Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการตรวจและประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตศรีล้านช้าง ฉบับนี้  ได้ดำเนินการจัดทำรายงานข้อมูล ปีการศึกษา 2565  โดยมีผลการประเมินคะแนนเฉลี่ย 3.45  ระดับดี  มีสาระสำคัญ ดังนี้

                องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน  ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาจะพิจารณาจากการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ได้ประกาศใช้ เมื่อ พ.ศ. 2559 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว องค์ประกอบนี้ มีผลการดำเนินการผ่านตามเกณฑ์ค่าเป้าหมาย

                องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ในการดำเนินการตามหลักสูตร 2564 ปีการศึกษา 2565 ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาจึงยังไม่มีรายงานผู้สำเร็จการศึกษา แต่มีการประเมินในตัวบ่งชี้ที่ 2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ผลการประเมินตนเองมีค่าเฉลี่ยที่ 2.00 อยู่ในระดับน้อย

                องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์ทุกประการ ปีการศึกษา 2565 ได้จัดวางแผนการ การรับนักศึกษามีเกณฑ์ในการรับนักศึกษา มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา โดยอาจารย์ในสาขาวิชาได้ให้คำแนะนำและจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง สำหรับนักศึกษาเป็นหลักสูตรปรับปรุง 2564 ผลการดำเนินการอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 3.00 ระดับปานกลาง

                องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์  สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ไม่มีการปรับเปลี่ยนอาจารย์ มีอาจารย์ครบและประจำหลักสูตร ทั้งนี้ผู้บริหารได้ชี้แจงเกี่ยวกับการส่งเสริมให้อาจารย์ได้พัฒนาตนเองทั้งด้านงานวิชาการมีการส่งเสริมการจัดทำเอกสารประกอบการสอนของอาจารย์  และการส่งเสริมการวิจัยโดยได้จัดอบรมการทำวิจัยให้กับอาจารย์ คุณภาพอาจารย์  สาขาวิชามีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 3 ท่าน  ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ แต่อยู่ในระหว่างกระบวนการขอกำหนดเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ตามแผนพัฒนาอาจารย์ ปี 2565 ผลการดำเนินการอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 3.58 ระดับดี

        องค์ประกอบที่ 5  หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน  หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา เป็นหลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2564 เพื่อให้ทันกับสภาวการณ์การที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน  ในส่วนของการดำเนินการการวางระบบผู้สอนและระบบการเรียนการสอน  สาขาวิชาได้กำหนดผู้สอน การกำกับ ติดตามและตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียน (มคอ. 3) การจัดการเรียนการสอน  การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา การประเมินผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานฯ การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา  การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและการประเมินหลักสูตร (มคอ. 5) การประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบฯ โดยคณะกรรมการสาขาวิชาได้ควบคุมอย่างเคร่งครัดและให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ผลการดำเนินการอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.00 ระดับดี

                องค์ประกอบที่ 6  สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  สาขาวิชาได้รับการสนับสนุนสิ่งเรียนรู้เท่าที่มีในสถาบันเป็นอย่างดี  มีสื่อวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาบางอย่างที่มีการชำรุดทรุดโทรมไปบ้างตามสภาพการใช้งาน มีการปรับและนำโปรแกรมการเรียนการสอนออนไลน์มาใช้ ( Microsoft Teams) มาช่วยสนับในการเรียนปีการศึกษา 2565 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ในส่วนของแหล่งเรียนรู้อื่นได้ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าศึกษาจากตำราวิชาการ จากอินเทอร์เน็ต และเพิ่มเติมจากเอกสารตำราวิชาการอื่น แต่ยังมีตำราที่ใช้มานาน (ตำราเก่า) สามารถใช้ค้นคว้าได้ไม่เพียงพอ อาจารย์ประจำหลักสูตรจึงเร่งพัฒนาจัดทำตำราเอกสารประกอบการสอนเพิ่ม และระบบสืบค้นออนไลน์ เพื่อให้ได้มีตำราเรียนที่เหมาะสมกับยุคในโลกปัจจุบัน ผลการดำเนินการอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 3.00 ระดับปานกลาง                

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(พุทธศาสน์ศึกษา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (โท)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนา ศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยใช้องค์ความรู้คู่คุณธรรมเพื่อสร้างสังคมสันติสุข

(Self-development in Buddhist way, Research and Integration of knowledge and character to strengthen peace in society)

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระบบเพราะต้องการพัฒนาให้นักศึกษาสามารถมีความรู้คู่คุณธรรม สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และเป็นไปตามแนวทางปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมให้นักศึกษามีระเบียบ สามัคคีและรู้จักบำเพ็ญประโยชน์ มีจิตอาสา โดยถือว่า บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติเท่านั้นที่เป็นควรแก่การยกย่องนับถือและเป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย การจะพัฒนาบุคคลต้องพัฒนาไปทั้งกาย คือความประพฤติ และใจคือ คุณธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

            1. เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้เข้าใจและความสามารถทางพระพุทธศาสนา มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อเนื่องตลอดชีวิต

            2. เพื่อส่งเสริมบัณฑิตให้ค้นคว้าวิจัย แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ด้านพระพุทธศาสนา

            3. เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตให้สามารถนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและเผยแผ่องค์ความรู้ไปพัฒนาสังคมให้เกิดสันติสุข

            4. เพื่อให้บัณฑิตสามารถรักษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมและตอบสนองกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและสังคมไทย

            5. เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตให้มีทักษะชีวิต คิดอย่างมีเหตุผล กล้าเผชิญสถานการณ์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา

1.4 รหัสหลักสูตร 25641866002656

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.58
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.45
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 2.00 - 2.00 น้อย
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 4 3.58 - - 3.58 ดี
5 5 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 14 3.42 3.50 - 3.45 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางเสริม

1. เพิ่มการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้เกษียณอายุราชการครู ซึ่งมีกำลังทุนทรัพย์ และตอบโจทย์ความต้องการในการศึกษาธรรมะและไปปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน

2. เพิ่มจุดขายหรืออัตลักษณ์ตัวตนของหลักสูตรให้เด่่นชัดเจน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น

1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้มีองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญทางด้านพระพุทธศาสนาและต่อยอดพัฒนาหลักสูตรให้มีความโดดเด่น ให้เป็นที่สนใจของผู้เรียน

แนวทางเสริม

 พัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร การขอตำ แหน่งน่ ทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางเสริม

ในการประเมิน ผู้เรียน ในรายวิชาให้เป็นไปตามรายวิชาที่กำหนดไว้ให้เป็นไปตามรายวิชาที่กำหนดไว้ในมคอ2 และตามเนื้อหา ในรายวิชา

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

บทสัมภาษณ์นักศึกษาปัจจุบัน

  1. นักศึกษาทำไมถึงเลือกมาเรียนสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา และช่องทางจากแหล่งข้อมูลไหนอย่างไร
  • มีความศรัทธา และผูกพันทางด้านพระพุทธศาสนา และช่วยจรรโลงด้านความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา
  • ตามภรรยามาเรียน และเจ้าอาวาสแนะนำให้มาเรียน
  1. นักศึกษาคิดว่าอะไรคือจุดเด่นของหลักสูตร และมีทัศนคติอย่างไร
  • ชอบและศรัทธาทางด้านพระพุทธศาสนา
  • ชอบปรัชญาของมหาวิทยาลัย
  • ชอบปรัชญาของหลักสูตร
  • สิ่งการเรียนการสอนที่ทันสมัย สื่อดิจิทัล เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
  1. ความคาดหวัดของหลักสูตรในชั้นเรียน
  • นักศึกษามีวินัยในตนเอง มีการจัดกิจกรรมอบรมสัมมนา และมีการพบปะอาจารย์ตลอดเวลา
  • การเขียนบทความทางวิชาการหรือวิทยานิพนธ์มีแนวปฏิบัติที่ดี และมีรูปแบบชัดเจน
  • อย่าให้มีคลีนิคหรือการแนะนำทางวิชาการบ่อย ๆ โดยเฉพาะเพื่อใช้เวลาเขียนวิทยานิพนธ์ในด้านทักษะการเขียน
  • อย่าให้จัดกิจกรรมการเขียนวิทยานิพนธ์บ่อย ๆ เพื่อให้นักศึกษาจบตามระยะเวลาของหลักสูตร
  1. กระบวนการเรียนการสนอมีความเหมาะสมกับแม่ชี บรรพชิต และคฤหัสถ์ อยากน้อยเพียงใด
  • รายวิชาเหมาะสมใช้กับชีวิตประจำวันและเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ดี
  • มีการจัดเรียนการสอน ผ่านระบบ Online (Zoom Meetings) และ Onsite มีการสัมมนานอกพื้นที่ และมีการเชิญวิทยากรจากภายนอก
  1. รายวิชาสาขามีความแตกต่างกับที่เรียนอยู่ในสังกัดวัด หรือคำสั่งสอนพระพุทธศาสนา แตกต่างจากหลักสูตรหรือไม่อย่างไร
  • แตกต่างกันเพราะที่เรียนอยู่ในสังกัดวัด จะเน้นการปฏิบัติเพื่อตัวเอง
  • การเรียนการสอนเน้นการสอนเชิงวิชาการ ทฤษฎี และสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ดี
  1. การปฏิสัมพันธ์มีประโยชน์และการสื่อสารยกระดับความคิดในรูปแบบใด
  • เราต้องเป็นตัวอย่างเป็นต้นแบบให้กับเด็ก ๆ ชุมชนในท้องถิ่น ได้เข้าถึงการศึกษาทั้งการศึกษาทางโลก และทางธรรม  
  1. หลักสูตรได้มีการเตรียมความพร้อมความรู้พื้นฐานหรือกิจกรรมเสริมให้กับนักศึกษาก่อนเข้าศึกษา
  • สาขาวิชาได้จัดวิชาที่กิจกรรมและรายวิชา เช่น ภาษาบาลี พระไตรปิฎก

 

ภาพถ่าย