Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ได้รับการอนุมัติให้เปิดดำเนินการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2559 และปีการศึกษา 2565 ใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 สภาวิชาการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 5/2563 วันที่ เดือน มิถุนายน  พ.ศ. 2563 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 8/2563 วันที่ เดือน กันยายน พ.ศ. 2563 เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ ปีการศึกษา 2564 เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมและสอดคลองกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศและโลกปัจจุบัน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี  หลักสูตร ปี จัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาค ได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2559 ปัจจุบันมีนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่จำนวน 97 รูป/คน อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน รูป/คน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ได้พัฒนาระบบบริหารและงานประกันคุณภาพการศึกษามาอย่างต่อเนื่องตามระบบประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมีระบบกลไกตามกระบวนการควบคุม การติดตาม และการประเมินผลคุณภาพ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพ ระดับหลักสูตร โดยใช้คู่มือการประกันคุณภาพในระดับคณะที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง เพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพภายในและภายนอก

        หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ได้ประเมินตนเองในปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย องค์ประกอบ (เฉพาะตัวบ่งชี้ของ สกอ.ที่ขอรับการตรวจประเมิน) การบรรลุเป้าหมายจากการประเมินตนเองหลักสูตรศิลปศาสตร์มีผลการดำเนินงานบรรลุ 11 ตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับคุณภาพดี คะแนนเฉลี่ย 3.60 โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ การกำกับมาตรฐาน

        อาจารย์ประจำหลักสูตร คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีคุณสมบัติ และคุณวุฒิตรงตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.) กำหนด ในเกณฑ์การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบรระยะเวลาที่กำหนด ได้มีการพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์กำหนดในรอบ ปี และผลการประเมินตนเอง คือ หลักสูตรได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ บัณฑิต

        หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาใน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 รูป/คน

ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.75 อยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ นักศึกษา

        กระบวนการรับนักศึกษาและพัฒนานักศึกษาทางหลักสูตรได้ให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้และความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.67 อยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ อาจารย์ 

        หลักสูตรมีการบริหารและพัฒนาคุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.58 จัดอยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ หลักสูตร

        สาระของรายวิชาในหลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียนมีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับกระบวนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
อาจารย์ผู้สอนได้บูรณาการเนื้อหา กับกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย และมีการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติโดยผลการประเมินตนเองเท่ากับ 3.40 จัดอยู่ในระดับคุณภาพดี

        องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  

        อาจารย์ประจำหลักสูตรมีส่วนร่วมในการจัดให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนและได้มีการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.00 จัดอยู่ในระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ภาษาไทย : ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in English

3) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลซึ่งใช้ทั่วโลกและเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้และสรรพวิชาอื่น ๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้คู่คุณธรรมซึ่งนำไปสู่การเป็นพลเมืองโลกที่ดี อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารในสังคมโลกและการประกอบอาชีพ รวมถึงการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปด้วย

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

2.1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทยทั้งในและนอกประเทศ

2.2 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษไปใช้ประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ

2.3 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทั้งในภาครัฐและเอกชน

2.4 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม

1.4 รหัสหลักสูตร 25641864001192

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.26
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
2
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.75
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.58
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.40
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.60
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 2.00 4.63 3.75 ดี
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 4 3.58 - - 3.58 ดี
5 5 4.00 3.25 - 3.40 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.67 3.17 4.63 3.60 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

หลักสูตรควรวางแผนการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายใหม่ของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับ มคอ 2.  และ ประเมินอย่างต่อเนื่องโดยใช้ข้อสอบเสมือนจริงที่หาได้ตามท้องตลอดทั่วไป

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเด่น 

- หลักสูตรพัฒนาระบบการจัดการการให้คำปรึกษาส่งผลเป็นรูปธรรมใน อัตราการออกกลางคันที่ต่ำและการสำเร็จการศึกษาที่ค่อนข้างสูง ร้อยละ 80% ในปี 2565

- หลักสูตรปรับปรุงระบบการพัฒนานักศึกษาตามทักษะศตวรรษที่ 21 ส่งผลเป็นรูปธรรมให้นักศึกษาพัฒนาตนเองและได้ทุนการศึกษาจากหน่วยงานภายนอก

 ข้อเสนอแนะ

หลักสูตรควรวิเคราะห์กระบวนการรับนักศึกษา อาจกำหนด SWOT Analysis ของหลักสูตรให้เห็นถึง จุดแข็ง จุดด้อย โอกาส และ อุปสรรค ที่สงผลให้จำนวนนักศึกษาแรกเข้าที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ในมคอ 2.

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

หลักสูตรควรเร่งพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านตำแหน่งทางวิชาการ และ พัฒนาการตีพิมพ์งานวิจัยของอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ครบทุกท่าน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

–  หลักสูตรมีการปรับปรุงกระบวนการการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมและทันสมัยตามความต้องการของการใช้ภาษาอังกฤษในปัจจุบัน

ข้อเสนอแนะ

- หลักสูตรควรเพิ่มกระบวนการการศึกษาการพัฒนาหลักสูตร OBE ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรแบบใหม่ที่เปลี่ยนเกณฑ์หลายอย่าง

- หลักสูตรควรนำระเบียบวิธีวิจัยมาใช้วัดเครื่องมือวัดผลประเมิณผล เช่น การหา inter-rater reliability ใน rubric การหาค่า difficulty, discrimination, reliability ในข้อสอบ multiple-choice

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

– หลักสูตรปรับปรุงระบบจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ส่งผลเป็นรูปธรรมให้นักศึกษาพัฒนาตนเองและได้ทุนการศึกษาจากหน่วยงานภายนอก

ข้อเสนอแนะ

- หลักสูตรควรพิจารณาเทคโนโลยี AI  ที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และ การทำผลงานทางวิชาการของอาจารย์

- หลักสูตรควรหาความร่วมมือกับองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกภาษากับเจ้าของภาษา

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย