Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

รายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต  สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตศรีล้านช้างฉบับนี้  ได้ดำเนินการจัดทำรายงานข้อมูลเฉพาะปีการศึกษา 2565 ผลคะแนนรวมอยู่ที่  3.82  อยู่ในระดับ ดี ด้วยการแบ่งการรายงานผลออกเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

        องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน  ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร หลักสูตรระดับบัณฑิตจะพิจารณาจากการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ได้ประกาศใช้ เมื่อ พ.ศ. 2559 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว องค์ประกอบนี้ มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับ ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ในการดำเนินการตามหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 ได้ดำเนินการตัวบ่งชี้ของบัณฑิต และผู้สำเร็จการศึกษา มีกลไกกระบวนการการวัดประเมินคุณลักษณะบัณฑิตทางภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีดิจิทัล มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับ 3.40 อยู่ในเกณฑ์ ดี

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา  สาขาวิชาพุทธศาสตร์ ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์ทุกประการ  ปีการศึกษา 2565 โดยจะจัดวางแผนการ การรับนักศึกษามีเกณฑ์ในการรับนักศึกษา มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา  โดยอาจารย์ในสาขาวิชาได้ให้คำแนะนำและจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21  ให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง สำหรับนักศึกษาเป็นหลักสูตร (2563-2567)  จะเห็นได้ว่ามีจำนวนนักศึกษาคงอยู่ ได้มีผลการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาอยู่ในระดับดี ผลการดำเนินการอยู่ในระดับ 3 ไม่เป็นไปตามตามเกณฑ์ค่าเป้าประสงค์ของปี 2565 ที่กำหนดไว้ มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับ 3.33 ไม่ถึงเกณฑ์ ดี

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์  สาขาวิชาพุทธศาสตร์ไม่มีการปรับเปลี่ยนอาจารย์ มีอาจารย์ครบและประจำหลักสูตร ในส่วนของการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ในปี 2563-2567 นั้นได้เสนออาจารย์ประจำหลักสูตรชุดเดิมที่เคยประจำหลักสูตร อีกทั้งผู้บริหารได้ชี้แจงเกี่ยวกับการส่งเสริมให้อาจารย์ได้พัฒนาตนเองทั้งด้านงานวิชาการมีการส่งเสริมการจัดทำเอกสารประกอบการสอนของอาจารย์  และการส่งเสริมการวิจัยโดยได้จัดอบรมการทำวิจัยให้กับอาจารย์ คุณภาพอาจารย์  สาขาวิชามีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 1 ท่าน  กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก 2 รูป ตำแหน่งทางวิชาการ 1  ที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และมีแผนในการขอการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ตามแผนพัฒนาอาจารย์ ปี 2565-2566 และอัตราการคงอยู่ของอาจารย์และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ผลการดำเนินการอยู่ในระดับ 4.47 อยุ่ในเกณฑืดี            

        องค์ประกอบที่ 5  หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา เป็นหลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2563  และได้ส่งให้คณะกรรมการรับทราบ และส่งกลับปรับปรุงแก้ไขจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อให้ทันกับสภาวการณ์การที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน  ในส่วนของการดำเนินการการวางระบบผู้สอนและระบบการเรียนการสอน  สาขาวิชาได้กำหนดผู้สอน การกำกับ ติดตามและตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียน (มคอ. 3) การจัดการเรียนการสอน  การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา การประเมินผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานฯ การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา  การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและการประเมินหลักสูตร (มคอ. 5) การประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบฯ โดยคณะกรรมการสาขาวิชาได้ควบคุมอย่างเคร่งครัดและให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ผลการดำเนินการอยู่ในระดับ 3.80 อยู่ในเกณฑ์ดี

                องค์ประกอบที่ 6  สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  สาขาวิชาได้รับการสนับสนุนสิ่งเรียนรู้เท่าที่มีในสถาบันเป็นอย่างดี  มีสื่อวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาบางอย่างที่มีการชำรุดทรุดโทรมไปบ้างตามสภาพการใช้งาน มีการปรับและนำโปรกแกรมการเรียนการสอนออนไลน์มาใช้ ( Microsoft Teams) มาช่วยสนับในการเรียนปีการศึกษา 2565 ในส่วนของแหล่งเรียนรู้อื่นได้ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าศึกษาจากตำราวิชาการ จากอินเทอร์เน็ต และเพิ่มเติมจากเอกสารตำราวิชาการอื่น แต่ยังมีตำราที่ใช้มานาน (ตำราเก่า) สามารถใช้ค้นคว้าได้ไม่เพียงพอ อาจารย์ประจำหลักสูตรจึงเร่งพัฒนาจัดทำตำราเอกสารประกอบการสอนเพิ่ม และจัดทำเป็นการสื่อคนในระบบ E-book ห้องสมุดออนไลน์ และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพื่อให้ได้มีตำราเรียนที่เหมาะสมกับยุคในโลกปัจจุบัน ผลการดำเนินการอยู่ในระดับ 4.00 อยู่ในเกณฑ์ ดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต ศศ.บ. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้พุทธศาสตร์ พัฒนาชาติและสังคม บ่มเพาะวัฒนธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ พัฒนาชีวิตแบบพอเพียง สร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาการ ทางานอย่างมีความสุข มั่นคงและยั่งยืน

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านพุทธศาสตร์ในมิติการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) มี

วัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

           1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในการวางแผนพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ในองค์กรด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ และมีภาวะผู้นำในการนำความรู้ไปบูรณาการกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามแนวพุทธศาสตร์

           1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 ด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864002563

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.21
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.40
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
5
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.47
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.80
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.82
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.61 3.40 ดี
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 4.47 - - 4.47 ดีมาก
5 5 4.00 3.75 - 3.80 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.99 3.33 4.61 3.82 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

ให้อาจารย์ประจำหลักสูตรเพิ่มการวิจัยเอกสารตำราวิชาการเน้นศาสตร์หลักสูตรเกี่ยวกับสังคมให้มากขึ้น ในสายสังคมเพื่อการพัฒนาหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

หลักสูตรควรมีการปรับปรุงพัฒนาการลาออกของนักศึกษาที่เพิ่มจึ้นหรือจัดทำแผนในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อไม่ให้นักศึกษาลดลงปรับปรุงพัฒนาการลาออกของนักศึกษาที่เพิ่มหรือมีแผนในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อไม่ให้นักศึกษาลดลง

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น

อาจารย์ ประจำ ประจำหลักสูตร ตรงตามคุณนวุฒิครบทุกท่าน

ข้อเสนอแนะ

เนื่องจากเป็นหลักสูตรเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหลักสูตรควรเพิ่มความสามารถของอาจารย์ทั้งทางศาสนาและการบริการด้านสังคมด้วย และเพิ่มงานวิจัย หรือตำรา  หรือตำรา เพื่อการพัฒนาสังคม ให้หลักสูตรมีความเข้มแข็ง

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

1.ให้หลักสูตรเพิ่มหลักสูตรเพื่อการพัฒนาสังคมเข้าในรายวิชาเพื่อความน่าสนใจของหลักสูตรเพิ่มมากขึ้น

2.หลักสูตรควรมีการกำหนดนโยบายและแผนเพื่อการกำหนดพัฒนาด้านจิตใจในสาขาและในหลายวิชาทางด้านสังคมและกายภาพทางวัตถุ เพื่อการประยุกต์หลักพุทธศาสตร์

3.หลักสูตรควรกำหนดโมเดลหรือต้นแบบของหลักสูตรเพื่อการพัฒนา เพื่อให้นักศึกษาได้ไปปฏิบัติในการฝึกนักศึกษา

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรควรมีกระบวนจัดการหลักสูตรกำหนดชุมชนเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาที่หลากหลาย สนับสนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือกิจกรรมอำสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาหายให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามสถาณการณ์ในปัจจุบัน

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

นักศึกษาภาคปกติ
สาเหตุในการตัดสินใจเข้าศึกษา
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้แนะนำให้เข้าศึกษาต่อ และได้รับการชักชวนจากนักศึกษารุ่นน้อง
ทำให้ได้รู้จักการนำหลักธรรมมาใช้ในการปฏิบัติชีวิตประจำวันและหลักคำสอนในด้านต่างๆได้รู้เพิ่มมากขึ้น

มีนักศึกษาเป็นพระและเป็นคฤหัสถ์มากน้อยเท่าใด
เป็นพระ 11 คฤหาสน์ 3 ท่าน
ทานปฎิบัติงานอะไรในปัจจุบัน
งานบริษัทในตำแหน่งบริหาร ในเขตอ.เมือง
จุดเด่นของหลักสูตรมีจุดเด่นในด้านใด
หากทาง คฤหาสน์ แล้วได้มาศึกษานับว่าเป็นจุดเด่นที่ดี

สิ่งที่ควรเพิ่มเติมพัฒนาให้หลักสูตร
คิดว่าขณะนี้หลักสูตรมีการสนับสนุนดีในทุกด้าน เพราะได้มีการพัฒนาทางด้านความรู้และทางศาสนา

กิจกรรมการเรียนการสอนมีกิจกรรมด้านนอกหรือการทัศนศึกษาบ้างหรือไม่
มีร่วมกันทุกคณะ ไปร่วมปฏิบัติด้วยกัน

ภาพถ่าย