Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ได้ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564) ตามกระบวนการและมาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้การรับทราบและอนุมัติหลักสูตรตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2565

             คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีความเห็นชอบร่วมกันในการที่จะขยายมาตรฐานทางการศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อรองรับนักศึกษา การศึกษา การจัดการเรียนการสอน การบริหารการศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสูตรดังกล่าวฯ อันจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ให้บัณฑิตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาและวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งทางปกครอง ตลอดจนประชาชนผู้สนใจศึกษาวิชาการทางพุทธศาสนาในระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ที่หลากหลาย และมีความเป็นเลิศในด้านวิชาการทางพุทธศาสนา ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมแก่ชุมชนและสังคมโดยรวม

             มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ให้มีความพร้อมและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยยึดหลักความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานที่กำหนดไว้

  1. ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

             2.1 ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ

             หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต เป็นหลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในปีการศึกษา 2565 มีนักศึกษาทั้งสิ้น 14 รูป/คน ชั้นปีที่ 1 จำนวน 10 รูป/คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 4 รูป/คน

             อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเริ่มกระบวนการวางแผนการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยนำผลการประชุมทั้งในระดับหลักสูตร ระดับวิทยาเขต และส่วนกลาง มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อจะผลิตบัณฑิตให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาของการสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2566

               จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ในปีการศึกษา 2565 ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม 4 (กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.07 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียด ผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

                องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

                องค์ประกอบที่ 2 ไม่ขอรับการประเมิน เนื่องจากยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาแต่รับการประเมิน  ข้อ 2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด เท่ากับ 1.0 อยู่ในระดับ น้อย

                องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้ เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับ ปานกลาง

                องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์ และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมิน ตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.76 อยู่ในระดับ ดีมาก

                องค์ประกอบที่ 5 การเรียนการสอนการประเมินผู้เรียน หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับ ปานกลาง

                องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับ ปานกลาง

 

             2.2 วิธีปฏิบัติที่ดีและผลการดำเนินงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีหรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้น

             มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้างมีความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มุ่งส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนา และมุ่งเสริมสร้างทักษะของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ความสำคัญกับนักศึกษา การส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษา และการสร้างความร่วมมือกับชุมชนอย่างเป็นกัลยาณมิตร อนึ่ง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้ปฏิบัติตามกรอบพันธกิจทั้ง 5 ด้าน ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย คือ (1) ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนาให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยและกระจายโอกาสให้พระภิกษุ-สามเณร คฤหัสถ์และผู้สนใจได้ศึกษามากขึ้น (2) วิจัยและพัฒนางานวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย (3) สร้างเสริมให้บริการวิชาการแก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสร้างสันติสุขให้เกิดในสังคม ชุมชนและท้องถิ่น สามารถชี้นำสังคมและยุติข้อขัดแย้งในหลักวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยธรรม (4) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้า ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทและท้องถิ่น สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม และ (5) จัดการระบบบริหารการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้ได้มาตรฐานสากล 

  1. เป้าหมายและแผนพัฒนา

                3.1 เป้าหมายระยะสั้น อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ขอรับผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงาน และการปรับปรุงจัดการเรียนการสอน ประจำปีการศึกษา 2566

                3.2 เป้าหมายระยะกลาง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จัดทำแผนพัฒนานักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และมีความยั่งยืน พร้อมทั้งการจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ให้ผลิตผลงานทางวิชาการ สื่อการสอน ตำรา เทคนิคการสอน การวิจัยและการเขียนบทความจากงานวิจัยหรือบทความทางวิชาการ พร้อมทั้งการตีพิมพ์เผยแผ่ในระดับชาติและนานาชาติ

                3.3 เป้าหมายระยะยาว อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จัดทำแผนการปฏิบัติการ นำผลการประเมินคุณภาพภายในไปประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งการจัดทำแผนระยะยาวเพื่อส่งเสริมให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและแผนการพัฒนาอาจารย์รายบุคคลให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)

3) หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มี “ความเป็นเลิศทางวิชาการทางรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา”

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถทางรัฐศาสตร์ มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ
1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถประยุกต์หลักการและวิธีการทางรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาในวิชาชีพรัฐศาสตร์
2. เพื่อให้บัณฑิตมีความรอบรู้อย่างลุ่มลึกและมีประสบการณ์ทางด้านรัฐศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาได้อย่างสร้างสรรค์
3. เพื่อให้บัณฑิตรู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล สามารถวิพากษ์วิจารณ์บนพื้นฐานทางวิชาการให้เกิดองค์ความรู้และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
4. เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง องค์กร และสังคมโดยรวม
5. เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมในการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถเผยแพร่หลักทางรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในด้านบริการวิชาการ หรือศิลปวัฒนธรรมไทยต่อสาธารณชน

1.4 รหัสหลักสูตร 25641866002386

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
1.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.03
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.76
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
1
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.07
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 1.00 - 1.00 น้อย
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 4 3.76 - - 3.76 ดี
5 5 3.00 3.00 - 3.00 ปานกลาง
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 14 3.38 2.67 - 3.07 ดี
ผลการประเมิน ดี ปานกลาง - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

หลักสูตรควรหาระบบหรือแนวทางการประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษาให้มากขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

อาจารย์ประจำหลักสูตรควรวางแผนระบบการดำเนินงานภายในหลักสูตรมีการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

หลักสูตรมีกระบวนการดำเนินงานของหลักสูตรมีกระบวนการดำเนินการเกี่ยวกับรายวิชาได้ชัดเจนละเอียดครอบคลุมทุกกระบวนการ

ข้อเสนอแนะ

ควรอธิบายผลของการทวนสอบที่นักศึกษาได้รับ และการดำเนินงาน การดำเนินงานตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรควรส่งเสริมสิ่งสนับสนุนให้นักศึกษาที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันการทำ mou อยู่ภายในห้องเรียน หรือระบบสืบค้นข้อมูลให้หลากหลาย

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย