Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

บทสรุปผู้บริหาร

         รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ เป็นการรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรปรับปรุง 2563) ประจำปีการศึกษา 2565 (1 มิถุนายน 2565-31 พฤษภาคม 2566) ตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ซึ่งเป็นการสะท้อนระบบและกลไกในการบริหารหลักสูตร ว่าตอบสนองคุณภาพและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ เพื่อรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรและการได้รับการบันทึกในฐานข้อมูลหลักสูตรเพื่อการเผยแผ่ต่อไป รายงานฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตรฯ ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ (11 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ระดับบัณฑิตศึกษา 2558) และส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมิน

             จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในรอบปีการศึกษา 2565 (1 มิถุนายน 2565 - 31 พฤษภาคม 2566) ได้คะแนนการประเมินตนเองในภาพรวมเฉลี่ย 4.35 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ มีผลการประเมินทั้ง 6 องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

              องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่านการประเมิน

               องค์ประกอบที่ 2  บัณฑิต หลักสูตรฯ ได้ดำเนินงานด้านคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้ ได้คะแนน 4.18 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

               องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรฯ ได้ดำเนินงานด้านการรับนักศึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา มีผลการประเมินตนเองได้คะแนน 4 อยู่ในระดับดี

            องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ด้านคุณภาพอาจารย์ และด้านผลที่เกิดกับอาจารย์ มีผลการประเมินตนเองได้คะแนน 4.75 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

            องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรฯ ได้ดำเนินงานด้านสาระของรายวิชาในหลักสูตร ด้านการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการประเมินผู้เรียน และด้านผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีผลการประเมินตนเองได้คะแนน 4 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

            องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรฯ ได้ดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลการประเมินตนเองได้คะแนน 4 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

              หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ จะสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงาน จุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนาของหลักสูตรฯ เป็นสารสนเทศและเป็นโอกาสให้หลักสูตรฯ นำไปพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาในอนาคต รวมทั้งเป็นการให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดจนประชาชนทั่วไป

             ขอขอบคุณผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งในการปฏิบัติงานและมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรฯ จนทำให้การจัดทำรายงานการประเมินตนเองฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศ.ศ.ม.) (พุทธศาสนาและปรัชญา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ตั้งอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เลขที่  103 ถนนพระปกเกล้า  ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

พัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญา ศึกษา ค้นคว้า วิจัย  ให้บริการความรู้สู่สังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปรัชญามีความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระบบ เพราะต้องการพัฒนาให้นักศึกษาที่สามารถมีความรู้คู่คุณธรรม สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อองค์ความรู้คู่คุณธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. มีความรู้ ความสามารถในสาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา ศึกษาทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ

2.  สามารถบูรณาการความรู้ ความสามารถไปสู่กระบวนการการปฏิบัติตามกฎหมาย ประเพณี   วัฒนธรรมทางสังคมได้

3.  มีความมุมานะ  พากเพียรพยายามในหน้าที่ที่รับผิดชอบ

4.  มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่น  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคม

5.  มีคุณธรรมจริยธรรม  จิตสาธารณะ และสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล

1.4 รหัสหลักสูตร 25631866002352

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.54
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
5
5
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.18
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
4.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
5.00
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
5
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.75
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.40
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
4.35
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 3.00 4.77 4.18 ดีมาก
3 3 4.00 - - 4.00 ดี
4 4 4.75 - - 4.75 ดีมาก
5 5 4.00 4.50 - 4.40 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 4.38 4.17 4.77 4.35 ดีมาก
ผลการประเมิน ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

ผลงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ทำร่วมกับนักศึกษา ควรนำชื่อของนักศึกษาขึ้นก่อน เเละชื่ออาจารย์

จำนวนนักศึกษาสำเร็จการศึกษา ควรมีการพิจรณาจำนวนนักศึกษาทั้งหมด เเละรายงานรายละเอียดการตีพิมพ์ในเเต่ละปีการศึกษา

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ควรมีรายละเอียดเรื่องผู้้ทรงคุณวุฒิภายนอก เเละคุณสมบัติที่ชัดเจนในองค์ประกอบที่ 1

 

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเเข็ง มีการตีพิมพ์เผยเเพร่ผลงานทางวิชาการของบัณฑิต อาจารย์ประจำหลักสูตรควรมีระบบเเละกลไกในการสร้างเเรงจูงใจให้บัณฑิตตีพิมพ์ในปีการศึกษาที่จบการศึกษา 

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเเข็ง: ผู้บริหารหลักสูตมีกระบวนการรับศึกษาเป็นรูปธรรม

สิ่งที่เสริมจุดเเข็ง : ควรมีการประเมินระบบเเละกลไก หาสาเหตุที่รับไม่ตรงตาม มคอ 2 เเละนำผลการประเมินการรับนักศึกษาไปพัฒนากระบวนการการรับนักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป

ควรมีการสำรวจนักศึกษาในทักษะพื้นฐานความรู้ ก่อนมีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการศึกษาม เเละมีการเตียมความพร้อมรับสถานการณ์ปัจจุบันระหว่างปีการศึกษา

การพัฒนานักศึกษาควรมีการเสริมทักษะที่เป็นเอกลักษณ์ของหลักสูตร เเละมีการสรุปการจัดโครงการพัฒนานักศึกษาว่าโครงการใด พัฒนาทักษะให้นักศึกษาด้านใด

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเเข็ง : มีระบบกลไกในการบริหารเเละพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจนส่งผลให้อาจารย์มีตำเเหน่งทางวิชาการครบทุกท่าน รวมทั้งมีการตีพิมพ์เผยเเพร่ผลงานทางวิชการเป็นไปตามเป้าหมาย

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

หลักสูตรมีการบริหารจัดการทั้งการเรียนการสอนเเบบOnside Online

หลักสูตรมีระบบการกำกับติดตามวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

หลักสูตรควรเพิ่มการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น การเเก้ไขปัญหา กรณีศึกษา การใช้การวิจัยในการเเก้ปัญหา การสร้างประสบการณืภูมิปัญญาท้องถิ่น การลงพื้นที่เก็บข้อมูล เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรควรมีการสำรวจความต้องการของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้นักศึกษาเเละอาจารย์ เเละจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่ได้สำรวจความต้องการ รวมถึงการประเมินกระบวนการในการสำรวจเเละจัดสรรสิ่งสนับสนุการเรียนรู้

ในการจัดารเรียนการสอนเเบบOnline การจัดหาlinkเอกสารที่นักศึกษาสามารถสืบค้นได้

หลักสูตรควรมีการนำนักศึกษาไปลงพื้นที่ หรือนำผลงานวิชาการของอาจารย์มาปรับใช้ สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายที่สามารถใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันได้

 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย