Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์


บทสรุปผู้บริหาร

ผลการดำเนินงานของระดับคณะ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเองคือ 4.01  มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้
          องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต หรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 3.41อยู่ในระดับปานกลาง
          องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 3.91 อยู่ในระดับดี
          องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ แก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา พึงให้การบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติในรูปแบบต่าง ๆ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 5 อยู่ในระดับดีมาก
          องค์ประกอบที่ 4 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม ฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานพัฒนาและผ่ยแพร่ศิลปและวัฒนธรรม สร้างสรรค์ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น นี้เท่ากับ 5 อยู่ในระดับดีมาก

          องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ กำกับดูแลการทำงานของสถาบันให้มีประสิทธิภาพ  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5  นี้เท่ากับ 5 อยู่ในระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ชื่อหน่วยงาน : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์ (Mahapajapati Buddhist College)

ที่ตั้ง: 95 หมู่ 7 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150 

โทรศัพท์ : 091-330-709 

เว็บไซต์ :http://mbu.mbc.in.th ,http://mbc.in.th/mbu2/ 

          ประวัติความเป็นมาโดยย่อ

      ในปี พ.ศ. 2537 มูลนิธิ สถาบันแม่ชีไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัตดามาตุ ได้ดำริร่วมกันในการกำหนดบทบาทและสถานภาพของสตรี ภายใต้โครงสร้าง ความเปลี่ยนแปลงและเงื่อนไขของสังคมที่นับวันจะทวีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือสตรีที่ขาดโอกาสและถูกละเลยเอาเปรียบจากสังคม โดยในระยะเริ่มต้นได้ประสานการดำเนินการเพื่อกำหนดสถานภาพของแม่ชี และแสวงหาความร่วมมือในการจัดตั้งสถานศึกษาในลักษณะที่เป็นสถานศึกษาสำหรับ สตรี ที่จัดการศึกษาบนพื้นฐานเฉพาะทางพระพุทธศาสนา

        ในพ.ศ. 2541 องค์กรสตรีทั้งสององค์กร โดยการนำของแม่ชีคุณหญิงขนิษฐา  วิเชียร เจริญ ที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันแม่ชีไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ประสานงานขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏ-ราชวิทยาลัย เพื่อจัดการศึกษาตามความดำริดังกล่าว และสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่  12/2541 เมื่อวันพุธที่ 25พฤศจิกายน 2541 ได้มีมติสนับสนุนโครงการและให้เป็นวิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัย จึงถือว่าโครงการจัดสร้างสถานศึกษาสำหรับสตรีนี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนการ จัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยในระยะเริ่มต้นให้เปิดดำเนินการเรียนการสอนในสาขาวิชาพุทธศาสตร์ (Buddhist Studies) ที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี เลขที่ 501/1 หมู่3 ถนนเดชะตุงคะ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ภายใต้ชื่อว่า “มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย”ในการเปิดการเรียนการสอนที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี กลุ่มองค์กรสตรีได้ดำเนินการจัดสร้างสถานศึกษาแห่งใหม่ขึ้นที่ตำบลภูหลวง อำเภอปักธยงชัย จังหวัดนครราชสีมา บนเนื้อที่จำนวน 76 ไร่ 82 ตารางวา  ซึ่งบริจาคโดย นายเสรี  เวชโช จำนวน 57 ไร่ 82 ตารางวา  และแม่ชีราตรี  ตุรงควัธน์ จำนวน 19 ไร่  และในปี พ.ศ. 2544  ได้เปิดการเรียนการสอนที่ 95 หมู่ 7 ตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาจนถึงปัจจุบัน

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2.1 ปรัชญามหาวิทยาลัย (Philosophy)  

          “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา ”

          "Academic Excellence based on Buddhism"

1.2.2 ปณิธาน (Aspiration)

มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม  ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

          1.2.3 วิสัยทัศน์ (Vision Statements)

          เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตสตรี ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนา สู่สากล

1.2.4 พันธกิจ (Mission Statements)

  1. ผลิตบัณฑิตสตรีให้มีคุณลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งทางด้านพระพุทธศาสนาและภาษาอังกฤษ
  2. ผลิตงานวิจัยตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน
  3. ส่งเสริมการบริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
  4. อนุรักษ์ฟื้นฟูปกป้องศิลปะและวัฒนธรรมของไทยให้ยั่งยืนและเผยแพร่สู่ระดับนานาชาติ
  5. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 2                                                                                                                                  1.3 เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต     

         บัณฑิตสตรีมีความรอบรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับสากล

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยเป็นวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยดังนั้นจึงมีการจัดรูปแบบที่เป็นไปตามความในมาตราที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 และเป็นการจัดตามรูปแบบของวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้รัฐมนตรี (กระทรวงศึกษาธิการ)มีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งมีกิจการของวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ทีกำหนดไว้ในมาตรา 6 คือ“มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริมและให้บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์รวมทั้งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม”การจัดโครงสร้างและระบบการบริหารวิทยาลัยในแต่ละส่วนงานหรือองค์กรมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ตามความในมาตรานั้น ๆแต่ทั้งนี้วิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตแม่ชีและสตรี ดังนั้น การบริหารองค์กรและโครงสร้างการบริหารองค์กรนั้นจึงมีความเป็นเอกลักษณ์เพื่อให้ง่ายและให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้อำนวยการมหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย คณะกรรมการประจำ คณะกรรมการที่ปรึกษารองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโดยมีหน้าที่ในการบริหารจัดการ จัดการเรียนการสอน บริการวิชาการและเพื่อให้สถาบันสามารถดำเนินไปตามพันธกิจหลักที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีหัวหน้าฝ่ายต่าง ๆที่อำนวยความสะดวกและรับผิดชอบในแต่ละหน้าที่ที่สำคัญ เช่นหัวหน้าฝ่ายบริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ตลอดจนกลุ่มงานต่าง ๆ เป็นต้นรายละเอียดการ

บริหารและโครงสร้างองค์กร ดังแผนภาพข้างล่าง ดังต่อไปนี้

 

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

1.5  รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร และกรรมการสภาชุดปัจจุบัน

1.5.1 รายชื่อผู้บริหาร

           1) พระอุดมธีรคุณ                             ผู้อำนวยการ

1.5.2 คณะกรรมการผู้บริหาร

          1) พระครูสุวัฒนธรรมภรณ์,ดร.              กรรมการ

          2)แม่ชีปัณฑิตาภา เนตรน้อย,ผศ.ดร.        กรรมการ

          3) แม่ชีศรีสลับ อุปมัย                         กรรมการ

          4) แม่ชีประครอง งามชัยภูมิ                  กรรมการ

          5) นางพนมมาศ บำรุงศิลป์                   กรรมการ

          6) นางสาวสุดารัตน์ วงค์คำ                   กรรมการ

          7)นางสาวบัณฑิกา จารุมา                    กรรมการ

          8) นางสาวบุศรา สุวรรณไตรย์               กรรมการ

          9) นายชลวัฒน์ กิมซัว                         กรรมการ

          10) นางสาวเบญญาภา เพิ่มบุญ            กรรมการ

          11) แม่ชีจิดาภา ศรีสุข                      กรรมการ

          12)  นางสาวอมรา อร่ามศรี                กรรมการ

          13) แม่ชีวรินทร ฟองลาที                   กรรมการ

          14)แม่ชีนุชจรี  จันทร์ประเสริฐ              กรรมการ

          15) นางสาวกาณฑ์ณพัชร เลี่ยมพรมราช   กรรมการ

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่

สาขาวิชาที่เปิดสอน

รายชื่อหลักสูตร

1.      ระดับปริญญาตรี

สาขาวิชาภาษา อังกฤษเพื่อการสื่อสาร

(หลักสูตร 4 ปี)

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (ศศ.บ.) พ.ศ. 2561

2.      ระดับปริญญาตรี

สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

(หลักสูตร 4 ปี)

ศึกษาศาสตรบัณฑิต(ศษ.บ.) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562

รวม

สาขาวิชาที่เปิดสอน 2 สาขาวิชา

จำนวนหลักสูตร 2 หลักสูตร

   
     
     
     

1.6 จำนวนนักศึกษา

สาขาวิชา

ชั้นปี 1

(รหัส 64)

ชั้นปี 2

(รหัส 63)

ชั้นปี 3

(รหัส 62)

ชั้นปี 4

(รหัส 61)

ชั้นปี 5

 (รหัส 60)

รวม

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

 4  6  -  8  7  25

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

 15  12 25 15  - 67 

รวม

 19  18  25  23  7  92

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

สาขาวิชา

ปี 2562

ปี 2563

ปี 2564

สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

 7

 11

 11(รอรับปริญญา)

สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

 -

 -

 16 (รอรับปริญญา)

รวม

 7

 11

 23

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

จำนวนอาจารย์

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

  • 1.พระครูสุวัฒนธรรมาภรณ์, ดร.(ภัทร เสนวรรณกุล)
  • 2.แม่ชีปัณฑิตาภา เนตรน้อย,ผศ.ดร.
  • 3.แม่ชีประครอง งามชัยภูมิ
  • 4.นางสาวสุดารัตน์ วงค์คำ
  • 5.นางสาวเบญญาภา เพิ่มบุญ

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

      1) พระอุดมธีรคุณ (ภาวัต วิสุทเธสโก,แสวงดี)

      2) นายชลวัฒน์ กิมซัว

     3) นางสาวบัณฑิกา จารุมา

     4) นางสาวบุศรา สุวรรณไตรย์

     5) แม่ชีศรีสลับ อุปมัย

    6) นางพนมมาศ บำรุงศิลป์

ที่

คณะ

จำนวนอาจารย์แยกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

อ.

ผศ.

รศ.

ศ.

อ.

ผศ.

รศ.

ศ.

อ.

ผศ.

รศ.

ศ.

 

คณะศึกษาศาสตร์

 

 

 

 

1

สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

-

-

-

-

3

-

-

-

1

1

-

-

5

 

คณะมนุษยศาสตร์

 

 

 

 

1

สาขาวิชาภาษา อังกฤษเพื่อการสื่อสาร

-

-

-

-

6

-

-

-

-

-

-

-

6

                               

จำนวนบุคลากรสายสนับสนุน

ที่

สาขา

จำนวนบุคลากรสายสนับสนุนจำแนกตามคุณวุฒิ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

1

สาขาวิชาพุทธศาสตร์

4

-

-

4

2

สาขาการบัญชี

1

-

-

1

รวม

5

-

-

5

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

  ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

ลำดับที่

ภารกิจ

งบดำเนินการ

รายได้

หมายเหตุ

งบประมาณ

รายได้

1

ผลิตบัณฑิต

 2,341,000      งบประมาณ อุดหนุนค่าใช้จ่ายผลิตบัณฑิต

2

วิจัย

 

 

 

 

3

บริการวิชาการ

     

 

4

ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

     

 

5

บริหารจัดการ

       

รวม

       

 

อาคารสถานที่

ที่

รายการ

จำนวน

หมายเหตุ

1

อาคารปฏิบัติธรรมหอประชุมอเนกประสงค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

1

อาคาร 2 ชั้น

ห้องอเนกประสงค์

ห้องพัก

ห้องเก็บของ

 

1 ห้อง

1 ห้อง

2 ห้อง

2

มหาปชาบดีเถรีวิทยาคาร

1

ห้องเรียน

ห้องประชุม

ห้องพักครู

ห้องเก็บของ

ห้องทำงาน

6 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

3

หอสมุดสมเด็จย่า 100 ปี

1

อาคาร 2 ชั้น

ห้องสมุด

ห้องเก็บของ

 

1 ห้อง

2 ห้อง

4

หอพักนักศึกษา

2

ห้องพัก

52 ห้อง

5

อาคารอำนวยการ

1

อาคาร 2 ชั้น

ห้องสำนักงาน

ห้องประชุมเล็ก

ห้องปฐมพยาบาล

ห้องเก็บของ

ห้องปฏิบัติการคอมฯ
(จุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต)

ร้านค้าสวัสดิการ

ห้องหัตถกรรม

 

1 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

2 ห้อง

1 ห้อง

 

1 ห้อง

1 ห้อง

6

โรงอาหารครัวคุณย่า

1

ห้องทำอาหาร

ห้องทานอาหาร

ห้องเก็บของ

ห้องพัก

1 ห้อง

1 ห้อง

3 ห้อง

2 ห้อง

7

หอระฆังซาซากาว่า

1

หอระฆัง

1 หลัง

8

หอพักคณาจารย์-เจ้าหน้าที่และสตรีปฏิบัติธรรม

1

ห้องพัก 2 ชั้น

12 ห้อง

9

โรงจอดรถ

1

ที่จอดรถ

16 ช่อง

10

ถังเก็บน้ำอุปโภค บริโภค

3

 

 

11

สนามกีฬา

1

ห้องเก็บของ

ห้องน้ำ

1ห้อง

2 ห้อง

12

ป้อมยาม

1

ป้อมยาม

ห้องน้ำ

1 ห้อง1 ห้อง

13

ที่พักสำหรับพระคุณเจ้า

1

1 ชั้น

2 ห้อง

14

อาคารเรียนใหม่ 3 ชั้น

1

ชั้น 1

ห้องปฏิบัติการทางภาษา

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ห้องปฎิบัติการสอน

ห้องประชุมใหญ่

ห้องน้ำ

ชั้น 2

ห้องเรียน

ห้องผู้อำนวยการ

ห้องทำงานอาจารย์

ห้องน้ำ

ชั้น 3

ห้องประกันคุณภาพการศึกษา

ห้องเรียน

ห้องน้ำ

รวม

 

1 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

1 ห้อง

6 ห้อง

 

7 ห้อง

1 ห้อง

2 ห้อง

6 ห้อง

 

 

1 ห้อง

8 ห้อง

6 ห้อง

22 ห้อง

รวม

17

 

 

 

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต

     บัณฑิตสตรีมีความรอบรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับสากล

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

1.ควรส่งเสริมให้คณาจารย์ในวิทยาลัยดำเนินการตามขั้นตอนการขอตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น

 

2.ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ในวิทยาลัยศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

 

ส่งเสริมให้อาจารย์ทำผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ ในปี 2564-2565

ส่งเสริมให้อาจารย์ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกโดยการให้ทุน หรือให้อาจารย์ขอทุนเพื่อศึกษาต่อ ซึ่งมีอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์กำลังศึกษาต่ออยู่ 2 ท่าน แต่อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ยังไม่พร้อม

1.มีอาจารย์สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 ท่าน ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก (อาจารย์บัณฑิกากำลังศึกษาต่อ/อาจารย์พนมมาศ รอรับปริญญาในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565)

2. มีอาจารย์บัณฑิกา ดำเนินการขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

1. วิทยาลัยฯ ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์วารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

2. วิทยาลัยฯ ควรจัดหาแหล่งทุนจากภายนอกเพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น เช่น การทำความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการทำวิจัย การเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายการวิจัยของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

วิทยาลัยฯ ส่งเสริมให้อาจารย์เผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการโดยการจัดสรรงบประมาณหรือจัดหาแหล่งทุน สำหรับการตีพิมพ์ เช่น การจัดตั้งกองทุน

จัดหาแหล่งทุนจากภายนอกเพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น โดยการขอทุนจาก เช่นสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) หรือจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

1.มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้ง

2.มีประกาศการให้ทุนในการตีพิมพ์ 

 

องค์ประกอบที่ 3  การบริการวิชาการ

1.วิทยาลัยฯ ต้องประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนการบริการวิชาการ และเสนอกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาปรับปรุงแผนการบริการวิชาการให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปีการศึกษาต่อไป

 

2.วิทยาลัยต้องมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับสถาบัน เช่น การเข้าร่วมโครงการการเผยแพร่ธรรมทางวิทยุของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

 

3.วิทยาลัยควรทำความร่วมมือกับเครือข่ายภายนอกในการบริการชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมาย

วิทยาลัยฯ นำผลประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนการบริการวิชาการ มาประชุมเพื่อหาวิธีดำเนินการและแก้ไขหากไม่สามารถดำเนินการในแบบปกติได้จะนำเสนอคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมตามความเหมาะสม  เช่นการจัดทำรูปแบบออนไลน์

วิทยาลัยมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับสถาบัน เช่นการเผยแพร่ธรรมทางวิทยุกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือกิจกรรมการเผยแผ่ธรรมในวันอาสาฬหบูชา เป็นต้น

วิทยาลัยฯ จัดทำความร่วมมือ (MOU)ร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษาที่ 11 จังหวัดนครราชสีมา

1.ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน

2.มีอาจารย์ประจำหลักสูตรคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินและให้ความรู้เกี่ยวกับการสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564

3.จัดทำความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษาที่ 11 จังหวัดนครราชสีมา 

องค์ประกอบที่ 4  การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1.วิทยาลัยควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการสืบสาน อนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ความเป็นไทยและมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน

 

2.วิทยาลัยควรส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการ ศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนหรือการวิจัย หรือการบูรณาการวิชาการที่นำไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปะและวัฒนธรรมและการประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

 

3.วิทยาลัยควรกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมคุณค่าศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นไปตามจุดเน้นของวิทยาลัยและสถาบันหลัก

 

วิทยาลัยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมและอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ความเป็นไทยด้วยการเทศน์ภาษาถิ่นโคราช โครงการเทศน์มหาชาติ ที่สอดแทรกการอบรมสั่งสอนศีลธรรม คุณธรรม แก่ประชาชนและผู้สนใจ เพื่อให้สังคมฟื้นคืนกลับสู่ความเข็มแข็งทางจิตวิญญาณด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยการไลฟ์สดผ่านเพจ Facebook Mahapajapati Buddhist College – มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย วันที่ 5 กันยายน 2564

วิทยาลัยฯ ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์จัดการบูรณาการรายวิชากับการเรียนการสอน เช่น รายวิชาด้านศิลปะและวัฒนธรรม รายวิชาวัด พระสงฆ์และพุทธบริษัท หรือโครงการเทศน์มหาชาติ ซึ่งสามารถวิเคราะห์และบูรณาการเข้ากับรายวิชาทางพระพุทธศาสนา ผสาน สร้างสรรค์อย่างลึกซึ้งได้

วิทยาลัยฯ กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมคุณค่าศิลปะและวัฒนธรรมโดยการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการบริการวิชาการ เพื่อนำพาสังคมด้วยองค์ความรู้บนวิถีธรรมตามศาสตร์สาขาด้านพระพุทธศาสนา อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอบรมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นโอกาสให้ นักศึกษามีความรู้และเกิดความชำนาญในด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น การทำพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันมาฆะบูชา เป็นต้น

มีการบูรณาการรายวิชาเข้ากับพิธีกรรมทางศาสนาผ่านการปฏิบัติโดยนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันอาสาฬหบูชา

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

1.วิทยาลัยควรนำผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของหลักสูตรมาใช้ในการแก้ปัญหาและการลดลงของจำนวนนักศึกษาด้วยการปรับปรุงพัฒนาให้เป็นหลักสูตร(เอกคู่)ที่สร้างทางเลือกการประกอบอาชีพมากขึ้น

 

2.เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจำนวนนักศึกษา วิทยาลัยควรมีการจัดการเรียนการสอนในตัวจังหวัดด้วยการเพิ่มห้องเรียนที่เหมาะสม

วิทยาลัยฯควรปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ให้มีความทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น

 

ลดความเสี่ยงจำนวนนักศึกษาโดยการหาช่องทางประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น ตามกลุ่ม Line,Facebook ,Websiteประชาสัมพันธ์ให้เร็วขึ้นและปรับกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์  

 

1.มีการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

2.ทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการประชุมเพื่อจะให้มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยเปิดทำการเรียนการสอนที่ศูนย์การศึกษาโคราช 

สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.53
3.53
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
1.14
1.14
ไม่บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
0.76
0.76
ไม่บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5
5.00
5.00
บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
3.41
3.41
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
4
4
ไม่บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
5
5
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
0.00
2.73
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.00
3.91
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5
2
5
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
2.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
3
5
ไม่บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
4.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.42
4.01

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 6 2.30 5.00 3.53 3.41 ปานกลาง
2 3 5.00 4.00 2.73 3.91 ดี
3 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 13 2.98 4.86 3.13 4.01 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดีมาก ปานกลาง ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.714.674.005.004.504.17
2563 3.874.123.005.004.504.05
2564 3.413.915.005.005.004.01
2565 3.621.803.675.005.003.29
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนา :

  1. การจัดทำแผนพัฒนาและกิจกรรมนักศึกษา ยังขาดความชัดเจนทางด้านการกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ทำให้ไม่สะท้อนการเสริมสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ ส่งผลทำให้ไม่สามารถนำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงพัฒนานักศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม
  2. การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ในด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น ยังขาด ผลลัพธ์ที่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตรและศักยภาพของอาจารย์โดยมีแผนพัฒนาและกลยุทธ์เชิงรุก
  3. การพัฒนาอาจารย์ด้านวิชาชีพเฉพาะเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน อันจะนำไปสู่คุณภาพของบัณฑิต
  4. ควรมีกิจกรรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่าให้เป็นระบบและมีรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

  1. ควรมีการประเมินผลลัพธ์เชิงคุณภาพของการให้บริการนักศึกษา โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ แล้วจะนำผลการประเมินมาปรับปรุงการให้บริการได้
  2. ควรมีการสำรวจความต้องการของศิษย์เก่าอย่างต่อเนื่องเพื่อการจัดอบรมหรือสัมมนาให้ความรู้แก่ศิษย์เก่าโดยเฉพาะในประเด็นความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพสมัยใหม่หรือนวัตกรรมที่เสริมสร้างความสามารถของศิษย์เก่าให้เพิ่มขึ้น
  3. ควรมีการทบทวนการจัดทำแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษา เพื่อสะท้อนถึงคุณภาพบัณฑิตที่พึงประสงค์ และคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ โดยสามารถประเมินผลความสำเร็จในเชิงคุณภาพ โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ ที่สะท้อนผลความสำเร็จในการจัดแผนและกิจกรรม เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงการให้บริการได้ และปรับปรุงกิจกรรมและแผนพัฒนานักศึกษา ส่งผลทำให้สามารถพัฒนานักศึกษาได้ตามปรัชญา เป้าหมาย และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามความคาดหวังของหลักสูตร (มคอ.2) วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้อย่างเหมาะสม
  4. วิทยาลัยควรมีแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการที่ชัดเจนทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ และตำแหน่งทางวิชาการให้ก้าวหน้า วิทยาลัยควรนำแผนความต้องการพัฒนารายบุคคล (IDP) ไปทำการวิเคราะห์และวางแผนทั้งในระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งวางแผนทรัพยากรที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา ตามความต้องการของหลักสูตรและผู้ใช้บัณฑิต โดยวิทยาลัยควรร่วมกับหลักสูตรทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการพัฒนาอาจารย์ให้สอดคล้องกับลักษณะของหลักสูตรและหาแนวทางในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาให้ชัดเจนแล้ว นำมาจัดทำแผนการพัฒนาในภาพรวมของวิทยาลัย เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือและติดตามการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดที่ควรพัฒนา :

  1. ผลงานตีพิมพ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย
  2. ควรพัฒนาระบบงานสารสนเทศงานวิจัย เพื่อการบริหารงานให้สามารถนำข้อมูลในระบบสารสนเทศงานวิจัยมาบริหารจัดการเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. พิจารณากลยุทธ์ในการส่งเสริมคณาจารย์ในการสร้างงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ รวมถึงการขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานภายนอกให้มากขึ้น ผลงานวิชาการให้เพิ่มขึ้นและกระจายให้ทั่วถึง

 

          ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา :

  1. วิทยาลัยควรประเมินศักยภาพของบุคลากรและความสามารถเฉพาะด้าน มากำหนดทิศทาง งานวิจัยให้สอดคล้องกับหลักสูตร โดยมีการสร้างทีมวิจัยตามความเชี่ยวชาญเฉพาะ รวมถึงความต้องการแก้ไขปัญหาของคณะ พร้อมด้วยการส่งเสริม สนับสนุนเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณในการตีพิมพ์ผลงานวิจัย และการเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์ให้มีความต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดควรพัฒนา :

  1. การบริการทางวิชาการได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่ามีตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนไม่สอดคล้องกับกิจกรรมและโครงการ และผลลัพธ์การบริการทางวิชาการแก่สังคมของวิทยาลัย ไม่ได้สะท้อนให้งานบริการทางวิชาการบรรลุเป้าหมาย

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา :

  1. ควรมีการทบทวน ตัวชี้วัดความสำเร็จ ด้านบริการวิชาการ อันจะส่งผลต่อการประเมินผลลัพธ์ความสำเร็จของความเข้มแข็งการบริการวิชาการ โดยกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ และในการดำเนินการทางด้านบริการทางวิชาการ ต้องมีการนำข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์ของวิทยาลัยซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ โดยกำหนดเป้าหมายการบริการทางวิชาการในปี 2564 มีเป้าหมายอย่างไร ตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จคืออะไร แล้วนำมาเป็นหลักในการดำเนินการบริการวิชาการของวิทยาลัย รวมทั้งประเมินความสำเร็จของการบริการทางวิชาการตามตัวบ่งชี้ของแผนที่กำหนด ทำให้ทราบปัญหาที่จะต้องนำมาปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้ผลลัพธ์ของการบริการวิชาการดีขึ้นกว่าเดิม
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดที่ควรพัฒนา :

  1. การทำแผนกลยุทธ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและตัวบ่งชี้ความสำเร็จของ
    การดำเนินกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ยังไม่สะท้อนผลลัพธ์ที่ชัดเจน และในกิจกรรมโครงการที่ดำเนินการไม่ได้ตอบผลลัพธ์ว่าดำเนินการแล้วได้รับประโยชน์อย่างไรจากการดำเนินกิจกรรมโครงการ

          ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา :

  1. วิทยาลัยควรนำเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ มาเป็นแผนหลักในการกำหนดโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการประจำปีและกำกับติดตามผลลัพธ์ของกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อจะส่งผลให้ตัวชี้วัดความสำเร็จตามกลยุทธ์ด้านศิลปวัฒนธรรมบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งตัวบ่งชี้ของแผนที่สะท้อนความสำเร็จตามพันธกิจของการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทยรวมถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมขององค์กรโดยเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่สะท้อนถึงการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรม และนำมาเป็นแนวทางพัฒนานักศึกษาด้านศิลปะและวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ควรมีการทบทวนแผนกลยุทธ์ ในส่วนของการกำหนดตัวบ่งชี้ที่เป็นผลลัพธ์ของการดำเนินการที่สะท้อนความสำเร็จของผลลัพธ์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
    เพราะเป็นตัวบ่งชี้ที่เน้นปัจจัยนำเข้า เช่น จำนวนโครงการ จำนวนหลักสูตร จึงไม่ได้สะท้อนความสำเร็จของแผนได้ รวมทั้งทบทวนแผนกลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อทำให้แผน
    กลยุทธ์บรรลุเป้าหมาย
  2. มีการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละหลักสูตร แต่ไม่ได้นำไปวิเคราะห์ว่า ต้นทุนของแต่ละหลักสูตรนั้นมาจากค่าใช้จ่ายในพันธกิจใดบ้าง และยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งโอกาสทางการแข่งขันในแต่ละหลักสูตร
  3. ควรทบทวนตัวชี้วัดของ แผนพัฒนาบุคลากรรวมทั้งสายวิชาการและ
    สายสนับสนุนอย่างเป็นระบบ และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แท้จริง เช่น ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ที่สูงขึ้น ตำแหน่งชำนาญการ เชี่ยวชาญ ของสายสนับสนุน
  4. การบริหารความเสี่ยงและการจัดการความรู้ ส่วนใหญ่นำปัญหาและการควบคุมภายในมาเป็นความเสี่ยง และการจัดการความรู้มีกระบวนการในการดำเนินงานยังไม่สมบูรณ์และความต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการทำงานของวิทยาลัย
  5. การพัฒนาหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร เพื่อการยกระดับคุณภาพ

 

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา :

  1. ควรมีการทบทวนแผนกลยุทธ์  โดยกำหนดตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน ในส่วนของการกำหนดตัวบ่งชี้ที่เป็นผลลัพธ์ของการดำเนินการที่สะท้อนความสำเร็จของผลลัพธ์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ และเป็นตัวบ่งชี้ที่สะท้อนความสำเร็จของแผนได้อย่างชัดเจน ผู้บริหารทุกระดับของวิทยาลัยควรมีการกำกับติดตามผลลัพธ์อย่างเป็นระบบและตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่กำหนดไว้
  2. เมื่อมีการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยแล้ว วิทยาลัยและหลักสูตรควรนำต้นทุนต่อหน่วยไปวิเคราะห์ ต้นทุนต่อหน่วยของหลักสูตรมาจากค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นไปตามพันธกิจหรือไม่ และพันธกิจใดที่ใช้งบประมาณเป็นพิเศษ เหมาะสมหรือไม่ การจัดการบริหารหลักสูตรแต่ละหลักสูตรมีความคุ้มค่าหรือไม่ ควรวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของทุกหลักสูตรในคณะหรือเพื่อพิจารณาความแตกต่าง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และโอกาสทางการแข่งขัน
  3. ควรมีการทบทวนประเด็นความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ความเสี่ยงควรวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงภายนอก และประเด็นปัจจัยเสี่ยงที่คาดการณ์ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์หรือกระทบต่อภาพลักษณ์ของวิทยาลัยได้ แล้วนำมาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง การดำเนินการป้องกันความเสี่ยง การตรวจสอบความเสี่ยง และสุดท้ายความเสี่ยงลดลงหรือไม่อย่างไร
  4. การดำเนินการจัดทำการจัดการความรู้ที่วิทยาลัยควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยการนำ Tacit Knowledge ของอาจารย์ที่มีศักยภาพด้านการเรียนการสอนหรืองานวิจัยโดยคณะกรรมการจัดการความรู้ร่วมกันเลือกประเด็นที่คณะกรรมการสามารถนำ Tacit Knowledge ของตนออกมาจัดทำเป็น Explicit Knowledge และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายครั้ง จนความรู้ในประเด็นนั้นตกผลึก มีการจัดแผนการจัดการความรู้นำสู่การปฏิบัติ ตลอดจนนำไปทดลองใช้และนำไปแลกเปลี่ยนสร้างความเข้าใจประเด็นองค์ความรู้ สุดท้ายเป็นองค์ความรู้ขององค์กร
  5. ควรจัดทำแผนการจัดการความรู้ระยะสั้น (4 ปี) และแผนบริหารความเสี่ยงระยะสั้น (4 ปี) ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย เพื่อการรวบรวมผลการดำเนินงานตามแผนในแต่ละปีอย่างต่อเนื่องและพัฒนาปรับปรุงหรือทบทวนแผนในแต่ละปี เช่น ผลการดำเนินงานของแผนการจัดการความรู้ ความสามารถรวบรวมองค์ความรู้และการถอดบทเรียนองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นแต่ละปีนำมาเผยแพร่เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
  6. การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร วิทยาลัยควรจัดทำตัวชี้วัดที่ท้าทาย ต่อผลลัพธ์ ตามตัวบ่งชี้ เช่น ตำแหน่งทางวิชาการ ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์ และติดตามแผนกลยุทธ์ในแต่ละปีให้การพัฒนาบุคลากรเป็นไปตามเป้าหมาย และสะท้อนผลลัพธ์ของการพัฒนาบุคลากรโดยมหาวิทยาลัยมีการเพิ่มขวัญ และกำลังใจของบุคลากรในองค์กรอย่างแท้จริง
  7. ควรมีการนำผลการดำเนินการของหลักสูตร และการประเมินคุณภาพหลักสูตรในภาพรวมมาพิจารณาปรับปรุงการดำเนินการและการบริหารหลักสูตรในแต่ละหลักสูตร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเชิงผลลัพธ์ เพื่อให้สะท้อนถึงการผลิตบัณฑิตตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และเชื่อมโยงกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพตามกรอบ TQF ผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง 5 Domain  และการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตาม Leaning Outcome และ PLOs ที่เป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับหลักสูตรมากขึ้น เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพหลักสูตร
บทสัมภาษณ์

ศิษย์ปัจจุบัน

มีกิจกรรมที่ได้ร่วมและชื่นชอบบ้างไหม

  • โครงการธรรมะยุติความรุนแรง

ในการที่มาเรียนที่วิทยาลัยถ้าเราให้คะแนนเต็ม 10 นักศึกษาให้กี่คะแนน

  • 9
  • 8

ต้องการให้วิทยาลัยพัฒนาในเรื่องอะไรบ้าง

  • การเดินทาง วิทยาลัยตั้งอยู่ไกลยากที่จะเข้าถึงได้
  • นักศึกษาชาวพม่าอยากได้โอกาสในการทำงาน เพื่อนำเงินไปใช้ในชีวิตประจำวัน

มีข้อดีอะไรบ้างในการที่มาเรียนวิทยาลัยแห่งนี้

  • ไม่ทำให้เราเถลไถล สามารถควบคุมตัวเองได้ว่าเรามาทำอะไรมีจุดประสงค์อะไร
  • อาจารย์ดูแลดี เป็นกันเอง

อยากให้ทางหลักสูตรมีการพัฒนาและเพิ่มเติมอะไรบ้าง

  • หลักสูตรมีมาตรฐานอยู่แล้ว อาจารย์มีประสบการณ์ในการสอน
  • อยากได้โอกาสออกไปเรียนรู้กับภายนอกมากขึ้น

จากการที่มาเรียนที่วิทยาลัยมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอไหม

  • มีเพียงพอทั้งระบบอินเตอร์เน็ต และคอมพิวเตอร์

เหตุผลที่มาเรียนวิทยาลัยตั้งความหวังไว้อย่างไร

  • คิดว่าอยากจะเรียนและหางานที่นี่ทำ ในช่วงที่เรียนอยู่จะตั้งใจเรียนให้ดี
  • อยากรับราชการ มหาวิทยาลัยมีหอพักให้แก่นักศึกษา และมีโอกาสได้รับทุนในการเรียนอีกด้วย

เราจะแนะนำเพื่อนให้มาเรียนที่นี่ไหม

  • อยากแนะนำให้มาเรียน เพราะว่าจะทำให้เราได้เรียนรู้และการใช้ชีวิตด้วยกันมากขึ้น

นักศึกษาอยากฝากอะไรถึงวิทยาลัยไหม

  • อยากขอบคุณวิทยาลัยที่เปิดโอกาสให้ได้เข้ามาเรียน และอยากให้วิทยาลัยเปิดโอกาสให้เพศอื่นๆเข้ามาเรียนด้วย

ผู้แทนชุมชน

ในฐานะที่ท่านเป็นตัวแทนชุมชนทางวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่ชุมชนหรือมีการช่วยเหลืออะไรบ้าง

  • ได้มีกิจกรรมทางศาสนาหรือที่วัด วิทยาลัยก็เข้าไปช่วยตลอด

อยากให้วิทยาลัยไปช่วยเหลืออะไรบ้าง

  • ทางวัดมีกิจกรรมหรืองานประเพณีก็จะให้เด็กนักศึกษาไปช่วยงาน

ได้มีส่วนช่วยเหลือทางวิทยาลัยบ้างไหม

  • ได้ให้ยืมของใช้ที่จำเป็น และอำนวยความสะดวกและให้ใช้สถานที่ในวัดในการจัดกิจกรรมต่างๆ และทุกๆกิจกรรมที่วิทยาลัยแจ้งไปก็จะเข้าช่วยเหลือตลอด

จากการที่วิทยาลัยตั้งอยู่ในชุมชนอยากจะทราบว่า จุดเด่นและสิ่งที่ควรพัฒนามีอะไรบ้าง

  • นักศึกษายังน้อย อยากให้มีการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น

ศิษย์เก่า

มาอยู่วิทยาลัยกี่ปี

  • 5 ปี

จากการที่มาเรียได้นำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ไหม

  • ได้นำความรู้ที่เรียนกลับมาสอนภาษาอังกฤษให้แก่ประเทศตัวเอง และสามารถจัดทำแผนการสอนได้และนำไปใช้ได้จริง

จากการที่มาเรียนมีอะไรบ้างที่ควรปรับปรุง

  • ต้องการให้วิทยาลัยจัดสรรหนังสือในห้องสมุดให้มากกว่านี้ ซึ่งตอนที่ทำวิจัยรู้สึกว่าหนังสือไม่เพียงพอ

มีความภาคภูมิใจและอยากให้เพื่อนมาเรียนที่นี่ไหม

  • มีความภูมิใจมากและอยากให้เพื่อน ๆ น้อง ๆ เข้ามาเรียนที่นี่ เพราะวิทยาลัยทำให้เรียนรู้วิธีการสอนเด็กและกิจกรรมต่างๆที่เหมาะสมที่เราจะนำไปจัดให้แก่เด็กๆได้
ภาพถ่าย