Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการประเมินคุณภาพ วิทยาเขตอีสานซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมิน 4.57 การดำเนินงานระดับดีมาก โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต วิทยาเขตอีสานปฏิบัติตามนโยบายของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับระบบอีกทั้งมีกลไกการเปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาและดำเนินการตามระบบที่กำหนด วิทยาเขตอีสานให้ความร่วมมือโดยการประชุมหารือการรับรองปริญญาทางการศึกษาซึ่งมหาวิทยาลัยได้สร้างความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตรของจำนวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมดทุกระดับการศึกษาและมีการปรับปรุงมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ใช้ในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานวิชาการและวิชาชีพเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การรับรองวิทยฐานะและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของจำนวนอาจารย์นั้นวิทยาเขตอีสานมีบุคลากรสายวิชาการจำนวนมาก ดังนั้นจึงควรวางแผนสนับสนุนให้อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการให้มากยิ่งขึ้น วิทยาเขตอีสานมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 1 เท่ากับ 4.24 การดำเนินงานระดับดี

องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย วิทยาเขตอีสาน มีสถาบันวิจัยญาณสังวรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ วิทยาเขตอีสานมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 2 เท่ากับ 4.67 การดำเนินงานระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ วิทยาเขตอีสานมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนเพื่อวางระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคมมีหลักเกณฑ์การให้บริการวิชาการแก่สังคมดำเนินการตามระบบที่กำหนดโดยจัดทำเป็นโครงการและมีผลการประเมินการบริการวิชาการที่บูรณาการการเรียนการสอนและรายงานผลการดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยได้บูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยประเมินผลความสำเร็จและได้นำผลการประเมินไปปรับปรุง การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคมโดยทั่วไปวิทยาเขตอีสานมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 3 เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตอีสานมีนโยบายและแนวทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมมีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งนอกจากการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาแล้วมหาวิทยาลัยได้นำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการและสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ วิทยาเขตอีสานมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 4 เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารและการจัดการ คณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสานปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มาตรา32  ครบถ้วนและมีการรายงานผลและมติการประชุมของคณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสาน นำไปสู่การปฏิบัติ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กำหนดนโยบายทิศทางการดำเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับสนับสนุนให้บุคลากรในวิทยาเขตมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมีการนัดประชุมโดยรองอธิการบดีเพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ทางการบริหารและมอบหมายให้ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้อำนวยการ 3 ส่วนงานดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย

ในด้านการพัฒนาวิทยาเขตอีสานสู่มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยอย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีและนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

สำหรับด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจมีการสร้างเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและวางแผนระบบสารสนเทศที่ครอบคลุมการเรียนการสอนการวิจัยการบริหารจัดการ การเงิน งานระบบบริการการศึกษา ระบบสารบัญและสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานต่างกันได้อย่างมีคุณภาพระหว่างมหาวิทยาลัยหรือสร้างเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆและนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบสารสนเทศของวิทยาเขตอีสานได้เป็นอย่างดี

มีการวางระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยโดยการประกาศนโยบายและแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยให้บุคลากร ได้ทราบแนวทางระบบและกลไกเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับบุคลากรเพื่อให้อาจารย์ทุกสาขาวิชาและทุกส่วนงานสามารถนำผลงานวิจัยนั้นไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาต่อไป วิทยาเขตอีสาน มีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 5 เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

1.1  ชื่อส่วนงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ข้อมูลทั่วไป

(1) ชื่อ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 

(2) เว็บไซต์ www.mbuisc.ac.th

(3) ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย :วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โสเสฏฺโ เทวมานุเส หมายถึง ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

(4) สีประจำมหาวิทยาลัย : สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับสีของวันพฤหัสบดี  อันเป็นวันพระราชสมภพ

(5) ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย :ต้นโพธิ์ เป็นที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

(6) คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา :ระเบียบ   สามัคคี  บำเพ็ญประโยชน์

(7) ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย                                             

                    พระมหามงกุฎ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4  พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม  “มหามกุฏราชวิทยาลัย” 

                    พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ  60 ชั่ง

                    หนังสือ  หมายถึง  คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา  โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ปากกาปากไก่  ดินสอ  และม้วนกระดาษ หมายถึง  อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน  ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา  เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา

                    ช่อดอกไม้แย้มกลีบในทางการศึกษา หมายถึง  ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้  แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง  กิตติศัพท์  กิตติคุณ  ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ  อิสริยยศ  บริวารยศ

                    พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ หมายถึง  มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคงและแพร่หลายของพระพุทธศาสนา  ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่

                    วงรัศมี หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของ  มหามกุฏราชวิทยาลัยภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย

                    มหามกุฏราชวิทยาลัย หมายถึง  สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก ปัจจุบัน  คือ  “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” 

                (8)  อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย  : บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

                (9)  เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย : บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ  

ที่ตั้ง

 

วิทยาเขต

ที่อยู่

โทรศัพท์

โทรสาร

1.

มหาวิทยาลัย   มหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง

248 วัดบ้านสุวรรณ ต.ศาลายา     อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม  73170

0-2282-8303,    0-2281-6427

0-2281-0294

2.

วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

วัดชูจิตธรรมาราม เลขที่ 57 หมู่ที่ 1 ต.สนับทึบ อ.วังน้อย                    จ.พระนครศรีอยุธยา 13170

035–745037–8

035 - 745037

3.

วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

วัดสิรินธรเทพรัตนาราม เลขที่ 26 หมู่ที่ 7 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน          จ.นครปฐม 73160

0-2429-1663,

0-2429-1719

02 - 4291241

4.

วิทยาเขตอีสาน

เลขที่ 9/37 ม. 12 ถ.ราษฏร์คนึง บ้านโนนชัย ต.ในเมือง อ.เมือง      จ.ขอนแก่น 40000

043 – 241488, 043 - 239605

043 - 241502

5.

วิทยาเขตล้านนา

วัดเจดีย์หลวง 103 ต.พระสิงห์      อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

053-270-9756

053-814-752

6.

วิทยาเขตร้อยเอ็ด

เลขที่ 148 ถ.เลี่ยงเมือง ต.ดงลาน    อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000

043 – 518364, 043 - 516076

043 - 514618

7.

วิทยาเขตศรีล้านช้าง

วัดศรีสุทธาวาส เลขที่ 253/7          ถ.วิสุทธิเทพ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย 42000

042 – 813028

042 - 830434

042- 830686     042 - 811255

8.

วิทยาเขต            ศรีธรรมาโศกราช

วัดพระมหาธาตุ เลขที่ 169/9         ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ. เมือง             จ.นครศรีธรรมราช 80000

075 – 340499

075-310293

075 - 357968

9.

มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย             ในพระสังฆราชูปถัมภ์

หมู่ 6 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย           จ.นครราชสีมา 30150

081 – 7022076 086 – 0123470 086 – 0155830

044 - 249398

10.

วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

วัดศรีธรรมาราม เลขที่ 1              ถ.วิทยธำรงค์ อ.เมือง จ.ยโสธร 35000

045 – 711056

045 – 711567

045 - 711056

11.

วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

วัดประชานิยม ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000

043 - 815393

043 – 815393 043 - 815855

 

ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) ตามลำดับ ดังนี้

              พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยและมีส่วนสำคัญในการสร้างรากฐานวัฒนธรรมทางจิตใจให้แก่เยาวชนไทย สังคมไทยในปัจจุบันกำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ แนวความคิดและการกระทำ มีการแข่งขันกันมากขึ้น มุ่งเน้นวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยมมากขึ้น ทำให้วิถีทางการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัว ขาดคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ทางสังคม เช่น การเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น การทุจริต การมัวเมาในสิ่งเสพติด ฉะนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสภาวะสังคมที่มีการแข่งขันกันสูง สถาบันต่างๆ ในสังคม เช่น สถาบันศาสนา สถาบันโรงเรียน และสถาบันครอบครัว ควรตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเยาวชนในวัยเรียนสมควรได้รับการอบรม สั่งสอน และวางพื้นฐานการประพฤติปฏิบัติทางคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เยาวชนเหล่านั้นเจริญเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป

          การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพและศักยภาพให้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และเกื้อกูลต่อการพัฒนาประเทศชาติได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุก ๆ ด้าน  สืบเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาการ  ระบบการสื่อสารที่ไร้พรมแดนและการติดต่อสัมพันธ์กับสังคมโลกอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น 

          เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2533  สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยได้อนุมัติให้สถาปนาวิทยาเขตแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดขอนแก่น ต่อมาในปีพุทธศักราช 2540  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ว่าโดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  เป็นนิติบุคคลมีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีชื่อใหม่ว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตอีสาน และได้ย้ายจากวัดศรีจันทร์ ไปอยู่ที่บ้าน   โนนชัย ถนนราษฎร์คนึง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น  บนเนื้อที่ 37 ไร่ 3 งาน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ

  1. เพื่อเป็นสถานศึกษาด้านพระพุทธศาสนา
  2. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศ
  3. เพื่อให้ศาสนทายาทได้เป็นกำลังในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนทายาทที่เหมาะสมกับกาลสมัย
  4. เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมประติมากรรมทางพระพุทธศาสนา

          ทั้งนี้  ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสาน  โดยมีพระครูสุธีจริยวัฒน์, ผศ.ดร. รองอธิการบดี  เป็นประธานคณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสาน  ได้แบ่งส่วนการบริหารงานออกเป็น 3 ส่วนงาน คือ

  1. สำนักงานวิทยาเขตอีสาน
  2. ศูนย์บริการวิชาการอีสาน
  3. วิทยาลัยศาสนศาสตร์อีสาน

          เริ่มเปิดให้การศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณรตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2533 เป็นต้นมา และได้เปิดรับนักศึกษา (บุคคลทั่วไป) ในปีการศึกษา 2544 และเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2545 วิทยาเขตอีสานได้ขยายห้องเรียนไปที่ วัดแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และในปีการศึกษา 2549 ได้ขยายห้องเรียนอีกแห่งหนึ่ง คือ วัดพิศาลรัญญาวาส อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาเป็นระยะเวลา 32 ปี (พ.ศ. 2533 – 2565) เปิดสอนตามหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และมีสาขาวิชาจำนวน 16 สาขาวิชา ประกอบด้วย

หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 9 สาขาวิชา  ได้แก่ 1. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2. สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ 3. สาขาวิชาการปกครอง 4. สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 5. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย 6. สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา 7. สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา 8. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 9. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโท จำนวน 4 สาขาวิชา ได้แก่ 1. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ 2. สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา 3. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา และ 4. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ระดับปริญญาเอก จำนวน 3 สาขาวิชา ได้แก่ 1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา 2. สาขาวิชาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา และ 3. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2 ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ

ปรัชญา (Philosophy)

“ความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนา”

Academic Excellence based on Buddhism

 

ปณิธาน (Aspiration)

มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม ชี้นำและแก้ไขปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 

วิสัยทัศน์ (Vision Statements)

(1) เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ

(2) เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมวลชนที่ผลิตบัณฑิตตามแนวพระพุทธศาสนาและบุคลากรด้านต่างๆ ที่มีความรู้ความสามารถ มีศีลธรรมในการดำรงชีวิตแบบพุทธ

(3) เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาของโลกที่สามารถชี้นำและยุติความขัดแย้งในสังคมโดยใช้หลักพุทธธรรม

(4) เป็นสถาบันที่เน้นทำวิจัยพัฒนาตามกรอบแห่งศีลธรรม ส่งเสริมงานวิจัยเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนาและนำผลการวิจัยไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 

พันธกิจ (Mission  Statements)

 (1) ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนา ให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยและกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น

 (2) ให้บริการวิชาการแก่สังคม ชุมชน  และท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์ และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการพระพุทธศาสนา

 (3) วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย

  (4) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้า ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม

 

วัตถุประสงค์  (Objectives)

  (1) ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ

  (2) ผลิตบัณฑิตให้เป็นคนดี คือ คิดดี พูดดี และทำดี ตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา

(3) บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่สังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นประจักษ์ชัดเจน ต่อสังคมไทยและสังคมโลก

(4) ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้นำและสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งทางสังคมศาสตร์ และมีคุณภาพทั้งด้านความรู้และความประพฤติ

(5) ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้นำและสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา การเรียนรู้และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

1.4 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

การจัดรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัย เป็นการจัดตามความในมาตราที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 และเป็นการจัดตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้รัฐมนตรี (กระทรวงศึกษาธิการ) มีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 6 คือ “มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทะนุบำรุงศิลปวัฒธรรม”

การจัดโครงสร้างและระบบการบริหารมหาวิทยาลัย ในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ตามความในมาตรานั้น ๆ โดยอาจจำแนกองค์กรหรือหน่วยงานหลัก ๆ ได้ดังนี้

(1)  สภามหาวิทยาลัย                     (2)   สภาวิชาการ

(3)  สำนักงานอธิการบดี                  (4)   สำนักงานวิทยาเขต

(5)  บัณฑิตวิทยาลัย                       (6)   คณะ

(7)  สถาบัน                                (8)   สำนัก

(9)  ศูนย์                                    (10) วิทยาลัย

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

1.5  รายชื่อผู้บริหาร และคณะกรรมการประจำวิทยาเขตอีสานชุดปัจจุบัน

  1. พระครูสุธีจริยวัฒน์, ผศ.ดร. รองอธิการบดี
  2. พระมหาวิศักดิ์ ชาตสุโภ           ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตในวิทยาเขตอีสาน
  3. พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ, ผศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์อีสาน
  4. พระครูธรรมาภิสมัย, ผศ.ดร. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการอีสาน
  5. ดร.เอกชาตรี สุขเสน ผู้ช่วยอธิการบดี
  6. ผศ.ดร.วิทูล ทาชา                       กรรมการ
  7. ผศ.ดร.ธนกร ชูสุขเสริม                   กรรมการ

    8. นายแสงอาทิตย์ ไทยมิตร                  กรรมการ

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

ลำดับ

สาขาวิชา

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

รวมทั้งหมด

1

สาขาวิชาการปกครอง

141

-

-

141

2

สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

76

-

-

76

3

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

73

-

-

73

4

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

66

-

-

66

5

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

163

-

-

163

6

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

122

-

-

122

7

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

98

-

-

98

8

สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

16

-

-

16

9

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

84

-

-

84

10

สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์

-

20

-

20

11

สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

-

8

-

8

12

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

-

43

 

43

13

สาขาวิชาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา

-

-

25

25

14

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

-

10

 

10

15

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

-

 

43

43

16

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

-

 

7

7

รวม

839

81

75

995

1.6 จำนวนนักศึกษา

ลำดับ

สาขาวิชา

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

รวมทั้งหมด

1

สาขาวิชาการปกครอง

141

-

-

141

2

สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

76

-

-

76

3

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

73

-

-

73

4

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

66

-

-

66

5

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

163

-

-

163

6

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

122

-

-

122

7

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

98

-

-

98

8

สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

16

-

-

16

9

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

84

-

-

84

10

สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์

-

20

-

20

11

สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

-

8

-

8

12

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

-

43

 

43

13

สาขาวิชาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา

-

-

25

25

14

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

-

10

 

10

15

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

-

 

43

43

16

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

-

 

7

7

รวม

839

81

75

995

 

1.7  นักศึกษาจบการศึกษา

ลำดับ

สาขาวิชา

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

รวมทั้งหมด

1

สาขาวิชาการปกครอง

24

-

-

24

2

สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

8

-

-

8

3

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

11

-

-

11

4

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

43

-

-

43

5

สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

-

5

-

5

6

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

-

-

7

7

7

สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์

-

3

-

3

รวม

86

8

7

101

 

 

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

1.8  อาจารย์และบุคลากร

ลำดับที่

สาขาวิชา

จำนวนอาจารย์จำแนกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

1

สาขาวิชาการปกครอง

 

 

 

 

2

 

 

 

2

1

 

 

4

1

 

 

2

สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

 

 

 

 

1

 

 

 

3

1

 

 

4

1

 

 

3

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

 

 

 

 

4

 

 

 

1

 

 

 

5

 

 

 

4

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

 

 

 

 

2

1

 

 

 

 

2

 

2

1

2

 

5

สาขาวิชา

การสอนภาษาอังกฤษ

 

 

 

 

5

 

 

 

 

 

 

 

5

 

 

 

6

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

 

 

 

 

5

 

 

 

 

 

 

 

5

 

 

 

7

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

 

 

 

 

5

 

 

 

 

 

 

 

5

 

 

 

8

สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

 

 

 

 

4

1

 

 

 

 

 

 

4

1

 

 

9

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

 

 

 

 

5

 

 

 

 

 

 

 

5

 

 

 

 

ลำดับที่

สาขาวิชา

จำนวนอาจารย์จำแนกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

10

สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

 

2

1

 

 

2

1

 

 

11

สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

 

 

 

 

 

 

 

 

3

1

 

 

3

1

 

 

12

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

1

4

1

 

1

4

1

 

13

สาขาวิชาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา

 

 

 

 

 

 

 

 

3

1

 

1

3

1

 

1

14

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

 

 

 

 

 

 

 

 

2

1

 

 

2

1

 

 

รวม

0

0

0

0

33

2

0

0

17

10

3

1

50

12

3

1

รวมทั้งหมด

0

35

31

66

 

ลำดับที่

หน่วยงาน

จำนวนบุคลากรสายสนับสนุนจำแนกตามคุณวุฒิ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

1

สำนักงานวิทยาเขตอีสาน

2

3

1

6

2

วิทยาลัยศาสนศาสตร์อีสาน

3

 

 

3

3

ศูนย์บริการวิชาการอีสาน

1

2

1

4

รวม

6

5

2

13

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.9  ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

ลำดับ

ภารกิจ

งบดำเนินการ 2564

รวม

หมายเหตุ

งบประมาณ

เงินรายได้

1

งบบุคลากร

 

10,443,900

10,443,900

 

2

งบดำเนินงาน

3,214,800.00

7,150,297

10,365,097

 

3

งบลงทุน

15,429,800

500,000

15,929,800

 

4

รายจ่ายอื่น

 

10,000

10,000

 

5

งบเงินอุดหนุน

8,410,000

50,000

8,460,000

 

รวม

27,054,600

18,154,197

45,208,797

 

ลำดับ

ภารกิจ

งบดำเนินการ 2565

รวม

หมายเหตุ

งบประมาณ

เงินรายได้

1

งบบุคลากร

 

14,202,800

14,202,800

 

2

งบดำเนินงาน

3,000,000

4,147,350

7,147,350

 

3

งบลงทุน

10,576,100

500,000

11,076,100

 

4

รายจ่ายอื่น

 

 

 

 

5

งบเงินอุดหนุน

8,410,000

 

8,410,000

 

รวม

21,986,100

18,850,150

40,836,250

 

 

อาคารสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง

ลำดับ

รายการ

หมายเหตุ

1

อาคารสำนักงานวิทยาเขตอีสาน

1. ห้องเรียน จำนวน 9 ห้อง

2. ห้องการเงิน/ห้อง ผู้ช่วยอธิการบดี/ห้องผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต จำนวน 1 ห้อง

3. ห้อง ประกันคุณภาพการศึกษา/ห้อง กยศ. จำนวน 1 ห้อง

4. ห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน 1 ห้อง

5. ห้องเก็บเอกสารการเงิน จำนวน 1 ห้อง

6. ห้องสมาคมศิษย์เก่า จำนวน 1 ห้อง

2

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9

1. ห้องเรียน จำนวน 4 ห้อง

2. ห้องปฏิบัติงานอาจารย์ จำนวน 3 ห้อง

3. ห้องทะเบียนและวัดผล จำนวน 1 ห้อง

4. ห้องผู้บริหาร จำนวน 1 ห้อง

5. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ห้อง

6. ห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน 1 ห้อง

7. ห้องคลินิกวิจัย จำนวน 1 ห้อง

3

อาคารศูนย์บริการวิชาการ

1. ห้องปฏิบัติงาน จำนวน 3 ห้อง

2. ห้องวิทยุและโทรทัศน์ จำนวน 1 ห้อง

3. ห้องศิลปวัฒนธรรม จำนวน 1 ห้อง

4. ห้องปฏิบัติงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน 2 ห้อง

5. ห้องผู้บริหาร จำนวน 2 ห้อง

6. ห้องพักรับรอง จำนวน 2 ห้อง

7. ห้องประชุม จำนวน 1 ห้อง

 

ลำดับ

รายการ

หมายเหตุ

4

อาคารหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก

1. ห้องประชุม จำนวน 2 ห้อง

2. ห้องเรียน จำนวน 2 ห้อง

3. ห้องปฏิบัติงาน จำนวน 3 ห้อง

4. ห้องพักรับรอง จำนวน 3 ห้อง

3

อาคารศูนย์วิทยบริการสิรินธร

1. ห้องประชุม จำนวน 2 ห้อง

2. ห้องปฏิบัติงาน จำนวน 3 ห้อง

4

อาคารพัสดุ

1. ห้องพัสดุ จำนวน 2 ห้อง

2. ห้องงานอาคารสถานที่และยานพาหนะ จำนวน 1 ห้อง

5

อาคารปุญญทัตโต

1. ห้องคณะสังคมศาสตร์

2. ห้องกิจการนักศึกษา

6

อาคารเรียนและหอสมุด

1. ห้องสมุด

2. ห้องเรียน จำนวน 3 ห้อง

3. ห้องผู้บริหารและคณาจารย์ จำนวน 3 ห้อง

4. ห้องสนับสนุนการเรียนรู้ จำนวน 3 ห้อง

7

อาคารกิจการนักศึกษา

1. ห้องกิจการนักศึกษาบรรพชิต

8

อาคารกิจการนักศึกษา

1. ห้องปฏิบัติงานอาจารย์ จำนวน 1 ห้อง

2. ห้องปฏิบัติงานกิจการนักศึกษาคฤหัสถ์ จำนวน 1 ห้อง

9

โรงอาหาร

1. โรงอาหาร

2. ร้านมินิมาร์ท

3. ร้านมกุฏบุ๊ค

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

1.3 เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต                         

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย

          บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแกสังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต

          บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ
สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.53
3.53
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5.00
5
5
บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5.00
1.89
1.89
ไม่บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5.00
5.00
5.00
บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5.00
5
5
บรรลุ
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
4.24
4.24
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5.00
4
4
ไม่บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5.00
5
5
บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
4.67
4.67
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5.00
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5.00
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.57
4.57

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 6 3.96 5.00 3.53 4.24 ดี
2 3 5.00 4.00 5.00 4.67 ดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 13 4.22 4.86 4.27 4.57 ดีมาก
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดี ดีมาก ดีมาก

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 4.254.675.005.005.004.58
2563 4.264.025.005.005.004.43
2564 4.244.675.005.005.004.57
2565 4.493.834.005.005.004.29
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดเด่น

มีกิจกรรมที่ครอบคลุมตามภารกิจ

แนวทางเสริม

ปรับกิจกรรมในปีถัดไปให้สอดคล้องกับประกาศของกระทรวงต่อไป

บูรณการกิจกรรมที่จัดควรให้ครบทุกด้านในกิจกรรมเดียว เพื่อลดการจัดกิจกรรมที่มากเกินไป

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดเด่น

มีผลงานวิชาการและได้รับทุนวิจัยที่มาก

แนวทางเสริม

1.อาจารย์ควรจัดทำงานวิจัยที่สอดคล้องกับสาขาวิชาการ เพื่อใช้ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 

2.ควรตีพิมพ์ผลงานวิชาการที่อยู่ในฐานที่สูงขึ้น เพิ่มมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดเด่น

มีโครงการที่หลากหลาย เป็นโครงการที่ให้เปล่า

แนวทางเสริม

1.ควรพิจารณาโครงการบริการวิชาการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับวิทยาเขต

2.บริการวิชาการที่สอดคล้องกับวิชาชีพเพื่อให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนสามารถนำไปสู่การสะสมหน่วยกิต หรือนำไปสู่การขอรับปริญญา

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดเด่น

 วิทยาเขตมีการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมที่โดดเด่น ตามสื่อต่างๆ

แนวทางเสริม

นำดนตรีและแนวทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้เพื่อการบำบัดแก่ชุมชน หรือสังคม

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

แนวทางเสริม

1.วิทยาเขตควรปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับแผนมหาวิทยาลัยกลยุทธ์ที่ปรับใหม่

2. ควรนำผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยมาวิเคราะห์วางแผนในการบริหารงานภายในหน่วยงาน

3. วิทยาเขตควรกำกับการดำเนินงานบริหารหลักสูตรที่มีผลการประเมินน้อย ให้วางแผนการพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาอาจารย์และผลงานวิชาการ

 4. เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกรู้จักมหาวิทยาลัยมากขึ้น รวมถึงภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

บทสัมภาษณ์

ผู้แทนชุมชน

1.มหาวิทยาลัย มีการอบรมนักศึกษาที่พักในชุมชนให้มีกิริยาที่ดี มหาวิทยาลัยได้มีหนังสือเชิญให้กับชุมชนเข้าร่วมงานต่างๆเป็นการเชื่อมโยงชุมชนกับมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี

2.เมื่อชุมชนขอความร่วมมือ ทางมหาวิทยาลัยก็ให้ความร่วมมืออย่างดี ทั้งอาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมเป็นอย่างดี

3. มหาวิทยาลัยมีการอนุรักษ์การแต่งตายนุ่งผ้าซิ่นในวันพระเพื่อสืบสานวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวอีสาน

4. การศึกษาของมหาวิทยาลัยไม่ได้ด้อยไปจากมหาวิทยาลัยดังๆ

ศิษย์เก่า

1. มหาวิทยาลัยสอนให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และให้เต็มที่กับการทำงาน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนนักเรียน

2. อาจารย์มีความเต็มที่ มีความใส่ใจนักศึกษา มีสอนเสริม กิจกรรมต่างๆนอกเวลา อยากให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเยอะๆ

3. อยากให้มีกิจกรรมในท้องถิ่นทุรกันดาร กิจกรรมส่งเสริมความเป็นครูมีสามารถประยุกต์ใช้ ทั้งการวางแผน แก้ปัญหา

4. มหาวิทยาลัยสร้างแนงบันดาลใจในการสร้างอาชีพให้สอบเป็นปลัดอำเภอ

5. การประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยโดยใช้ตัวเองเป็นแบบอย่างในการประชาสัมพันธ์ เวลาแนะแนวนักศึกษา ค่าใช้จ่ายที่ถูก แต่มีประสิทธิภาพมาก  ไม่จำเป็นต้องไปเรียนมหาวิทยาลัย

 นักศึกษาปัจจุบัน

1. มหาวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมมากมาย รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยอื่นๆ 

ผู้ปกครอง

1 อยากให้เปิดป.โทในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ 

ภาพถ่าย