Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย ปีการศึกษา 2564

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 4.35 มีการดำเนินงานระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้

       องค์ประกอบที่ 1  การผลิตบัณฑิต วิทยาเขต มีกิจกรรมการบูรณาการในด้านการเรียนการสอนและกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ให้แก่นักศึกษา โดยจัดกิจกรรมตามแผนอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงเรื่องคุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาอุดมแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการจัดการศึกษา

          ในส่วนของจำนวนอาจารย์นั้น วิทยาเขตมีบุคลากรสายวิชาการจำนวนน้อย ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยเฉพาะบุคลากรสายวิชาการในระดับปริญญาเอก ดังนั้น วิทยาเขตจึงควรวางแผนสนับสนุนงบประมาณในการจ้างบุคลากรทางสายวิชาการเพิ่มขึ้น หรือพัฒนาบุคลากรทางสายวิชาการให้มีการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกมากขึ้น  วิทยาเขตมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้เท่ากับ 3.92 การดำเนินงานระดับดี

           องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย มหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยญาณสังวรเพื่อวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัย โดยจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยสู่วิทยาเขต เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และจัดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และให้ความรู้ด้านจรรยาบรรณการวิจัยแก่อาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ มีระบบการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยวิทยาเขตศรีล้านช้าง ได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยศรีล้านช้างขึ้น มีการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย และนำผลการประเมินไปปรับปรุงการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้างได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยและได้รับทุนอุดหนุนด้านการวิจัยจากภายใน ปีงบประมาณ 2564  ได้รับเงินทุนสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทั้งภายในทั้งสิ้น 802,447บาท วิทยาเขตมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.34 การดำเนินงานระดับดี

             องค์ประกอบที่ 3 การบริการทางวิชาการ  วิทยาเขตมีการจัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคมทุกด้าน เพื่อสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่น ๆ  มีหลักเกณฑ์การให้บริการวิชาการแก่สังคม ดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยจัดทำเป็นโครงการบริการวิชาการที่บูรณาการการเรียนการสอนและรายงานผลการดำเนินงาน วิทยาเขตศรีล้านช้างควรบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัย ประเมินผลความสำเร็จ
และนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและสังคม วิทยาเขตมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  3 นี้เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

           องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตศรีล้านช้างมีการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมโดยตรง ซึ่งมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องทุกปี มีโครงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา ได้มีการประเมินและสรุปการดำเนินงานโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาแล้ว วิทยาเขตศรีล้านช้างควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการ และสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ  วิทยาเขตมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

        องค์ประกอบที่ 5 การริหารจัดการ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กำหนดนโยบาย ทิศทางการดำเนินงาน และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ สนับสนุนให้บุคลากรในวิทยาเขตมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีการจัดประชุมโดยคณะกรรมการวิทยาเขตเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ มีการพัฒนาการจัดระบบฐานข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั้งในระดับหลักสูตรและวิทยาเขต ให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการจัดอบรมอาจารย์ประจำหลักสูตรให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิทยาเขตมีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

 

บทนำ

1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ชื่อสถาบัน

ภาษาไทย       :       มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

อักษรย่อ        :       มมร. ศช.

ภาษาอังกฤษ   :       Mahamakut Buddhist University,Srilanchang Campus    

อักษรย่อ        :       MBU. SLC.

ที่ตั้ง             :       69  ถนนวิสุทธิเทพ  ตำบลกุดป่อง  อำเภอเมืองเลย  จังหวัดเลย

                          โทรศัพท์  042-830434,042-813028,042-814616

                          โทรสาร  042-830686

Website       :       www.mbuslc.ac.th

 

          ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย : วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส หมายถึง ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

         สีประจำมหาวิทยาลัย : สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี  อันเป็นวันพระราชสมภพ

        ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นโพธิ์ เป็นที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

         คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา : ระเบียบ   สามัคคี  บำเพ็ญประโยชน์

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย :                          

 

                     พระมหามงกุฎหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4  พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม  “มหามกุฏราชวิทยาลัย” 

                     พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรองหมายถึง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  5  ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ  60 ชั่ง

                     หนังสือ  หมายถึง  คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา  โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ปากกาปากไก่  ดินสอ  และม้วนกระดาษหมายถึง  อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน  ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา  เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา

                     ช่อดอกไม้แย้มกลีบในทางการศึกษา หมายถึง  ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้  แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง  กิตติศัพท์  กิตติคุณ  ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ  อิสริยยศ  บริวารยศ

                     พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์หมายถึง  มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคงและแพร่หลายของพระพุทธศาสนา  ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่

                     วงรัศมีหมายถึง  ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของ  มหามกุฏราชวิทยาลัยภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย

                     มหามกุฏราชวิทยาลัยหมายถึง  สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก  ปัจจุบัน  คือ  “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” 

ที่ตั้ง

 

ที่

วิทยาเขต

ที่อยู่

โทรศัพท์

1.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง

248 วัดบ้านสุวรรณ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล

จ.นครปฐม 73170

0-2282 - 8303,   

0-2281 - 6427

2.

วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

วัดชูจิตธรรมาราม เลขที่ 57 หมู่ที่ 1
ต.สนับทึบ อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา 13170

035 - 745037 - 8

3.

วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

วัดสิรินธรเทพรัตนาราม เลขที่ 26
หมู่ที่ 7 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน         
จ.นครปฐม 73160

02 - 4291663,

 02 - 4291719

4.

วิทยาเขตอีสาน

เลขที่ 9/37 ม. 12 ถ.ราษฏร์คนึง
บ้านโนนชัย ต.ในเมือง อ.เมือง
จ.ขอนแก่น 40000

043 - 241488, 043 - 239605

5.

วิทยาเขตล้านนา

วัดเจดีย์หลวง 103 ตำบลพระสิงห์ 
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

053 - 270 - 9756

6.

วิทยาเขตร้อยเอ็ด

เลขที่ 148 ถ.เลี่ยงเมือง ต.ดงลาน   
อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000

043 - 518364, 043 - 516076

7.

วิทยาเขตศรีล้านช้าง

วัดศรีสุทธาวาส เลขที่ 253/7         
ถ.วิสุทธิเทพ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย 42000

042 - 813028, 042 - 830434

8.

วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

วัดพระมหาธาตุ เลขที่ 169/9         
ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ. เมือง

จ.นครศรีธรรมราช 80000

075 - 340499

9.

มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยในพระสังฆราชูปถัมภ์

หมู่ 6 ตำบลภูหลวง อ.ปักธงชัย      
จ.นครราชสีมา 30150

081 - 7022076, 086 - 0123470, 086 - 0155830

10.

วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

วัดศรีธรรมาราม เลขที่ 1              
ถ.วิทยธำรงค์ อ.เมือง จ.ยโสธร 35000

045 - 711056

11.

วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

วัดประชานิยม ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000

043 - 815393

          ประวัติความเป็นมามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

          เมื่อ พ.ศ. 2536 พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ) ได้ปรารภถึงความจำเป็นของพระภิกษุสามเณรในภูมิภาคนี้ มีความลำบากในการเข้าไปศึกษาต่อในส่วนกลาง จึงได้เริ่มโครงการเปิดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรขึ้น และได้แต่งตั้งกรรมการพิจารณาทำโครงการจัดตั้งวิทยาเขต จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเสนอขอเปิดเป็นศูนย์ของวิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น โดยท่านพระเดชพระคุณพระธรรมวราลังการ รับอุปถัมภ์ด้านทุนทรัพย์ในการดำเนินการ และได้รับอนุมัติให้เป็นสาขาวิทยาเขตอีสาน ในโครงการนำร่องวิทยาเขตนอกเขต ได้เริ่มเปิดให้การศึกษา ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา

          วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 คณะกรรมการการศึกษาของสงฆ์ ได้อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตได้ตามมติสภามหาวิทยาลัย ที่ 1/2538 จึงได้จัดตั้งวิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลยขึ้น และได้ย้ายโอนนักศึกษาจากวิทยาเขตอีสานมาสังกัดวิทยาเขตศรีล้านช้าง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อให้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรในภูมิภาคนี้
  2. เพื่อให้ภิกษุสามเณร มีความรู้ความสามารถในวิทยาการด้านต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติไม่ขัดพระธรรมวินัย ให้มีความรู้ความสามารถในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชน
  3. เพื่อให้พระภิกษุสามเณร มีความรู้ความสามารถในการค้นคว้า โต้ตอบ หรืออภิปรายธรรมแก่ประชาชนทั่วไปได้อย่างกว้างขวาง
  4. เพื่อให้พระภิกษุสามเณร ได้เป็นกำลังสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนทายาทที่เหมาะแก่กาลสมัย
  5. เพื่อความเจริญก้าวหน้า และคงอยู่ตลอดกาลนานของพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการวิทยาเขตมีการบริหารและจัดการศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

 

1.2 ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

1.2.1 ปรัชญาของวิทยาเขต (Philosophy)

                     “รอบรู้ ประพฤติดี มีความสามารถ” 

1.2.2 ปณิธาน (Aspiration)

       มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักธรรมในท้องถิ่น

          1.2.3 วิสัยทัศน์และพันธกิจ

                 วิสัยทัศน์(Vision Statements)

                 เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ตามแนวทางพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนในท้องถิ่น

                  พันธกิจ (Mission Statements)

  1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้วิชาการทั้งทางโลกและทางธรรม
  2. สร้างสรรค์งานวิจัยทางพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสังคม
  3. บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่ท้องถิ่น
  4. ส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสานประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
  5. การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพที่เน้นคุณธรรมและความโปร่งใส

1.3 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร

 

 

 

  

1.4 รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร

  1. พระมหาวิเชียร ธมฺมวชิโร,ดร.            รองอธิการบดีวิทยาเขต
  2. พระมหาวัฒนา สุรจิตฺโต,ดร.             ผู้อำนวยศูนย์บริการวิชาการ
  3. พระมหาจิณกมล อภิรตโน,ดร.           รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต
  4. พระครูพิสุทธิธรรมาภรณ์                 รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์
  5. ดร.จักรกฤษณ์ โพดาพล                  ผู้ช่วยอธิการบดี/หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา
  6. นายทวีศักดิ์ ใครบุตร                      อาจารย์/หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไปศูนย์บริการวิชาการ
  7. นายกิตติพัฒน์ ทาวงศ์ษา                 อาจารย์/หัวหน้าฝ่ายจัดการศึกษา
  8. ดร.กรรณิกา ไวโสภา                      อาจารย์ประจำบัณฑิตศึกษา

1.5 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

1.5.1 หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน ทั้งในและนอกที่ตั้ง

คณะ

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ปริญญา

ตรี

โท

เอก

1. คณะศาสนาและปรัชญา

สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

 

 

สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

 

 

2. คณะศึกษาศาสตร์ 

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

 

 

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

 

 

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

 

 

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

 

3. คณะสังคมศาสตร์

สาขาวิชาการปกครอง

 

 

1.6 จำนวนนักศึกษา

 จำนวนนักศึกษา

วิทยาเขตศรีล้านช้าง

รวม

สาขาวิชา

รหัส 60

รหัส 61

รหัส 62

รหัส 63

รหัส 64

สาขาวิชาพุทธศาสตร์

-

3

6

8

9

26

สาขาวิชาการปกครอง

-

42

55

60

85

242

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

14

11

6

14

14

59

สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

-

-

25

31

25

81

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

-

-

-

15

21

36

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ป.โท

-

-

-

31

30

61

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ป.เอก

-

-

-

11

6

17

สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง ป.โท

-

-

-

-

11

11

สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง ป.เอก

-

-

-

-

12

12

สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ป.โท

-

-

-

-

7

7

รวม

14

56

92

170

220

552

 

 จำนวนนักศึกษาจบการศึกษา

ที่

สาขาที่เปิด

จำนวนนักศึกษา

ปริญญาตรี

ปริญญาโท (แผน ก)

ปริญญาโท (แผน ข)

รวม

บรรพชิต

คฤหัสถ์

บรรพชิต

คฤหัสถ์

บรรพชิต

คฤหัสถ์

1

สาขาวิชาพุทธศาสตร์

7

 

-

 

 

 

 

 

 7

2

สาขาวิชาการปกครอง

9

 

27

 

 

 

 

 

36 

3

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

-

 

14

 

 

 

 

 

 14

รวม

16

41

 

 

 

 

 57

1.7 จำนวนอาจารย์และบุคลากร

ที่

สาขาวิชา

จำนวนอาจารย์จำแนกตามคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

ผศ.

รศ.

ศ.

1

การปกครอง

 

 

 

 

7

 

 

 

 

 

 

 

7

 

 

 

2

พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

 

 

 

 

4

 

 

 

1

 

 

 

5

 

 

 

3

 

การสอนภาษาอังกฤษ

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

6

 

 

 

4

การสอนสังคมศึกษา

 

 

 

 

4

 

 

 

1

 

 

 

5

 

 

 

5

การสอนภาษาไทย

 

 

 

 

5

 

 

 

 

 

 

 

5

 

 

 

6

การบริหารการศึกษา ป.โท

 

 

 

 

 

 

 

 

2

 

1

 

2

 

 

7

การบริหารการศึกษา ป.เอก

 

 

 

 

 

 

 

 

1

1

1

 

1

 1

 

8

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

 

 

 

 

 

 

 

 

1

 

1

 

2

 

 1

 

9

รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

 

 

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

1

 

 

 

10

พุทธศาสน์ศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

3

 

 

 

3

 

 

 

รวม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รวมทั้งหมด

 

26

14

40

 

ลำดับที่

วิทยาเขตศรีล้านช้าง

จำนวนอาจารย์และบุคลากรจำแนกตามคุณวุฒิ

รวม

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

1

สำนักงานวิทยาเขต

6

5

3

14

2

ศูนย์บริการวิชาการ

3

4

1

8

3

วิทยาลัยศาสนศาสตร์

3

23

7

33

รวม

12

31

11

55

หมายเหตุ วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน  3 คน คือ

  1. นายศราวุธ โนรีเวช ตำแหน่งพนักงานขับรถ วุฒิการศึกษา ปวช.
  2. นายประดิษฐ์ นาเลิง ตำแหน่งนักการภารโรง วุฒิการศึกษา ป.4
  3. นางจันทร์ฤทัย นาเลิง ตำแหน่งแม่บ้าน วุฒิการศึกษา ป.6

         รวมจำนวนบุคลาการทั้งหมด 58 รูป/คน

 

1.8 ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

1.8   ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ อาคารสถานที่

1.8.1 งบประมาณ 2564

ลำดับ

ภารกิจ

งบดำเนินการ

รวม

หมายเหตุ

งบประมาณ

เงินรายได้

1

ผลิตบัณฑิต

5,657,500

11,272,600

16,930,100

 

2

วิจัย

-

150,000

150,000

 

3

บริการวิชาการ

995,000

-

995,000

 

4

ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

1,020,000

105,000

1,125,000

 

รวม

7,672,500

11,527,600

19,200,100

 

           

1.8.2 อาคาร สถานที่และสิ่งปลูกสร้าง

รายละเอียดอาคาร / ชื่ออาคาร

การใช้งานอาคาร

หมายเหตุ

ก่อสร้างปี พ.ศ.

 

พื้นที่ใช้สอย

 

จำนวนห้อง

อาคาร 1 (อาคาร 90 ปี หลวงปู่ ศรีจันทร์ วัณณาโภ)

2540

2,520

ตารางเมตร

    3 ชั้น 16 ห้องเรียน

 ห้องประชุม

- ห้องคอมพิวเตอร์

เป็นอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญซึ่งวิทยาเขตได้ขอใช้อาคารร่วมกับวัดศรีสุทธาวาส

อาคาร 2 (อาคารที่ระลึก 100 ปี หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ)

2547

2,520

ตารางเมต

- 3 ชั้น 16 ห้องเรียน

- ห้องรองอธิการบดี

- ห้องสำนักงานวิทยาเขต

- ศูนย์บริการวิชาการ

- ศูนย์การศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย

สร้างจากเงินงบประมาณและงบรายได้

อาคาร 3 (อาคารพระธรรมวราลังการ หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ)

2545

1,839

ตารางเมตร

3 ชั้น 4 ห้องเรียน

- ห้องสมุด

- ห้องวิทยาลัยศาสนศาสตร์

- ห้องศูนย์การศึกษาบัณฑิต

- ห้องประกันคุณภาพการศึกษา

สร้างต่อเติมจากเงินรายได้แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2549

อาคารโรงอาหาร

2556

300 ตารางเมตร

 

ก่อสร้างแล้วเสร็จ2557

อาคารอเนกประสงค์

2558

720 ตารางเมตร

 

ก่อสร้างแล้วเสร็จ2559

ห้องทำงาน/ปฏิบัติการ

ลำดับที่

รายการ

จำนวน/ห้อง

หมายเหตุ

1

ห้องสมุด

1

 

2

ห้องคอมพิวเตอร์

2

 

3

ห้องเรียน

19

 

4

ห้องปฏิบัติกรรมฐาน

1

 

5

ห้องประชุม

2

 

6

ห้องบริหาร

4

 

รวมทั้งสิ้น

26

 

1.9 เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของสถาบัน

          1.9.1 เอกลักษณ์

                    บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในท้องถิ่น

           1.9.2 อัตลักษณ์

                    บัณฑิตมีความรอบรู้ตามหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในท้องถิ่น

1.10 ตารางแสดงผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ที่ ข้อเสนอแนะกรรมการปีที่แล้ว ความคิดเห็นของคณะ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะกรรมการ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

  1.ควรมีช่องทางและเนื้อหาที่ส่งเสริมให้ได้รับความรู้ในการใช้ชีวิต

   2.ควรมีการปะเมินผลของแผนพัฒนากิจกรรมนักศึกษา การบรรลุแผนกิจกรรม การบรรลุกรอบเวลา ปัญหาและอุปสรรค จนได้ผลลัพธ์นำมาปรับปรุงแผนกิจกรรมในปีการศึกษาถัดไป

1.1 ให้เพิ่มหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการนักศึกษาและมีฝ่ายรับผิดชอบในด้านการให้คำปรึกษาในการดำเนินชีวิต

1.2 ให้อาจารย์ที่ปรึกษาและชมรมต่าง ๆ ได้เป็นที่ปรึกษาในการใช้ชีวิตในการเรียน

2.1 ควรมีการประเมินแผนกิจการนักศึกษา

1.1 มีคณะกรรมการกิจการ

1.2 มีคณะกรรมการชมรมอย่างน้อย 5 ชมรม

2.1 มีการประเมินแผนกิจการนักศึกษาในรอบปี 2564

องค์ประกอบที่ 2 : การวิจัย

  1. วิทยาเขตควรมีการร่างลำดับ แบบฟอร์ม ขั้นตอนการยื่นขอจดสิทธิบัตรงานวิจัย
  2. วิทยาเขตควรมีการสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานในระดับนานาชาติ

1.1 ควรกำหนดขั้นตอนลิขสิทธิ์งานวิจัย

2.1 ควรส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติ

1.1 มีการจดลิขสิทธิ์ 1 โครงการ

2.1 มีบทความตีพิมพ์วารสารนานาชาติอย่างน้อย 2 เรื่อง

องค์ประกอบที่ 3 : การบริการวิชาการ

1.การบริการวิชาการต้องตอบสนองตรงต่อความต้องการของชุมชนเสมอ และเมื่อเจอปัญหาควรมีการประชุมปรึกษาหารือกันในวิทยาเขตเพื่อหาแนวทางร่วมกันบริการชุมชนต่อไป

1.1 มีการสำรวจความต้องการของชุมชนเพื่อจัดการบริการแก่สังคม

มีการสำรวจความต้องการในการจัดทำแผนบริการวิชาการในปี 2564

องค์ประกอบที่ 4 : การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

1. การปรับแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การปรับโครงการควรมีการแยกประเด็นกันให้ชัดเจน เช่น ในสถานการณ์โควิดอาจทำให้มีการปรับปรุงแผน เน้นรูปแบบ Online เป็นหลัก และควรมีการนำผลการดำเนินงานของแผนไปปรับปรุง ควรมีการเขียนประเด็นที่จะปรับปรุงให้ชัดเจน

2.สามารถหาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของวิทยาเขต เช่น การเทศน์ภาษาไทเลย นำไปยื่นเรื่องขอจดสิทธิบัตรได้

1.1 ควรมีการปรับปรุงแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์

2.1ควรมีการประชุมคัดเลือกวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของวิทยาเขต

1.1 มีแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์

2.1 ได้กิจกรรมทางวัฒนธรรมที่วิทยาเขตมีส่วนร่วม

องค์ประกอบที่ 5: การบริหารจัดการ

1. การวิเคราะห์ทางการเงิน ควรมีการจัดทำแผนการจัดหา การจัดสรร การประเมิน และการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยที่สามารถสะท้อนหน่วยของการผลิตบัณฑิตแต่ละคนของแต่ละหลักสูตร เพื่อจะได้ทราบจุดคุ้มทุน

2. การบริหารความเสี่ยงควรเน้นที่ปัจจัยภายนอกควบคู่กับปัจจัยภายใน

3. การบริหารงานแบบธรรมาภิบาลควรเน้นที่ตัวผู้บริหารและนโยบายในการบริหาร

4. ควรมีการทำความเข้าใจในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน จะได้เข้าใจถึงเจตนาและเนื้อหาของการประเมิน

1.1 ควรมีการวิเคราะห์ทางการเงิน ควรมีการจัดทำแผนการจัดหา การจัดสรร การประเมิน และการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยที่สามารถสะท้อนหน่วยของการผลิตบัณฑิตแต่ละคนของแต่ละหลักสูตร เพื่อจะได้ทราบจุดคุ้มทุน

 2.1 การนำปัจจัยภายนอกในการบริหารความเสี่ยง

3.1 การบริหารงานแบบธรรมาภิบาลเน้นที่ตัวผู้บริหารและนโยบายในการบริหาร

4.1 การประชุมชี้แจงตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินให้ผู้รับผิดชอบเข้าใจโดยวิทยากรที่มีความชำนาญด้านประกันคุณภาพการศึกษา

1.1 ได้รูปแบบการวิเคราะห์ทางการเงิน

1.2 มีแผนบริหารความเสี่ยงปีงบประมาณ 2565

1.3 มีแนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรมทั้ง 10 ด้าน

1.4 มีการประชุมอย่างน้อย 1 ครั้ง

สรุปผลการประเมิน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบคุณภาพ
เป้าหมาย
คะแนนการประเมินตนเอง
คะแนนการประเมิน
การบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
3.01
3.33
3.33
บรรลุ
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
5
4.38
4.38
ไม่บรรลุ
1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
5
0.83
0.83
ไม่บรรลุ
1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
5
5.00
5.00
บรรลุ
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
3.92
3.92
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
5
4
4
ไม่บรรลุ
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
5
4.01
4.01
ไม่บรรลุ
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
4.34
4.34
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5.00
5.00
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
5
5
5
บรรลุ
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
5
5
5
บรรลุ
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.00
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.35
4.35

ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.00-1.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.51-2.50 ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
2.51-3.50 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.51-4.50 ระดับคุณภาพดี
4.51-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 6 3.40 5.00 3.33 3.92 ดี
2 3 4.01 4.00 5.00 4.34 ดี
3 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 13 3.56 4.86 4.17 4.35 ดี
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดี ดี ดี

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัยตามองค์ประกอบคุณภาพ ย้อนหลัง 3 ปี
ปีการศึกษา องค์ประกอบที่ ค่าเฉลี่ยผลการประเมิน
องค์ประกอบที่ 1-5
12345
2562 3.563.213.005.004.003.62
2563 3.844.675.005.005.004.39
2564 3.924.345.005.005.004.35
2565 4.012.413.335.005.003.58
ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดเด่น มีเเนวโน้มผลการประเมินระดับหลักสูตรที่ดีขึ้น ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

เเนวทางเสริม ควรมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการให้มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก เเละการเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ เพิ่มขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดเด่น จำนวนผลงานทางวิชาการของอาจารย์มีความหลากหลาย ทั้งนำเสนอ บทความตีพิมพ์ในประเทศเเละต่างประเทศ

เเนวทางเสริมการพัฒนา ควรมีการบูรณาการการทำวิจัยกับการขอกำหนดตำเเหน่งทางวิชาการให้ตรงกับศาสตร์ทางต้นสังกัด

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดเด่น การบริการวิชาการของวิทยาเขตสามารถดำเนินงานได้เป็นไปตามเเผนบริการวิชาการ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคม อย่างต่อเนื่อง

เเนวทางเสริมจุดเเข็ง มีการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องในชุมชน หรือพื้นที่เดิม เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ของการบริการวิชาการ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดเด่นมีการจัดโครงการ/กิจกรรม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อย่างเข้มเเข็งเเละต่อเนื่อง

เเนวทางเสริม ควรมีการสนับสนุนการสร้างมาตรฐานของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระดับชาติ

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดเด่น วิทยาเขตศรีล้านช้างมีผู้บริหาร เเละคณะทำงานที่มีความเข้มเเข็ง มีการทำงานเป็นระบบ

จุดเด่น ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเเผน เเละบรรลุตามเเผนของวิทยาเขต

เเนวทางเสริม ควรมีเเผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ เเละสายสนับสนุนที่ชัดเจน

ควรพิจารณาการคิดต้นทุนต่อหน่วย เเละเเผนทางการเงิน เเล้วนำผลมาวิเคราะห์เพื่อเป็นเเนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเเละจุดคุ้มทุน

ควรมีการพิจารณาประเด็นความเสี่ยง เเละยังคงความเสี่ยงที่ยังไม่สามารถดำเนินการลดความเสี่ยงให้เป็นที่น่าพอใจได้ เเละหาเเนวทางในการจัดการความเสี่ยง

บทสัมภาษณ์

ศิษย์เก่า1 มหาวิทยาลัยมีการเข้าไปเเนะเเนวที่โรงเรียนมัธยม จึงเกิดความสนใจในสาขาวิชาที่เลือกเรียน วิทยาเขตมีการกไกับติดตามนักศึกษาอย่างใกล้ชิดเเละมีการเเนะนำเเหล่งงานให้กับศิษย์เก่า การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น อยากให้มีการจัดโครงการกิจกรรมสานสัมพันธ์ในเเต่ละวิทยาเขต

ศิษย์เก่า2 ทางมหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนในการทำงาน อาจมีปัญหาด้านการร่วมกิจกรรมสำหรับพระบางกิจกรรมที่มีข้อจำกัด อยากให้มหาวิทยาลัยเเยกตัวออกไป เนื่องจากอาคารสถานที่ใช้ร่วมกันกับ โรงเรียน วัด ทางมหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนงานคณะสงฆ์เป็นอย่างดี อยากให้มีความร่วมมือเเบบนี้ต่อเนื่อง

นักศึกษา 1 เลือกเรียนเพราะค่าเทอมไม่สูง มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทางด้านทักษะต่างๆ ทำให้เป็นคนที่มีบุคลิกเข้มเเข็ง เเละสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆนอกเหนือจากการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ได้ร่วมประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมีการออกไปเเนะเเนวให้กับโรงเรียน อยากให้มีการสนับสนุนเชิญอาจารย์ต่างประเทศ หรือผู้เชี่ยชาญต่างๆมาบรรยายร่วมกับอาจารย์ผู้สอน

นักศึกษา 2 เนื่อจากมีกิจกรรมของมหาวิยาลัย อาจทำให้ได้รับความรู้ด้านการเรียนการสอนไม่เต็มที่ มีปัญหาด้านการสื่อสารในการเรียนการสอนOnline กับอาจารย์บ้าง เเต่เนื้อหาได้รับครบถ้วน อยากให้มหาวิทาลัยพัฒนาด้านสิ่งงสนับสนุนการเรียนรู้ทางด้านสื่อเทคโนโลยีต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นต้น อยากให้มหาวิทยาลัยเเยกตัวออกไป เนื่องจากอาคารสถานที่ใช้ร่วมกันกับ โรงเรียน วัด เช่นเดียวกับศิษย์เก่า การเเสดงออกในการจัดกิจกรรมจึงมีข้อจำกัดไ่ม่เต็มที่

ภาพถ่าย