Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร
คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ในรอบปีการศึกษา 2565 (1 มิถุนายน 2565 - 31 พฤษภาคม 2566) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค.2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนเฉลี่ยของทุกตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบที่ 2-6 เท่ากับคะแนนเฉลี่ย 3.37  มีคุณภาพอยู่ระดับดี
โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานโดยรวมทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้
        องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) ให้มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิชาการการบริหารจัดการหลักสูตรของสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยดังกล่าว เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทุกประการผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน
        องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 14 คน ซึ่งผลการใช้หลักสูตรในปีการศึกษา 2565 จากการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 3.67 ซึ่งมีระดับดี
        องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้ให้ความสำคัญกับการรับนักศึกษาและคัดเลือกนักศึกษา โดยได้วางแผน ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และก่อนเข้าเรียนในสถานศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้มีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้าศึกษา โดยการปฐมนิเทศ และการอบรมเตรียมความพร้อมในด้านภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีดิจิทัล ภาษาไทย ทักษะชีวิต ฯลฯ ที่จำเป็นต่อการเรียนในมหาวิทยาลัย ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 3.33 ซึ่งมีระดับระดับดี
        องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์อย่างเป็นระบบ มีการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรอยู่เสมอ เพื่อวางแผนปรับปรุงพัฒนางานและดูแลหลักสูตรให้มีคุณภาพ นอกจากนี้ได้มีการส่งเสริม และพัฒนาอาจารย์ โดยให้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังให้ไปศึกษาดูงาน อบรม ประชุม ฯลฯ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 ได้คะแนนเฉลี่ย 2.73 ซึ่งมีระดับระดับปานกลาง
        องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย เป็นไปตามกรอบมาตรฐานของ สกอ. มีการมอบหมายรายวิชาที่สอนให้ตรงกับความเชี่ยวชาญของอาจารย์ผู้สอน มีการประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามสภาพจริง เพื่อให้มีความสอดคล้องตามผลการเรียนรู้ของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 ได้คะแนนเฉลี่ย 3.60 ซึ่งมีระดับดี
        องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้ดำเนินการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ เอกสาร ตำรา งานวิจัย ฯลฯ ให้มีเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นในทุกปีการศึกษาผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.00 ซึ่งมีระดับดี
บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต

3) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน มีการบูรณาการศาสตร์การสอนกับแนวทางพระพุทธศาสนา ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยกับการสอนพระพุทธศาสนา โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านการศึกษาปฐมวัย กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีความรับผิดชอบต่อสังคมมีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับครู

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปัจจุบันอาชีพครู ถือว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะครูปฐมวัยทั้งนี้เพราะมีบทบาทสำคัญ ในการปลูกฝังและพัฒนาเด็กตั้งแต่ อายุ 3-6 ปี ให้เจริญเติบโต เป็นพลเมืองที่ดี และมีคุณภาพในอนาคต ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ให้เจริญก้าวหน้าสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังนี้

          1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านการสอนเด็กปฐมวัยและสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          2. มีความรู้ความสามารถ ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรด้านการศึกษาปฐมวัย สามารถประยุกต์หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนากับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม

          3. มีการตระหนักและเห็นความสำคัญในแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตร
การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

          4. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพครู ตลอดจนมีจิตสำนึกในความเป็นครูที่มีความพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพ และเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพ

          5. มีความเป็นผู้นำ ผู้ตามและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติหน้าที่ครู ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105478

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ไม่ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ไม่ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ไม่ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ไม่ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ไม่ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ไม่ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5.00
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.67
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.92
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.73
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.60
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.37
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ไม่ผ่าน หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 5.00 3.67 ดี
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 2.73 - - 2.73 ปานกลาง
5 5 3.00 3.75 - 3.60 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 2.99 3.33 5.00 3.37 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

แนวทางเสริม

หลักสูตรควรกำกับมาตรฐานและเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามรอบปีการศึกษา เพื่อให้หลักสูตรมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบตามเกณฑ์ที่กำหนด

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น

บัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับความพึงพอใจ ของผู้ใช้บัณฑิต

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเด่น

มีการดำเนินงานการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

 

แนวทางเสริม

ทบทวนกระบวนการปฏิบัติงาน ให้ชัดเจนสะท้อนการปรับปรุง จนประสบความสำเร็จ

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางเสริม

1. ปรับปรุงระบบกลไกการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 

2. ควรรายงานการดำเนินงานด้านการรับและแต่งตั้ง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร การบริหารและพัฒนาอาจารย์ ให้ครอบคลุมประเด็นการพิจารณา

3. กำกับ ติดตาม แผนพัฒนาอาจารย์ด้านการศึกษาต่อ การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการวิจัย อย่างต่อเนื่อง พร้อมรายงานข้อมูลการดำเนินงาน ให้ชัดเจน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

หลักสูตรมีกระบวนการกำหนดผู้สอน การกำกับ ตรวจสอบ การจัดทำ มคอ. 3 และ การบูรณาการเรียนการสอน กับการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ชัดเจนเป็นรูปธรรม

แนวทางเสริม

1.การประเมินผู้้เรียน ควรกำหนดสมรรถนะระดับรายวิชา ให้สอดคล้อง กับสมรรถนะระดับหลักสูตร และกำกับ ตรวจสอบด้วยวิธีการ และเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ

2.ควรรายงานการดำเนินงานการจัดทำ มคอ. 7 ให้ชัดเจน สะท้อนบทบาทหน้าที่ของการดำเนินงานสำหรับกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

หลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัย ประสานความร่วมมือ ในการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ให้พร้อมและมีความทันสมัยตลอดเวลา 

แนวทางเสริม

ควรรายงานการดำเนินงานสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านแหล่งเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ทั้งที่เป็นความสำเร็จ และปัญหาอุปสรรค์

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์ผู้ปกครอง

  1. ความรู้สึกลูกมาเรียนแล้วเป็นอย่างไร
  • มีพัฒนาการกลับไปสอนที่บ้าน โดยมีทักษะให้น้องในครอบครัว เช่น สอนหนังสือ
  1. เนื่องจากมีสถาบันหลายสถานมีการผลิตครู ท่านคิดอย่างไรตัดสินใจมาเรียนที่ มมร
  • ใกล้บ้าน ประหยัดค่าใช้จ่าย และอยู่ใกล้ผู้ปกครอง
  1. คาดหวัดกับบุตรหลานมากน้อยอย่างไร เมื่อสำเร็จการศึกษา
  • จบไปแล้วมีงานทำ
  • แถวบ้านมีศูนย์เด็กเล็กคาดว่า จบมาแล้วน่าจะมีงานทำ

สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ

  1. บัณฑิตที่ไปทำงานมีคุณลักษณ์ที่โดดเด่นอย่างไร
  • มีความภูมิใจและเด็กได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น มีทักษะทั้ง 4 ด้าน
  • ได้ดีมีวิสัยทัศน์ได้ดี มีคุณภาพ
  • มีความพึงพอใจอยากได้เด็ก มมร ไปทำงานด้วย มีการสอนให้เด็กเล็กนั่งสมาธิ และสวดมนต์ก่อนนอน
  1. ความสามารถที่ปรากฎเป็นอย่างไร ผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร
  • ผลสัมฤทธ์ บัณฑิตเก่ง และผลิตสื่อเก่ง

  สัมภาษณ์ศิษย์เก่า

  1. ความภาคภูมิที่ได้จบการสถานบัน
  • อาจารย์ทุกท่านมอบความรักและความอบอุ่น ใส่ใจ
  • สามารถนำไปรู้ไปใช้ได้จริง การพัฒนาการเด็ก และตัวเอง ทักษะทางด้านพระพุทธศาสนา การขัดเกลาจิตใจเด็ก ให้ความรู้ เยอะมาก ไม่ได้ด้อยกว่า สถาบันอื่น
  1. ความสำเร็จที่เอาความรู้ไปใช้เป็นอย่างไร
  • ให้คำแนะนำคำสั่งสอน ประยุกต์ใช้ในการทำงาน
  • ไปใช้กับเด็กได้อย่างดู โดยวิธีการดูแลเด็ก สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต และการทำสื่อการเรียนการสอนได้ดี
  1. อยากให้ สาขาหรือสถาบันปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง
  • สร้างจิตอาสา อยากให้อาจารย์สอนเกี่ยวกับจิตอาสา เพิ่มประสบการณ์จิตอาสาช่วยเหลือ หรือปรับใข้กับเด็ก รักเด็กให้เสมอภาค
  • การผลิตสื่อและอุปกรณ์ไม่พอเพียง และให้มั่นทำการผลิตสื่อมาก ๆ
  • อยากให้ได้สื่อไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น และหลากหลาย
  • อยากได้สื่อที่เน้นเทคโนโยลีสารสนเทศ ในการทำสื่อและเสนอสื่อกับเด็กในชนบท
  • จัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาสื่อมาก ๆ

สัมภาษณ์นักศึกษาปัจจุบัน

  1. อัตลักษณ์ของสาขามีความโดดเด่น คืออะไร
  • อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโดยมีพระพุทธศาสนา ได้ความรู้จาก การปฏิบัติตัวทางด้านพระพุทธศาสนา
  • พิธีการ สาขาทำให้ครูมีคุณภาพของครูปฐมวัย มีคุณธรรม จริยธรรม การเข้าใจเด็ก รู้จักเด็กและเข้าใจการพัฒนาของเด็ก อาจารย์ผปลูกฝัง การรักชาติ ศาสนา พระ
  • นักศึกษาที่ออกไปจะเป็นคนที่รู้จักวางตัวนิ่ง นับถือศาสนาและมีวิธีการที่แตกต่าง จากที่อื่น โดยเฉพาะกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนา
  • มีความใจเย็น มีสมาธิ มากขึ้น
ภาพถ่าย