Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการตรวจและประเมินคุณภาพการศึกษา ภายใน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม มคอ.2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเองคือ 3.73  มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

       องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน  หลักสูตรมีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 คือ หลักสูตรได้มาตรฐาน

       องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต  มีคะแนนเฉลี่ยที่ 3.45 โดยมีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา 14 รูป/คน และได้งานทำทุกคน อยู่ในระดับคุณภาพดี

       องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา  ในการรับและพัฒนานักศึกษาทางหลักสูตรได้ให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับคุณภาพปานกลาง

       องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์  หลักสูตรมีการบริหารและพัฒนาคุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.83 อยู่ในระดับคุณภาพดี

      องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน  ในการดำเนินการหลักสูตรได้มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 เท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

       องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  หลักสูตรได้มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับคุณภาพปานกลาง

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต

3) สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (4 ปี )

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

2) สถานที่เปิดสอน

วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์  วัดประชานิยม 84/1 ถนนถีนานนท์ ตำบลกาฬสินธุ์  อำเภอเมืองกาฬสินธุ์  จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนามุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา โดยมีความสอดคล้องกับปรัชญาสถาบันคือมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน มีการบูรณาการการสอนกับพุทธวิทยาการศึกษา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

2) ความสำคัญของหลักสูตร

2.1 ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทางด้านการสอนพระพุทธศาสนาอย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณสำหรับครู

       2.2 ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ 

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนามีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

3.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการทางพระพุทธศาสนา การบูรณาการ การประยุกต์ใช้พุทธวิทยากับการศึกษา ศาสตร์การสอน และการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 มีทักษะการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาที่มีคุณภาพ เพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนและสังคม สร้างทักษะแห่งการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี ในศตวรรษที่ 21

3.3 มีคุณธรรมจริยธรรม อุดมการณ์และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีบุคลิกภาพ คุณลักษณะคุณสมบัติความเป็นครูที่ดี รวมทั้งมีศักยภาพที่จะพัฒนางานให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถใช้ความรู้ ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา และการทำงานได้

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000762

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.34
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.45
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.83
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.40
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.73
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.67 3.45 ดี
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 4 3.83 - - 3.83 ดี
5 5 4.00 4.50 - 4.40 ดีมาก
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 16 3.54 3.67 4.67 3.73 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

แนวทางเสริม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเสริมงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ ตำรา ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทางด้านพุทธศาสนาเพื่อเสริมความเข้มแข็งของหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางเสริม

1. สร้างระบบและกลไก กำกับ ติดตาม การบริหารจัดการหลักสูตรรักษาอัตราคงอยู่สำหรับนักศึกษา

2. หลักสูตรมีการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างไร เขียนผลการดำเนินงานตามที่ได้ดำเนินการ ให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากย่ิงขึ้น

3. เพิ่มกระบวนการ ช่องทางการประชาสัมพันธ์กระบวนการรับนักศึกษาให้มากขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางเสริม

1. อาจารย์ผู้้รับผิดชอบหลักสูตรเพิ่มศักยภาพผลงานทางวิชาการในศาสตร์ เช่น ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ทางด้านการสอนทางด้านพระพุทธศาสนา 

2. พัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร การขอตำแหน่งทางวิชาการ 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางเสริม

หลักสูตรมีการบริหารจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อสะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาและประเมินศักยภาพ หรือ มูลค่าต่อหลักสูตร ต่อวิทยาลัย 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์ศิษย์เก่า

  1. บัณฑิตได้ทำงานที่ไหนอย่างไร
  • เป็นครูผู้ช่วย
  1. การเรียนการสอนได้นำไปใช้การเรียนการสอนอย่างไร
  • มีการประยุกต์ใช้การสอนธรรมะ
  • มีการอบรมธรรมะ เป็นพิธีกรในการจัดกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนาในโรงเรียน
  1. ความรู้ที่ได้ศึกษาในหลักสูตรสาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา เป็นอย่างไรและนำไปใช้ในโรงเรียนอย่างไร
  • ได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้อย่างแท้จริง
  • เป็นผู้นำในศาสนพิธี
  1. หลังจากสำเร็จการศึกษาบัณฑิตหางานทำอยากหรือไม่อย่างไร
  • ยากเนื่องจาก หลักสูตรที่จบมา หน่วยงานราชการเปิดสาขานี้น้อยมาก เพราะเป็นหลักสูตรที่เน้นการสอนด้านพระพุทธศาสนา
  • เป็นหลักสูตรในกลุ่มสาระ 5 สาระ สาขาวิชาการสอนสังคมจะตอบโจทย์มากกว่า ทำให้สาขาการสอนพระพุทธศาสนาเรียนในสาระวิชาค่อยข้างน้อย และยังไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน
  1. บัณฑิตอยากจะแนะนำรุ่นน้องให้มาเรียนสาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาอย่างไร
  • ปรับความต้องการของตลาดแรงงาน และความต้องการประเทศไทย ให้หลักสูตรมีทางเลือกมากยิ่งขึ้น
  1. บัณฑิตเป็นครูผู้ช่วย ได้สอนวิชาไหนบ้าง
  • สอนวิชาภาษาไทย วิชาพละ วิชาดนตรี และวิชาพระพุทธศาสนา
  • วิชาพระพุทธศาสนา และสังคมศึกษา
  1. บัณฑิตมีความคาดหวัง อย่างไร ในหลักสูตรที่จบมา และคาดหวังต่อสังคมและเป็นแบบอย่างให้กับนักเรียนอย่างไร
  • ตัวเองไม่ยุ่งกับเครื่องดื่มมึนเมา อย่าเสพติด และสังคมในโรงเรียนทุกคนรู้จักหน้าที่ตัวเอง
  • ไม่ประพฤติผิดยึดศีล 5 ข้อ มาใช้ในชีวิตประจำวัน

 

 

ผู้แทนนักศึกษาปัจจุบัน

  1. สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนในหลักสูตรเป็นอย่างไร เพียงพอต่อการเรียนหรือไม่
  • เพียงพอ มีอุปกรณ์ เช่น โปรแจ็คเตอร์ Internet ห้องปฏิบัติการ
  • มีกิจกรรมส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน
  1. การเรียนการสอนในหลักสูตร เป็นอย่าไร
  • อาจารย์ได้มีการจัดการเรียนการสอนตามคำอธิบายในรายวิชา มคอ.3, มคอ.5 เป็นอย่างดี
  1. การจัดการเรียนการสอนแบบ Online และ Onsite มีความสะดวกอย่างไร
  • เรียนแบบ On-site มีความเข้าใจมากกว่าเข้าถึงอาจารย์ผู้สอน และสอบถามได้ง่ายกว่า
  • เรียน Online พบปัญหาในเรื่องความไม่เสถียรของสัญญา Internet

 

ผู้แทนสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ

  1. คุณภาพโดยภาพรวมของบัณฑิตสาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร
  • มีความเข้าใจ นำความรู้มาใช้กับนักเรียน เช่น ฝึกให้นักเรียนมีสมาธิ มีสติ และรู้จักธรรมะ มากขึ้น
  • นักเรียนมีวินัย และรู้จักรักครู และบุพการีมากขึ้น
  1. มีสิ่งใดอย่างจะฝากสาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร
  • ทักษะที่ทันสมัยหรือการบูรณาการศาสตร์อื่น ๆ มาใส่ไว้ในหลักสูตรให้มากขึ้น

 

 

 

ภาพถ่าย