Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเองโดยรวมทุกองค์ประกอบ  3.88  มีคุณภาพอยู่ใน ระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง องค์ประกอบ ดังนี้

            องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย  มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ นี้ คือ ผ่าน (หลักสูตรได้มาตรฐาน)

            องค์ประกอบที่ บัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต  สิรินธรราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามมาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้ เท่ากับ 3.40 (ระดับดี)

            องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต สิรินธรราชวิทยาลัย  นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.33 (ระดับดี)

           องค์ประกอบที่  อาจารย์ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต สิรินธรราชวิทยาลัย  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.22 (ระดับดีมาก)

           องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.2(ระดับดีมาก)

           องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย  มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.00 (ระดับดี)

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา) ศศ.บ. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา) Bachelor of Arts (Buddist Studies for Development) B.A. (Buddist Studies for Development)

3) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้พุทธศาสตร์ พัฒนาชาติและสังคม บ่มเพาะวัฒนธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ พัฒนาชีวิตแบบพอเพียง สร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาการ ทำงานอย่างมีความสุข มั่นคงและยั่งยืน

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านพุทธศาสตร์ในมิติการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในการวางแผนพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ในองค์กรด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ และมีภาวะผู้นำในการนำความรู้ไปบูรณาการกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามแนวพุทธศาสตร์
  3. เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 ด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864002596

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.21
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.40
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.22
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.20
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.88
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.61 3.40 ดี
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 4.22 - - 4.22 ดีมาก
5 5 4.00 4.25 - 4.20 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.86 3.67 4.61 3.88 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางเสริม

1. จัดการเรียนการสอนควบคู่ เช่น Hybrid Learning

2. การจัดระบบการเรียนแบบเทียบโอนหน่วยกิต

3. เพิ่มช่องทางการเทียบคุณวุฒิทางธรรม ตาม พรบ. ประโยค 3 - 5 

4. สนับสนุนแก้ไขระเบียบการจัดการเรียนการสอน และนำระบบการเก็บสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) มาบรรจุไว้ใน มคอ. 2 

5. เพิ่มจุดขายหรืออัตลักษณ์ตัวตนของหลักสูตรให้เด่่นชัดเพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมสำหรับนักศึกษาในหลักสูตร และต่อยอดลงสู่ชุมชน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางเสริม

1.ควรส่งเสริมนำผลงานทางวิชาการไปตีพิมพ์ในฐานที่สูงขึ้น

2.ควรส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น

3.ทำแผนการพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในอนาคตสำหรับอาจารย์ผู้จะเกษณีย์อายุ

4.วางแผนอาจารย์พิเศษที่มีความเชี่ยวชาญด้านศาสตร์แห่งการพัฒนา

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางเสริม

1. การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์ รายวิชา ควรมีการบรูณาการศาสตร์เข้าร่วมกับ AI เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้ทันสมัยกับผู้เรียน

2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรถอดบทเรียน (Project based leaning) มาสู่รายวิชาหรือบูรณาให้เสริมกิจกรรมในรายวิชามให้โดดเด่น หรือสร้างรายวิชาให้เป็นอัตลักษณ์ของหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางเสริม

1. สร้างเครือข่ายงานวิชาการ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ของอาจารย์ เช่น บความวิชาการ งานวิจัย ตำรา เพื่อให้นักศึกษาเข้ามาค้นคว้า หรือการ Citations ผลงานของอาจารย์

2. เพิ่มช่องทางสื่อการเรียนการสอนไปสู่ชุมชนพื้นฐาน นำความรู้มาย่อยมาเป็นองค์ความรู้ต่อยอดเพื่อไปสู่ชุมชน

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ศิษย์ปัจจุบัน

เหตุผลในการเลือกเรียนสาขาวิชานี้:

สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ไทย คนไทย วัฒนธรรมไทย และพระพุทธศาสนา และจะนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับคนอื่นต่อไป

ความคิดเห็นต่อหลักสูตรและคณาจารย์

หลักสูตรน่าสนใจและมีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต และคณาจารย์เอาใจใส่ดูแลนักศึกษาและช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาด้วยดี

ศิษย์เก่า

สิ่งที่ได้จากการศึกษา:

การสอน การบริการวิชาการ การชี้แนะแนวทางในการเขียนบทความ ส่งเสริมการเขียน เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อ

 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้:

-นำความรู้ไปต่อยอดในการศึกษาต่อได้เลย   

-นำไปต่อยอดในการพัฒนาสังคม พัฒนาคนอื่นได้

พัฒนาการที่ได้จากหลักสูตร:

-ได้รับการพัฒนาทักษะหลายด้าน ทั้งด้านวิชาการ เทคโนโลยี เป็นต้น จากตอนแรกที่เข้ามาเรียนไม่ใหม่ แทบไม่รู้อะไรเลย ทำให้พัฒนาตนเองขึ้นมามาก และนำไปใช้กับเครือญาติ เพื่อน คนใกล้ตัว ฯลฯ ได้เลย

ข้อเสนอแนะ:

การแจ้งข่าวสาร ในการเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย อยากให้มีการติดตามและเข้มงวดในการเข้าร่วมกิจกรรมบางกิจกรรมของนักศึกษา

ภาพถ่าย