Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ได้ดำเนินการจัดทำรายงานข้อมูลเฉพาะปีการศึกษา 2565  โดยสรุปผลคะแนนการประเมินตนเอง ดังนี้

สรุปผลการประเมินตนเอง

        จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 4.02   มีคุณภาพอยู่ใน ระดับคุณภาพดีมาก โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

        องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

        องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก เท่ากับ 4.17  

        องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้อยู่ในระดับดี มีค่าเท่ากับ 3.67

        องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเท่ากับ 3.97

        องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียน การสอน การประเมินผู้เรียน คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเท่ากับ 4.20

        องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้อยู่ในระดับดี มีค่าเท่ากับ 4.00

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา

3) สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

สร้างครูสอนภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพ สามารถใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลทางการศึกษาในการจัดการเรียนรู้ด้วยพุทธบูรณาการ กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณ คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับครูและดำเนินชีวิตบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษได้ออกแบบหลักสูตรโดยนำปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และคณะศึกษาศาสตร์ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีความสามารถในการทำวิจัยและผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีความเป็นผู้นำและสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมพัฒนาพลเมืองโลก ด้วยการผสานแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาที่มั่นคง ให้ดำรงอยู่ในฐานะโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของมนุษย์ในอนาคต นอกจากนี้ หลักสูตรฯ ได้ นำความต้องการของผู้บริหาร/คณาจารย์ ผู้ใช้หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตที่ต้องการให้บัณฑิตมีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์และวิธีการสอน มีทักษะการสอนและทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถครองตน ครองคน และครองงานได้ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผลตามหลักวิชาการ โดยผู้ใช้บัณฑิตต้องการให้บัณฑิตมีทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ได้ สามารถทำงานได้ หลายหน้าที่ และศิษย์เก่าต้องการให้มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการปรับตัวกับการทำงานและชีวิตประจำวันในสังคมที่หลากหลายทางวัฒนธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.  มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์และวิธีการสอนภาษาอังกฤษ กระบวนการวิจัย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และปรับเปลี่ยนหลักแนวคิดและทฤษฎีการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย ตามบริบทของสถานศึกษา 2. มีทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารตามบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม การทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีความเป็นพลโลก 3. มีทักษะการใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในการจัดการเรียนรู้ และการวัดการประเมินผลทางการศึกษา 4. มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู จิตวิญาณความเป็นครู ตระหนักถึงคุณค่า สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเป็นผู้นำในการพัฒนาคนบนพื้นฐานหลักเศรษฐกิจพอเพียง

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000795

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.50
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
3
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.17
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.97
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.20
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
4.02
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 3.00 4.75 4.17 ดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 4 3.97 - - 3.97 ดี
5 5 4.00 4.25 - 4.20 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.86 4.00 4.75 4.02 ดีมาก
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

ให้มีการเพิ่มกระบวนการการดำเนินงานของปีถัดไปเพื่อเป็นแนวทางร่วม

 

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

ขอให้เพิ่มเอกสารเกี่ยวกับการมีงานทำของนักศึกษาให้ขัดเจนขึ้น

การดำเนินงานการดำเนินงานด้านเกมภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีทางหลักสูตรมีการเตรียมความพร้อมและการดำเนินงานที่ดีซึ่งมีนักศึกษาที่สอบผ่านได้ตามเกณฑ์มาตรฐานถึงม้าว่าเกณฑ์ยังไม่มีประกาศใช้ หลังจากอาจารย์มีการจัดทำหลังจากอาจารย์มีการจัดทำแผน ระบบกวนการโดยใช้ข้อสอบ Oxford ออนไลน์ ผลเป็นที่ยอมรับ

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเด่น

มีการแก้ไขประบกระบวนการการดำเนินงานด้านการรับนักศึกษาที่ดีในการปรับใช้โดยเห็นเป็นรูปธรรม

ข้อเสนอแนะ

เขียนอธิบายผลการดำเนินงานของหลักสูตรที่ทานมีการปรับปรุงแก้ไขในด้านต่างๆให้เห็นภาพชัดเจน

ควรมีการทำkpi หรือแผนการแก้ปัญหาให้กับนักศึกษาอย่างชัดเจนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกับนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

อาจารย์มีการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และตำแหน่งทางวิชาการ ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับหลักสูตรโดยตรงให้มากขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

อธิบายขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานในขั้นตอน ของ OBE ต่างๆของการพัฒนาหลักสูตรจนขั้นปรับปรุงหลักสูตรถึงการที่ได้มา

การจัดทำโครงการให้มีการดำเนินการให้เห็นผลออกมาจากโครงการอย่างชัดเจน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

มีหลักฐานที่ชัดเจนห้อง เป็นสถานที่ ที่ชาวต่างชาติได้มาดูสามารแลกเปลี่ยนและสอนเด็กนักศึกษา   ชาวต้่างชาติ โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา โดยมียอดผู้เข้ามาใช้บริการห้องนี้จำนวนมาก ร่วม 6 พันกว่าราย

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย