัย หนังสือ ตำรา หรืออื่นๆ อันเป็นการส่งเสริมการเรียนการสอน
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

 

 

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
-
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

   แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

    ทบทวนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน เพื่อให้ตอบโจทย์กับการเปลี่ยนแปลงของกฎกระทรวงต่าง ๆ

  • การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตทางการศึกษาที่แท้จริงของวิทยาลัยเพื่อวางแผนการจัดการศึกษาในอนาคต
  • การวิเคราะห์ความเสี่ยงสำหรับการบริหารจัดการภายในวิทยาลัยในอนาคต

 

บทสัมภาษณ์

ก. ข้อมูลที่ได้จากการสุนทรียสนทนากับนักศึกษาปัจจุบัน

1) สาเหตุที่เลือกมาเรียนที่วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก อาจารย์สอนเป็นกันเอง อบอุ่น และเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์สอนได้ครบทั้งคุณธรรมจริยธรรม

2) ตลอด 2 ปี ที่เจอสถานการณ์โควิด (19) อาจารย์ทุกท่านยังสอนหนังสือและให้ความรู้เต็มความสามารถ มีโครงการกิจกรรมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมมากมายผ่านระบบออนไลน์ เช่น การฝึกทักษะการสอน  การพูดคุยกับนักศึกษา

3)   จบแล้วอนาคตอยากประกอบอาชีพครูหรือทำงานที่เกี่ยวกับการการใช้วาทศิลป์หรือการประชาสัมพันธ์ ซึ่งตรงกับสาขาวิชาที่เรียนมา

4)  จุดเด่นที่เลือกเรียนสาขาวิชานี้ เพราะชอบวิชาหลักด้านภาษาไทยที่เน้นการฝึกพูด เน้นฝึกปฏิบัติ และเสริมบุคลิกภาพการเป็นครูตั้งแต่พื้นฐาน มีส่วนร่วมในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำวิจัยกับอาจารย์ประจำหลักสูตร

5)  ในช่วงสถานการณ์โควิด (19) ระบาดหนัก มองในแง่ดีสำหรับการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษามีเวลาอยู่กับครอบครัวและตนเองมากขึ้น ทบทวนตัวเองมากขึ้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง  อาจจะมีข้อเสียตรงที่ไม่ได้มีส่วนร่วมพบปะกันกับเพื่อนๆ อาจารย์ประจำ

6)   สิ่งที่นักศึกษาต้องการเพิ่มเติมสำหรับสนับสนุนการเรียนการสอน คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ทักษะของผู้เรียน อุปกรณ์การสื่อสาร สื่อการเรียนการสอน อินเตอร์เน็ตที่เสถียร ภูมิทัศน์บริเวณวิทยาลัย ป้ายมหาวิทยาลัย และทุนการศึกษาให้เพิ่มจำนวนทุนของคฤหัสถ์

7)  ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าอยากประสบความสำเร็จนักศึกษาจะต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ เพื่อให้อยู่รอดกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองในบางเรื่อง จากหลายช่องทาง เช่น YouTube หรือสื่อต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมองค์ความรู้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการพูดสามารถฝึกพูดได้เอง ด้านการโน้มนาวให้คนเชื่อเรา การประยุกต์ใช้ วาทศิลป์เพื่อค้าขายสินค้าผ่านออนไลน์ จากที่เรียนมาจะต้องปรับใช้ในชีวิตประจำวัน นักศึกษาต้องรู้จักประมาณตน การใช้ชีวิตให้ประหยัด พอเพียง นำหลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาไปปรับใช้

8)   สิ่งที่นักศึกษาต้องการอยากให้วิทยาลัยปรับปรุงและส่งเสริม คือ สื่อเทคโนโลยีด้านการเรียนการสอน และการใช้สื่อการเรียนการสอน จะต้องพร้อมเสมอสำหรับสถานการณ์โลกปัจจุบัน

 

ข. ข้อมูลที่ได้จากการสุนทรียสนทนากับศิษย์เก่า

1)   เลือกเรียนที่วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร เพราะใกล้บ้าน ค่าเทอมไม่แพงเกินไป ทำให้ได้รู้และเข้าใจภาษาบาลีมากขึ้น อ่านได้มากขึ้น

2)   หลังจบจากวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร สอบบรรจุเป็นครูที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญของวัด และได้นำองค์ความรู้ไปใช้ในการสอนพระภิกษุ-สามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ภาษาบาลีกับภาษาไทย ทำให้ตนเองมีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น และสามารถตอบประเด็นต่าง ๆ ได้ตรงประเด็น และการเรียนที่นี้ทำให้เรามีประสบการณ์การวางตัวและอยู่ร่วมกันระหว่างบรรพชิตและคฤหัสถ์

3)   อยากจะสะท้อนเสนอมุมมองสำหรับการพัฒนาหรือส่งเสริมวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร คือ เรื่องงบประมาณสำหรับการบริหารจัดการให้พอเหมาะ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องมีการพัฒนาตามสถานการณ์สังคม การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาใช้สื่อ นวัตกรรม การสอนแบบออนไลน์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจ และสามารถตอบสนองความต้องการเป็นอย่างมาก

4)   วิทยาลัยควรมีการทบทวนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน เพื่อให้ตอบโจทย์และทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่

ภาพถ่าย