Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย


บทสรุปผู้บริหาร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย โดยมีคะแนนรวม 4.27 ระดับดีมาก มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ดังนี้

    องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร และคุณสมบัติอาจารย์ประจำ หลักสูตรผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านการปรับปรุงหลักสูตรตามระยะเวลาการที่กำหนดนั้น หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 และหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 ได้พัฒนาเป็นกรอบมาตรฐานวิชาชีพ (TQF) โดยมี TQF 1- TQF 7 สรุป องค์ประกอบที่ 1 ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ พ.ศ. 2558

   องค์ประกอบที่2 บัณฑิต หลักสูตรมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 รูป/คน ด้านการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามกรอบ TQF ระหว่างศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน มีแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษาตามผลการประเมินระดับหลักสูตร (Improvement Plan) สรุปองค์ประกอบที่ 2 ผลการประเมินมีคะแนน 3.49 ระดับดี 

   องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา มีกระบวนการสอบคัดเลือกและเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ เช่น การ ปฐมนิเทศ มีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา โดยมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา กิจกรรมส่งเสริมความเป็นครู กิจกรรมฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น สรุป องค์ประกอบที่ 3 ผลก ผลการประเมินมีคะแนน 4.33  ระดับดีมาก

   องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ประจำหลักสูตรคิดเป็นร้อยละ 80 ด้านคุณภาพ อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิตรงกับสาขาวิชา และมีการพัฒนาความรู้ด้านวิชาการทั้งด้านศาสตร์ ภาษาไทยและศาสตร์วิชาชีพครู สรุป องค์ประกอบที่ 4 ผลการประเมินมีคะแนน  4.22  ระดับดีมาก

    องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน มีการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชา ในหลักสูตร มีรายวิชาเฉพาะภาษาไทยที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมีเนื้อหารายวิชาครอบคลุมด้านหลักภาษาไทย การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร วรรณกรรมไทยร่วม สมัย วรรณคดีไทย คติชนวิทยา ภาษาศาสตร์ ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เช่น รายวิชาภาษากับการสื่อสารร่วมสมัย ซึ่งคำอธิบายรายวิชาครอบคลุมถึงการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการจัดการเรียนการสอนเน้นการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และเน้นให้ฝึกปฏิบัติจริง โดยมีการบูรณาการเนื้อหาวิชาเข้ากับโครงการสาขาวิชา โครงการอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับสาขาวิชา อัตลักษณ์ของ มหาวิทยาลัย มีการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์กรอบ มาตรฐานคุณวุติระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  องค์ประกอบที่ 4 ผลการประเมินมีคะแนน  4.80  ระดับดีมาก

        องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2564 หลักสูตรมีการดำเนินงานพัฒนาห้องสมุด ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และจุดบริการอินเตอร์เน็ต สรุป องค์ประกอบที่ 5 ผลการประเมินมีคะแนน 5 องค์ประกอบที่ 6  องค์ประกอบที่ 4 ผลการประเมินมีคะแนน  4.00  ระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาไทย)

3) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถจัดการศึกษาด้านภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ โดยบูรณาการความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและมีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับผู้เรียน สภาพสังคม วัฒนธรรมแ ละวิถีการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้สรรพวิชาอื่น ๆ อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
1.3.1. บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสอนภาษาไทย และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสามารถบูรณาการปรับเปลี่ยนหลักแนวคิดและทฤษฎีการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายตามสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
1.3.2. บัณฑิตมีทักษะการสอนภาษาไทย และสื่อสารภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีความรู้ภาษาไทยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ใช้กับการจัดเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
1.3.3. บัณฑิตมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา และความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม สามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนางานทางวิชาชีพให้ก้าวหน้าสู่ระดับชาติและนานาชาติ
1.3.4. บัณฑิตมีความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียน ประเมินผลทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพด้านการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

1.4 รหัสหลักสูตร 25621861101300

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.48
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.49
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
5
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
4.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.22
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
5
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
5
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.80
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
4.27
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.74 3.49 ดี
3 3 4.33 - - 4.33 ดีมาก
4 4 4.22 - - 4.22 ดีมาก
5 5 5.00 4.75 - 4.80 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 4.36 4.00 4.74 4.27 ดีมาก
ผลการประเมิน ดีมาก ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น

บัณฑิตได้สอบตรงสาขาวิชาเป็นจำนวนมาก

แนวทางเสริมจุดเด่น

ควรมีช่องทางประชาสัมพันธ์แหล่งงานและติดตามดูแลบัณฑิต

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเด่น

1. จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความ ทันสมัยสำหรับนักศึกษา

2. กิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษามช่วยพัฒนาความรู้และทักษะ หลายด้าน

จุดที่ควรพัฒนา

1. ควรปรับกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรโดยเน้นการประชาสัมพันธ์เชิง รุกและใช้สื่อเทคโนโลยีที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนใช้สื่อบุคคลในการแนะนำ หลักสูตร

2. ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาโดยมุ่งเน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น

1. งานวิจัยของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับศาสตร์สาขาวิชา มีความหลากหลายทั้งทางด้านแนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึง กลุ่มข้อมูล แสดงให้เห็นถึงความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของอาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้อย่างแท้จริง

จุดที่ควรพัฒนา

1.ส่งเสริม สนับสนุนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

1. การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยมีการบูรณาการในรายวิชาที่สร้างสรรค์ สอดแทรกงานวิจัยและหลักธรรมเพื่อให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง เหมาะสมกับบริบททางสังและวัฒนธรรมไทย

2. การปรับปรุงหลักสูตร มีความรู้ความเข้าใจด้านการออกแบบหลักสูตรแบบมุ่ง ผลลัพธ์

จุดที่ควรพัฒนา
1. การจัดกิจกรรมที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์และนักศึกษา มีนวัตกรรม หรือผลงานสร้างสรรค์ที่มีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์กับ ชุมชนและสังคม

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

1. หลักสูตรมีการขยายเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มสิ่ง สนับสนุนการเรียนรู้และทรัพยากรที่เป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา 1. ควรจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถใช้สื่อ เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน

2. จัดเตรียมความพร้อมด้านการเข้าถึงสัญญาณอินเตอร์เพื่อการสืบค้น อย่างเพียงพอและทั่วถึง

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

1. ผู้อำนวยการโรงเรียน

บัณฑิตมีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความเป็นครูมีพัฒนาการขึ้นทุกปี 

2. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแดงโนนสว่าง

มีนักศึกษาทั้งหมด 4 รุ่น ที่โรงเรียนรับเข้าทำงาน นักศึกษาตอบโจทย์ในการใช้ความรู้ทางวิชาชีพที่เรียนมาปฏิบัติงานได้จริง ในส่วนคุณธรรมจริยธรรม นักศึกษามีความรู้และคุณธรรมจริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างให้กับลูกศิษย์ มีพัฒนาการขึ้นทุกปี

3. ศิษย์ปัจจุบัน

จุดเด่นของหลักสูตร เป็นหลักสูตรที่มีจุดเด่นทั้งในส่วนโครงสร้าง และการนำไปสู่ภาคปฏิบัติ มีรายวิชาที่เป็นอัตตลักษณ์ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงกับการเรียนการสอน

4. ศิษย์เก่า

จุดเด่นของหลักสูตรเป็นหลักสูตรที่อบรมบ่มเพาะ ทั้งที่เป็นความรู้คุณธรรมและจริยธรรม  

5. ผู้ปกครอง

นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรไปใช้ได้จริง รู้จักกตัญญูต่อพ่อแม่

ภาพถ่าย