Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด


บทสรุปผู้บริหาร

ในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้ผลการประเมินคะแนนเฉลี่ยที่ 4.56 อยู่ในระดับดีมาก รายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาและดำเนินการตามระบบที่กำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ผลการประเมินในองค์ประกอบ ที่ 1 มีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 4.21 อยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทาง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีความสนใจเรื่องการทำวิจัย ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 2  มีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 5.00 อยู่ในระดับดี

          องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ดมีการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม แต่โครงการมีการบูรณาการในเรื่องของการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม จึงมีการวางแผนการจัดทำโครงการให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป  ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 3 มีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 5.00 อยู่ในระดับดีมาก

          องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตร้อยเอ็ดร่วมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม  ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 4 มีค่าคะแนนเฉลี่ยที่  5.00  อยู่ในระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และต้องบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การจัดการองค์ความรู้ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 มีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 4.50 อยู่ในระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

1.1 ชื่อส่วนงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

(1) ชื่อ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

(2) เว็บไซต์ www.rec.mbu.ac.th

(3) ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย : วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน  โส  เสฏฺโ เทวมานุเส. มีความหมายว่า         ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

(4) สีประจำมหาวิทยาลัย : สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับสีของวันพฤหัสบดีอันเป็นวันพระราชสมภพ

(5) ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นโพธิ์ เป็นที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

(6) คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา : ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์

(7) ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย :

                                         

                   พระมหามงกุฎ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราชวิทยาลัย”

                   พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ 60 ชั่ง

                   หนังสือ  หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนาโดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ปากกา ปากไก่ ดินสอและม้วนกระดาษ หมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียนตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนาเพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา

                   ช่อดอกไม้แย้มกลีบในทางการศึกษา หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้แต่ในทางพระศาสนา หมายถึง กิตติศัพท์กิตติคุณที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ อิสริยยศ บริวารยศ

                   พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคงและแพร่หลายของพระพุทธศาสนาทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่

                   วงรัศมี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของ      มหามกุฏราชวิทยาลัยภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย

                   มหามกุฏราชวิทยาลัย หมายถึง สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

               (8) อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย : บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถ     เผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติและนานาชาติ

                   (9) เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย : บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติและนานาชาติ

ที่ตั้ง

 

วิทยาเขต

ที่อยู่

โทรศัพท์

โทรสาร

1.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง

248 วัดบ้านสุวรรณ ต.ศาลายา

อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม73170

0-2282-8303,0-2281-6427

0-2281-0294

2.

วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

วัดชูจิตธรรมาราม เลขที่ 57 หมู่ที่ 1 ต.สนับทึบ อ.วังน้อยจ.พระนครศรีอยุธยา 13170

035 – 745037 –8

035 - 745037

3.

วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

วัดสิรินธรเทพรัตนาราม เลขที่ 26 หมู่ที่ 7 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพรานจ.นครปฐม 73160

02 – 4291663, 02 - 4291719

02 - 4291241

4.

วิทยาเขตอีสาน

เลขที่ 9/37 ม. 12 ถ.ราษฏร์คนึง บ้านโนนชัย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

043 – 241488, 043 - 239605

043 - 241502

5.

วิทยาเขตล้านนา

วัดเจดีย์หลวง 103 ต.พระสิงห์

อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

053-270-9756

053-814-752

6.

วิทยาเขตร้อยเอ็ด

เลขที่ 148 ถ.เลี่ยงเมือง ต.ดงลาน    อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000

043 – 518364, 043 - 516076

043 - 514618

7.

วิทยาเขตศรีล้านช้าง

วัดศรีสุทธาวาส เลขที่ 253/7ถ.วิสุทธิเทพ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย 42000

042 – 813028, 042 - 830434

042 – 830686, 042 - 811255

8.

วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

วัดพระมหาธาตุ เลขที่ 169/9ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ. เมืองจ.นครศรีธรรมราช 80000

075 – 340499

075 – 310293, 075 - 357968

9.

มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์

หมู่ 6 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัยจ.นครราชสีมา 30150

081 – 7022076, 086 – 0123470, 086 – 0155830

044 - 249398

10.

วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

วัดศรีธรรมาราม เลขที่ 1ถ.วิทยธำรงค์ อ.เมือง จ.ยโสธร 35000

045 – 711056

045 – 711567, 045 - 711056

11.

วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

วัดประชานิยม ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000

043 - 815393

043 – 815393 043 - 815855

 

ประวัติวิทยาเขตร้อยเอ็ด

          มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด เป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว) ขออนุมัติจัดตั้งโดยพระราชธรรมานุวัตร (ขณะดำรงสมณศักดิ์ ที่พระประภัสสรมุนี) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธ) และพระธรรมฐิติญาณ (ขณะดำรงสมณศักดิ์ ที่พระราชสารสุธี) เมื่อปี พ.ศ. 2535 ต่อมาได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นวิทยาเขตชื่อ “วิทยาเขตร้อยเอ็ด” เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 เดิมมีที่ทำการชั่วคราวอยู่ที่วัดเหนือ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ดจังหวัดร้อยเอ็ด และในปี พ.ศ. 2537 พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) เจ้าอาวาสวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ได้มาเห็นสภาพอาคารเรียนและห้องเรียนที่วัดเหนือคับแคบแออัดไม่เพียงพอ และไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนจึงได้อนุญาต และทำสัญญายินยอมให้ใช้ที่ดินเนื้อที่ 101 ไร่ 98 ตารางวา โดยสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ขณะดำรงสมณศักดิ์ ที่พระสาสนโสภณ เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เป็นองค์รับมอบที่วัดบ้านเหล่าสมบูรณ์ (วัดศรีทองไพบูลย์วราราม ปัจจุบัน) ตั้งอยู่ที่ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ให้กับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด เข้าทำประโยชน์ใช้สอยจัดการศาสนศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป พร้อมทั้งให้อำนาจจัดการในการใช้ที่ดิน เพื่อปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ และให้เป็นที่ตั้งถาวรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน สถานที่ตั้ง   อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้

          ทิศเหนือ          ตรงข้าม          การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดร้อยเอ็ด

          ทิศใต้             ติดกับ            ชุมชนบ้านเหล่าเรือ

          ทิศตะวันออก     ติดกับ            ชุมชนบ้านเหล่าเรือ

          ทิศตะวันตก      ติดกับ            ชุมชนบ้านเหล่าใหญ่

 

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ

ปรัชญามหาวิทยาลัย (Philosophy)

     “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา”

     "Academic Excellence based on Buddhism" 

 ปณิธาน (Aspiration)

          มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาพัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรม ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 วิสัยทัศน์ (Vision Statements)  

          (1) เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ

          (2) เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมวลชนที่ผลิตบัณฑิตตามแนวพระพุทธศาสนาและบุคลากรด้านต่าง ๆ ที่มีความรู้ความสามารถ มีศีลธรรมในการดำรงชีวิตแบบพุทธ

         (3) เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนาของโลกที่สามารถชี้นำและยุติความขัดแย้งในสังคมโดยใช้หลักพุทธธรรม

         (4) เป็นสถาบันที่เน้นทำวิจัยพัฒนาตามกรอบแห่งศีลธรรม ส่งเสริมงานวิจัยเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนาและนำผลการวิจัยไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ 

พันธกิจ (Mission Statements)  

         (1) ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนา ให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย และกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น

         (2) ให้บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์ และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการพระพุทธศาสนา 

         (3) วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย

          (4) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้า ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม

1.3 เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต                          

          อัตลักษณ์บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

          เอกลักษณ์บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติการชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคม 2 เรื่อง

                   1) ภายในมหาวิทยาลัย จิตสาธารณะ หรือจำสำนึกทางสังคม

                   2) ภายนอกมหาวิทยาลัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวพระราชดำรัสต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคม

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

ลำดับ

ชื่อ/ฉายา/นามสกุล

ตำแหน่ง

1

พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์, ผศ.ดร.

รองอธิการบดี วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2

พระครูปลัด ทองใบ  สุปภาโส

รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตร้อยเอ็ด

3

พระมหาอำนวย  มหาวีโร, ดร.

รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์ร้อยเอ็ด

4

พระศิลาศักดิ์  สุเมโธ

รักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการร้อยเอ็ด

5

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์  ไกรสิน

ผู้ช่วยอธิการบดี วิทยาเขตร้อยเอ็ด

6

ดร.ธีรภัทร์  ถิ่นแสนดี

กรรมการประจำวิทยาเขตร้อยเอ็ด

7

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์  ผันสว่าง

กรรมการประจำวิทยาเขตร้อยเอ็ด

8

ดร.จรุงภรณ์  กลางบุรัมย์

กรรมการประจำวิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

หลักสูตร/สาขาวิชา

1. ศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา

2. ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา

3. รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง

4. ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

5. ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

6. ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

7. ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

8. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

9. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

10.รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์

11. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

12. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

1.6 จำนวนนักศึกษา

หลักสูตร/สาขาวิชา

จำนวนนักศึกษา

(รูป/คน)

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา (รูป/คน)

1. ศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา

54

12

2. ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา

87

14

3. รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง

323

30

4. ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

100

24

5. ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

65

15

6. ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

96

12

7. ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

32

12

8. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

73

 

9. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

11

2

10.รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์

42

11

11. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

37

 

12. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

10

 

                                               รวม

930

132

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีบุคลากรทั้งหมด 83 รูป/คน แบ่งเป็น 3 สายงาน ดังนี้

     1) สายวิชาการ (T) ประกอบด้วยอาจารย์ประจำ อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 52 รูป/คน

     2) สายสนับสนุนการเรียนการสอน (S) จำนวน 25 คน

    3) สายบริการ (W) จำนวน 6 คน

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

ลำดับที่

รายละเอียดอาคาร / ชื่ออาคาร

การใช้งานอาคาร

ประโยชน์ใช้สอย

พื้นที่ใช้สอย

จำนวนห้อง

ใช้งานอยู่

ว่าง

1

อาคาร 1 คณะสังคมศาสตร์มี 3 ชั้น

1,300.50 ตรม.

18

18

-

- ใช้เป็นห้องเรียนทั้ง 12 ห้อง

- ใช้เป็นห้องพักอาจารย์ประจำหลักสูตร ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการปกครอง

- ห้องคณะกรรมการและสวัสดิการนักศึกษา

2

อาคารศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

200 ตรม.

3

3

-

ใช้เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง ใช้เป็นศูนย์เครือข่ายเทคโนโลยี สารสนเทศ 1 ห้อง

3

อาคารห้องประชุมพระธรรมฐิติญาณ

800 ตรม.

4

4

-

-ใช้เป็นห้องประชุมสัมมนาทั้งภายใน และภายนอก

-ใช้เป็นห้องเรียนรวม

- ห้องประชุมบุคลากร

4

อาคาร 2 คณะศึกษาศาสตร์

มี 4 ชั้น

2,394 ตรม.

21

21

-

- ใช้เป็นห้องเรียน 19 ห้อง

- ใช้เป็นห้องพักอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการประถมศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาไทย สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

- ใช้เป็นห้องประชุม, ห้องเรียนรวม

5

อาคารหอประชุม

922 ตรม.

1

1

-

- ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ประชุม สัมมนา

- ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีในวันสำคัญของชาติ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

- เป็นสถานที่จัดประชุม สัมมนา ขององค์กรภาครัฐ และเอกชน

- สนับสนุนการประชุม อบรม สัมมนาพระสังฆาธิการ

6

อาคารสำนักงานบริหาร(หลังเก่า) มี 2 ชั้น

484 ตรม.

5

5

-

- ใช้เป็นห้องพักบุคลากร

7

อาคารสโมสรนักศึกษา 2 ชั้น

 

2,242.90 ตรม./300 เมตร

1/300 ม.

1/300 ม.

-

- ชั้นบนใช้เป็นห้องจัดกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระสำหรับบุคลากรและนักศึกษา

- ใช้เป็นห้องเรียนสมาธิ และปฏิบัติกรรมฐาน

- ชั้นล่างเป็นห้องเก็บพัสดุครุภัณฑ์

8

หอพระประจำวิทยาเขตร้อยเอ็ด

129.6 ตรม.

1

1

-

-ประดิษฐานพระพุทธรูป และ รูปเหมือนบูรพาจารย์/ปฐมาจารย์ผู้ก่อตั้ง วิทยาเขตร้อยเอ็ด

9

อาคาร 3 บัณฑิตวิทยาลัย มี 3 ชั้น

2,494 ตรม.

15

15

-

- ใช้เป็นห้องเรียนระดับปริญญาโท และปริญญาเอก

- ห้องพักอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาโท 2 สาขาวิชา และปริญญาเอก 1 สาขาวิชา

- ห้องปฏิบัติการทางภาษา

- ห้องคลินิกวิจัยระดับปริญญาโท

10

อาคาร 4 คณะศาสนาและปรัชญา มี 3 ชั้น

2,494 ตรม.

15

15

-

- ใช้เป็นห้องเรียนระดับปริญญาตรี และปริญญาโท

- ห้องพักอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโท

- ห้องพักอาจารย์ประจำหลักสูตร

- ห้องคลินิกวิจัยระดับปริญญาโท

11

อาคารเรียนและหอสมุด 3 ชั้น

1910 ตรม.

16

16

-

- ใช้เป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ จำนวน3 ห้อง

- ห้องปฏิบัติงานคณาจารย์ เจ้าหน้าที่

- ห้องปฏิบัติงานพระสอนศิลธรรมในโรงเรียน

- ห้องประชุมศูนย์บริการวิชาการ

- ห้องคลินิกวิจัยระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

- ห้องสมุด/ห้องสืบค้น

12

อาคารสำนักงานบริหาร

วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2,200ตรม.

45

45

 

- ห้องปฏิบัติงานของผู้บริหาร 5 ห้อง

- ห้องปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน 10 ห้อง

- ห้องประชุมผู้บริหาร 1 ห้อง

- ห้องประชุม สัมมนา 2 ห้อง

- ห้องเรียนออนไลน์จำนวน 10 ห้อง

13

อาคารโรงอาหาร

1,000 ตรม.

7

7

 

- ใช้เป็นที่รับประทานอาหาร

- ร้านมินิมาร์ท

- สถานที่ประกอบอาหาร

- ร้านถ่ายเอกสาร / พิมพ์งาน

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

          อัตลักษณ์บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

          เอกลักษณ์บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติการชี้นำ ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคม 2 เรื่อง

                   1) ภายในมหาวิทยาลัย จิตสาธารณะ หรือจำสำนึกทางสังคม

                   2) ภายนอกมหาวิทยาลัย การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวพระราชดำรัสต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคม

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ
สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.49
3.49
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5.00
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5.00
1.76
1.76
ไม่บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5.00
5.00
5.00
บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5.00
5
5
บรรลุ
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.21
4.21
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5.00
5
5
บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5.00
5
5
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5.00
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5.00
4
4
ไม่บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
4.50
4.50
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.56
4.56

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 6 3.92 5.00 3.49 4.21 ดี
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 4.50 - 4.50 ดี
รวม 13 4.19 4.86 4.25 4.56 ดีมาก
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดี ดีมาก ดีมาก

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 4.165.005.005.004.504.54
2563 4.214.675.005.005.004.56
2564 4.215.005.005.004.504.56
2565 4.374.004.005.004.504.25
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

1. จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

1. วิทยาเขตมีการบริหารจัดการหลักสูตรได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. (สป.อว.) มีผลการประเมิน อยู่ในระดับดีจนถึงดีมาก และคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี (เฉลี่ย 3.49 คะแนน) สะท้อนให้เห็นคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรได้อย่างชัดเจน นำไปสู่อัตลักษณ์ของบัณฑิตตามวิสัยทัศน์ของวิทยาเขตและมหาวิทยาลัย

2. วิทยาเขตมีอาจารย์มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 54.55 สะท้อนให้เห็นคุณภาพ และความเข้มแข็งทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชี่ยวชาญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการผลิตผลงานวิชาการที่จะสนองตอบต่อจุดเน้นตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

3. วิทยาเขตมีระบบและกลไกการบริการนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ดำเนินการการให้คำปรึกษาทางวิชาการและการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในแต่ละหลักสูตร การแต่งตั้ง และมอบหมายให้วิทยาลัยศาสนศาสตร์บัณฑิตควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และการรายงานผล ให้เป็นไปอย่างอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้ชีวิตของนักศึกษาอย่างมีความสุข การบริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตรด้านแหล่งงาน ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการทำงานให้กับนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา และกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาศิษย์เก่าอย่างต่อเนื่อง

4. วิทยเขตให้ความสำคัญกับการพัฒนานักศึกษา โดยสร้างมีระบบและกลไกด้านกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาได้อย่างเหมาะสมและครบถ้วน โดยมีแผนกิจกรรมพัฒนานักศึกษาตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุมศึกษาแห่งชาติ และครอบคลุมทั้ง คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาสิ่งแวดล้อม คุณธรรมจริยธรรมและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การให้ความรู้ และสร้างทักษะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ PDCA ด้วยการปฏิบัติจริง ตลอดจนการประเมินความสำเร็จของกิจกรรม/โครงการ และแผนกิจกรรม

 

2.แนวทางเสริมจุดแข็ง

1. การกำกับ ดูแลการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดย สกอ.อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2. ทบทวนแผนพัฒนาอาจารย์ และกำกับ ติดตามให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่ระบุไว้

3. จุดที่ควรพัฒนา

1. วิทยาเขตร้อยเอ็ด ต้องกำกับดูแลการบริหารจัดการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดย สกอ.อย่างเคร่งครัด

2.อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

3. การเขียนผลการดำเนินงานในตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

4. การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและตัวชี้ของโครงการ

5. การเขียนผลการดำเนินงาน เกณฑ์การประเมินที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป

6. การเขียนผลการดำเนินงาน เกณฑ์การประเมินที่ 5 การประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา

4. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

 1. วิทยาลัยเขตร้อยเอ็ดต้องกำกับให้หลักสูตรฯ นำข้อเสนอแนะจากผลการประเมินระดับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มาปรับปรุง พัฒนาให้หลักสูตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานแบบเร่งด่วน เพื่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของวิทยาเขตร้อยเอ็ด

2.ทบทวนแผนพัฒนาอาจารย์ กำกับ ติดตามให้อาจารย์ประจำคณะพัฒนาตนเองให้เป็นไปตามแผนเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น

3.การเขียนผลการดำเนินงานในตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้เขียนฉายภาพการดำเนินงานของวิทยาเขต ไม่ต้องเขียนแยกรายสาขา (ซึ่งเขียนไม่ครบทุกสาขา)

4.การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและตัวชี้วัดของโครงการ ควรกำหนดให้มีความท้าทายมากขึ้น เช่น กำหนดเป็น outcome มากกว่าที่จะกำหนดเป็น output และจัดทำรูปแบบตารางแนวนอนจะดูเหมาะสมกว่าแนวตั้ง

5.ในการเขียนผลการดำเนินงานควรแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่

6. ในการเขียนผลการดำเนินงาน ควรระบุตัวชี้วัดที่เป็น outcome ของแผน กำหนดค่าเป้าหมาย และผลการดำเนินงานให้ชัดเจน ไม่ใช่เขียนความสำเร็จของวัตถุประสงค์แบบเขียนโครงการ (หน้า 80)

5. การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น

 

 

 

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

1. จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

1. วิทยาเขตมีระบบและกลไกสนับสนุน และขับเคลื่อนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพได้แก่ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายหลายช่องทางทั้งระดับสถาบัน และระดับชาติ การจัดหาแหล่งทุนวิจัย ระบบารสนับสนุนงบประมาณเพื่อการสร้างงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ แหล่งเผยแพร่งานวิจัยทั้งในและนอกวิทยาเขต คลินิกเพื่อการแก้ไข รักษาและพัฒนางานวิจัย การยกย่องผู้มีผลงานวิจัยดีเด่น และสร้างระบบการคุ้มครองทรัพย์สิสนทางปัญญาเพื่อกระต้นให้อาจารย์และบุคลากรวิจัยได้ตระหนักงานมูลค่าทางผลงานวิจัย

2.แนวทางเสริมจุดแข็ง

1. แสวงหาแหล่งทุนจากภายนอกเพิ่มขึ้น โดยใช้ระบบพี่เลี้ยงเพื่อให้ได้ทุนง่ายขึ้น

2. ส่งเสริมการทำวิจัยที่สะท้อนเอกลักษณ์ อัตลักษณ์วิทยาเขต เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ

3.สร้างเครือข่ายและพัฒนางานวิจัย บทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ให้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ เช่น ฐาน Scopus ฐาน ISI ฐาน ERIC เป็นต้น

3. จุดที่ควรพัฒนา

1. วิทยาเขต ควรมีการทบทวนการทิศทาง นโยบายการสร้างผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบก้าวกระโดด (Disruption) และวิจัยแบบมุ่งเป้าให้เป็นไปตามทิศทางที่วิทยาเขตต้องการ

2. วิทยาเขตควรมีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลงานวิจัย โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของวิทยาเขต มหาวิทยาลัย และยุทธสาสตร์ระดับชาติ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง และสะท้อนถึงความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อการวิจัย

3. วิทยาเขตควรกำกับติดตามหลักสูตรที่มีผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์น้อยหรือได้รับงบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอ เพื่อสร้างความเสมอภาคทางวิชาการ และศักยภาพของอาจารย์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพนักศึกษา และสถาบันต่อไป

 

4. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

 

 

 

5. การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น

 

 

 

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

1. จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

1.วิทยาเขตร้อยเอ็ด ส่งเสริมให้อาจารย์ทำโครงการบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นจำนวนมาก

2. วิทยาเขตมีกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานงานการบริการวิชาการ ประกอบด้วย ศูนย์บริการวิชาการ แผนการบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และ แผนการใช้ประโยชน์ มีรูปแบบโครงการที่สามารถบริการกลุ่มเป้าหมายได้ทั้งภาครัฐ และชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คณะกรรมการกำกับติดตามการบริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรม มีการประเมินความสำเร็จของขงแผนบริการวิชาการ และการนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงพัฒนางานในโอกาสต่อไป ด้วยการใช้กระบวนการ PDCA

 

2.แนวทางเสริมจุดแข็ง

1. วิทยาเขตควรส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์ และนักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการกับสถาบันมากขึ้น 

2. ผลักดันให้อาจารย์นำผลงานบริการวิชาการเพื่อรับใช้สังคมไปขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

3. จัดโครงการบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้กับวิทยาเขต

3. จุดที่ควรพัฒนา

 1. วิทยาเขตร้อยเอ็ด ควรจัดทำแผนบริการวิชาการแก่สังคมให้ชัดเจน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน การกำหนดเกณฑ์การประเมินความสำเร็จของแผน เป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อสะท้อนผลการประเมินที่ชัดเจน

2.การจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ ควรเขียนให้เห็นประโยชน์ที่ได้จากโครงการบริการวิชาการ (outcome)

3. วิทยาเขตควรเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความร่วมมือกับทุกหลักสูตรในกำหนด “พื้นที่ชุมชนนวัตกรรมเชิงพุทธ” เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ให้กับพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย ด้วยองค์ความรู้แบบผสมผสานเชิงบูรณาการระหว่างหลักธรรม และความรู้สมัยใหม่เพื่อเป็นครรลองในการดำเนินรงชีวิต เพื่อนำไปสู่การสร้างเป็นโมเดล (Model) ของวิทยาเขต และพัฒนาเป็นตัวแบบที่มีแนวปฏิบัติที่ดี เป็นแหล่งการวิจัยของอาจารย์ และแหล่งเรียนของนักศึกษาของจังหวัด  โดยมีแผนงาน/โครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งระยะสั้น และระยะยาว

4. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

 

5. การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น

 

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1. จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

1. วิทยาเขตมีระบบ และกลไกในการบริหารงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีศูนย์บริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรม ที่มอบหมายให้ฝ่ายงานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมรับผิดชอบในขับเคลื่อนการดำเนินงาน มีนโยบาย แผนงาน และโครงการ มีคณะกรรมการกำกับติดตามฯผลการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน จำนวน 3 โครงการหลัก 17 กิจกรรม และสามารถดำเนินการได้ในบางกิจกรรมได้ตามเป้าหมาย แต่หลายกิจกรรมไม่ได้ดำเนินการด้วยสถานการณ์โควิด-19 นอกจากนี้มีการเผยแพร่กิจกรรมด้วยช่องทาง internet และ website ด้วย

 

2.แนวทางเสริมจุดแข็ง

 

 

3. จุดที่ควรพัฒนา

1. วิทยาเขตร้อยเอ็ด ควรจัดทำแผนบริการวิชาการแก่สังคมให้ชัดเจน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน การกำหนดเกณฑ์การประเมินความสำเร็จของแผน เป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อสะท้อนผลการประเมินที่ชัดเจน

2.การประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการฯ ในการเขียนผลการดำเนินงาน ควรระบุตัวชี้วัดที่เป็น outcome ของแผน กำหนดค่าเป้าหมาย และผลการดำเนินงานให้ชัดเจน

3. วิทยาเขต ควรมีการกำหนดเป็นกลไกสำคัญในกำหนดพื้นที่เป้าหมาย เรียกว่า “ชุมชนวัฒนธรรมเชิงพุทธ” เพื่อเป็นชุมชนตัวอย่างในการใช้หลักธรรมเป็นครรลองของการดำรงชีวิต เป็นชุมชนวัฒนธรรมที่เป็นตัวแบบ (Model) ที่มีแนวปฏิบัติที่ดี เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษา และวิจัย ที่จะทำให้วิทยาเขตบรรลุผลสำเร็จที่ตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถาบัน ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการรองรับอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

4. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

 

 

5. การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น

 

 

 

 

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

1. จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

1. วิทยาเขตมีระบบ และกลไกในการบริหารการจัดการ โดยมีคณะกรรมการบริหารเขตร้อยเอ็ดกำกับดูแลในด้านนโยบาย และการกำกับติดตามการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ของสถาบัน การจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปี

          2. การสร้างระบบ MIS มาใช้ในการบริหารงบประมาณ ระบบการบริหารงานการเงินทุกประเภท มีระบบ e-port เพื่อการบริหารความคุ้มค่ากับต้นทุนการผลิตของแต่ละหลักสูตร บริหารองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหาร และมีระบบและกลไกการกำกับคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร

 

2.แนวทางเสริมจุดแข็ง

 

 

3. จุดที่ควรพัฒนา

  1. ความเสี่ยงที่น่ากลัว คือ วิทยาเขตร้อยเอ็ด ควรจัดทำแผนบริการวิชาการแก่สังคมให้ชัดเจน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน การกำหนดเกณฑ์การประเมินความสำเร็จของแผน เป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อสะท้อนผลการประเมินที่ชัดเจน

2. ในการระบุความเสี่ยง (อาจเกิดในอนาคต/ไม่แน่นอน/มีโอกาสเกิดขึ้น) ไม่จำเป็นต้องมีความเสี่ยงในทุกด้าน ควรวิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดในอนาคต เมื่อเกิดแล้วกระทบต่อองค์กรหรือไม่ หรือเป็นสิ่งที่เคยเกิดแล้ว ปัจจุบันเป็นกิจกรรมงานประจำ/มีแผนการจัดการแน่นอน เหล่านี้จะไม่ถูกจัดเป็นความเสี่ยง แต่เป็นปัญหา เนื่องจากในรายงานมีความเสี่ยงเยอะมาก ๆ เกรงว่าจะกระทบกับการบริหารจัดการภาพรวมของวิทยาเขต ดังนั้น ขอให้ทางวิทยาเขตวิเคราะห์ เพื่อหาความเสี่ยงที่แท้จริง

3. วิทยาเขต ควรมีการทบทวนการกำกับมาตรฐานหลักสูตร ด้วยการเน้นผลลัพธ์ทางการเรียนรู้มากขึ้น โดยใช้หลักการการจัดการศึกษาที่เรียกว่า Outcome Based Education มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนการสอนในหลักสูตรมากขึ้น

 

4. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

 

 

5. การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น

 

 

บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน

  1. ปัญหาในช่วงการศึกษาออนไลน์มีปัญหาเรื่องอุปกรณ์ และอาจจะมีอาจารย์บางท่านที่ไม่ถนัดกับเทคโนโลยี นักศึกษาไม่เปิดกล้องขณะที่เรียน
  2. ประโยชน์ที่เรียนออนไลน์สามารถศึกษาได้ทุกที่
  3. อยากหลักสูตร 4 ปีอยากให้มีการออกใบประกอบวิชาชีพให้เหมือนหลักสูตร 5 ปี

ศิษย์เก่า

  1. มีความรู้สามารถนำมาใช้ประยุกต์ในการทำงานได้จริง
  2. อยากให้มีการประชาสัมพันธ์แก่ศิษย์เก่า และการประชาสัมพันธ์ต่างให้บุคคลภายนอกรับรู้มากขึ้น

ผู้ปกครอง

  1. แรงจูงใจในการให้บุตรมาเรียนที่นี่ ด้วยตัวของผู้ปกครองเองเป็นศิษย์เก่าและมีความเชื่อมั่นในสถาบันการศึกษา และเมื่อบุตรเรียนแล้วสามารถสอบติดราชการได้
  2. มหาวิทยาลัยสามารถกล่อมเกลาจิตใจให้บัตรหลานเป็นคนดี

ผู้แทนชุมชน

  1. เวลาชุมชนมีงานทางมหาวิทยาลัยจะส่งนักศึกษามาช่วยงาน และเวลามหาวิทยาลัยมีงานชุมชน ก็จะเข้ามาช่วยเหลือ
  2. มมร มีการประชาสัมพันธ์เข้าไปถึงชุมชน
ภาพถ่าย