Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม


บทสรุปผู้บริหาร

สรุปผลการประเมิน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) วิทยาเขตร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2565 ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.73 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียด ผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 หลักสูตรได้มาตรฐาน ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 3.44 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียนเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.83 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.20 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับปานกลาง

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม)

3) สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ด้านปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม ในบริบทของสังคมไทยบนพื้นฐานพหุวัฒนธรรม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

สร้างบัณฑิตด้านปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม บูรณาการสู่สังคมอย่างยั่งยืน

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้และความเข้าใจระบบปรัชญา ศาสนา วัฒนธรรม ในบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกสมัยใหม่อย่างถูกต้อง
1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ เข้าใจสถานการณ์ ปัญหาสังคม อย่างชัดเจนรอบด้าน โดยใช้ความรู้ในสาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน และสร้างความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทิศทางที่ถูกต้อง
1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตนำเอาหลักการและวิธีการทางปรัชญา ศาสนา วัฒนธรรม ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม โดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864002585

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.32
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.44
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.83
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.20
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.73
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.66 3.44 ดี
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 3.83 - - 3.83 ดี
5 5 4.00 4.25 - 4.20 ดีมาก
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 16 3.67 3.50 4.66 3.73 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

ควรสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

เพื่อให้จำนวนนักศึกษาเป็นไปตามเป้าหมาย ควรปรับกระบวนการรับนักศึกษา เช่น การประชาสัมพันธ์ และเช็คยอดผู้มาสมัครในระบบ TCAS ในการยืนยันของผู้สมัครเรียน 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

1. สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเรียนต่อในระดับปริญญาเอก

2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทำผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

1. ควรจัดให้มีฐานข้อมูล ด้านปรัชญาและศาสนา เพื่อง่ายต่อการสืบค้น 

2. ควรจัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้ห้องสมุด ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน เช่น การสืบค้น การทำเชิงอรรถ ระบบการอ้างอิงข้อมูล

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

1. ทำอย่างไรหรือมีแนวทางอะไรเพื่อให้หลักสูตรมีคนมาเรียนมากขึ้น

ตอบ ปัจจุบันมีผู้ที่มาเรียนสายปรัชญาน้อยทางมหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนทุนการศึกษา แต่ยังไม่ค่อยทั่วถึง จึงอยากให้ทางหลักสูตรสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาให้ทั่วถึง

2. การเรียนในหลักสูตรเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ ได้ประโยชน์ในเรื่องปรัชญาชีวิตและสิ่งต่างๆเข้าใจสิ่งที่เป็นอยู่มากขึ้น

3. จุดเด่น จุดด้อยในหลักสูตรมีอะไรบ้างและจะให้แก้ไขอย่างไร

ตอบ จุดเด่น คือ เรียนตามปรัชญาของแต่ละบุคคลต่างๆ จุดด้อย คือ การเข้าถึงข้อมูลยาก

4. การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรตอบสนองกับเราอย่างไรและเป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ไหม

ตอบ หลักสูตรตรงและมีความสนใจในด้านพระพุทธศาสนาเป็นหลักอยู่แล้ว และมองว่าถ้าหลักสูตรมีแค่ปรัชญาจะไม่เลือกเรียน พอมีปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรมเข้ามาด้วยเลยเลือกเรียน

ภาพถ่าย