Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

1. ข้อมูลพื้นฐาน

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในด้านการสอน ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชาสังคมศึกษาและสอนศีลธรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลิตบัณฑิตที่มีปรีชาสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครู และการบูรณาการแนวคิดทฤษฎีสู่การนำปฏิบัติได้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์หรือในบริบทที่แตกต่างกัน รวมทั้งการเน้นเนื้อหาหลักธรรมทางศาสนาเพื่อเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ของหลักสูตรฯ จึงมีภารกิจสำคัญต่อการพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพด้วยการบริหารจัดการหลักสูตรที่มีคุณภาพ ทั้งในส่วนของปัจจัยนำเข้า ทั้งในส่วนของนักศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและการออกแบบสาระรายวิชาของหลักสูตร ปัจจัยด้านจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและการพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนการสอน และปัจจัยด้านผลผลิตที่มีคุณภาพคือการมีบัณฑิตที่มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรฯ ได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังแสดงข้อมูลในรายงานการประเมินตนเอง ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับรับการตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร

            ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1  ผลการประเมิน  ผ่านตามเกณฑ์

องค์ประกอบที่ 2 ผลคะแนน 2.00 อยู่ในเกณฑ์ระดับ น้อย

องค์ประกอบที่ 3 ผลคะแนน 4.00 อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 4 ผลคะแนน 3.92  อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 5 ผลคะแนน 4.00 อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 6 ผลคะแนน 5.00 อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดีมาก

               ผลการประเมินเฉลี่ยในภาพรวมทุกองค์ประกอบ พบว่า  หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช โดยมีคะแนนเฉลี่ยทุกมาตรฐาน เท่ากับ 3.91 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนสังคมศึกษา)

3) สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในด้านการสอน ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชาสังคมศึกษาและสอนศีลธรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลิตบัณฑิตที่มีปรีชาสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครู

2) ความสำคัญของหลักสูตร

1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทางด้านการสอนสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณสำหรับครู

2. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม บูรณาการสังคมศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. มีความรู้ความเข้าใจด้านการสอนพระพุทธศาสนาและการสอนศีลธรรม สามารถประยุกต์ใช้การสอนสังคมศึกษาร่วมกับพุทธวิทยาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มีความรู้ความสามารถและทักษะการสอนสังคมศึกษา เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการจัดการเรียนการสอน

3. มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพครู มีศักยภาพในการพัฒนางานในหน้าที่ครู สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลายอย่างเหมาะสม

4. เป็นผู้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000749

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
2
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
4.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
5
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.92
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
5
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.91
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 2.00 - 2.00 น้อย
3 3 4.00 - - 4.00 ดี
4 4 3.92 - - 3.92 ดี
5 5 5.00 3.75 - 4.00 ดี
6 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 14 4.08 3.67 - 3.91 ดี
ผลการประเมิน ดีมาก ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
-
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
-
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

ข้อเสนอแนะ

องค์ประกอบที่3

ควรวางระบบกระบวนการประชาสัมพันธ์หรือชักชวนนักศึกษาให้เข้าศึกษาตามเกณฑ์ที่ มคอ กำหนดควรส่งเสริมระบบกระบวนการประชาสัมพันธ์หรือชักชวนนักศึกษาให้เข้าศึกษาตามเกณฑ์ที่มขอออกำหนดไว้

องค์ประกอบที่4

หลักสูตรควรวางมีแผนวางระบบการบริหารพัฒนาอาจารย์ ให้เป็นระบบมีแผนที่ชัดเจน

องค์ประกอบที่5

หลักสูตรควรสำรวจความต้องการของตลาดควรออกแบบปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้ทันสมัยเนื้อหาหรือกิจกรรมที่เพิ่มเติมสอดคล้องกับความต้องการตาม มคอ

องค์ประกอบที่6

หลักสูตรควรสำรวจความต้องการของนักศึกษาในทุกด้านควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนกิจกรรม หรือการจัดทำ MOU และการเพิ่มสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้ทันสมัยทันต่อสถานการณ์ปัจุบัน และเหตุการณ์ปัจจุบัน

บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน

สิ่งจูงใจที่ท่านมาศึกษาในสถานที่แห่งนี้

    การเดินทางสะดวกและค่าเทอมไม่แพงและหลักสูตรสังคมศึกษาเป็นที่ต้องการของตลาด

สถานที่ที่นักศึกษาเข้าศึกษามีความสะดวกสบายและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านใดบ้าง

       มีการคมนาคมที่สะดวกและมีสิ่งสนับสนุนที่เอื้ออำนวยมีการคมนาคมที่สะดวกและมีสิ่งสนับสนุนที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษา

    ดีใจเพราะมีบุคลากรอาจารย์มีความรู้และเข้าใจในเนื้อหาหลักสูตรมากขึ้น

นักศึกษามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้หลักสูตรในด้านใดบ้าง

       อยากให้หลักสูตรจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในการเรียนการสอนให้มากขึ้นทั้งด้านเนื้อหาและภาษา

ความประทับใจในหลักสูตรมีอะไรบ้าง

   อาจารย์ ประจำหลักสูตรสอนเข้าใจง่ายและให้การช่วยเหลือในทุกด้าน

   การเรียนการสอนของหลักสูตรเป็นไปในทางที่ดีตามที่ได้ตั้งใจไว้

ภาพถ่าย