Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา


บทสรุปผู้บริหาร

   จากการดำเนินงานของวิทยาเขตล้านนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง คะแนนเฉลี่ย…4.39....อยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบ ที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับคะแนนเฉลี่ย 3.84 อยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์                  ทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ดังมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 4.67 อยู่ในระดับดี

          องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตล้านนา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา และสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00อยู่ในระดับดีมาก

          องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องบริหารจัดการด้านต่างๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ คะแนนเฉลี่ย 5.00อยู่ในระดับดีมาก

 

 ผลการตรวจและประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับวิทยาเขต ประจำปีการศึกษา 2564

ผลการประเมินในภาพรวมตามองค์ประกอบคุณภาพ

องค์ประกอบ

คะแนนที่ได้

ระดับคุณภาพ

องค์ประกอบที่  1  การผลิตบัณฑิต

3.84

การดำเนินดีงานระดับดี

องค์ประกอบที่  2  การวิจัย

4.67

การดำเนินงานระดับดีมาก

องค์ประกอบที่  3  การบริการวิชาการ

5.00

การดำเนินงานระดับดีมาก

องค์ประกอบที่  4  การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

5.00

การดำเนินงานระดับดีมาก

องค์ประกอบที่  5  การบริหารจัดการ

5.00

การดำเนินงานระดับดีมาก

เฉลี่ยรวมทุกองค์ประกอบ

4.39

ดี

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

บทที่ 1

บทนำ

 

1.1 ชื่อส่วนงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

1.1.1 ชื่อส่วนงาน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.1.2 ที่ตั้ง

เลขที่ 103 วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 หมายเลขโทรศัพท์ 0-5327-0975 ถึง 6 โทรสาร 0-5381-4752 เว็บไซต์ www.lanna.mbu.ac.th

          1.1.3 ประวัติหน่วยงาน

วิทยาเขตล้านนาเกิดขึ้นจากแนวความคิดและความพยายามของนายอุทัย บุญเย็น ป.ธ.8, พ.ม., ศน.บ., M.A.  ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย รุ่นที่ 23 ที่ต้องการสนองคุณสถาบันโดยการขยายเครือข่ายไปยังภูมิภาค นายอุทัย บุญเย็น ได้เสนอแนวความคิดที่จะจัดตั้งวิทยาเขตขึ้นที่วัดล้านนาญาณสังวราราม ต่อพระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์  (จันทร์ กุสโล) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็น พระเทพกวี (จันทร์ กุสโล) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน (ธ) ระหว่างมีการสัมมนาผู้บริหารการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ณ วัดล้านนาญาณสังวราราม ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2533

          พระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) ได้แนะนำให้ไปขอคำปรึกษา จากศาสตราจารย์เกียรติคุณแสง จันทร์งาม ป.ธ. 6, ศน.บ., A.I.E., M.A. ศิษย์เก่า มมร. รุ่นที่ 1 ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง

ต่อมาพระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) ศาสตราจารย์เกียรติคุณแสง จันทร์งาม และนายอุทัย บุญเย็น ได้เข้าพบพระเดชพระคุณพระธรรมดิลก (ขันติ์ ขนติโก) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร รองเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธ) เพื่อแจ้งจุดประสงค์ที่จะเปิดวิทยาเขต โดยขอเปลี่ยนสถานที่จากวัดล้านนาญาณสังวราราม มาเป็นวัดเจดีย์หลวงวรวิหารแทน พระเดชพระคุณพระธรรมดิลก (ขันติ์ ขนติโก) ยินดีและอนุญาตให้ใช้วัดเจดีย์หลวงวรวิหารเป็นสถานที่ตั้ง โดยมอบหอสมุดแหวน สุจิณฺโณ เป็นสำนักงานวิทยาเขต และมอบอาคารสามัคคีวิทยาทานเป็นอาคารเรียน เมื่อได้สถานที่ตั้งวิทยาเขตแล้ว นายอุทัย บุญเย็น ได้รวบรวมเพื่อนรวมอุดมการณ์ ระยะแรกได้ 4 คน คือ นายกมล บุตรชารี นายบัณฑิต รอดเทียน นายเมินรัตน์ นวะบุศย์ และนางสาววาสนา วงศ์ยิ้มย่อง สถานที่วางแผนทำโครงการขอจัดตั้ง คือ สำนักงานเลขานุการในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ผู้ที่ให้ความสะดวก ติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่ในมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และบริการวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการดำเนินการทุกเรื่อง คือ พระมหาสุวิทย์ ปิยวิชฺโช ป.ธ. 9, ศน.บ., M.A. ผู้ช่วยเลขานุการในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณพระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) วัดพระราม 9 กรุงเทพมหานคร ต่อมาท่านเจ้าคุณยังเป็นภาระขอทุนสมเด็จพระสังฆราช มาช่วยสร้างอาคารสามัคคีวิทยาทานในวัดเจดีย์หลวงวรวิหารอีกด้วย ขณะรอการอนุมัติจัดตั้งวิทยาเขต คณะผู้ทำงานได้ปรารภถึงโรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน ซึ่งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาของวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร พระธรรมดิลก (ขันติ์ ขนติโก) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็น พระเทพสารเวที ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 เปิดสอนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น และเลิกกิจการไปเมื่อ พ.ศ. 2527

คณะผู้ทำงานโดยพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) และนายอุทัย บุญเย็น ได้ขออนุญาตเปิดโรงเรียนสามัคคีวิทยาทานอีกครั้ง โดยขอเปิดระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นโรงเรียนสาธิตวิทยาเขตล้านนา ในปีการศึกษา 2534

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้มีคำสั่งที่ 13/2534 ตั้งวิทยาเขตล้านนาขึ้นที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ

ปรัชญามหาวิทยาลัย (Philosophy)

“ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา”

(Academic Excellence based on Buddhism)

ปณิธาน (Aspiration)

มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาพัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรมชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

วิสัยทัศน์ (Vision Statements)

1) เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ

2) เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ผลิตบัณฑิตตามแนวพระพุทธศาสนาและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและมีศีลธรรมในการดำรงชีวิตแบบพุทธ

3) เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนาที่สามารถชี้นำและยุติความขัดแย้งในสังคมโดยใช้หลักพุทธธรรม

4) เป็นสถาบันที่เน้นทำวิจัยพัฒนาตามกรอบแห่งศีลธรรม ส่งเสริมงานวิจัยเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนาและนำผลการวิจัยไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

พันธกิจ (Mission Statements)

1) ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนา ให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยและกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น

2) ให้บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่ชุมชนในท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข ชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์ และช่วยยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนา

3) วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย

4) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้าทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม

        เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต                    

เอกลักษณ์* 

บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

การชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคม ๒ เรื่อง

  1. ภายในมหาวิทยาลัย จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกทางสังคม
  2. ภายนอกมหาวิทยาลัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวพระราชดำรัสต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคม

อัตลักษณ์*

บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

         การจัดรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัย เป็นการจัดตามความในมาตราที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.2540 และเป็นการจัดตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้รัฐมนตรี (กระทรวงศึกษาธิการ) มีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 6 คือ “มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทะนุบำรุงศิลปวัฒธรรม”

การจัดโครงสร้างและระบบการบริหารมหาวิทยาลัย ในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ตามความในมาตรานั้น ๆ โดยอาจจำแนกองค์กรหรือหน่วยงานหลักๆ ได้ดังนี้

(1)  สภามหาวิทยาลัย                     (2)   สภาวิชาการ

(3)  สำนักงานอธิการบดี                  (4)   สำนักงานวิทยาเขต

(5)  บัณฑิตวิทยาลัย                       (6)   คณะ

(7)  สถาบัน                                (8)   สำนัก

(9)  ศูนย์                                    (10) วิทยาลัย

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

รายชื่อคณะกรรมการบริหาร มมร วิทยาเขตล้านนา

ที่

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

ตำแหน่งทางวิชาการ

1.       

พระครูสุนทรมหาเจติยานุรักษ์, ผศ.ดร.

รองอธิการบดี

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

2.       

พระมหาปุณณ์สมบัติ ปภากโร

ผอ.ศูนย์บริการฯ

ปริญญาโท

-

3.       

พระมหาสกุล มหาวีโร, ผศ.ดร.

ผอ.สำนักงานฯ

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

4.       

พระครูวินัยธรสัญชัย  ญาณวีโร, ดร.

รก.ผอ.วิทยาลัยฯ

ปริญญาเอก

-

5.       

ผศ.ดร.ตระกูล ชำนาญ

ผู้ช่วยอธิการบดี

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

6.       

ผศ.ดร.โผน  นามณี

กรรมการ

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

7.       

ผศ.ดร.ทรงศักดิ์  พรมดี

กรรมการ

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

8.       

นายวิราษ  ภูมาศรี

กรรมการ

ปริญญาโท

-

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

หลักสูตร สาขาวิชาที่เปิดสอน

1 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน ระดับปริญญาตรี

ที่

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ชื่อหลักสูตร

หมายเหตุ

1.

สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

ศิลปศาสตรบัณฑิต

หลักสูตร พ.ศ.2562

2.

สาขาวิชาการปกครอง

รัฐศาสตรบัณฑิต

หลักสูตร พ.ศ.2563

3.

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

ศึกษาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตร พ.ศ.2562

4.

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

ศึกษาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตร พ.ศ.2562

5.

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ศิลปศาสตรบัณฑิต

หลักสูตร พ.ศ.2564

6.

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

ศึกษาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตร พ.ศ.2562

รวม

สาขาวิชาที่เปิดสอน 6

จำนวนชื่อหลักสูตร 3

 

 

2 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน ระดับปริญญาโท

ที่

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ชื่อหลักสูตร

หมายเหตุ

1.

สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตร พ.ศ.2563

2

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตร พ.ศ.2563

รวม

สาขาวิชาที่เปิดสอน 2

จำนวน 2 หลักสูตร

 

  

3 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน ระดับปริญญาเอก

ที่

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ชื่อหลักสูตร

หมายเหตุ

1.

สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตร พ.ศ.2563

1.6 จำนวนนักศึกษา

1.6. จำนวนนักศึกษา

1.6.1 ระดับ ปริญญาตรี

ที่

สาขาที่เปิดสอน

จำนวนนักศึกษา

รวม

ปกติ

พิเศษ

1.

สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

19

-

19

2.

สาขาวิชาการปกครอง

187

223

410

3.

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

266

-

266

4.

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

186

-

186

5.

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

101

-

101

6.

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

107

-

107

รวม  นักศึกษาระดับปริญญาตรี

866

223

1,089

 

1.6.2 จำนวนนักศึกษาระดับ ปริญญาโท

ที่

สาขาที่เปิดสอน

จำนวนนักศึกษา

รวม

ปกติ

พิเศษ

1.

สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

-

24

24

2.

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

2

60

62

รวม  นักศึกษาระดับปริญญาโท

2

84

86

 

 1.6.3 จำนวนนักศึกษาระดับ ปริญญาเอก

ที่

สาขาที่เปิดสอน

จำนวนนักศึกษา

รวม

ปกติ

พิเศษ

1.

สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

 

15

15

รวม  นักศึกษาระดับปริญญาเอก

 

 

15

 

 1.6.4 รวมจำนวนนักศึกษาทั้งหมด

ระดับการศึกษา

จำนวนนักศึกษา

รวม

ปกติ

พิเศษ

ศูนย์อื่น

ปริญญาตรี

866

223

-

1,089

ระดับปริญญาโท

-

86

-

86

ปริญญาเอก

 

15

 

15

รวมนักศึกษาทั้งหมด

1,190

     

      1.6.5 จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

ระดับ/สาขาวิชา

จำนวน

หมายเหตุ

1. ปริญญาตรี/สาขาวิชา

 

 

1.

พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

13

 

2.

การปกครอง

85

 

3.

การสอนภาษาไทย

62

 

4.

การสอนภาษาอังกฤษ

69

 

5.

การสอนสังคมศึกษา

-

ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา รับนักศึกษาปีแรก 1/2562

6.

ม.ภาษาอังกฤษ

35

 

รวมจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

264

 

2. ระดับปริญญาโท/สาขาวิชา

จำนวน

หมายเหตุ

1

พุทธศาสนาและปรัชญา

6

 

2

การบริหารการศึกษา

-

ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา รับนักศึกษาปีแรก 2/2563

 

รวมจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท

6

 

3.

ระดับปริญญาเอก/สาขาวิชา

จำนวน

หมายเหตุ

1

พุทธศาสนาและปรัชญา

-

ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา รับนักศึกษาปีแรก 2/2563

รวมจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท

270

 

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

1.7.1 จำนวนอาจารย์

ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 77 รูป/คน แบ่งบุคลากรตามลักษณะงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สายวิชาการ 47 รูป/คน และ สายสนับสนุน 30 รูป/คน จำแนกสายวิชาการตามคุณวุฒิการศึกษา และตำแหน่งวิชาการ ได้ดังนี้

 

ที่

ชื่อ-สกุล

วุฒิการศึกษา

ตำแหน่งทางวิชาการ

ลาศึกษาต่อ

ปฏิบัติงานจริง

ตรี

โท

เอก

อ.

ผศ.

รศ.

ศ.

1

พระครูสุนทรมหาเจติยานุรักษ์, ผศ.ดร.

 

 

P

 

P

 

 

 

P

2

พระมหาปุณณ์สมบัติ ปภากโร

 

P

 

P

 

 

 

 

P

3

พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร, รศ., ดร.

 

 

P

 

 

P

 

 

P

4

พระมหาสกุล มหาวีโร, ผศ,ดร.

 

 

P

 

P

 

 

 

P

5

พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี, ผศ.ดร.

 

 

P

 

P

 

 

 

P

6

พระครูวินัยธรสัญชัย  ญาณวีโร, ดร.

 

 

P

P

 

 

 

 

P

7

พระมหาวราวยะ วราสโย,ดร.

 

 

P

P

 

 

 

 

P

8

พระมหาเจริญ   กตปญฺโญ

 

P

 

P

 

 

 

 

P

9

พระครูสังฆรักษ์วีรวัฒน์ วีรวฑฺฒโน

 

P

 

P

 

 

 

 

P

10

พระครูปริยัติกิตติวิมล, ดร.        

 

 

P

P

 

 

 

 

P

11

พระครูปลัดณฐกร ปฏิภาณเมธี

 

P

 

P

 

 

 

 

P

12

พระพิทักษ์  ฐานิสฺสโร, ดร.

 

 

P

P

 

 

 

 

P

13

ผศ.ดร.ตระกูล ชำนาญ

 

 

P

 

P

 

 

 

P

14

ผศ.ดร.โผน  นามณี

 

 

P

 

P

 

 

 

P

15

ผศ.ดร.ทรงศักดิ์  พรมดี

 

 

P

 

P

 

 

 

P

16

ดร.ณรงศักดิ์ ลุนสำโรง

 

 

P

P

 

 

 

 

P

17

ดร.สงัด เขียนจันทึก

 

 

P

P

 

 

 

 

P

18

ดร.ชุ่ม พิมพ์คีรี

 

 

P

P

 

 

 

 

P

19

นายธีระศักดิ์ แสนวังทอง

 

P

 

P

 

 

 

 

P

20

นายวิราษ ภูมาศรี

 

P

 

P

 

 

 

 

P

21

นายกิตติคุณ  ภูลายยาว

 

P

 

P

 

 

 

 

P

22

นายมงคลชัย สมศรี

 

P

 

P

 

 

 

 

P

23

ผศ.ดร.อุเทน ลาพิงค์

 

 

P

 

P

 

 

 

P

24

ดร.อรรถพงษ์ ผิวเหลือง

 

 

P

P

 

 

 

 

P

25

ดร.มนตรี  วิชัยวงษ์

 

 

P

P

 

 

 

 

P

26

นางสาวอัญชลี แสงเพชร

 

P

 

P

 

 

 

 

P

27

พระครูวิทิตศาสนาทร, ผศ.ดร.

 

 

P

 

P

 

 

 

P

28

พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมโม, ดร.

 

 

P

P

 

 

 

 

P

29

ศ.ดร.พศิน แตงจวง

 

 

P

 

 

 

P

 

P

30

พระมหาสหัสษชัญญ์ สิริมงฺคโล, ดร.

 

 

P

P

 

 

 

 

P

31

รศ.อัครชัย  ชัยแสวง 

 

P

 

 

 

P

 

 

P

32

ดร.พิรุณ จันทวาส

 

 

P

P

 

 

 

 

P

33

ดร.ชาลี ภักดี

 

 

P

P

 

 

 

 

P

34

ดร.ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์

 

 

P

P

 

 

 

 

P

35

ดร.ประดิษฐ์ คำมุงคุณ

 

 

P

P

 

 

 

 

P

36

ดร.จรูญศักดิ์ แพง

 

 

P

P

 

 

 

 

P

37

ดร.สมิตรไธร อภิวัฒนอมรกุล

 

 

P

P

 

 

 

 

P

38

นายกมล วัชรยิ่งยง

 

P

 

P

 

 

 

 

P

39

จ.ส.อ.วรยุทธ  สถาปนาศุภกุล

 

P

 

P

 

 

 

 

P

40

นายกมล บุตรชารี

 

P

 

P

 

 

 

 

P

41

นายเขมินทรา    ตันธิกุล

 

P

 

P

 

 

 

 

P

42

นางสาวทิตติยา  มั่นดี

 

P

 

P

 

 

 

 

P

43

นางสาวพิมภัสสร เด็ดขาด

 

P

 

P

 

 

 

 

P

44

นายสรวิศ         พรมลี

 

P

 

P

 

 

 

 

P

45

นางทองสาย      ศักดิ์วีระกุล

 

P

 

P

 

 

 

 

P

46

นายนพรัตน์      กันทะพิกุล

 

P

 

P

 

 

 

 

P

47

ผศ.พูลสุข         กรรณาริก

 

P

 

 

P

 

 

 

P

 

รวม

0

20

27

35

9

2

1

0

47

 

 

ตรี

โท

เอก

อ.

ผศ.

รศ.

ศ.

0

 

 

วิทยาเขตล้านนา มีบุคลากรสายวิชาการ จำนวน 47 รูป/คน มีคุณวุฒิระดับปริญญาโท 20 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 42.55 มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก 27 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 57.44 บุคลากรสายวิชาการที่มีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์รวมกันทั้งหมดจำนวน 12 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 25.53 แบ่งออกเป็นบุคลากรที่มีตำแหน่งทางวิชาการระดับอาจารย์ จำนวน 35 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 74.46 มีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ 9 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 19.14 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ จำนวน 2 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 4.25 ตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.12

ระดับปริญญาโทที่เป็นตำแหน่งอาจารย์ จำนวน 18 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 38.29 ที่มีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 1 คน 2.12 คิดเป็นร้อยละ 4.25 มีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.12

 รายชื่ออาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาโท ที่มีตำแหน่งวิชาการ ระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 1 คน คือ

ที่

ชื่อ-สกุล

ระดับวุฒิการศึกษา

ตำแหน่งทางวิชาการ

จำนวน/คน

ร้อยละ

1

ผศ.พูนสุข กรรณาริก

ปริญญาโท

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

1

2.12

 

รายชื่ออาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาโท ที่มีตำแหน่งวิชาการ ระดับ รองศาสตราจารย์ จำนวน 1 คน คือ

ที่

ชื่อ-สกุล

ระดับวุฒิการศึกษา

ตำแหน่งทางวิชาการ

จำนวน/คน

ร้อยละ

1

รศ.อัครชัย ชัยแสวง

ปริญญาโท

รองศาสตราจารย์

1

2.12

ระดับปริญญาเอก ที่เป็นตำแหน่งอาจารย์ จำนวน 17 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 36.17 มีตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 10 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 21.27 ระดับปริญญาเอกที่มีตำแหน่งทางวิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ 8 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 17.02 ในระดับรองศาตราจารย์ จำนวน 1 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 2.12 และในระดับศาสตราจารย์ 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.12 

 รายชื่ออาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก มีตำแหน่งวิชาการ ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 7 รูป/คน คือ

ที่

ชื่อ-สกุล

ระดับวุฒิการศึกษา

ตำแหน่งทางวิชาการ

จำนวนรูป/คน

ร้อยละ

1

พระครูสุนทรมหาเจติยานุรักษ์,ผศ.ดร.

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

8

17.02

2

พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี,ผศ.ดร.

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

3

พระมหาสกุล  มหาวีโร,ผศ.ดร.

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

4

พระครูวิทิตศาสนาทร,ผศ.ดร.

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

5

ผศ.ดร.ตระกูล ชำนาญ

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

6

ผศ.ดร.โผน  นามณี

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

7

ผศ.ดร.ทรงศักดิ์  พรมดี

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

8

ผศ.ดร.อุเทน ลาพิงค์

ปริญญาเอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

 

 รายชื่ออาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ที่มีตำแหน่งวิชาการ ระดับ รองศาสตราจารย์ จำนวน 1 คนคือ

ที่

ชื่อ-สกุล

ระดับวุฒิการศึกษา

ตำแหน่งทางวิชาการ

จำนวนคน

ร้อยละ

1

พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร, รศ., ดร.

ปริญญาเอก

รองศาสตราจารย์

1

2.12

 

รายชื่ออาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ที่มีตำแหน่งวิชาการ ระดับ ศาสตราจารย์ จำนวน 1 คน คือ

ที่

ชื่อ-สกุล

ระดับวุฒิการศึกษา

ตำแหน่งทางวิชาการ

จำนวน/คน

ร้อยละ

1

ศ.ดร.พศิน แตงจวง

ปริญญาเอก

ศาสตราจารย์

1

2.12

 

1.7.2 จำนวนบุคลากรสายสนับสนุน

ที่

ประเภท

วุฒิการศึกษา

นักวิจัย

รวม

ตรี

โท

เอก

อื่นๆ

1.

พนักงานของรัฐ

8

11

-

1

-

20

2.

พนักงานมหาวิทยาลัย

-

-

-

-

-

0

3.

ลูกจ้างชั่วคราว

5

2

-

3

-

10

รวม

13

13

-

4

-

30

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.8  ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

      1.8.1 งบประมาณ

สรุปรายรับจากแหล่งต่างๆ

ปีงบประมาณ 2564

1. งบประมาณแผ่นดิน

79,102,700

2. เงินรายได้จากค่าบำรุงการศึกษา

13,959,414

3. เงินรายได้จากแหล่งอื่น ๆ

834,599

รวมรายรับทั้งสิ้น

93,896,713

 

รายจ่ายจริง ปีงบประมาณ พ.ศ.2564

หมวดรายจ่าย

เงินงบประมาณ

เงินรายได้

รวมทั้งสิ้น

1. งบบุคลากร

 

 

 

     1.1 เงินเดือนและค่าจ้างประจำ

 

9,194,191

9,194,191

     1.2  ค่าจ้างชั่วคราว

 

8,557,740

 

2. งบดำเนินงาน

 

 

 

     2.1  ค่าตอบแทนใช้สอยวัสดุ

1,040,508

3,304,129

4,344,637

     2.2  ค่าสาธารณูปโภค

616,443.59

158,562.72

775,006.31

3. งบลงทุน

 

 

 

     3.1 ค่าครุภัณฑ์     

365,700

413,550

779,250

     3.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง     

4,797,000

 

4,797,000

4. งบเงินอุดหนุน

578,917.88

418,633

997,550.88

5. งบรายจ่ายอื่น

 

 

 

รวมรายจ่ายทั้งสิ้น

7,398,569.47

13,489,065.72

20,887,65.19

*แผนการใช้เงิน งบประมาณ และเงินรายได้ ประจำปี 2564 (ฝ่ายแผนและงบประมาณ)

           1.8.2 อาคารสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง

ลำดับ

รายการ

หมายเหตุ

1

อาคารสำนักงานวิทยาเขตล้านนา (MBU1)

1. ชั้น 1 ห้องสำนักงานวิทยาเขตล้านนา การเงิน/พัสดุ/สารบรรณ/ทรัพยากรบุคคล จำนวน 1 ห้อง ห้องเก็บพัสดุ จำนวน 1 ห้อง

2. ชั้น 1 ห้องวิทยาลัยศาสนศาสตร์ล้านนา ธุรการ/ทะเบียนและวัดผล/กยศ./อาคารสถานที่/งานจัดการศึกษา/ จำนวน 1 ห้อง ห้องกิจการนักศึกษา 1 ห้อง

3. ชั้น 1 ห้องศูนย์บริการวิชาการ งานแผน/งานบัณฑิตวิทยาลัย/เผยแผ่ จำนวน 1 ห้อง

4. ชั้น 2 ห้องนักการ จำนวน 1 ห้อง ห้องประกันคุณภาพการศึกษา 1 ห้อง ห้องงานครูพระสอนศีลธรรม 1 ห้อง ห้องพักอาจารย์ 2 ห้อง ห้องประชุม 1 ห้อง ห้องผู้ช่วยอธิการบดี จำนวน 1 ห้อง

2

อาคารฟอร์เยชเปอร์เซ่น (MBU2)

1. ห้องเรียน จำนวน 8 ห้อง

2. ห้องพยาบาล จำนวน 1 ห้อง

3. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ห้อง

3

อาคารอเนกประสงค์

(MBU3)

1. ชั้น 1 ห้องปฏิบัติงาน จำนวน 2 ห้อง ห้องสมุด 1 ห้อง

2. ชั้น 2 ห้องประชุม จำนวน 1 ห้อง ห้องสมุด 1 ห้อง

3. ชั้น 2 ห้องปฏิบัติงานอาจารย์ จำนวน 1 ห้อง ห้อง

4

อาคารพระพุทธพจนวราภรณ์ (MBU4)

1. ห้องเรียน จำนวน 15 ห้อง

2. ห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน 1 ห้อง

3. ห้องประชุม 1 ห้อง

4. ห้องปฏิบัติงานอาจารย์ จำนวน 4 ห้อง

5. โรงเก็บของ จำนวน 1 ห้อง

6. ห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ จำนวน 1 ห้อง

7. โรงอาหาร จำนวน 1 โรง

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

1.9  เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

      เอกลักษณ์ขอสถาบันคือ บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ วัฒนธรรมสถาบันคือ การชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคม 2 เรื่อง 1. ภายในมหาวิทยาลัย จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกทางสังคม 2. ภายนอกมหาวิทยาลัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวพระราชดำรัสต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคม

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ
สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
5
3.71
3.71
ไม่บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
2.17
2.17
ไม่บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5
2.16
2.16
ไม่บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
3.84
3.84
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
5
4
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
5
5
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
5.00
4.67
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.46
4.39

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 6 3.11 5.00 3.71 3.84 ดี
2 3 5.00 4.00 5.00 4.67 ดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 13 3.58 4.86 4.36 4.39 ดี
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดี ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.973.645.005.004.504.13
2563 4.104.323.003.004.003.96
2564 3.844.675.005.005.004.39
2565 4.234.173.675.005.004.24
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดเด่น

  1. คณาจารย์มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก(ร้อยละ52) และความเชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาของตนเองแสดงถึงศักยภาพของหลักสูตรและวิทยาเขต
  2. คณาจารย์มีผลงานทางวิชาการในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษามีคุณภาพ

แนวทางเสริมพัฒนา

วารสารวิชาการ 2 ฉบับในการกำกับการดำเนินงานของวิทยาเขตได้รับรองคุณภาพในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย CTI 2 จึงควรใช้เป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์และคัดเลือกผลงานที่มีคุณภาพของอาจารย์และนักศึกษาเข้าสู่การตีพิมพ์เผยแพร่

ควรมีการวางเเผนการดำเนินงานของหลักสูตรที่มีค่าคะเเนนไม่สูง เพื่อเป็นการพัฒนาหลักศุตรในวิทยาเขต

ควรมีการสรุปผลการรายงานการจัดกิจกรรมให้นักศึกษา

ควรมีการรายงานสถิติการมีงานทำ เเละการให้ข้อมูลเเก่ศิษย์เก่า

ควรมีการนำผลการประเมินที่มีค่าคะเเนนลดลง มาปรับปรุงพัฒนาผลการดำเนินงาน

ควรมีการรายงานการบูรณาการการประกันคุณภาพการศึกษาตั้งเเต่ระดับหลักสูตร จนมาถึงระดับคณะ

 

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดเด่น

มหาวิทยาลัยส่วนกลางให้ความสำคัญและสนับสนุนงบประมาณการทำวิจัย

แนวทางเสริมพัฒนา

ควรส่งเสริมและสนับสนุนอาจารย์ประจำวิทยาเขตเสนอขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิชาการไปสู่ระดับนานาชาติ

ควรมีการส่งเสริมขวัญและกำลังใจบุคลากรที่มีผลงานโดดเด่นด้านการวิจัยโดยการมอบรางวัล เช่น โล่ห์ หรือ เกียรติบัตร เพื่อเป็นแรงจูงใจในการผลิตผลงานต่อไป

ควรส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์จัดทำบทความวิจัยและบทความวิชาการที่ยกระดับการเผยแพร่ในการประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ รวมทั้งเผยแพร่บนฐานข้อมูลที่มี Impact factor เพิ่มมากขึ้น

ควรมีการพิจารณาเพิ่มเติมขวัญและกำลังใจให้เเกอาจารย์ที่ทำผลงานทางวิชาการ เช่น ได้รับรางวัลจากองค์กรภายนอก

ควรมีการประชาสัมพันธ์ ผลงานวิจัยของอาจารย์เพื่อสร้างกำลังใจและความเข้มเเข็งของวิทยาเขต

ควรมีการดำเนินการคุ้มครองลิขสิทธิ์ผลงานทางวิชาการของอาจารย์เเละบุคลากรภายในวิทยาเขต

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดเด่น

วิทยาเขตมีบุคลากรที่มีศักยภาพและมีความน่าเชื่อถือ สามารถให้การบริการวิชาการให้แก่ชุมชนเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ

แนวทางเสริมพัฒนา

วิทยาเขตควร กำหนดเป้าหมายและประเด็นการให้บริการวิชาการ ในแผนบริการวิชาการให้ชัดเจน รวมทั้งควรมีแผนการนำผลไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย และเมื่อดำเนินการในชุมชนเป้าหมาย อย่างต่อเนื่องครบรอบ 3 ปี ควรมีการควรปรับเปลี่ยนประเด็นการพัฒนาใหม่เมื่อ เพื่อให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากการเข้าไปพัฒนามากยิ่งขึ้น

วิทยาเขตควรมีการพัฒนาระบบการบริการทางวิชาการ การจัดโครงการบริการวิชาการ ด้วยระบบออนไลน์หรือการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ให้มากขึ้น

วิทยาเขตควรมีการบูรณาการการบริการวิชาการกับการวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมกับหลักสูตรให้มากขึ้น

ควรมีการกำหนดจุดมุ่งหมายของการบริการวิชาการวิทยาเขต และสำรวจความต้องการของสังคมชุมชน

การตั้งวัตถุประสงค์ของเเผน ตัวชี้วัดต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เเละควรมีการวัดเชิงลึกมากกว่าความพึงพอใจ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดเด่น

วิทยาเขต มีศักยภาพในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  โดยการบูรณาการกับการเรียนการสอน และการวิจัย 

แนวทางเสริมพัฒนา

วิทยาเขตควรสร้างความโดดเด่นด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จากต้นทุนของวิทยาเขต   โดยเฉพาะการบูรณาการกับการวิจัย

วิทยาเขตควรมีการวางแผนร่วมกับหลักสูตร เพื่อบูรณาการงานการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับด้านการเรียนการสอนและการวิจัยและการบริการวิชาการให้มากขึ้น

การตั้งวัตถุประสงค์ของเเผน ตัวชี้วัดต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

การปรับปรุงของเเผน ควรมีการปรับปรุงตามกระบวนการของคำเสนอเเนะหรือปัญหาที่พบเจอในการดำเนินงาน เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดเด่น

แนวทางเสริมพัฒนา

ควรทบทวนแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร เพื่อการกำกับติดตามผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมไปยังการบริหารบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้ครอบคลุม ตั้งแต่การรับ การพัฒนา การธำรงรักษา และการเกษียณอายุ

ควรวิเคราะห์ผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพรายองค์ประกอบและตัวชี้วัดทั้งในระดับหลักสูตรและระดับวิทยาเขต เพื่อวางแผนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

วิทยาเขต มีกระบวนการบริหารจัดการเข้มแข็งและมีการสนับสนุนระบบบริหารจากส่วนกลางที่ดี สามารถสะท้อนคุณภาพการจัดการศึกษาได้ดี

ควรมีการบริหารความเสี่ยงจาก covid เพราะเป็นประเด็นหลักในการจัดการเรียนการสอน เเละการรับนักศึกษา

ธรรมาภิบาล ควรมีการยกตัวอย่างให้เข้ากับบทบาทของวิทยาเขต

ควรมีการรายงานผลการดำเนินงาน การจัดการความรู้ในรูปเเบบของคู่มือ สามารถนำไปใช้ได้จริง

ควรมีการนำผลการประเมินเปรียบเทียบ เเนวโน้มที่ดีขึ้น 3 ปีย้อนหลัง

บทสัมภาษณ์

ศิษย์ปัจจุบัน มีความชอบในหลักสูตรที่เรียนเพราะมีการเรียนการสอนที่ดี เเละอาจารย์มีความใกล้ชิดกับนักศึกษา อยากมีการให้ปรับกายภาพทางการศึกษา เช่น โต้ะ เก้าอี้ เพื่อเพิ่มความสะดวก

ศิษย์เก่า มีความภาคภูมิใจในวิทยาลัย เเละหลักสูตรการเรียนการสอนเเละคณาจารย์ ยังคงติดตามติดต่อร่วมประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยให้กับรุ้นน้อง เเละมีการสนับสนันหลักสูตรต่างๆที่มีการเปิดสอนให้นักเรียนที่สนใจ เข้าร่วมสมาคมศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย อยากให้มีการปรับกสนยภสพของวิทยาเขตมีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติม

ผู้ปกครอง มีความภาคภูมิใจในตัวสถาบัน เเละตัวบัณฑิตมีความสามารถในการเรียนการทำงาน ความประพฤติดี มีความกระตือรือร้นในการทำงาน อยากให้ทางมหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนทุนการศึกษา เรียนฟรีให้กับนักศึกาา สามเณรที่มีความยากจนเพื่อเพิ่มโอกาสในการศึกษาระดับอุดมศึกษา รวมถึงการจัดโครงการบริการสังคม บริการวิชาการต่างๆ เพื่อเชิญชวนนักเรียนนักศึกษาที่มีความสนใจในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

ผู้ใช้บัณฑิต บัณฑิตมีความสามารถในการทำงาน ทั้งภาระงานหลักเเละช่วยภาระงานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายอย่างดี อยากให้ทางมหาวิทยาลัยมีการประชาสัมพันธ์ เปิดการเรียนการสอนในหลายหลักสูตรที่มีความหลากหลายเพื่อเป็นทางเลือก เเละช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รุู้จัก

ภาพถ่าย