Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือ สกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ องค์ประกอบ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้จำนวน 13 ตัวบ่งชี้โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจำนวน 13 ตัวบ่งชี้รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2565 วงรอบ มิถุนายน พ.ศ. 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2566 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของ สกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-5 คะแนนทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
องค์ประกอบที่ การกำกับมาตรฐาน ผ่านการประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน
องค์ประกอบที่ บัณฑิต ได้คะแนน 3.61 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ นักศึกษา ได้คะแนน 3.67 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ อาจารย์ได้คะแนน 3.56 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน 4.20 อยู่ในระดับดีมาก
องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับดี
โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร ถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน ได้คะแนนที่ 3. 82 อยู่ในระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต

3) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถจัดการศึกษาด้านภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ โดยบูรณาการความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและมีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับผู้เรียน สภาพสังคม วัฒนธรรมและวิถีการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้สรรพวิชาอื่น ๆ อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
1.3.1. บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสอนภาษาไทย และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถบูรณาการปรับเปลี่ยนหลักแนวคิดและทฤษฎีการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายตามสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
1.3.2. บัณฑิตมีทักษะการสอนภาษาไทย และสื่อสารภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีความรู้ภาษาไทยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ใช้กับการจัดเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
1.3.3. บัณฑิตมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา และความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม สามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนางานทางวิชาชีพให้ก้าวหน้าสู่ระดับชาติและนานาชาติ
1.3.4. บัณฑิตมีความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียน ประเมินผลทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพด้านการทางานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อนาไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000929

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.84
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.61
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.22
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.56
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.20
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.82
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.92 3.61 ดี
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 4 3.56 - - 3.56 ดี
5 5 4.00 4.25 - 4.20 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.65 3.67 4.92 3.82 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

แนวทางเสริมการพัฒนา

ควรวางแผนและจัดหาอัตรากำลังทดแทนอาจารย์ผู้เกษียณอายุหรืออัตราสัญญาจ้าง ที่มีคุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา 65

 

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

แนวทางเสริมจุดแข็ง

1.ควรผลักดันประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานบัณฑิตปริญญาตรีที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร

2. หลักสูตรควรนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตมาพัฒนาปรับปรุงในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อส่งผลต่อคุณภาพของบัณฑิต

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางเสริมจุดแข็ง

1. หลักสูตรควรจัดกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร เช่น งานบริหารงานบุคคล งานการเงิน งานธุรการ งานพัสดุ เป็นต้น เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา

 

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางเสริมจุดแข็ง

1. ควรมีแผนพัฒนาอาจารย์ให้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก และขอตำแหน่งทางวิชาการ

2. ควรวางแผนและจัดหาอัตรากำลังทดแทนอาจารย์ผู้เกษียณอายุหรืออัตราสัญญาจ้าง ที่มีคุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา 65

 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางเสริมจุดเด่น

1.หลักสูตรมีการปรับปรุงกระบวนการชัดเจนโดยการบูรณาการรายวิชา ED 1016 ภาษากับวัฒนธรรมไทย โดยมีผลงานวิจัยรองรับ และมีการบริการวิชาการกับชุมชน ทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม และต่อ  ยอด การสืบสานและสร้างคุณค่าประเพณีจุดไฟตูมกาเป็นนวัตกรรม ของจังหวัดยโสธร 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางเสริมจุดเด่น

หลักสูตรจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีความทันสมัย เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การผลิตสื่อการเรียนการสอน software  ที่่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์นักศึกษาปัจจุบัน

  1. โครงการ/กิจกรรมอะไรที่โดดเด่นและนักศึกษาชอบ
  • โครงการกิจกรรมวันสำคัญภาษาไทย ได้พัฒนาทักษะการสอน ก่อนฝึกประสบการณ์นอกพื้นที่
  1. สิ่งที่นักศึกษารู้สึกกังวลใจหรือเพิ่มเติมก่อนลงฝึกปฏิบัติการสอน หรือไม่อย่างไร
  • ไม่รู้สึกกังวลใจ อาจารย์เติมเต็มเนื้อหาครบถ้วน
  1. สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนเพียงพอหรือไม่อย่างไร
  • คอมพิวเตอร์เพียงพอ เพิ่มอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีความทันสมัย เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การผลิตสื่อการเรียนการสอน software  ที่่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต
  • Internet ไม่ค่อยเสถียรภาพ

สัมภาษณ์ศิษย์เก่า

  1. ตอนสมัยที่ได้เรียนทางหลักสูตรได้จัดกิจกรรมอะไรที่โดดเด่นและนักศึกษาชอบ
  • โครงการค่ายทักษะภาษาไทย
  • โครงการอบรมกรรมฐาน
  1. ลักษณะเด่นของหลักสูตร อัตลักษณ์ของหลักสูตร คืออะไร
  • การจัดการเรียนการสอนดี ได้เอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน และไปใช้ในการเรียนการสอนได้จริง เช่น หลักภาษา ไวยกรณ์ สามารถมีวิชาติดตัวไปสอนในระดับ ปฐมวัย ประถมศึกษา และ มัธยมศึกษา
  1. การประสบความสำเร็จ สิ่งที่ได้รับทั้ง วิชาการ วิชาชีพ และชีวิตไปใช้ในปัจจุบัน คืออะไร
  • ได้รับความรู้ด้านภาษาไทย
  • ได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน และองค์กร
  • ได้นำหลักธรรมะไปใช้ในการสอนในโรงเรียน
  1. สื่อการเรียนการสอน หนังสือ การสืบค้นหาเพียงพอหรือไม่อย่างไร
  • ห้องสมุด และหนังสือ เพียงพอ
  1. นักศึกษาอยากให้หลักสูตรเสริมทักษะหรือพัฒนาทักษะหลักสูตรในอนาคตอย่างไร
  • ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ทักษะกลุ่มบริหารวิชาการ งบประมาณ การเงิน พัสดุ งานบริหารบุคคล เสริมกิจกรรมเพิ่มเติมในหลักสูตร

 

ภาพถ่าย