Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม 4 (การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.86 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดีโดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศึกษาศาสตร์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 นี้คือ ผ่าน

          องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้มีคุณธรรมจริยธรรมมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้มีคุณภาพอยู่ในระดับดี เท่ากับ 3.60

          องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา นักศึกษาระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้อยู่ในระดับดี มีค่าเท่ากับ 3.67

          องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนามีการบริหารและพัฒนาอาจารย์คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้อยู่ในระดับดีมากมีค่าเท่ากับ 4.22

          องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียน การสอน การประเมินผู้เรียน คณะศึกษาศาสตร์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้อยู่ในระดับดีมีค่าเท่ากับ 3.80

          องค์ประกอบที่6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนามีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่6 นี้อยู่ในระดับดี มีค่าเท่ากับ 4.00

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาไทย)

3) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถจัดการศึกษาด้านภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ โดยบูรณาการความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและมีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับผู้เรียน สภาพสังคม วัฒนธรรมและวิถีการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้สรรพวิชาอื่น ๆ อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

1.3.1. บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสอนภาษาไทย และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถบูรณาการปรับเปลี่ยนหลักแนวคิดและทฤษฎีการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายตามสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา

1.3.2. บัณฑิตมีทักษะการสอนภาษาไทย และสื่อสารภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  มีความรู้ภาษาไทยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบ  มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ใช้กับการจัดเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม

1.3.3. บัณฑิตมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา และความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม สามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนางานทางวิชาชีพให้ก้าวหน้าสู่ระดับชาติและนานาชาติ         

1.3.4. บัณฑิตมีความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียน ประเมินผลทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพด้านการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.4 รหัสหลักสูตร 25621861101288

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.81
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.60
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.22
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.80
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.86
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.91 3.60 ดี
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 4 4.22 - - 4.22 ดีมาก
5 5 4.00 3.75 - 3.80 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.99 3.33 4.91 3.86 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

เสริมจุดเด่น

1. จำนวนบัณฑิตมีงานทำ 100 % 

เสริมจุดเด่น

1. ส่งเสริมระบบกำกับติดตามบัณฑิตโดยใช้เทคโนโลยีสามารถติดต่อที่หลากหลาย

2. ควรปรับปรุงการจัดทำแผนพัฒนาด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร ให้ทันรอบปีการศึกษา 

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางเสริม

1. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสะท้อนทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้ชัดเจน

2. ควรมีกำกับติดตามแนะนำผลการเรียน การนักศึกษาเข้าสู่ปี 2 - 3 เพื่อสำรวจโครงสร้างรายวิชาที่ไม่ผ่าน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์ภาคสนามและสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามโครงสร้างของหลักสูตร

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น

1. อัตราการคงอยู่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีแนวโน้มที่ดี

2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีความพร้อมในเรื่องระดับการศึกษา ผลงานวิชาการ 

แนวทางเสริม

1. ส่งเสริมพัฒนาบุคลากร ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 

2. ผลงานทางวิชาการการตีพิมพ์ในวารสารฐาน TCI กลุ่ม 1 

3. การเตรียมความพร้อมของอาจารย์ประจำหลักสูตรใน เรื่อง ผลงานทางวิชาการ คุณวุฒิที่สูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอัตราคงอยู่ที่ต่อเนื่อง

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางเสริม

1. รายวิชาที่ปรับปรุงให้ทันสมัยควรปรากฎใน มคอ 3 ทุกรายวิชา

2. ควรมีการทบทวนคำอธิบายรายวิชา ในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งต่อไป ในการสอดแทรกหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น

3. ควรมีการชี้แจงอาจารย์ผู้สอนให้สอดแทรกหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในมคอ. 3 ร่วมกัน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางเสริม

1. จัดหาวารสารทางด้านภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้เพียงพอ

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ศิษย์เก่า

  1. หลักสูตรจัดกิจกรรมอะไรที่โด่ดเด่น และได้นำความรู้จากการจัดกิจกรรมไปใช้ประโยชน์
  • โครงการสัมมนาวิชาการได้เข้าร่วมกิจกรรม ได้มีวิทยากรจากภายนอก ได้รับทฤษฎี และได้ฝึกทักษะการพูด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
  1. หลักสูตรได้จัดการให้คำปรึกษาในการใช้ชีวิตอาจารย์ที่ปรึกษาได้ช่วยเหลืออย่างไร
  • การเรียน ค่าใช้จ่าย ระบบดูเกรด สามารถปรึกษาได้หลายช่องทาง เช่น Line facebook ห้องประจำสาขา เพจสาขาวิชา
  1. ในหลักสูตร รายวิชาที่จัดการเรียนการสอน มีการสอดแทรกหลักสูตรพระพุทธศาสนามาบูรณาการหรือไม่
  • มีการนำหลักพระพุทธศาสนามาสอดแทรกทุกรายวิชา

นักศึกษาปัจจุบัน

  1. ในการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาบูรณาการหรือไม่อย่างไร
  • มีรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นำเครื่องมือโปรแกรมมาประยุกต์

มีการใช้ Internet มาประยุกต์ใช้บนดอย เพื่อเรียนการสอนผ่าน Online

  1. นักศึกษาพบปัญหาเรื่องการเก็บหน่วยกิตหรือไม่
  • มีบางรายวิชา อาจารย์ก็จะติดตาม ให้นักศึกษาดำเนินการส่งรายงาน
  1. กิจกรรมในทักษะศตวรรษที่ 21 นักศึกษากิจกรรมอะไรที่โดดเด่น และนักศึกษาได้ประโยชน์อย่างไร
  • กิจกรรมทางสาขาการสอนภาษาไทยที่จัดขึ้นโดยเชิญวิทยากรจากภายนอกที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมาถ่ายทอดประสบการณ์โดยตรง
  • กิจกรรมส่งเสริมการใช้ทักษะภาษาไทยจัดทุกปีการศึกษา ส่งเสริมทักษะ การพูด การอ่าน การฟัง การเขียน มีการปฏิบัติ เช่น การส่งเสริมให้นักศึกษาได้แสดงออกการโต้วาที การเล่าเรื่องจากภาพ
  1. สาขาวิชาได้จัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาอย่างไร
  • สาขาได้มีการจัดเตรียมความพร้อมด้านวิชาการปรับพื้นฐานความรู้ด้านภาษาไทย
  1. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เป็นอย่างไร
  • ห้องสมุดหนังสือ ตำรา คอมพิวเตอร์เพียงพอ มีการบริการที่หลากหลาย
  1. หลักสูตรได้มีการบูรณาการเรื่องทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมอย่างไร
  • มีโครงการภูมิปัญญา มีการสอดแทรกประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวเมืองล้านนา ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ศิลปะพื้นเมือง เช่น การประดิษฐ์ตุง ประดิษฐ์เทียน

ผู้ปกครอง

  1. คุณแม่ภูมิใจไหมที่ส่งบุตรหลานมาเรียนสาขาวิชานี้
  • มีความพึงพอใจมาก ดีใจและมีความสุข
  1. นักศึกษามีความสุขหรือไม่ที่ได้มาเรียนสาขาวิชานี้

นักศึกษามีความรู้สึกดีใจ และตั้งใจเรียนสาขานี้มาก และอยากเป็นคุณครูในอนาคต

  1. ผู้ปกครองได้สนับสนุนการศึกษาอย่างไร

นักศึกษาได้รับโอกาสได้ทุนการศึกษาเรียนฟรี ขอบคุณทางมหาวิทยาลัยที่ให้โอกาสนักศึกษาได้รับทุน

ผู้ใช้บัณฑิต

  1. มหาวิทยาลัยได้ทำความร่วมมือ (MOU) กับทางโรงเรียน ได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างไร
  • ทำความร่วมมือในเรื่อง วิชาการร่วมกัน สร้างเครือข่ายภาครัฐ การฝึกประสบการณ์
  1. ประเมินคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สำหรับบัณฑิตเป็นอย่างไร
  • นักศึกษามีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

 

 

 

 

ภาพถ่าย