Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร
คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ในรอบปีการศึกษา 2565 (1 มิถุนายน 2565 - 31 พฤษภาคม 2566) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค.2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนเฉลี่ยของทุกตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบที่ 2-6 เท่ากับคะแนนเฉลี่ย 3.77  มีคุณภาพอยู่ระดับดี

โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานโดยรวมทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน สาขาวิชาการประถมศึกษา(4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

          องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา(4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ซึ่งในองค์ประกอบที่ 2 นี้ มีผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 2 นี้ เท่ากับ 3.67

          องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา สาขาวิชาการประถมศึกษา(4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิ ทยาเขตร้อยเอ็ด นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33

          องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ สาขาวิชาการประถมศึกษา(4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.83

          องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน สาขาวิชาการประถมศึกษา(4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.00

          องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชาการประถมศึกษา(4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการaเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ  4.00

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การประถมศึกษา)

3) สาขาวิชาการประถมศึกษา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นครูระดับประถมศึกษาที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมนำความรู้มีความสามารถ/ทักษะในด้านการครองตน ครองคน ครองงาน รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลก รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถสอนนักเรียนให้คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ มีจิตอาสา ช่วยเหลือตนเอง สังคม และประเทศชาติได้

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน มีการบูรณาการการสอนกับพุทธวิทยาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอน วิทยาการเฉพาะสาขาวิชา และครูผู้สอนพระพุทธศาสนาและสอนศีลธรรม โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลิตบัณฑิตที่มีความปรีชาสามารถ ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านการประถมศึกษา กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับครู

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้

1. มีอุดมการณ์และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีบุคลิกภาพและคุณลักษณะ

ความเป็นครูที่ดี มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจิตสาธารณะ รักและภูมิใจในท้องถิ่น สถาบันและประเทศชาติ และสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพครูในการแก้ปัญหาการทำงานได้

2. ให้มีความรู้ ความสามารถ/ทักษะด้านวิทยาการการสอน รักการเรียนรู้ตลอด

ชีวิต รู้เท่าทันวิทยาการใหม่ ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลก นำความรู้ ความสามารถ/ทักษะ ไปพัฒนานักเรียนระดับประถมศึกษา ให้คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาชีวิตได้ มีทักษะชีวิตที่เหมาะสม รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

3. มีทักษะทางปัญญา สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ

และมีความคิดสร้างสรรค์ นำข้อมูลสารสนเทศตลอดจนวิทยาการใหม่ ๆ มาใช้พัฒนาความรู้ สามารถแก้ปัญหาทางวิชาการ และการทำงานได้

4. ให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น เป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

สามารถครองตน ครองคน ครองงาน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และบุคคลทั่วไป

5. มีความสามารถ/ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยี

สารสนเทศ การแสวงหาความรู้ การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.  มีทักษะในการวางแผนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม สามารถ

เลือกใช้รูปแบบ วิธีการ และเทคนิคการจัดการเรียนรู้สมัยใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผล เพื่อนำมาแก้ไขและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105491

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5.00
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.67
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.83
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.77
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 5.00 3.67 ดี
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 3.83 - - 3.83 ดี
5 5 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.67 3.50 5.00 3.77 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1. การพัฒนานักศึกษาที่เป็นลักษณะเฉพาะของสาขาวิชา นอกเหนือจากที่มหาวิทยาลัยจัดให้

2. การรับนักสมัครนักศึกษาให้มีการยืนยันตัวตนตามที่สมัคร

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
-
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย