Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง คะแนนเฉลี่ย 4.12 อยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบ ที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับคะแนนเฉลี่ย 3.82 อยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 3.55 อยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ร่วมกับมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา และสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ตั้งอยู่เลขที่ 128 หมู่ที่ 6 ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทร. 075-809128-9 | http://www.ssc.mbu.ac.th

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) เป็นสถาบันการศึกษา ที่ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2436 ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้จัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเรียกชื่อว่า “สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย” โดยวัตถุประสงค์ตามที่สมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งไว้ 3 ประการ คือ

1) เพื่อเป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์

2) เพื่อเป็นสถานศึกษาวิทยา ซึ่งเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศแห่งกุลบุตรทั้งหลาย

3) เพื่อเป็นสถานที่จัดสั่งสอนพระพุทธศาสนา

จนถึง ในปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” ให้เป็น มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นนิติบุคคล (มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ) เป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการพรุทธศาสนาแก่ภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ขยายการศึกษาออกไปเปิดวิทยาเขต ในส่วนภูมิภาค รวม 7 วิทยาเขต 3 วิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ได้ก่อตั้งและเปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีสถานที่ตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งวิทยาเขตแห่งนี้ได้ดำเนินการก่อตั้งโดย พระธรรมรัตโนภาส (ประดับ โอภาโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) ได้เล็งเห็นว่า มีพระภิกษุ-สามเณรในส่วนภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ที่มีความประสงค์จะศึกษาเล่าเรียนในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่สามารถเข้าไปศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพมหานครได้ เนื่องจากข้อจำกัด เรื่องการหาที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ ได้นั้นค่อนข้างลำบาก จึงได้ขอขยายวิทยาเขตออกมาตั้ง ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชอันเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคใต้ และได้นำเอาพระนามของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ปฐมกษัตริย์ของเมืองนครศรีธรรมราชในอดีต และทรงเป็นผู้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์อันเป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช มาเป็นชื่อของวิทยาเขตเพื่อเป็นมงคลนาม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็นวิทยาเขตเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2535 ตามคำสั่งสภาการศึกษามหาวิทยาลัย ที่ 26/2535

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ได้ย้ายสถานที่ทำการเรียนการสอนไปยังอาคารเรียน ภายในวัดป่าห้วยพระ หมู่ที่ 5 ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราชภายในวัดป่าห้วยพระ อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง และมีความยากลำบากในการเดินทางของนักศึกษา พระเทพปริยัติวิมล อธิการบดีในสมัยนั้น ได้มอบนโยบายว่าสถานที่ตั้งของวิทยาเขตควรอยู่ในทำเลที่เหมาะสม คณะผู้บริหารวิทยาเขตจึงได้เสนอโครงการขออนุมัติจัดซื้อที่ดินเพื่อขยายวิทยาเขต ในปี พ.ศ. 2555 และเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564ได้ย้ายสถานที่ทำการเรียนการสอนมาที่แห่งใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 128 หมู่ที่ 6 ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช และในปี พ.ศ. 2565 วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราชได้เปิดทำการเรียนการสอนครบรอบ 30 ปี โดยเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งได้ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้พระพุทธศาสนาและสังคมมาแล้วเป็นจำนวนมาก

ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส (ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์)

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยามหาราช ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี อันเป็นพระบรมราชสมภพ

คติพจน์ประจำมหาวิทยาลัย

ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์

ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระมหามงกุฎ และอุณาโลม สื่อความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ 4 พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราชวิทยาลัย”

พระเกี้ยวยอด สื่อความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง “มหามกุฏราชวิทยาลัย” และพระราชทานทรัพย์บำรุง ปีละ 60 ชั่ง

หนังสือ สื่อหมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา เพื่อการศึกษาค้นคว้า และเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษ สื่อหมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน การพิมพ์เผยแพร่คัมภีร์และการผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นทั้งสถาบันศึกษาและแหล่งผลิตตำรับตำราทางพระพุทธศาสนา

ช่อดอกไม้แย้มกลีบ สื่อความหมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญา และวิทยาการในทางพระพุทธศาสนา และหมายถึง กิตติศัพท์กิตติคุณที่ฟุ้งขจรไป ดุจกลิ่นแห่งดอกไม้

ธงชาติไทย สื่อความหมายถึง อุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่มุ่งพิทักษ์สถาบันหลักทั้ง 3 คือ ชาติไทย พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์

พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ สื่อความหมายถึง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคง และแพร่หลายของพระพุทธศาสนา

วงรัศมี สื่อความหมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา วิสุทธิ สันติ และกรุณา ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมุ่งสาดส่องไปทั่วโลก

แพรแถบสีส้มระบุนามมหามกุฏราชวิทยาลัย สื่อความหมายถึง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยอันเป็นสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนาระดับอุดมศึกษา

 

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ปรัชญา

ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา (Academic Excellence based on Buddhism)

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มุ่งที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรม มีความสามารถในการคิดเป็น พูดเป็น ทำเป็น มีคุณธรรมประจำกาย วาจา ใจ มีอุดมคติและอุดมการณ์ มุ่งอุทิศชีวิตบำเพ็ญประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ผู้อื่น

ปณิธาน

มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพโดยให้มีความรู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรมมีความสามารถดีในการคิดเป็นพูดเป็นทำเป็นมีคุณธรรมและจริยธรรมประจำกายวาจาใจมีอุดมคติและมีอุดมการณ์มุ่งอุทิศชีวิตบำเพ็ญประโยชน์ตนและผู้อื่นเพื่อให้บัณฑิตเข้าใจโลกและชีวิตอย่างลึกซึ้งสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข

วิสัยทัศน์

1) วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราชจะมุ่งพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องมีระบบบริหารจัดการและระบบประกันคุณภาพที่ดีสามารถให้ความเชื่อมั่นแก่สังคมได้ว่ามหาวิทยาลัยในฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยอย่างมีคุณภาพและทันสมัย

2) เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน ที่มุ่งผลิตบัณฑิตตามแนวทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ความสามารถและมีศีลธรรมในการดำรงชีวิตแบบพุทธ

3) เป็นสถาบันที่ดำรงคุณค่าและอุดมการณ์ของการเป็นประชาคมแห่งการสร้างสรรค์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

4) จะมุ่งมั่นพัฒนาสถาบันให้มีการทำวิจัยเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนาเพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

พันธกิจ

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีภารกิจที่จะต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอย่างมีระบบและต่อเนื่องตลอดจนเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยแก่สาธารณชนทั้งนี้โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยนโยบายของทบวง มหาวิทยาลัยและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยมีพันธกิจดังต่อไปนี้

1) พัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตของวิทยาเขตฯ ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน

2) ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอย่างต่อเนื่อง

3) การถ่ายทอดและมีการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนในท้องถิ่นเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ

4) แสวงหาความร่วมมือด้านต่างๆจากสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่นเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ

5) ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนางานวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมการเมืองและความต้องการของท้องถิ่น

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

การจัดรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัย เป็นการจัดตามความในมาตราที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 และเป็นการจัดตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้รัฐมนตรี (กระทรวงศึกษาธิการ) มีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตราที่ 6 คือ “วัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัยส่งเสริม และการให้บริการทางพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการบำรุงศิลปวัฒนธรรม” การจัดโครงสร้างและระบบการบริหารมหาวิทยาลัย ในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ตามความในมาตรานั้นๆ โดยอาจจำแนกองค์กรหรือหน่วยงานหลักๆ ได้ดังนี้

 

 

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

คณะกรรมการประจำวิทยาเขต

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

1.

รองอธิการบดีวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

ประธานกรรมการ

2.

ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ในวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

กรรมการ

3.

ผู้อำนวยวิทยาลัยศาสนศาสตร์ศรีธรรมาโศกราช

กรรมการ

4.

ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ศรีธรรมาโศกราช

กรรมการ

5.

ผู้ช่วยอธิการบดี วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

กรรมการ

6.

ดร.สันติ อุนจะนำ

กรรมการ

7.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพมาศ เศวตวรโชติ

กรรมการ

8.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี

กรรมการ

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

หลักสูตรที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2564

1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

ชื่อภาษาไทย

: ศิลปะศาสตรบัณฑิต (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

ชื่อย่อไทย

: ศศ.บ. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

ชื่อภาษาอังกฤษ

: Bachelor of Arts (Buddhist Studies for Development)

ชื่อย่ออังกฤษ

: B.A. (Buddhist Studies for Development)

2. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

ชื่อภาษาไทย

: รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง)

ชื่อย่อไทย

: ร.บ. (การปกครอง)

ชื่อภาษาอังกฤษ

: Bachelor of Political Science Program in Government

ชื่อย่ออังกฤษ

: B.Pol.Sc. (Government)

3. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)

ชื่อภาษาไทย

: ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนสังคมศึกษา)

ชื่อย่อไทย

: ศษ.บ. (การสอนสังคมศึกษา)

ชื่อภาษาอังกฤษ

: Bachelor of Education (Teaching Social Studies)

ชื่อย่ออังกฤษ

: B.Ed. (Teaching Social Studies)

4. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)

ชื่อภาษาไทย

: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

ชื่อย่อไทย

: ศศ.ม. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

ชื่อภาษาอังกฤษ

: Master of Arts (Buddhist Studies for Development)

ชื่อย่ออังกฤษ

: M.A. (Buddhist Studies for Development)

5. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)

ชื่อภาษาไทย

: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์)

ชื่อย่อไทย

: ศศ.ม. (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์)

ชื่อภาษาอังกฤษ

: Master of Arts (Buddhistic Sociology)

ชื่อย่ออังกฤษ

: M.A. (Buddhistic Sociology)

6. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

ชื่อภาษาไทย

: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

ชื่อย่อไทย

: ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)

ชื่อภาษาอังกฤษ

: Master of Education (Educational Administration)

ชื่อย่ออังกฤษ

: M.Ed. (Educational Administration)

7. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)

ชื่อภาษาไทย

: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์)

ชื่อย่อไทย

: ปร.ด. (สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์)

ชื่อภาษาอังกฤษ

: Doctor of Philosophy (Buddhistic Sociology)

ชื่อย่ออังกฤษ

: Ph.D. (Buddhistic Sociology)

8. หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

ชื่อภาษาไทย

: ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

ชื่อย่อไทย

: ศษ.ด. (การบริหารการศึกษา)

ชื่อภาษาอังกฤษ

: Doctor of Education (Educational Administration)

ชื่อย่ออังกฤษ

: Ed.D. (Educational Administration)

9. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ชื่อภาษาไทย

: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

ชื่อย่อไทย

: ร.ม.

ชื่อภาษาอังกฤษ

: Master of Political Science

ชื่อย่ออังกฤษ

: M.Pol.Sc.

10. หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ชื่อภาษาไทย

: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ชื่อย่อไทย

: ร.ด.

ชื่อภาษาอังกฤษ

: Doctor of Political Science

ชื่อย่ออังกฤษ

: D.Pol.Sc.



1.6 จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 2564

ในปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีนักศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 634 รูป/คน โดยแบ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 407 รูป/คน (ร้อยละ 64.20) เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 165 รูป/คน (ร้อยละ 26.03) และเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก 62 รูป/คน (ร้อยละ 9.78) จำแนกดังต่อไปนี้

คณะ / สาขาวิชา

จำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2564

รวมทั้งหมด

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

บรรพชิต

คฤหัสถ์

บรรพชิต

คฤหัสถ์

บรรพชิต

คฤหัสถ์

คณะศาสนาและปรัชญา

 

 

 

 

 

 

 

- สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

17

9

11

8

-

-

45

คณะศึกษาศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

10

30

-

-

-

-

40

- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

-

-

0

60

1

21

82

คณะสังคมศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

- สาขาวิชาการปกครอง

49

292

-

-

-

-

341

-  สาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์

-

-

18

19

12

7

56

-  รัฐศาสตร์

-

-

14

35

5

16

70

                                    รวมทั้งหมด

76

331

43

122

18

44

634

 

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2564

ในปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง จำนวนทั้งหมด 33 รูป/คน จำแนกดังต่อไปนี้

คณะ / สาขาวิชา

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา (ปริญญาตรี)

บรรพชิต

คฤหัสถ์

รวม

คณะสังคมศาสตร์

 

 

 

- สาขาวิชาการปกครอง

5

28

33

รวม

5

28

33

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มีบุคลากรทั้งหมด 56 รูป/คน โดยแบ่งเป็นสายวิชาการ จำนวน 31 รูป/คน มีคุณวุฒิระดับปริญญาโท 14 รูป/คน (ร้อยละ 45.16) และมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก 17 รูป/คน (ร้อยละ 54.84) แบ่งตามตำแหน่งทางวิชาการ มีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 5 รูป/คน (ร้อยละ 16.13) และมีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 3 รูป/คน (ร้อยละ 9.68) และแบ่งเป็นบุคลการสายสนับสนุน จำนวน 25 รูป/คน มีวุฒิปริญญาตรี 12 รูป/คน (ร้อยละ 48.00) และมีวุฒิระดับปริญญาโท 13 รูป/คน (ร้อยละ 52.00) ดังตารางรายละเอียดต่อไปนี้

ตารางจำแนกประเภทของบุคลากร

ประเภท

ระดับการศึกษา

รวม

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาตรี

ผู้บริหารระดับสูง

1

-

-

1

ผู้บริหารระดับกลาง

2

1

-

3

อาจารย์

 

 

 

 

- อาจารย์ประจำ

7

4

-

11

- อาจารย์พิเศษประจำ

6

10

 

16

เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน

 

 

 

 

- ประจำ

 

9

5

14

- สัญญาจ้าง

 

4

7

11

รวม

11

25

13

50

 แสดงรายนามบุคลากรสายวิชาการ (*รวมผู้บริหารระดับสูง/ ระดับกลาง)

ที่

ชื่อ-นามสกุล

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

ตำแหน่งทางวิชาการ

ตรี

โท

เอก

ผศ.

รศ.

ศ.

1.

พระครูสิริธรรมาภิรัต, ผศ.ดร.

รองอธิการบดี

 

 

/

/

 

 

2.

พระมหาวิชาญ กนฺตสีโล, ดร.

ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต

 

 

/

 

 

 

3.

พระครูธรรมจักรเจติยาภิบาล

ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ

 

/

 

 

 

 

4.

รศ.ดร.เดชชาติ ตรีทรัพย์

ผู้ช่วยอธิการบดี

 

 

/

 

/

 

5.

พระราชวิสุทธิกวี

อาจารย์ประจำ

 

/

 

 

 

 

6.

พระครูบวรชัยวัฒน์ เมธิโก, ดร.

อาจารย์ประจำ

 

 

/

 

 

 

7.

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร, ดร.

อาจารย์ประจำ

 

/

 

 

 

 

8.

ดร.สันติ อุนจะนำ

อาจารย์ประจำ

 

 

/

 

 

 

9.

ผศ.ดร.ทิพมาศ เศวตวรโชติ

อาจารย์ประจำ

 

 

/

/

 

 

10.

นายธีรักษ์ หนูทองแก้ว

อาจารย์ประจำ

 

/

 

 

 

 

11.

รศ.ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว

อาจารย์ประจำ

 

 

/

 

/

 

12.

ดร.บุญส่ง ทองเอียง

อาจารย์ประจำ

 

 

/

 

 

 

13.

ผศ.ดร.ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี

อาจารย์ประจำ

 

 

/

/

 

 

14.

ดร.สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

อาจารย์ประจำ

 

 

/

 

 

 

15.

นางจินตนา กะตากูล

อาจารย์ประจำ

 

/

 

 

 

 

16.

พระครูปริยัติวุฒิธาดา

อาจารย์พิเศษประจำ

 

/

 

 

 

 

17.

พระมหาประทิ่น เขมจารี

อาจารย์พิเศษประจำ

 

/

 

 

 

 

18.

พระครูธีรธรรมานุยุต

อาจารย์พิเศษประจำ

 

/

 

 

 

 

19.

พระปลัดวิสุทธิ์ศรี นนฺทชโย, ดร.

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

/

 

 

 

20.

พระปลัดสุริยา อาภาโค

อาจารย์พิเศษประจำ

 

/

 

 

 

 

21.

พระมหาโยธิน มหาวีโร

อาจารย์พิเศษประจำ

 

/

 

 

 

 

22.

พระมหาอภิพงค์ ภูริวฑฺฒโน

อาจารย์พิเศษประจำ

 

/

 

 

 

 

23.

พระปลัดไพโรจน์ อตุโล

อาจารย์พิเศษประจำ

 

/

 

 

 

 

24.

พระอนุรักษ์ อนุรกฺขิโต

อาจารย์พิเศษประจำ

 

/

 

 

 

 

25.

รศ.สมเกียรติ ตันสกุล

อาจารย์พิเศษประจำ

 

/

 

 

/

 

26.

ผศ.ดร.เกศริน มนูญผล

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

/

/

 

 

27.

ผศ.ดร.สรัญญา แสงอัมพร

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

/

/

 

 

28.

ดร.เบญจ์ พรพลธรรม

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

/

 

 

 

29.

ดร.สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

/

 

 

 

30.

ว่าที่ร้อยตรี ดร.กอบกิตติ์ สุวรรณโชติ

อาจารย์พิเศษประจำ

 

 

/

 

 

 

31.

นายเอกชัย แซ่ลิ้ม

อาจารย์พิเศษประจำ

 

/

 

 

 

 

 

 บุคลากรสายสนับสนุน

ที่

ชื่อ-นามสกุล/ฉายา

ตำแหน่ง

ตรี

โท

32.

นางจิตรา อุนจะนำ

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

 

/

33.

นายวิทยา ระน้อมบำรุง

นักวิชาการฝ่ายพัสดุ

/

 

34.

นางลำเจียก พันธุ์อุดม

บรรณารักษ์

/

 

35.

นายประเสริฐ เนาวพล

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป

 

/

36.

นายมนต์ชัย ทองสม

นักวิชาการการเงินและบัญชี

 

/

37.

นางกุสุมา ทองเอียง

นักวิชาการการเงินและบัญชี

 

/

38.

นางสาวสุฑารัตน์ บุญมี

บรรณารักษ์

 

/

39.

นายชุติเดช สุวรรณมณี

เจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผล

 

/

40.

นางสาวสุทธิดาลักษมี ปิยภัทร์มงคล

นักวิชาการการเงินและบัญชี

 

/

41.

นายภาควัฒ ปล้องสุวรรณ

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป

 

/

42.

นางสาวปิยารัตน์ นาคพุ่ม

นักวิชาการการเงินและบัญชี

/

 

43.

นายจิรพัฒน์ เผือแก้ว

เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพการศึกษา

 

/

44.

นายจันทร์ทอง พิชคุณ

นักการ

/

 

45.

นายเชาวลิต ระน้อมบำรุง

พนักงานขับรถ

/

 

46.

นายเทียน ศรีลา

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (โสตและทัศนูปกรณ์)

/

 

47.

นางจิราพร อุไรกุล

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (บัณฑิตวิทยาลัย)

 

/

48.

นางสาวสิริณา ชูยงค์

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (ธุรการ/ประชาสัมพันธ์)

/

 

49.

นายศุภกฤต คงแป้น

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (ผู้ช่วยฝ่ายพัสดุ)

/

 

50.

นางสาวละออง สิทธิฤกษ์

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (กิจการนักศึกษา)

/

 

51.

นายสราวุธ ธรนิล

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (พระสอนศีลธรรมฯ)

/

 

52.

นายสมพร เกื้อสงค์

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป

 

/

53.

นางสาวภัสราภรณ์ นวลวัฒน์

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป

 

/

54.

นางสาวมัณฑนา จันทรุมาศ

นักเทคโนโลยีการศึกษา

/

 

55.

นายวิศรุตม์ คงจันทร์

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป (นักการ)

 

/

56.

นางสาวจิราภรณ์ ชูชำนาญ

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป

/

 

 

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ได้รับการจัดสรรงบประมาณทั้งหมด 48,393,720 บาท จำแนกตามประเภท

ที่

แผนงบประมาณ

งบประมาณ

รวม

งบประมาณ

งบรายได้

1

งบกลาง

-

 

 

2

งบบุคลากร

-

7,629,916

7,629,916

3

งบดำเนินงาน

2,000,000

3,600,204

5,600,204

4

งบรายจ่ายลงทุน

31,019,600

-

31,019,600

5

งบรายจ่ายเงินอุดหนุนศูนย์การศึกษา

800,000

-

800,000

6

เงินอุดหนุนตามวิถี

 

 

 

 

วิถีที่ 1 ปริยัติ สืบสาน ส่งต่อ ต่อยอด

2,244,000

-

2,244,000

 

วิถีที่ 2 ประยุกต์ ผสาน สร้างสรรค์อย่างลึกซึ้ง

100,000

-

100,000

 

วิถีที่ 3 ปฏิบัติ ค้นหา ตน เติม คน เสริมสร้าง สังคม

550,000

-

550,000

 

วิถีที่ 4 ปฏิบถ ฟื้นฟู เยียวยา นำกลับสู่ความสว่าง

100,000

-

100,000

 

วิถีที่ 5 ปฏิรูป พลิก เปลี่ยน ปรับ รับการเปลี่ยนแปลง

350,000

-

350,000

7

เงินอุดหนุนวิจัย

-

-

-

 

รวม

37,163,600

11,230,120

48,393,720

 

 ข้อมูลพื้นฐานด้านอาคารสถานที่ และสิ่งปลูกสร้าง

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

อัตถลักษณ์

บัณฑิตที่มีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

เอกลักษณ์

บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

1. ควรดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคณาจารย์ ด้านการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พร้อมการกำกับ ติดตาม ประเมินผล

วิทยาเขตฯ ได้ส่งเสริมให้อาจารย์ได้มีมีการดำเนินการศึกษากระบวนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และในรอบปีที่ผ่านมา มีอาจารย์ที่มีความพร้อมได้ดำเนินการเข้าสู่กระบวนการขอกำหนดตำแหน่ง จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการระดับ รองศาสตราจารย์ (สาขารัฐศาสตร์การปกครอง) อยู่ในขั้นตอนของ กพว.แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ / ดร.สันติ อุนจะนำ ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาบริหารการศึกษา อยู่ในขั้นตอนรับผลคะแนน

ซึ่งกระบวนการการขอกำหนดตำแหน่งแต่ละท่านจะมีการกำกับ ติดตาม รายงานความคืบหน้าผ่านระบบ e-port ทำให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถทราบและประมวลผลในภาพรวมของมหาวิทยาลัยได้อย่างชัดเจน

2. เพิ่มระบบพี่เลี้ยงด้านการวิจัยและส่งเสริมการขอตำแหน่งทางวิชาการโดยกระทำเป็นกระบวนการที่ชัดเจน

- วิทยาเขตฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารด้านวิจัย มีการสำรวจข้อมูลอาจารย์ประวิทยาเขตได้สนับสนุนให้อาจารย์ประจำเข้าสู่ขั้นตอนการขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยประเมินการสอบสอนไปแล้ว ยื่นขอรับการประเมินแล้ว ได้แก่ อาจารย์ธิดา ขุนสิทธิ์ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขารัฐศาสตร์ และ ดร.สันติ อุนจะนำ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาสังคมวิทยา ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาเอกสารประกอบตามกระบวนการขอตำแหน่ง และการพิจารณาผลการสอบสอน จากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ

3. เพิ่มความสำรวจความต้องการการจัดทำแผนกิจกรรมนักศึกษาโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม พร้อมกำหนดกลยุทธ์ และออกแบบกิจกรรมรวมถึงการพัฒนาแผนกิจกรรมนักศึกษาที่เกิดจากการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม

คณะกรรมการกิจการนักศึกษา มีการจัดทำแผนจัดกิจกรรมนักศึกษา โดยมาเชิญตัวแทนนักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วม และสร้างความเข้าใจในการจัดกิจกรรม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และนักศึกษาต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกรรมต่างๆ ที่พัฒนาศักยภาพของนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

1. ควรพัฒนาอาจารย์ให้มีการเรียนรู้การทำวิจัย จากการของงบประมาณวิจัยจากภายในและภายนอก โดยมีอาจารย์ที่มีประสบการณ์เป็นพี่เลี้ยง และเขียนโครงการของบวิจัยภายนอกเพื่อเพิ่มแหล่งทุนให้มากขึ้น

- วิทยาเขตมีการแต่งตั้งคณะกรรมการด้านการพัฒนาวิจัย เพื่อวางแผนด้านการวิจัยสำหรับอาจารย์ / บุคลากร และได้มีการนำเสนอโครงการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาวิชาการ ซึ่งในปีการศึกษา 2564 ได้รับการอนุมัติโครงการวิจัยจากสถาบันวิจัยญาณสังวร จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่

1. พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกับรูปแบบการปกครองสิบสองนักษัตรเพื่อการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

2. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรักษาเบญจศีลกับการใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการศึกษา ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

4. การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมโดยแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน(Blended Learning) สำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา

5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

2. ควรริเริ่มการจัดทำระบบ และกลไกในการคุ้มครองสิทธิ์ โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยญาณสังวร

เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร ที่เกิดขึ้นจากผลงานวิจัยและผลงานอื่น ๆ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและก่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเป็นอย่างมากที่สุด จึงได้มีคำสั่งนี้ เพื่อการขับเคลื่อนผลงานของมหาวิทยาลัยให้ตอบโจทย์งานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก โดยมีอธิการบดีเป็นที่ปรึกษา และรองอธิการบดีด้านวิจัยและนวัตกรรมเป็นประธานกรรมการดำเนินการ

3. ควรมีระบบกลไกการส่งเสริมและสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักวิจัยที่ได้รับรางวัล

มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการส่งเสริมและยกย่องนักวิจัย ที่ผลิตผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ด้านพระพุทธศาสนาและวงวิชาการ เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรตินักวิจัย  และได้มีการประกาศนักวิจัยระดับและดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 ขึ้น โดยในส่วนของวิทยาเขตฯ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก คือ ผศ.ดร.ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี ได้รับรางวัลนักวิจัยระดับดี จากโครงการวิจัยเรื่อง การน้อมนำศาสตร์พระราชาด้วยหลักสามัคคีธรรมสู่การพัฒนา (ประกาศเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

1. กระบวนการกำกับ ติดตาม การบริการวิชาการแก่สังคม ควรมีการกำกับติดตามตามระยะไตรมาส และควรกำกับ ติดตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่กำหนดไว้ในแผนบริการวิชาการ

มีการนำเสนอผลการประเมินที่ได้มาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และนำผลมาปรับปรุงในการจัดโครงการในการครั้งหน้า เพื่อให้เกิดความพร้อมและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และสังคมที่ชัดเจน  และควรจัดโครงการต่อเนื่องและยกระดับความหลากหลายที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ความสนใจของคนในสังคม ทั้งนี้มีการปรับรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย และดำเนินงานการบริการวิชาการที่ได้ดำเนินการมีระบบและกลไกให้ครอบคลุมกระบวนการ (PDCA) ที่สามารถสอดคล้องกับแผนบริการวิชาการ

2. ควรมีการปรับปรุงรูปแบบการบริการวิชาการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องได้ ท่ามกลางสถานการณ์ที่วิกฤต

มีการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการโดยปรับรูปแบบในการให้บริการโดยจัดในรูปแบบออนไลน์เพื่อลดความเสี่ยงอันเกิดจากการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา ได้มีการนำเสนอผลการประเมินที่ได้มาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และนำผลมาปรับปรุงในการจัดโครงการในการครั้งหน้า เพื่อให้เกิดความพร้อมและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และสังคมที่ชัดเจน  และควรจัดโครงการต่อเนื่องและยกระดับความหลากหลายที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ความสนใจของคนในสังคม และมีการปรับรูปแบบการให้บริการที่หลากหลายขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1. ควรมีการรวบรวมองค์ความรู้ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ที่นำสู่การเผยแพร่ในสาธารณะให้เป็นที่ยอมรับ โดยอาจมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้ประชาชนและผู้สนใจได้เรียนรู้

2. ควรเพิ่มการบูรณาการองค์ความรู้ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับงานวิจัย และการเรียนการสอนมากขึ้นโดยร่วมมือกับชุมชนและผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้านเพื่อสร้างความเข็มแข็งและยั่งยืนของสังคม

3. ในอนาคตควรมีการกำหนดมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นที่ยอมรับระดับชาติ หรือนานาชาติ เพื่อแสดงศักยภาพของวิทยาเขตในด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ในปีการศึกษา 2564 โครงการทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรมได้ดำเนินงานโครงการไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาที่ยังคงระบาดและมีความเสี่ยงในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

1. การทบทวนแผนควรมีการวิเคราะห์ SWOT ให้เชื่อมโยงกับกลยุทธ์และให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และตอบโจทย์ความเป็นตัวตน ของบริบทของวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาและคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำแผนกลยุทธ์ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนกลยุทธ์ ซึ่งมีหน้าที่ กำหนดนโยบายและทิศทางการจัดทำแผน ส่งเสริม สนับสนุนและให้คำแนะนำปรึกษา พิจารณาทบทวนแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน ซึ่งการวิเคราะห์ ทบทวนจุดแข็งและจุดอ่อน ทบทวนโอกาสและข้อจำกัด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และทิศทางยุทธศาสตร์ของวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ตามแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยการทำ SWOT วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส

2. ควรมีการกำหนดความเสี่ยงของวิทยาเขตที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลของความเสี่ยงที่แท้จริง และควรออกแบบหรือกำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงให้ลดลง

- แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีรองอธิการบดีเป็นประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงผู้รับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ ของวิทยาเขต

- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของวิทยาเขต ได้ดำเนินการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ร่วมกับทุกหน่วยงาน และได้นำความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงที่ได้ร่วมกันวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงของวิทยาเขต ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2564 วิทยาเขต ได้วิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงตามพันธกิจซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของคณะฯ การประเมินโดยรวม

3. จากการดำเนินการบริหารความเสี่ยงของปีการศึกษา 2564 กรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการประชุมเพื่อประเมินความเสี่ยงว่า ความเสี่ยงที่ได้บริหารไปแล้วลดลงหรือไม่ โดยในการประชุมของคณะกรรมการมีการวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงที่ได้บริหารความเสี่ยงไปแล้ว พบว่าโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดจากความเสี่ยงดังกล่าวลดลงจากเดิม ส่งผลให้ความเสี่ยงแต่ละด้านลดลงเช่นเดียวกัน

3. การนำเสนอองค์ความรู้จาก KM ที่ได้มา ๆ ออกแบบกระบวนการของการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้เข้าถึงองค์ความรู้และนำไปใช้ กระบวนการได้มาของแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ควรเขียนเป็นกระบวนการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ของวิทยาเขต ตามคำสั่งเลขที่ 0050/2564 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 เพื่อวางแผน ส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตาม โดยพิจารณาวิสัยทัศน์พันธกิจของมหาวิทยาลัย บริบทของวิทยาเขต และแผนการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

- คณะกรรมการจัดการความรู้วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ได้ร่วมกันจัดทำแผนการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2564 ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ภายในวิทยาเขตถ่ายทอดไปสู่บุคลากร และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบจนเกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี โดยมุ่งเน้นใช้หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus oriented) แบบฟอร์ม KM-01 KM-02 และได้แผนการจัดการความรู้ตามแบบฟอร์ม KM-03 

สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.18
3.18
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5.00
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5.00
2.15
2.15
ไม่บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5.00
2.61
2.61
ไม่บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5.00
5
5
บรรลุ
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
3.82
3.82
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5.00
4
5
ไม่บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5.00
0.65
0.65
ไม่บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
3.22
3.55
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5.00
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.05
4.12

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 6 3.25 5.00 3.18 3.82 ดี
2 3 0.65 5.00 5.00 3.55 ดี
3 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 13 2.60 5.00 4.09 4.12 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดีมาก ดี ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 4.153.085.005.005.004.16
2563 4.104.673.004.005.004.28
2564 3.823.555.005.005.004.12
2565 4.183.252.673.005.003.70
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

ข้อเสนอแนะ

1.เพิ่มการกำกับ ติดตาม การประกันคุณภาพของหลักสูตรทุกหลักสูตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรที่ยังมีผลการประเมินในคะแนนที่ค่อนข้างน้อยในปีการศึกษา 2564

2.ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์และแนะแนวการเข้าศึกษาต่อในวิทยาเขตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดที่ควรพัฒนา

1. ส่วนงานที่ดูแลรับผิดชอบด้านงานวิจัย เพื่อรองรับการดำเนินงานที่แต่งตั้งเพื่อประสานแหล่งทุนวิจัย ภายใน และภายนอก 

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนา

1.เน้นจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์กำหนดกลุ่มชมชนเป้าหมายที่ยั่งยืนในการบริการวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพระพุทธศาสนา

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
-
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดที่ควรพัฒนา

1.การเตรียมความพร้อมของหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมการประเมินในรูปแบบระดับสากล โดยเน้น สมรรถนะ Outcome based Education (OBE) 

2. การจัดการบริหารความเสี่ยงที่จำเป็นเรื่องเร่งด่วน 

3.การทบทวนการจัดทำแผนพัฒนาบุคคล (IDP) โดยการนำงานวิจัย และงานวิชาการ  ตามความเหมาะสม เพื่อจัดทำแผนพัฒนาสู่แผนการใช้งบประมาณ

บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์นักศึกษา

1) ท่านมีความรู้สึกอย่างไรที่มาเรียน มมร วข.ศศ. และมีความรู้สึกประทับใจอะไร

1) มีสาขาวิชาที่ตัวเองชอบ

2) ดีใจและมีความภาคภูมิใจที่ได้มาเรียนที่นี่ การปรับก็ไม่เป็นปัญหาในการเรียนการสอน และสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจากประสบการณ์เคยเรียนกับสถาบันอื่น ๆ มาก่อนหน้านี้ ก็รู้สึกว่าในการเรียนการสอนนั้นมีทั้งอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์ และเป็นอาจารย์ทั่วไป ทำให้เราได้ความรู้ทั้งที่เป็นทั้งทางธรรมและทางโลกควบคู่ด้วย

3) ชอบสายวิชาชีพ (ครูสอนสังคม)  

  1. การพบปัญหาการแก้ไขสถานการณ์และการสื่อสารในช่วงสถานการณ์โควิด19

                    1) ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น google Meet, line, Zoom จากสถานการณ์โควิดทำนักศึกษาไม่สามารถทำการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยได้ ซึ่งใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียน โดยมีการสลับการเรียนทั้งออนไลน์ และออนไซต์

                    2) ผ่านทางช่องทางออนไลน์ (Line) โดยการสร้างกลุ่มรายวิชาต่าง ๆ ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารกันผ่านกลุ่มซึ่งในกลุ่มก็จะมีอาจารย์อยู่ด้วย เพื่อคอยให้คำปรึกษา

 สัมภาษณ์ศิษย์เก่า

  1. ท่านได้รับข้อมูล ข่าวสาร หรือมีส่วนร่วมกิจกรรมกับ มมร.วข.ศศ. ศิษย์เก่าหรือไม่อย่างไร

                   1) ผ่านช่องทางออนไลน์ ทางข่องทาง Line กลุ่มศิษย์เก่าแต่ละรุ่น ทั้งนี้ด้วยการที่ได้ส่งลูกศิษย์เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็ได้ทราบในส่วนของกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังคอยแนะนำลูกศิษย์ในการทำกิจกรรมในฐานะที่เป็นศิษย์เก่าของมหาลัยแห่งนี้ด้วย

                    2) ได้เข้าร่วมผ่านกิจกรรมศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย โดยดูจากข่าวประชาสัมพันธ์ผ่าน เพจ วข.ศศ. และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

  1. อยากให้ มมร วข.ศศ. พัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมอะไร

1) การประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้รู้จักชื่อ มมร และต้องอาศัยนักศึกษาด้วยกันที่เป็นกระบอกเสียงและต่อยอดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้นักกว้างขวางขึ้นให้กับผู้ที่ยังไม่รู้จักมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้

2) การเชิงรุกเรื่องการแนะแนวนักศึกษาการเข้าหากลุ่มเป้าหมายสร้างขวัญและกำลังใจต่อ

3) ผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจในการรับบริการจากมหาวิทยาลัย และเป็นการแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยให้ความสำคัญเข้ารับบริการอย่างแท้จริง

4) การเปิดโอกาศที่จะให้นักศึกษา หรือศิษย์เก่า เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น ระบบงานแนะแนว กิจกรรมต่าง ๆ

5) อยากให้มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมนิทรรศการที่หลากหลาย และให้เยอะกว่านี้ อย่างเช่น กิจกรรมที่มหาลัยได้จัดกิจกรรมเชิญนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้ามามีส่วนร่วมแล้ว ก็อยากให้มีกิจกรรมอย่างนี้ตลอดไปและต่อเนื่องเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยไปด้วย

 

สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นักศึกษาที่เข้ารับการฝึกประสบการณ์สอนในโรงเรียน

- การปฏิบัติการสอนนั้นนักศึกษาสามารถปฏิบัติได้ในระดับดี แต่อาจจะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้พร้อมกับการเป็นครูในอนาคต อย่างเช่น บุคลิกภาพ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในชั้นเรียน ซึ่งนักศึกษาที่ฝึกสอนนั้นสามารถรับมือกับเด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษาได้ดี

ภาพถ่าย