Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

3) หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มี "ความเป็นเลิศทางวิชาการทางรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา"

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถทางรัฐศาสตร์ มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ

1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถประยุกต์หลักการและวิธีการทาง รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาในวิชาชีพรัฐศาสตร์

1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีความรอบรู้อย่างลุ่มลึกและมีประสบการณ์ทางด้านรัฐศาสตร์และ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ตามแนว พระพุทธศาสนาได้อย่างสร้างสรรค์

1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตรู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล สามารถ วิพากษ์วิจารณ์บนพื้นฐานทางวิชาการให้เกิดองค์ความรู้และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง

1.3.4 เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง องค์กร และสังคมโดยรวม

1.3.5 เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมใน การศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์และสามารถเผยแพร่หลักทางรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อให้ เกิดองค์ความรู้ใหม่ในด้านบริการวิชาการ หรือศิลปวัฒนธรรมไทยต่อสาธารณชน

1.4 รหัสหลักสูตร 25641866002241

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.33
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.60
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.38
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 2.00 - 2.00 น้อย
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 3.33 - - 3.33 ดี
5 5 4.00 3.50 - 3.60 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 14 3.42 3.33 - 3.38 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
-
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
-
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

องค์ประกอบที่ 3 

การรับนักศึกษาของหลักสูตรไม่เป็นไปตาม มคอ ที่กำหนดไว้ ให้อาจารย์ประจำหลักสูตรวางระบบกลไกการรับนักศึกษา วิธิการรับนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามแผน มคอ 

ควรเร่งรัดให้นักศึกษาจบตามที่หลักสูตรกำหนดควรเร่งรัดให้นักศึกษาจบตามที่หลักสูตรกำหนด

องค์ประกอบที่ 4

จุดเด่น

มีผลงานวิชาการในฐานที่สูงเกินตามเกณฑ์มาตราฐาน

ข้อเสนอแนะ

อาจารย์ประจำหลักสูตรควรมีแผนการดำเนินงาน เกี่ยวกับการบริหารอาจารย์ในหลักสูตร

ควรส่งเสริมให้อาจารย์ได้มีการผลิตผลงานตามรอบปีการศึกษา

องค์ประกอบที่ 5

ควรกำกับติดตามให้นักษาตีพิมพ์ผลงานตามที่มหาวิทยาลัยอนุมัติการจบของนักศึกษา

อาจารย์ประจำหลักสูตรควรนำผลการประเมินผู้สอนมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้หลักสูตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 องค์ประกอบที่6

ควรมีการสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาทุกภาคการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน

บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน

สาเหตุที่นักศึกษาเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโท

   ด้วยความชอบส่วนตัวและสามารถนำมาปรับใช้กับการดำเนินงานในปัจจุบัน

      เนื่องจากเป็นส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรจึงเลือกเรียนในหลักสูตรนี้

สื่อการเรียนการสอนในหลักสูตรเป็นอย่างไร

       สื่อการเรียนการสอนมีความเหมาะสมแล้วมีการวางแผนให้ที่ชัดเจน

การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นอย่างไร

     

     อาจารย์ให้คำปรึกษาอาจารย์ให้คำปรึกษาให้คำแนะนำในเรื่องของการจัดทำงานวิจัยได้ตลอดทุกช่วงเวลา เพื่อให้งานเสร็จสมบูรณตามระยะเวลา

 

ทางหลักสูตรจัดเตรียมกระบวนการสอบวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษาอย่างไร

      มีกระบวนการเริ่มตั้งแต่ให้คำปรึกษาตลอดจนสอบจบ

     อยากให้มีการจัดกิจกรรมระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน

ภาพถ่าย