Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2562

หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา


บทสรุปผู้บริหาร

รายงานการประเมินตนเอง (SAR) เป็นรายงานการประเมินตนเองระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2562 ที่มีการจัดการเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (ส่วนกลาง) โดยมีผลการประเมินตนเองในภาพรวมทั้ง 6 องค์ประกอบ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 ระดับคุณภาพดีโดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

        องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ผ่าน การประเมินถือเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

        องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ได้คะแนน 3.03 ระดับคุณภาพดี

        องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ได้คะแนน 3. 00ระดับคุณภาพปานกลาง

        องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ ได้คะแนน 3.67  ระดับคุณภาพดี

        องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร ได้คะแนน 3.50 ระดับคุณภาพดี

        องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน  3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง

        โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยผ่าน การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ ได้มาตรฐาน

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

2) ชื่อปริญญา ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พุทธศาสน์ศึกษา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (เอก)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด บัณฑิตวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยต.ศาลายา อ.พุทธมณฑลจ.นครปฐม

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

พระพุทธศาสนามีความเป็นสากล มีความลุ่มลึกทางหลักธรรมและหลักปฏิบัติที่สามารถศึกษาได้อย่างกว้างขวางโดยผ่านกระบวนการศึกษาเชิงเหตุผลในแง่มุมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ในรูปแบบของการวิจัยเชิงประจักษ์ ประยุกต์ เผยแผ่ และเชิงอนุรักษ์ เป็นต้นซึ่งเป็นการศึกษาควบคู่กันไปทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติและที่สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาการอื่น ๆ ที่มีการศึกษาอยู่ในปัจจุบันได้อย่างสมดุล

             บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตระหนักถึงวิวัฒนาการของสังคมโลกที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งจึงให้ความสำคัญต่อการผลิตบัณฑิตที่ทรงความรู้และสามารถทางพระพุทธศาสนาที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ เพื่อวิถีชีวิตที่ดีงาม สามารถชี้นำสังคมสู่วิถีทางที่ถูกต้อง และเสริมสร้างสันติสุขแก่สังคมโลก โดยอาศัยพุทธธรรมเป็นสารัตถะแห่งการดำรงชีวิตดังนั้นเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องขยายการศึกษาให้สูงขึ้นจึงได้กำหนดปรัชญาของหลักสูตร ดังนี้

             “สร้างธรรมวิสัยตามนัยแห่งพระไตรปิฎก ดำรงตนตามวิธีแห่งพุทธธรรม นำวิชชาและจรณะสู่การพัฒนาสังคม” Creating Dhamma vision, Living in accordance with Buddhadhamma way, Applying knowledge and virtue to develop society.

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตรนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระบบเพราะต้องการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ ประสิทธิภาพ และคุณค่าภายในตน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้คู่คุณธรรม นอกจากนั้นก็เพื่อให้หลักสูตรได้บูรณาการองค์ความรู้ในพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์อื่น ๆ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ใช้องค์ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสังคมที่ตั้งอยู่บนฐานปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และเป็นไปตามแนวทางปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมให้นักศึกษามีระเบียบ สามัคคีและรู้จักบำเพ็ญประโยชน์ มีจิตอาสา โดยถือว่า บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติเท่านั้นที่เป็นควรแก่การยกย่องนับถือและเป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย การจะพัฒนาบุคคลต้องพัฒนาไปทั้งกาย คือความประพฤติ และใจคือ คุณธรรมตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา และสร้างองค์ความรู้ใหม่อันเกิดจากการวิจัย ค้นคว้าระดับสูงทางพระพุทธศาสนา

2.เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีหนักแน่นในการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา รักษามรดกทางปัญญาไว้ในสังคม

3.เพื่อพัฒนาดุษฎีบัณฑิตให้มีจิตอาสา ใช้ปัญญาชี้นำและแก้ปัญหาสังคม

1.4 รหัสหลักสูตร 25481861109325

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2562

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของ

อาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
4.34
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
4
1.72
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.03
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
4
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
4
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
5.00
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.67
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
4
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
4
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.31
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2562
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 3.03 3.03 ดี
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.67 - - 3.67 ดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 13 3.29 3.50 3.03 3.31 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดี ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดเด่น

เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ สกอ. ได้กำหนดไว้

จุดที่ควรพัฒนา

ควรมีผลงานวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่องและผลงานทางวิชาการให้เป็นไปตามเกณฑ์ สกอ.

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น

บัณฑิตของหลักสูตรเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนา

1. ผลงานการตีพิมพ์ มาตรฐานของนักศึกษาปริญญาเอกควรตีพิมพ์ใน TCI ฐาน

2. เพิ่มศักยภาพด้านการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1. ควรมีแผนพัฒนานักศึกษาให้สอดคล้องกับศตวรรษที่21

2. ควรหาวิธีก่ีให้นักศึกษาอยู่ตลอดหลักสูตรและสำเร็จหลักสูตรตามแผนการศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น

1.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีตำแหน่งทางวิชาการและมีผลงานทางวิชาการจำนวนมาก

2.อาจารย์ประจำหลักสูตรอยู่ครบเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนา

1. อาจารย์ประจำหลักสูตรควรประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษานำงานวิจัยไปอ้างอิง

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

 

จุดที่ควรพัฒนา

1. ควรกำหนดปัญหาใหม่ๆมาสอดแทรกให้นักศึกษาผ่านรายงานการประชุม

2. ควรมีการนำเสนอการสอนที่หลายหลาย การใช้วิจัยเป็นฐาน 

3. ควนนำผลการประเมินผลสอบวิทยานิพนธ์ การทวนสอบผลสัมฤทธิ์มีเสนอในที่ประชุม

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนา

ควรมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักศึกษาในการสือบค้นแหล่งข้อมูล

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย